บทที่ 21 ความอัศจรรย์แห่งธรรมวินัย
ย้อนหลังไปเพียงเล็กน้อยจากเวลาที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสกับพระอานนท์เรื่อง อสรพิษ ปัจฉิมยามแห่งราตรี ฝนซึ่งตกหนักมาแต่ปฐมยาม ได้เริ่มสร่างซาลงบ้างแล้ว ทวยนาครกำลังล่วงเข้าสู่นิทรารมณ์อันสนิท ใครจะนึกบ้างว่าในยามนี้มีมนุษย์กลุ่มหนึ่ง กำลังทำความพยายามเข้าไปสู่พระนคร เพื่อทรัพย์สมบัติซึ่งตนมิได้ลงแรงหามาเลย ถูกแล้ว เขามีอาชีพเป็นโจร ประตูเมืองปิดสนิท มียามรักษาการณ์แข็งแรง เขาประชุมปรึกษากันตั้งแต่ปฐมยามว่า จะหาทางเข้าพระนครได้โดยวิธีใด ในที่สุดเมื่อใกล้ปัจฉิมยามเข้า เขาจึงตกลงกันว่าจะต้องเข้าไปทางท่อระบายน้ำ คืนนั้นพวกเขามิได้นอนเลย
จริงทีเดียว บุคคลผู้หลับน้อยตื่นนาน หรือบางทีมีได้หลับเลยในราตรีนั้นมีอยู่ 5 จำพวก คือ 1. หญิงผู้ปฏิพัทธ์ชาย หวังให้เขาชม2. ชายผู้ปฏิพัทธ์หญิง รำพึงถึงเธอด้วยดวงจิตที่จดจ่อ 3. โจรมุ่งหมายทรัพย์ของผู้อื่น หาทางจะขโมยหรือปล้น 4. พระราชากังวลด้วยพระราชภารกิจ 5. สมณะผู้ทำความเพียรเพื่อละกิเลส
"หญิงชายปฏิพันธ์ชู้ หวังชม เชยนา
โจรมุ่งหมายทรัพย บัติปล้น
ราชันกิจกังวล มากอยู่
พระอยากละกิเลสพ้น หลับน้อยตื่นนาน"
บุคคล 3 ประเภทหลัง คือโจร พระราชา และสมณะนั้น แม้จะหลับน้อย แต่เมื่อถึงเวลาที่จะหลับ เมื่อสิ้นภาระหนักที่แล้ว ก็สามารถหลับได้อย่างง่ายดายและสงบ แต่ 2 ประเภทแรกซิ เมื่อยังไม่หลับก็ยากที่จะข่มตาหลับลงได้ เมื่อหลับก็หลับได้ไม่สนิท คอยพลิกฟื้นตื่นผวาอยู่ร่ำไป เต็มไปด้วยความกระสับกระส่ายกระวนกระวายรุ่มร้อน ภาพแห่งคนรักคอยแต่ฉายเข้ามาในความรู้สึกตลอดเวลา ความรักเป็นความร้ายที่เที่ยวทรมานคนทั้งโลกให้บอบซ้ำตรอมตรม
โจรพวกนั้นเข้าไปในท่อน้ำสำเร็จสมประสงค์แล้วทำลายอุโมงค์ในตระกูลที่มั่งคั่งตระกูลหนึ่ง ได้แก้วแหวนเงินทองไปเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งถุงเงินด้วย ก็นำไปแบ่งกัน ณ ที่แห่งหนึ่ง แต่บังเอิญเขาได้ลืมถุงเงินไว้เพราะมีของอื่นมากหลายจนนำไปแทบจะไม่หมด เมื่อเจ้าของทรัพย์ตื่นขึ้นทราบเหตุในตอนเช้า จึงออกติดตาม และมาพบร่องรอยตรงที่โจรแบ่งของกัน แล้วตามรอยของชาวนาคนนั้นไป ก็พอดีรอยเท้าไปหยุดลงที่กองฝุ่น เจ้าของทรัพย์ลองเขี่ยดูก็ปรากฏถุงเงินมากหลาย จึงแน่ใจว่าชาวนาซึ่งกำลังไถนาอยู่นั้นเป็นโจร ช่วยกันตีเสียจนบอบช้ำ แล้วนำตัวไปถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล
พระราชาทรงทราบเรื่องราว แล้วรับสั่งให้ประหารชีวิต ราชบุรุษเฆี่ยนเขาด้วยหวายครั้งละหลายๆ เส้น แล้วจึงนำชาวนาไปสู่ตะแลงแกง ในขณะที่กำลังถูกนำไปสู่ที่ฆ่านั่นเอง ชาวนาพร่ำอยู่เรื่องเดียว คือข้อความที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสกับพระอานนท์
"ดูก่อนอานนท์ เธอเห็นอสรพิษไหม"
"เห็นพระเจ้าข้า"
เมื่อถูกเฆี่ยนด้วยหวายเขาก็พูดคำนี้ "ดูก่อนอานนท์ เธอเห็นอสรพิษไหม" "เห็นพระเจ้าข้า" จนราชบุรุษประหลาดใจ จึงถามข้อความนั้น ชาวนาบอกว่าถ้านำเขาไปเฝ้าพระราชาเขาจึงจะบอก ราชบุรุษนำตัวไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์ตรัสว่า
"ดูก่อนกสกะ เพราะเหตุไรเธอจึงกล่าวพระดำรัสแห่งพระศาสดาและพระพุทธอนุชาอานนท์"
"เทวะ" ชาวนากราบทูล "ข้าพระองค์มิได้เป็นโจร แต่ข้าพระองค์เป็นคนทำนาหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต" แล้วเขาก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้พระราชาทราบ จอมเสนาแห่งแคว้นโกศลสดับคำนั้นแล้ว ทรงดำริว่า ชายผู้นี้อ้างเอกอัครบุรุษรัตน์ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพยาน การลงโทษบุรุษเห็นปานนี้โดยมิได้สอบสวนให้แน่นอน อาจเป็นเหตุให้เราต้องเสียใจไปจนตลอดชีวิต ทรงดำริอย่างนี้แล้วจึงรับสั่งให้คุมบุรุษผู้นั้นไว้ก่อน เย็นวันนั้นพระองค์เสด็จไปเฝ้าสมเด็จพระบรมะศาสดา และให้นำชาวนานั้นไปด้วย เมื่อถวายบังคมแล้วจึงกราบทูลถามว่า
"พระองค์ผู้เจริญ เช้าวันนี้พระองค์และพระคุณเจ้าอานนท์เสด็จไปที่นาของชายผู้นี้หรือ"
"อย่างนั้นมหาบพิตร" สมเด็จพระบรมะศาสดาทรงตอบ
"พระองค์ได้ทรงเห็นอะไรบ้างพระเจ้าข้า" พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถาม
"เห็นถุงเงิน มหาบพิตร" แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงเล่าเรื่องทั้งหมด ตรงกับชาวนาเล่า
พระเจ้าปเสนทิโกศลทราบเรื่องนี้ ทรงสลดสังเวชพระราชหฤทัย กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของโลก! ข้าพระองค์รู้สึกเสียใจและไม่สบายใจมาก ที่สั่งลงโทษบุรุษผู้นี้โดยที่เขาไม่มีความผิดเลย ถ้าเขาถูกประหารชีวิต แล้วข้าพระองค์มาทราบภายหลังว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ ข้าพระองค์คงจะต้องเสียใจไปตลอดชีวิต พระองค์ไม่เพียงแต่เป็นที่พึ่งของชาวนาผู้นี้เท่านั้น แต่ทรงอนุเคราะห์ข้าพระองค์ให้พ้นจากบาปอีกด้วย ข้าแต่พระจอมมุนี พระองค์ช่างอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์สุขของโลกโดยแท้" ตรัสอย่างนี้พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ซบพระเศียรลงแทบพระยุคลบาทของสมเด็จพระบรมะศาสดา ทรงจุมพิตพระบาทของพระพุทธองค์ด้วยความเลื่อมใสอย่างสูง ซึ่งพระองค์มักทรงกระทำเสมอ เมื่อไปเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดา
พระตถาคตเจ้าทรงปลอบ ให้พระราชาเบาพระทัยด้วยพระพุทธดำรัสเป็นอเนกปริยาย ตอนสุดท้ายตรัสว่า
"มหาบพิตร คฤหัสถ์ผู้ยังบริโภคกามเกียจคร้าน 1 พระราชาทรงประกอบกรณียกิจโดยมิได้พิจารณาโดยรอบคอบถี่ถ้วนเสียก่อน 1 บรรพชิตไม่สำรวม 1 ผู้อ้างตนว่าเป็นบัณฑิตแต่มักโกรธ 1 สี่ จำพวกนี้ไม่ดีเลย "มหาบพิตร กรรมอันใดที่ทำไปแล้วต้องเดือดร้อนใจภายหลัง ต้องมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา เสวยผลแห่งกรรมนั้น ตถาคตกล่าวว่ากรรมนั้นไม่ดี ควรเว้นเสีย "มหาบพิตร นานมาแล้วมีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนานว่า 'ปิงคละ' ทวยนาครถวายสร้อยพระนามให้ว่า 'อกัณหเนตร - ผู้มีพระเนตรไม่ดำ' หมายความว่าทรงดุร้าย และประกอบราชกิจโดยมิได้ทรงพิจารณา สั่งฆ่าประหารคนโดยมิได้พิจารณาให้รอบคอบ จนเป็นที่เกลียดชังของคนทั้งหลาย เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ชาวนครต่างชื่นชมโสมนัส เล่นมหรสพ 7 วัน 7 คืน ยกธงทิวตามประทีปโคมไฟหลากสี มีการเล่นเต้นรำอย่างเบิกบานใจ ในท่ามกลางความบันเทิงนั่นเอง คนเฝ้าประตูคนหนึ่งไปยืนเกาะบานประตูร้องไห้อยู่ เมื่อถูกคนทั้งหลายซักถามถึงสาเหตุที่ร้องไห้ คนเฝ้าประตู ตอบว่า เขาร้องไห้เพราะพระราชาอกัณหเนตรสิ้นพระชนม์นั่นเอง เขากลัวว่าพระองค์เสด็จไปสู่ยมโลกแล้วจะไปทำทารุณกรรมต่างๆ จนยมบาลเอาไว้ไม่ไหว แล้วจะส่งกลับขึ้นมาก่อกวนความสงบสุขในโลกนี้อีก เขาคิดไปอย่างนี้แล้วจึงร้องไห้ หาได้ร้องไห้เพราะความเสียใจหรือจงรักภักดีไม่"มหาบพิตร เมตตากรุณาเป็นพรอันประเสริฐในตัวมนุษย์"
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงบันเทิงด้วยพระธรรมเทศนาของพระศาสดาเป็นที่ยิ่ง ทรงสนทนาต่อไปอีกครู่หนึ่งแล้วถวายบังคมลากลับ ส่วนชาวนาผู้นั้นส่งกระแสจิตไปตามพระดำรัสของสมเด็จพระบรมศาสดา สามารถถอนสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการได้ เขาสำเร็จโสดาปัตติผล เป็นอริยบุคคลขี้นโสดาบัณ ด้วยประการฉะนี้ แม้จะทรงมีพระทัยกรุณาประดุจห้วงมหรรณพก็ตาม แต่พระบรมศาสดาทรงรังเกียจอย่างยิ่ง ซึ่งบุคคลผู้ไม่บริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสาวกที่ทรงเพศเป็นภิกษุ มีเรื่องสาธกดังนี้
วันหนึ่งเป็นวันอุโบสถ พอพระอาทิตย์ตกดิน พระสงฆ์ทั้งมวลก็ประชุมพร้อมกัน ณ อุโบสถาคาร เพื่อฟังพระโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงเองทุกกึ่งเดือน พระมหาสมณะเจ้าเสด็จสู่โรงอุโบสถ แต่ประทับเฉยอยู่ หาแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์ไม่ เมื่อปฐมยามแห่งราตรีล่วงไปแล้ว พระอานนท์พุทธอนุชา จึงนั่งคุกเข่าประนมมือถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า
"พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ปฐมยามแห่งราตรีล่วงไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายคอยมานานแล้ว ขอพระองค์โปรดทรงแสดงปาฏิโมกข์เถิด"
แต่พระพุทธองค์ก็ยังทรงเฉยอยู่ เมื่อมัชฌิมยามแห่งราตรีล่วงไปแล้ว พระอานนท์ก็ทูลอีก แต่ก็คงประทับเฉย ไม่ยอมทรงแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์ เมื่อย่างเข้าสู่ปัจฉิมยาม พระอานนท์จึงทูลว่า
"พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ปฐมยามและมัชฌิมยามล่วงไปแล้ว กาลเวลาย่างเข้าสู่ปัจฉิมยาม ภิกษุทั้งหลายคอยมานานแล้ว ขอพระองค์อาศัยความอนุเคราะห์แสดงโอวาทปาฏิโมกข์เถิด" พระมหามุนีจึงตรัสว่า "ดูก่อนอานนท์ ในชุมนุมนี้ภิกษุผู้ไม่บริสุทธิ์มีอยู่ อานนท์ มิใช่ฐานะที่ตถาคตจะแสดงปาฏิโมกข์ในท่ามกลางบริษัทอันไม่บริสุทธิ์" ตรัสอย่างนี้แล้วก็ประทับเฉยต่อไป
พระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้าย นั่งเข้าฌานตรวจดูว่าภิกษุรูปใดเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์อันเป็นที่รังเกียจของสมเด็จพระบรมศาสดา เมื่อได้เห็นแล้ว จึงกล่าวขึ้นท่ามกลางสงฆ์ว่า "ดูก่อนภิกษุ ท่านออกไปเสียเถิด สมเด็จพระบรมศาสดาเห็นท่านแล้ว" แม้พระมหาเถระจะกล่าวอย่างนี้ ถึง 3 ครั้ง ภิกษุรูปนั้นก็ไม่ยอมออกไปจากชุมนุมสงฆ์ พระมหาโมคคัลลานะจึงลุกขึ้นแล้วดึงแขนภิกษุรูปนั้นออกไป เมื่อภิกษุรูปนั้นออกไปแล้ว พระอานนท์จึงทูลให้แสดงปาฏิโมกข์อีก สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า "อัศจรรย์จริง โมคคัลลานะ หนักหนาจริงโมคคัลลานะ เรื่องไม่เคยมีได้มีขึ้นแล้ว เรื่องไม่เคยมีได้มีขึ้นแล้ว โมฆบุรุษผู้นั้นถึงกับต้องกระชากออกไปจากหมู่สงฆ์ เขาช่างไม่มีหิริโอตตัปปะสำรวจตนเองเสียเลย ภิกษุทั้งหลาย เป็นอฐานะเป็นไปไม่ได้ที่ตถาคตจะพึงทำอุโบสถแสดงปาฏิโมกข์ท่ามกลางชุมนุมสงฆ์ที่ไม่บริสุทธิ์ แม้จะมีเพียงรูปเดียวก็ตาม ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษผู้นั้นทำให้เราลำบากใจ ภิกษุทั้งหลาย เราขอประกาศให้เธอทั้งหลายทราบว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเราตถาคตจะไม่ทำอุโบสถแสดงปาฏิโมกข์อีก ขอให้ภิกษุทั้งหลายทำกันเอง"
แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงความอัศจรรย์แห่งธรรมวินัย 8 ประการ เปรียบด้วยความอัศจรรย์แห่งมหาสมุทรดังนี้ "ภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรย่อมลึกลงตามลำดับ ลาดลงตามลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนภูเขาขาดฉันใด ธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีการศึกษาตามลำดับ การปฏิบัติตามลำดับ การบรรลุตามลำดับลุ่มลึกลงตามลำดับๆ
"ภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรแม้จะมีน้ำมากอย่างไร ก็ไม่ล้นฝั่งคงรักษาระดับไว้ได้ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น ภิกษุสาวกของเราย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แม้จะต้องลำบากถึงเสียชีวิตก็ตาม
"ภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรย่อมซัดสาดซากศพที่ตกลงไปขึ้นฝั่งเสีย ไม่ยอมให้ลอยอยู่นานฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมด้วยภิกษุผู้ทุศีล มีใจบาป มีความประพฤติไม่สะอาดน่ารังเกียจ มีการกระทำที่ต้องปกปิด ไม่ใช่สมณะ ปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี เป็นคนเน่าใน รุงรังสางได้ยากเหมือนกองหยาบเยื่อ สงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมขับภิกษุนั้นออกเสียจากหมู่ภิกษุเช่นนั้น แม้จะนั่งอยู่ท่ามกลางสงฆ์ก็ชื่อว่าอยู่ห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ชื่อว่าอยู่ห่างไกลจากภิกษุเช่นกัน
"ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสายต่างๆ ย่อมหลั่งไหลลงสู่มหาสมุทร และเมื่อไปรวมกันกับน้ำในมหาสมุทรแล้วย่อมละชื่อเดิมของตนเสีย ถึงซึ่งการนับว่ามหาสมุทรเหมือนกันหมดฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น กุลบุตรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะบวช ออกจากตระกูลต่างๆ วรรณะต่างๆ เช่น วรรณะพราหมณ์บ้าง กษัตริย์บ้าง ไวศยะบ้าง ศูทรบ้าง คนเทหยากเยื่อบ้าง จัณฑาลบ้าง แต่เมื่อมาบวชในธรรมวินัยนี้แล้ว ละวรรณะ สกุล และโคตรของตนเสีย ถึงซึ่งการนับว่าสมณะศากยบุตรเหมือนกันหมด
"ภิกษุทั้งหลาย ความพร่องหรือความเต็มเอ่อย่อมไม่ปรากฏแก่มหาสมุทร แม้พระอาทิตย์จะแผดเผาสักเท่าใด น้ำในมหาสมุทรก็หาเหือดแห้งไปไม่ แม้แม่น้ำสายต่างๆ และฝนจะหลั่งลงสู่มหาสมุทรสักเท่าใด มหาสมุทรก็ไม่เต็มฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น แม้จะมีภิกษุเป็นอันมากนิพพานไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แต่นิพพานธาตุก็คงอยู่อย่างนั้นไม่พร่องไม่เต็มเลย แม้จะมีผู้เข้าถึงนิพพานอีกสักเท่าใด นิพพานก็คงมีให้ผู้นั้นอยู่เสมอไม่ขาดแคลนหรือคับแคบ
"ภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทร มีภูตคือสัตว์น้ำเป็นอันมาก มีอวัยวะใหญ่และยาวเช่นปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาวาฬ เป็นต้น ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีภูต คือพระอริยบุคคลเป็นจำนวนมาก มีพระโสดาบันบ้าง พระสกิทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้าง พระอรหันต์บ้าง จำนวนมากหลายเหลือนับ
"ภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรมีนานารัตนะ เช่น มุดดา มณี ไพฑูรย์ เป็นต้น ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีนานาธรรมรัตนะเช่นสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 เป็นต้น
"ภิกษุทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทรย่อมมีรสเดียว คือรสเค็ม ฉันใด ธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีรสเดียว คือวิมุติรส หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญแห่งพรหมจรรย์ที่เราประกาศแล้ว"
เพราะเหตุที่ธรรมวินัยหรือพรหมจรรย์ของพระองค์สมบัติด้วยนานาคุณลักษณะ และสามารถช่วยแก้ทุกข์แก่ผู้มีทุกข์ได้นี่เอง พระองค์จึงเรียกพรหมจรรย์ว่าเป็นกัลยาณมิตร และเรียกกัลยาณมิตรเป็นพรหมจรรย์ เพราะกัลยาณมิตรที่แท้จริงของคนคือธรรม และบาปมิตรที่แท้จริงของคน ก็คือธรรมหรือความชั่วทุจริต
"จะมีศัตรูใดแรงร้ายเท่าพยาธิ คือโรค
จะมีแรงใดเสมอด้วยแรงกรรม
จะมีมิตรใดเสมอด้วยมิตรคือธรรม"
พระอานนท์เคยคิดว่า กัลยาณมิตรนั้นน่าจะเป็นครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์ แต่พระศาสดาตรัสว่า "อย่าคิดอย่างนั้นเลยอานนท์ กัลยาณมิตรเป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียว เพราะผู้ได้อาศัยกัลยาณมิตรอย่าเราแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งมวล"
พระอานนท์พระพุทธอนุชา ได้รับการยกย่องจากพระศาสดามากหลาย เป็นที่รู้จักกันว่าท่านเลิศใน 5 สถานด้วยกัน คือ
1. เป็นพหูสูต สามารถทรงจำพระพุทธพจน์ไว้ได้มาก
2. แสดงธรรมได้ไพเราะ คนฟังไม่อิ่มไม่เบื่อ
3. มีสติรอบคอบ รู้สิ่งที่ควรทำไม่ควรทำ
4. มีความเพียรพยายามดี
5. อุปฐากบำรุงพระศาสดาดียิ่ง ไม่มีข้อบกพร่อง
เมื่อมีโอกาส ท่านมักจะสนทนาธรรมกับพระสารีบุตรเสมอ ในคัมภีร์อังคุตรนิกาย มีเรื่องที่พระอานนท์สนทนากับพระสารีบุตรหลายเรื่อง เช่นเรื่องเกี่ยวกับนิพพานและสมาธิ ภิกษุผู้ฉลาดและภิกษุผู้ไม่ฉลาด จากการสนทนากันบ่อยๆ นี้ พระสารีบุตรได้ประจักษ์ชัดว่า พระอานนท์เป็นผู้ควรแก่การยกย่อง และได้ยกย่องเชิดชูพระอานนท์ว่า มีคุณธรรม 6 ประการ คือ
1. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
2. เป็นผู้แสดงธรรมตามที่ได้ยินได้ฟัง โดยพิศดาร
3. เป็นผู้สาธยายโดยพิศดาร
4. เป็นผู้ชอบตรึกตรองเพ่งพิจารณาธรรม
5. เป็นผู้ยินดีอยู่ใกล้กับพระเถระ ที่เป็นพหูสูต ทรงธรรม ทรงวินัย
6. ท่านพยายามเข้าหาท่านที่เป็นพหูสูต ทรงธรรม ทรงวินัยเพื่อเรียนถามข้อที่ควรถามในโอกาสอันสมควร
ย้อนหลังไปเพียงเล็กน้อยจากเวลาที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสกับพระอานนท์เรื่อง อสรพิษ ปัจฉิมยามแห่งราตรี ฝนซึ่งตกหนักมาแต่ปฐมยาม ได้เริ่มสร่างซาลงบ้างแล้ว ทวยนาครกำลังล่วงเข้าสู่นิทรารมณ์อันสนิท ใครจะนึกบ้างว่าในยามนี้มีมนุษย์กลุ่มหนึ่ง กำลังทำความพยายามเข้าไปสู่พระนคร เพื่อทรัพย์สมบัติซึ่งตนมิได้ลงแรงหามาเลย ถูกแล้ว เขามีอาชีพเป็นโจร ประตูเมืองปิดสนิท มียามรักษาการณ์แข็งแรง เขาประชุมปรึกษากันตั้งแต่ปฐมยามว่า จะหาทางเข้าพระนครได้โดยวิธีใด ในที่สุดเมื่อใกล้ปัจฉิมยามเข้า เขาจึงตกลงกันว่าจะต้องเข้าไปทางท่อระบายน้ำ คืนนั้นพวกเขามิได้นอนเลย
จริงทีเดียว บุคคลผู้หลับน้อยตื่นนาน หรือบางทีมีได้หลับเลยในราตรีนั้นมีอยู่ 5 จำพวก คือ 1. หญิงผู้ปฏิพัทธ์ชาย หวังให้เขาชม2. ชายผู้ปฏิพัทธ์หญิง รำพึงถึงเธอด้วยดวงจิตที่จดจ่อ 3. โจรมุ่งหมายทรัพย์ของผู้อื่น หาทางจะขโมยหรือปล้น 4. พระราชากังวลด้วยพระราชภารกิจ 5. สมณะผู้ทำความเพียรเพื่อละกิเลส
"หญิงชายปฏิพันธ์ชู้ หวังชม เชยนา
โจรมุ่งหมายทรัพย บัติปล้น
ราชันกิจกังวล มากอยู่
พระอยากละกิเลสพ้น หลับน้อยตื่นนาน"
บุคคล 3 ประเภทหลัง คือโจร พระราชา และสมณะนั้น แม้จะหลับน้อย แต่เมื่อถึงเวลาที่จะหลับ เมื่อสิ้นภาระหนักที่แล้ว ก็สามารถหลับได้อย่างง่ายดายและสงบ แต่ 2 ประเภทแรกซิ เมื่อยังไม่หลับก็ยากที่จะข่มตาหลับลงได้ เมื่อหลับก็หลับได้ไม่สนิท คอยพลิกฟื้นตื่นผวาอยู่ร่ำไป เต็มไปด้วยความกระสับกระส่ายกระวนกระวายรุ่มร้อน ภาพแห่งคนรักคอยแต่ฉายเข้ามาในความรู้สึกตลอดเวลา ความรักเป็นความร้ายที่เที่ยวทรมานคนทั้งโลกให้บอบซ้ำตรอมตรม
โจรพวกนั้นเข้าไปในท่อน้ำสำเร็จสมประสงค์แล้วทำลายอุโมงค์ในตระกูลที่มั่งคั่งตระกูลหนึ่ง ได้แก้วแหวนเงินทองไปเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งถุงเงินด้วย ก็นำไปแบ่งกัน ณ ที่แห่งหนึ่ง แต่บังเอิญเขาได้ลืมถุงเงินไว้เพราะมีของอื่นมากหลายจนนำไปแทบจะไม่หมด เมื่อเจ้าของทรัพย์ตื่นขึ้นทราบเหตุในตอนเช้า จึงออกติดตาม และมาพบร่องรอยตรงที่โจรแบ่งของกัน แล้วตามรอยของชาวนาคนนั้นไป ก็พอดีรอยเท้าไปหยุดลงที่กองฝุ่น เจ้าของทรัพย์ลองเขี่ยดูก็ปรากฏถุงเงินมากหลาย จึงแน่ใจว่าชาวนาซึ่งกำลังไถนาอยู่นั้นเป็นโจร ช่วยกันตีเสียจนบอบช้ำ แล้วนำตัวไปถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล
พระราชาทรงทราบเรื่องราว แล้วรับสั่งให้ประหารชีวิต ราชบุรุษเฆี่ยนเขาด้วยหวายครั้งละหลายๆ เส้น แล้วจึงนำชาวนาไปสู่ตะแลงแกง ในขณะที่กำลังถูกนำไปสู่ที่ฆ่านั่นเอง ชาวนาพร่ำอยู่เรื่องเดียว คือข้อความที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสกับพระอานนท์
"ดูก่อนอานนท์ เธอเห็นอสรพิษไหม"
"เห็นพระเจ้าข้า"
เมื่อถูกเฆี่ยนด้วยหวายเขาก็พูดคำนี้ "ดูก่อนอานนท์ เธอเห็นอสรพิษไหม" "เห็นพระเจ้าข้า" จนราชบุรุษประหลาดใจ จึงถามข้อความนั้น ชาวนาบอกว่าถ้านำเขาไปเฝ้าพระราชาเขาจึงจะบอก ราชบุรุษนำตัวไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์ตรัสว่า
"ดูก่อนกสกะ เพราะเหตุไรเธอจึงกล่าวพระดำรัสแห่งพระศาสดาและพระพุทธอนุชาอานนท์"
"เทวะ" ชาวนากราบทูล "ข้าพระองค์มิได้เป็นโจร แต่ข้าพระองค์เป็นคนทำนาหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต" แล้วเขาก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้พระราชาทราบ จอมเสนาแห่งแคว้นโกศลสดับคำนั้นแล้ว ทรงดำริว่า ชายผู้นี้อ้างเอกอัครบุรุษรัตน์ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพยาน การลงโทษบุรุษเห็นปานนี้โดยมิได้สอบสวนให้แน่นอน อาจเป็นเหตุให้เราต้องเสียใจไปจนตลอดชีวิต ทรงดำริอย่างนี้แล้วจึงรับสั่งให้คุมบุรุษผู้นั้นไว้ก่อน เย็นวันนั้นพระองค์เสด็จไปเฝ้าสมเด็จพระบรมะศาสดา และให้นำชาวนานั้นไปด้วย เมื่อถวายบังคมแล้วจึงกราบทูลถามว่า
"พระองค์ผู้เจริญ เช้าวันนี้พระองค์และพระคุณเจ้าอานนท์เสด็จไปที่นาของชายผู้นี้หรือ"
"อย่างนั้นมหาบพิตร" สมเด็จพระบรมะศาสดาทรงตอบ
"พระองค์ได้ทรงเห็นอะไรบ้างพระเจ้าข้า" พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถาม
"เห็นถุงเงิน มหาบพิตร" แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงเล่าเรื่องทั้งหมด ตรงกับชาวนาเล่า
พระเจ้าปเสนทิโกศลทราบเรื่องนี้ ทรงสลดสังเวชพระราชหฤทัย กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของโลก! ข้าพระองค์รู้สึกเสียใจและไม่สบายใจมาก ที่สั่งลงโทษบุรุษผู้นี้โดยที่เขาไม่มีความผิดเลย ถ้าเขาถูกประหารชีวิต แล้วข้าพระองค์มาทราบภายหลังว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ ข้าพระองค์คงจะต้องเสียใจไปตลอดชีวิต พระองค์ไม่เพียงแต่เป็นที่พึ่งของชาวนาผู้นี้เท่านั้น แต่ทรงอนุเคราะห์ข้าพระองค์ให้พ้นจากบาปอีกด้วย ข้าแต่พระจอมมุนี พระองค์ช่างอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์สุขของโลกโดยแท้" ตรัสอย่างนี้พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ซบพระเศียรลงแทบพระยุคลบาทของสมเด็จพระบรมะศาสดา ทรงจุมพิตพระบาทของพระพุทธองค์ด้วยความเลื่อมใสอย่างสูง ซึ่งพระองค์มักทรงกระทำเสมอ เมื่อไปเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดา
พระตถาคตเจ้าทรงปลอบ ให้พระราชาเบาพระทัยด้วยพระพุทธดำรัสเป็นอเนกปริยาย ตอนสุดท้ายตรัสว่า
"มหาบพิตร คฤหัสถ์ผู้ยังบริโภคกามเกียจคร้าน 1 พระราชาทรงประกอบกรณียกิจโดยมิได้พิจารณาโดยรอบคอบถี่ถ้วนเสียก่อน 1 บรรพชิตไม่สำรวม 1 ผู้อ้างตนว่าเป็นบัณฑิตแต่มักโกรธ 1 สี่ จำพวกนี้ไม่ดีเลย "มหาบพิตร กรรมอันใดที่ทำไปแล้วต้องเดือดร้อนใจภายหลัง ต้องมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา เสวยผลแห่งกรรมนั้น ตถาคตกล่าวว่ากรรมนั้นไม่ดี ควรเว้นเสีย "มหาบพิตร นานมาแล้วมีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนานว่า 'ปิงคละ' ทวยนาครถวายสร้อยพระนามให้ว่า 'อกัณหเนตร - ผู้มีพระเนตรไม่ดำ' หมายความว่าทรงดุร้าย และประกอบราชกิจโดยมิได้ทรงพิจารณา สั่งฆ่าประหารคนโดยมิได้พิจารณาให้รอบคอบ จนเป็นที่เกลียดชังของคนทั้งหลาย เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ชาวนครต่างชื่นชมโสมนัส เล่นมหรสพ 7 วัน 7 คืน ยกธงทิวตามประทีปโคมไฟหลากสี มีการเล่นเต้นรำอย่างเบิกบานใจ ในท่ามกลางความบันเทิงนั่นเอง คนเฝ้าประตูคนหนึ่งไปยืนเกาะบานประตูร้องไห้อยู่ เมื่อถูกคนทั้งหลายซักถามถึงสาเหตุที่ร้องไห้ คนเฝ้าประตู ตอบว่า เขาร้องไห้เพราะพระราชาอกัณหเนตรสิ้นพระชนม์นั่นเอง เขากลัวว่าพระองค์เสด็จไปสู่ยมโลกแล้วจะไปทำทารุณกรรมต่างๆ จนยมบาลเอาไว้ไม่ไหว แล้วจะส่งกลับขึ้นมาก่อกวนความสงบสุขในโลกนี้อีก เขาคิดไปอย่างนี้แล้วจึงร้องไห้ หาได้ร้องไห้เพราะความเสียใจหรือจงรักภักดีไม่"มหาบพิตร เมตตากรุณาเป็นพรอันประเสริฐในตัวมนุษย์"
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงบันเทิงด้วยพระธรรมเทศนาของพระศาสดาเป็นที่ยิ่ง ทรงสนทนาต่อไปอีกครู่หนึ่งแล้วถวายบังคมลากลับ ส่วนชาวนาผู้นั้นส่งกระแสจิตไปตามพระดำรัสของสมเด็จพระบรมศาสดา สามารถถอนสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการได้ เขาสำเร็จโสดาปัตติผล เป็นอริยบุคคลขี้นโสดาบัณ ด้วยประการฉะนี้ แม้จะทรงมีพระทัยกรุณาประดุจห้วงมหรรณพก็ตาม แต่พระบรมศาสดาทรงรังเกียจอย่างยิ่ง ซึ่งบุคคลผู้ไม่บริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสาวกที่ทรงเพศเป็นภิกษุ มีเรื่องสาธกดังนี้
วันหนึ่งเป็นวันอุโบสถ พอพระอาทิตย์ตกดิน พระสงฆ์ทั้งมวลก็ประชุมพร้อมกัน ณ อุโบสถาคาร เพื่อฟังพระโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงเองทุกกึ่งเดือน พระมหาสมณะเจ้าเสด็จสู่โรงอุโบสถ แต่ประทับเฉยอยู่ หาแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์ไม่ เมื่อปฐมยามแห่งราตรีล่วงไปแล้ว พระอานนท์พุทธอนุชา จึงนั่งคุกเข่าประนมมือถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า
"พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ปฐมยามแห่งราตรีล่วงไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายคอยมานานแล้ว ขอพระองค์โปรดทรงแสดงปาฏิโมกข์เถิด"
แต่พระพุทธองค์ก็ยังทรงเฉยอยู่ เมื่อมัชฌิมยามแห่งราตรีล่วงไปแล้ว พระอานนท์ก็ทูลอีก แต่ก็คงประทับเฉย ไม่ยอมทรงแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์ เมื่อย่างเข้าสู่ปัจฉิมยาม พระอานนท์จึงทูลว่า
"พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ปฐมยามและมัชฌิมยามล่วงไปแล้ว กาลเวลาย่างเข้าสู่ปัจฉิมยาม ภิกษุทั้งหลายคอยมานานแล้ว ขอพระองค์อาศัยความอนุเคราะห์แสดงโอวาทปาฏิโมกข์เถิด" พระมหามุนีจึงตรัสว่า "ดูก่อนอานนท์ ในชุมนุมนี้ภิกษุผู้ไม่บริสุทธิ์มีอยู่ อานนท์ มิใช่ฐานะที่ตถาคตจะแสดงปาฏิโมกข์ในท่ามกลางบริษัทอันไม่บริสุทธิ์" ตรัสอย่างนี้แล้วก็ประทับเฉยต่อไป
พระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้าย นั่งเข้าฌานตรวจดูว่าภิกษุรูปใดเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์อันเป็นที่รังเกียจของสมเด็จพระบรมศาสดา เมื่อได้เห็นแล้ว จึงกล่าวขึ้นท่ามกลางสงฆ์ว่า "ดูก่อนภิกษุ ท่านออกไปเสียเถิด สมเด็จพระบรมศาสดาเห็นท่านแล้ว" แม้พระมหาเถระจะกล่าวอย่างนี้ ถึง 3 ครั้ง ภิกษุรูปนั้นก็ไม่ยอมออกไปจากชุมนุมสงฆ์ พระมหาโมคคัลลานะจึงลุกขึ้นแล้วดึงแขนภิกษุรูปนั้นออกไป เมื่อภิกษุรูปนั้นออกไปแล้ว พระอานนท์จึงทูลให้แสดงปาฏิโมกข์อีก สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า "อัศจรรย์จริง โมคคัลลานะ หนักหนาจริงโมคคัลลานะ เรื่องไม่เคยมีได้มีขึ้นแล้ว เรื่องไม่เคยมีได้มีขึ้นแล้ว โมฆบุรุษผู้นั้นถึงกับต้องกระชากออกไปจากหมู่สงฆ์ เขาช่างไม่มีหิริโอตตัปปะสำรวจตนเองเสียเลย ภิกษุทั้งหลาย เป็นอฐานะเป็นไปไม่ได้ที่ตถาคตจะพึงทำอุโบสถแสดงปาฏิโมกข์ท่ามกลางชุมนุมสงฆ์ที่ไม่บริสุทธิ์ แม้จะมีเพียงรูปเดียวก็ตาม ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษผู้นั้นทำให้เราลำบากใจ ภิกษุทั้งหลาย เราขอประกาศให้เธอทั้งหลายทราบว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเราตถาคตจะไม่ทำอุโบสถแสดงปาฏิโมกข์อีก ขอให้ภิกษุทั้งหลายทำกันเอง"
แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงความอัศจรรย์แห่งธรรมวินัย 8 ประการ เปรียบด้วยความอัศจรรย์แห่งมหาสมุทรดังนี้ "ภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรย่อมลึกลงตามลำดับ ลาดลงตามลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนภูเขาขาดฉันใด ธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีการศึกษาตามลำดับ การปฏิบัติตามลำดับ การบรรลุตามลำดับลุ่มลึกลงตามลำดับๆ
"ภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรแม้จะมีน้ำมากอย่างไร ก็ไม่ล้นฝั่งคงรักษาระดับไว้ได้ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น ภิกษุสาวกของเราย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แม้จะต้องลำบากถึงเสียชีวิตก็ตาม
"ภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรย่อมซัดสาดซากศพที่ตกลงไปขึ้นฝั่งเสีย ไม่ยอมให้ลอยอยู่นานฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมด้วยภิกษุผู้ทุศีล มีใจบาป มีความประพฤติไม่สะอาดน่ารังเกียจ มีการกระทำที่ต้องปกปิด ไม่ใช่สมณะ ปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี เป็นคนเน่าใน รุงรังสางได้ยากเหมือนกองหยาบเยื่อ สงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมขับภิกษุนั้นออกเสียจากหมู่ภิกษุเช่นนั้น แม้จะนั่งอยู่ท่ามกลางสงฆ์ก็ชื่อว่าอยู่ห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ชื่อว่าอยู่ห่างไกลจากภิกษุเช่นกัน
"ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสายต่างๆ ย่อมหลั่งไหลลงสู่มหาสมุทร และเมื่อไปรวมกันกับน้ำในมหาสมุทรแล้วย่อมละชื่อเดิมของตนเสีย ถึงซึ่งการนับว่ามหาสมุทรเหมือนกันหมดฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น กุลบุตรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะบวช ออกจากตระกูลต่างๆ วรรณะต่างๆ เช่น วรรณะพราหมณ์บ้าง กษัตริย์บ้าง ไวศยะบ้าง ศูทรบ้าง คนเทหยากเยื่อบ้าง จัณฑาลบ้าง แต่เมื่อมาบวชในธรรมวินัยนี้แล้ว ละวรรณะ สกุล และโคตรของตนเสีย ถึงซึ่งการนับว่าสมณะศากยบุตรเหมือนกันหมด
"ภิกษุทั้งหลาย ความพร่องหรือความเต็มเอ่อย่อมไม่ปรากฏแก่มหาสมุทร แม้พระอาทิตย์จะแผดเผาสักเท่าใด น้ำในมหาสมุทรก็หาเหือดแห้งไปไม่ แม้แม่น้ำสายต่างๆ และฝนจะหลั่งลงสู่มหาสมุทรสักเท่าใด มหาสมุทรก็ไม่เต็มฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น แม้จะมีภิกษุเป็นอันมากนิพพานไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แต่นิพพานธาตุก็คงอยู่อย่างนั้นไม่พร่องไม่เต็มเลย แม้จะมีผู้เข้าถึงนิพพานอีกสักเท่าใด นิพพานก็คงมีให้ผู้นั้นอยู่เสมอไม่ขาดแคลนหรือคับแคบ
"ภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทร มีภูตคือสัตว์น้ำเป็นอันมาก มีอวัยวะใหญ่และยาวเช่นปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาวาฬ เป็นต้น ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีภูต คือพระอริยบุคคลเป็นจำนวนมาก มีพระโสดาบันบ้าง พระสกิทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้าง พระอรหันต์บ้าง จำนวนมากหลายเหลือนับ
"ภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรมีนานารัตนะ เช่น มุดดา มณี ไพฑูรย์ เป็นต้น ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีนานาธรรมรัตนะเช่นสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 เป็นต้น
"ภิกษุทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทรย่อมมีรสเดียว คือรสเค็ม ฉันใด ธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีรสเดียว คือวิมุติรส หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญแห่งพรหมจรรย์ที่เราประกาศแล้ว"
เพราะเหตุที่ธรรมวินัยหรือพรหมจรรย์ของพระองค์สมบัติด้วยนานาคุณลักษณะ และสามารถช่วยแก้ทุกข์แก่ผู้มีทุกข์ได้นี่เอง พระองค์จึงเรียกพรหมจรรย์ว่าเป็นกัลยาณมิตร และเรียกกัลยาณมิตรเป็นพรหมจรรย์ เพราะกัลยาณมิตรที่แท้จริงของคนคือธรรม และบาปมิตรที่แท้จริงของคน ก็คือธรรมหรือความชั่วทุจริต
"จะมีศัตรูใดแรงร้ายเท่าพยาธิ คือโรค
จะมีแรงใดเสมอด้วยแรงกรรม
จะมีมิตรใดเสมอด้วยมิตรคือธรรม"
พระอานนท์เคยคิดว่า กัลยาณมิตรนั้นน่าจะเป็นครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์ แต่พระศาสดาตรัสว่า "อย่าคิดอย่างนั้นเลยอานนท์ กัลยาณมิตรเป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียว เพราะผู้ได้อาศัยกัลยาณมิตรอย่าเราแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งมวล"
พระอานนท์พระพุทธอนุชา ได้รับการยกย่องจากพระศาสดามากหลาย เป็นที่รู้จักกันว่าท่านเลิศใน 5 สถานด้วยกัน คือ
1. เป็นพหูสูต สามารถทรงจำพระพุทธพจน์ไว้ได้มาก
2. แสดงธรรมได้ไพเราะ คนฟังไม่อิ่มไม่เบื่อ
3. มีสติรอบคอบ รู้สิ่งที่ควรทำไม่ควรทำ
4. มีความเพียรพยายามดี
5. อุปฐากบำรุงพระศาสดาดียิ่ง ไม่มีข้อบกพร่อง
เมื่อมีโอกาส ท่านมักจะสนทนาธรรมกับพระสารีบุตรเสมอ ในคัมภีร์อังคุตรนิกาย มีเรื่องที่พระอานนท์สนทนากับพระสารีบุตรหลายเรื่อง เช่นเรื่องเกี่ยวกับนิพพานและสมาธิ ภิกษุผู้ฉลาดและภิกษุผู้ไม่ฉลาด จากการสนทนากันบ่อยๆ นี้ พระสารีบุตรได้ประจักษ์ชัดว่า พระอานนท์เป็นผู้ควรแก่การยกย่อง และได้ยกย่องเชิดชูพระอานนท์ว่า มีคุณธรรม 6 ประการ คือ
1. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
2. เป็นผู้แสดงธรรมตามที่ได้ยินได้ฟัง โดยพิศดาร
3. เป็นผู้สาธยายโดยพิศดาร
4. เป็นผู้ชอบตรึกตรองเพ่งพิจารณาธรรม
5. เป็นผู้ยินดีอยู่ใกล้กับพระเถระ ที่เป็นพหูสูต ทรงธรรม ทรงวินัย
6. ท่านพยายามเข้าหาท่านที่เป็นพหูสูต ทรงธรรม ทรงวินัยเพื่อเรียนถามข้อที่ควรถามในโอกาสอันสมควร