ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็น เรื่อง "การทำบุญของคนไทยในสภาวะปัจจุบัน" โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 808 คน เมื่อวันที่ 12-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พบว่า วิธีการทำบุญทำทานของประชาชนในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่าร้อยละ 32.8 ตักบาตร ร้อยละ 20.5 ไหว้พระตามวัดต่าง ๆ ร้อยละ 16.4 ถวายเครื่องสังฆทาน/ ถวายปัจจัย ร้อยละ 17.9 บริจาคเงิน/สิ่งของ บริจาคเลือด บริจาคอวัยวะ ร้อยละ 7.7 รักษาศีล ปฏิบัติธรรม สำหรับผู้ที่ระบุว่าเคยตักบาตรในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้น เมื่อสอบถามจำนวนครั้งของ การตักบาตร พบว่า ประชาชนกลุ่มใหญ่ที่สุด คือ ร้อยละ 44.7 ตักบาตร 1-3 ครั้ง หรือเฉลี่ยเดือนละไม่เกิน 1 ครั้ง
ส่วนในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการทำบุญตักบาตรของประชาชนหรือไม่นั้น พบว่า ร้อยละ 56.6 ระบุว่า ส่งผลกระทบ โดยต้องลดจำนวนครั้งและจำนวนเงินในการทำบุญลง เลือกของใส่บาตรที่ราคาไม่แพง ถวายปัจจัย (เงิน) ในจำนวนน้อยลง เป็นต้น ขณะที่ร้อยละ 43.4 ระบุว่า ไม่ส่งผลกระทบ ส่วนกิจกรรมที่ประชาชนตั้งใจจะทำในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาที่จะถึงนี้ คือ ตักบาตร ร้อยละ 22.9 เวียนเทียน ร้อยละ 18.9 ถวายสังฆทาน/ผ้าอาบ ร้อยละ 9.9 ถวายเทียนพรรษา ร้อยละ 9.1 รักษาศีล/ ปฏิบัติธรรม ร้อยละ 9.1 ฟังเทศน์ฟังธรรม ร้อยละ 8.2 พักผ่อนอยู่กับบ้าน ร้อยละ 6.8 ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า จำนวนประชาชนที่ ตั้งใจจะไปตักบาตรในเทศกาลเข้าพรรษา มีจำนวนลดลง ร้อยละ 24.1 จากเดิมคือร้อยละ 47.0
ส่วนในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการทำบุญตักบาตรของประชาชนหรือไม่นั้น พบว่า ร้อยละ 56.6 ระบุว่า ส่งผลกระทบ โดยต้องลดจำนวนครั้งและจำนวนเงินในการทำบุญลง เลือกของใส่บาตรที่ราคาไม่แพง ถวายปัจจัย (เงิน) ในจำนวนน้อยลง เป็นต้น ขณะที่ร้อยละ 43.4 ระบุว่า ไม่ส่งผลกระทบ ส่วนกิจกรรมที่ประชาชนตั้งใจจะทำในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาที่จะถึงนี้ คือ ตักบาตร ร้อยละ 22.9 เวียนเทียน ร้อยละ 18.9 ถวายสังฆทาน/ผ้าอาบ ร้อยละ 9.9 ถวายเทียนพรรษา ร้อยละ 9.1 รักษาศีล/ ปฏิบัติธรรม ร้อยละ 9.1 ฟังเทศน์ฟังธรรม ร้อยละ 8.2 พักผ่อนอยู่กับบ้าน ร้อยละ 6.8 ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า จำนวนประชาชนที่ ตั้งใจจะไปตักบาตรในเทศกาลเข้าพรรษา มีจำนวนลดลง ร้อยละ 24.1 จากเดิมคือร้อยละ 47.0