นายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม กล่าวว่า ผู้ประกอบการโรงกลั่นน้ำมันในประเทศทั้ง 7 แห่ง ประกอบด้วย บางจาก ไออาร์พีซี ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น เอสโซ่ สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง (เอสพีอาร์ซี) ไทยออยล์ และ ปตท. มีกำไรจากค่าการกลั่นน้ำมันขั้นต้นเดือนพฤษภาคม 2551 เฉลี่ยอยู่ที่ 1.10 บาทต่อลิตร (ประมาณ 5.4 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) เมื่อหักลบค่าใช้จ่ายภาษี และการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและกองทุนอนุรักษ์พลังงาน จะมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 36 สตางค์ต่อลิตร (ประมาณ 1.08 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) ส่วนกรณีมีการนำเสนอว่าโรงกลั่นน้ำมัน มีกำไรในปี 2550 สูงกว่า 200,000 ล้านบาทเป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีกำไรเพียง 54,000 ล้านบาท เพราะมีความซ้ำซ้อนและมีการนำรายได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการกลั่นน้ำมันเข้ามาคำนวณด้วย
สำหรับแนวโน้มธุรกิจการกลั่นปีนี้ คาดว่ายังมีทิศทางที่ดี เนื่องจากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง และความต้องการใช้ของทั่วโลกสูงขึ้นประมาณ 85.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเฉพาะจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง ที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการใช้ในแต่ละปี เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และในระยะยาวยังเป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนที่ดี ส่วนธุรกิจโรงกลั่นในประเทศ จะมีการก่อสร้างโรงกลั่นแห่งที่ 8 หรือไม่ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ในประเทศเป็นหลัก รวมทั้งความคุ้มค่าในการลงทุนด้วย
สำหรับแนวโน้มธุรกิจการกลั่นปีนี้ คาดว่ายังมีทิศทางที่ดี เนื่องจากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง และความต้องการใช้ของทั่วโลกสูงขึ้นประมาณ 85.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเฉพาะจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง ที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการใช้ในแต่ละปี เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และในระยะยาวยังเป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนที่ดี ส่วนธุรกิจโรงกลั่นในประเทศ จะมีการก่อสร้างโรงกลั่นแห่งที่ 8 หรือไม่ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ในประเทศเป็นหลัก รวมทั้งความคุ้มค่าในการลงทุนด้วย