น้ำมันดิบสหรัฐฯ ปิดตลาดที่บาร์เรลละ 136.74 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์ลอนดอนปิดที่บาร์เรลละ 135.91 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1.05 ดอลลาร์สหรัฐฯ
นักวิเคราะห์ระบุว่า สิ่งที่ตลาดค้าน้ำมันวิตกมากเป็นอันดับแรกคือ การผละงานของคนงานน้ำมันที่โรงงานเชฟรอนในไนจีเรีย แม้ยังไม่เห็นผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันแต่ได้เพิ่มความวิตกต่อการผลิตน้ำมันในไนจีเรียซึ่งได้ลดการผลิตไปแล้ววันละ 340,000 บาร์เรลเมื่อสัปดาห์ก่อนเพราะถูกกลุ่มติดอาวุธโจมตี นอกจากนี้ตลาดยังวิตกต่อการที่สหภาพยุโรป หรือ อียู อนุมัติมาตรการลงโทษอิหร่านครั้งใหม่ เช่น อายัดทรัพย์สินของธนาคารใหญ่ที่สุดในอิหร่านเพราะอิหร่านไม่ทำตามข้อเรียกร้องยุติโครงการนิวเคลียร์ ซ้ำเติมสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านที่ทวีความตึงเครียด ผู้เชี่ยวชาญเกรงว่าอิหร่านอาจจะปิดช่องแคบฮอร์มุซที่เป็นเส้นทางลำเลียงน้ำมันร้อยละ 40 ของน้ำมันที่ค้าขายในโลก
อีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนทำให้ราคาน้ำมันโลกปรับขึ้นคือ ผลการประชุมที่ไม่น่าพอใจนักของที่ประชุมนครเจดดาห์ของซาอุดีอาระเบียช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะมีเพียงซาอุดีอาระเบียประเทศเดียวที่ประกาศชัดเจนว่าจะเพิ่มกำลังผลิตเป็นวันละ 15 ล้านบาร์เรลหากตลาดต้องการ ขณะที่สมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ประเทศอื่นรับปากอย่างไม่จริงจังนัก ก่อนหน้านี้ซาอุดีอาระเบียได้ประกาศว่าจะเพิ่มกำลังผลิตเป็นวันละ 9.7 ล้านบาร์เรลในเดือนกรกฎาคม ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี
นักวิเคราะห์ระบุว่า สิ่งที่ตลาดค้าน้ำมันวิตกมากเป็นอันดับแรกคือ การผละงานของคนงานน้ำมันที่โรงงานเชฟรอนในไนจีเรีย แม้ยังไม่เห็นผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันแต่ได้เพิ่มความวิตกต่อการผลิตน้ำมันในไนจีเรียซึ่งได้ลดการผลิตไปแล้ววันละ 340,000 บาร์เรลเมื่อสัปดาห์ก่อนเพราะถูกกลุ่มติดอาวุธโจมตี นอกจากนี้ตลาดยังวิตกต่อการที่สหภาพยุโรป หรือ อียู อนุมัติมาตรการลงโทษอิหร่านครั้งใหม่ เช่น อายัดทรัพย์สินของธนาคารใหญ่ที่สุดในอิหร่านเพราะอิหร่านไม่ทำตามข้อเรียกร้องยุติโครงการนิวเคลียร์ ซ้ำเติมสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านที่ทวีความตึงเครียด ผู้เชี่ยวชาญเกรงว่าอิหร่านอาจจะปิดช่องแคบฮอร์มุซที่เป็นเส้นทางลำเลียงน้ำมันร้อยละ 40 ของน้ำมันที่ค้าขายในโลก
อีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนทำให้ราคาน้ำมันโลกปรับขึ้นคือ ผลการประชุมที่ไม่น่าพอใจนักของที่ประชุมนครเจดดาห์ของซาอุดีอาระเบียช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะมีเพียงซาอุดีอาระเบียประเทศเดียวที่ประกาศชัดเจนว่าจะเพิ่มกำลังผลิตเป็นวันละ 15 ล้านบาร์เรลหากตลาดต้องการ ขณะที่สมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ประเทศอื่นรับปากอย่างไม่จริงจังนัก ก่อนหน้านี้ซาอุดีอาระเบียได้ประกาศว่าจะเพิ่มกำลังผลิตเป็นวันละ 9.7 ล้านบาร์เรลในเดือนกรกฎาคม ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี