ในการเสวนา เรื่อง "สงครามการเมือง พลังประชาชน พันธมิตรฯ ชนวนวิกฤต 6 ตุลา ภาค 2" จัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ช่วงเช้าที่ผ่านมา มีนักวิชาการจาก 3 สถาบันเห็นตรงกันว่า ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีการแบ่งขั้วในขณะนี้ มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่ความรุนแรง นองเลือดเป็นสงครามกลางเมือง หรือเกิดการจลาจลได้
โดยนายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองคณบดีคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มองว่าเงื่อนไขของความรุนแรงอยู่ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลบล้างความผิด ซึ่งการกระทำนั้นจะถือเป็นความสิ้นคิดที่จะนำไปสู่การจลาจลขนาดใหญ่ได้
ด้านนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอทางออกหลีกเลี่ยงความรุนแรง ด้วยการยึดกติกา ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา ตัดชนวนความรุนแรงด้วยการยุติการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และหากมีการแก้ไขก็ควรตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.3) มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้เป็นที่ยอมรับของสังคม
ขณะที่นายสุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอให้สังคมใช้สติมากกว่าอารมณ์ในการแก้ปัญหา และทำให้การเมืองกลับสู่ภาวะปกติด้วยการยุบสภา โดยการเมืองบนถนนต้องเข้าสู่ระบบ และนำเสนอนโยบายเพื่อแข่งขันทางการเมือง รวมถึงต้องรักษาสมดุลและเสถียรภาพของอำนาจ 3 สถาบันหลักอย่างฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ เพราะปัจจุบันอำนาจการตรวจสอบเกินดุลฝ่ายอื่น
โดยนายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองคณบดีคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มองว่าเงื่อนไขของความรุนแรงอยู่ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลบล้างความผิด ซึ่งการกระทำนั้นจะถือเป็นความสิ้นคิดที่จะนำไปสู่การจลาจลขนาดใหญ่ได้
ด้านนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอทางออกหลีกเลี่ยงความรุนแรง ด้วยการยึดกติกา ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา ตัดชนวนความรุนแรงด้วยการยุติการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และหากมีการแก้ไขก็ควรตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.3) มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้เป็นที่ยอมรับของสังคม
ขณะที่นายสุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอให้สังคมใช้สติมากกว่าอารมณ์ในการแก้ปัญหา และทำให้การเมืองกลับสู่ภาวะปกติด้วยการยุบสภา โดยการเมืองบนถนนต้องเข้าสู่ระบบ และนำเสนอนโยบายเพื่อแข่งขันทางการเมือง รวมถึงต้องรักษาสมดุลและเสถียรภาพของอำนาจ 3 สถาบันหลักอย่างฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ เพราะปัจจุบันอำนาจการตรวจสอบเกินดุลฝ่ายอื่น