ในการสัมมนาบทบาททหารอาชีพกับประชาธิปไตย รศ.สุรชาติ บำรุงสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์การรบและสงคราม ระบุว่า ขณะนี้ทหารยังคงมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยเชื่อว่า เกิดจากสภาพแวดล้อมทางสังคม ทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ จึงควรพิจารณาจุดเหมาะสมในการวางบทบาทของทหารในทางการเมือง เพื่อบทบาทที่เหมาะสม ระหว่างคำว่าทหารอาชีพ และทหารที่ถูกมองว่า เข้ามาแทรกแซงการเมือง เนื่องจากที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ของทหารกับฝ่ายการเมือง มักเกิดปัญหาขึ้น และการเกิดเหตุยึดอำนาจรัฐประหาร 2 ครั้ง เมื่อปี 2534 และปี 2549 มีปัจจัยที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะกระแสข่าวลือการปลดผู้บัญชาการทหารบก
รศ.สุรชาติ ตั้งข้อสังเกตว่า ทหารเข้าไปดำเนินการทางการเมือง โดยเฉพาะการยึดอำนาจเกิดขึ้นได้จากแรงขับเคลื่อนภายในกองทัพ และกระแสเรียกร้องจากกลุ่มสมัชชาประชาสังคม โดยแยกออกเป็น 4 ส่วน คือ ประชาชน ชนชั้นกลางในเมือง สื่อมวลชนและ กลุ่มเอ็นจีโอ
ขณะที่ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ รองโฆษกกระทรวงกลาโหม ยอมรับว่า ปัจจุบันกองทัพยึดความเป็นชาตินิยมและทหารนิยม แต่ภายในกองทัพอาจมีการแบ่งกลุ่ม และไม่ได้มีความคิดเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งหมด ทำให้วิเคราะห์ไม่ได้ว่า ใครยังมีแนวคิดเรื่องรัฐประหาร ขณะเดียวกัน หากมีใครคิดทำรัฐประหารอีก คงจะเกิดปัญหาตามมาหลายด้าน ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อกองทัพทั้งสิ้น โดยเฉพาะกระแสตีกลับจากสังคม ที่ไม่ยอมรับแนวทางรัฐประหาร รวมทั้งสังคมภายนอกประเทศ
การสัมมนาสื่อสัมพันธ์ของกระทรวงกลาโหมครั้งนี้ มีทั้งฝ่ายทหาร ผู้แทนองค์กรต่างๆ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางความคิดเห็น เพื่อหาจุดยืนที่เหมาะสมสำหรับบทบาทของทหารอาชีพ โดยส่วนใหญ่เห็นว่า ทหารควรวางตัวเป็นกลางทางการเมือง
รศ.สุรชาติ ตั้งข้อสังเกตว่า ทหารเข้าไปดำเนินการทางการเมือง โดยเฉพาะการยึดอำนาจเกิดขึ้นได้จากแรงขับเคลื่อนภายในกองทัพ และกระแสเรียกร้องจากกลุ่มสมัชชาประชาสังคม โดยแยกออกเป็น 4 ส่วน คือ ประชาชน ชนชั้นกลางในเมือง สื่อมวลชนและ กลุ่มเอ็นจีโอ
ขณะที่ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ รองโฆษกกระทรวงกลาโหม ยอมรับว่า ปัจจุบันกองทัพยึดความเป็นชาตินิยมและทหารนิยม แต่ภายในกองทัพอาจมีการแบ่งกลุ่ม และไม่ได้มีความคิดเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งหมด ทำให้วิเคราะห์ไม่ได้ว่า ใครยังมีแนวคิดเรื่องรัฐประหาร ขณะเดียวกัน หากมีใครคิดทำรัฐประหารอีก คงจะเกิดปัญหาตามมาหลายด้าน ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อกองทัพทั้งสิ้น โดยเฉพาะกระแสตีกลับจากสังคม ที่ไม่ยอมรับแนวทางรัฐประหาร รวมทั้งสังคมภายนอกประเทศ
การสัมมนาสื่อสัมพันธ์ของกระทรวงกลาโหมครั้งนี้ มีทั้งฝ่ายทหาร ผู้แทนองค์กรต่างๆ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางความคิดเห็น เพื่อหาจุดยืนที่เหมาะสมสำหรับบทบาทของทหารอาชีพ โดยส่วนใหญ่เห็นว่า ทหารควรวางตัวเป็นกลางทางการเมือง