รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอนันท์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างรัฐบาล และกลุ่มพันธมิตรประชาธิปไตยเพื่อประชาชน เป็นความขัดแย้งที่ทำให้เห็นความแตกต่างและความแตกแยกในสังคมไทยชัดเจน ซึ่งสังคมไทยควรจัดการด้วยวิธีสันติ โดยมีพื้นที่ให้ได้ตั้งคำถาม ได้สงสัย ได้ใช้สติ แทนที่จะใช้ความรุนแรง เพราะความรุนแรงจะทำลายทุกอย่าง ทำลายพื้นที่ที่จะสงสัย ทำลายพื้นที่ที่จะตั้งคำถาม โดยเฉพาะทำลายสติ
นักวิชาการด้านสันติวิธีระบุในบทสัมภาษณ์ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์แห่งหนึ่ง (www.civilvoice.net) ว่า "เราเคยคิดถึงงานของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เรื่อง "2 นคราประชาธิปไตย" ในระยะหลัง ดร.เอนก ระบุว่ามีมากกว่านั้น อาจจะไม่ใช่เพียง 2 นครา แต่รอยแยกของ ๒ นครา อาจเห็นชัดขึ้นแล้ว คำถามคือในระบอบประชาธิปไตยควรมีหลายนคราอยู่ด้วยกันได้"
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า นอกเหนือจากความขัดแย้งทางการเมือง สังคมไทยยังเผชิญความขัดแย้งซึ่งมาจากปัญหาการพัฒนาและฐานทรัพยากร โดยคนจำนวนหนึ่งเชื่อว่าพาประเทศไปอย่างนี้จะดี แต่คนอีกส่วนหนึ่งเชื่อว่าไปจะเดือดร้อน ซึ่งปัญหานับวันจะร้ายแรงขึ้น เพราะภาคการเกษตรกลายเป็นทรัพยากรซึ่งเป็นที่ต้องการไปทั่วโลก
ส่วนความขัดแย้งประการสุดท้าย เป็นความขัดแย้งระหว่างศูนย์กลางกับชายขอบ ซึ่งปรากฏในปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นความขัดแย้งระหว่างในพื้นที่ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในประเทศ แต่เป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ คือคนมุสลิม คนไทยพุทธซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศแต่เป็นคนส่วนน้อยในพื้นที่ สำหรับแนวทางแก้ปัญหา ต้องอาศัยการค้นคว้าวิจัยกับความรู้เพื่อช่วยลดอคติ โดยอย่างน้อยหากมีความรู้ อคติหรือแนวทางที่จะแบ่งเขาแบ่งเราชนิดที่ไม่ลืมหูลืมตาอาจจะลดลง
นักวิชาการด้านสันติวิธีระบุในบทสัมภาษณ์ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์แห่งหนึ่ง (www.civilvoice.net) ว่า "เราเคยคิดถึงงานของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เรื่อง "2 นคราประชาธิปไตย" ในระยะหลัง ดร.เอนก ระบุว่ามีมากกว่านั้น อาจจะไม่ใช่เพียง 2 นครา แต่รอยแยกของ ๒ นครา อาจเห็นชัดขึ้นแล้ว คำถามคือในระบอบประชาธิปไตยควรมีหลายนคราอยู่ด้วยกันได้"
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า นอกเหนือจากความขัดแย้งทางการเมือง สังคมไทยยังเผชิญความขัดแย้งซึ่งมาจากปัญหาการพัฒนาและฐานทรัพยากร โดยคนจำนวนหนึ่งเชื่อว่าพาประเทศไปอย่างนี้จะดี แต่คนอีกส่วนหนึ่งเชื่อว่าไปจะเดือดร้อน ซึ่งปัญหานับวันจะร้ายแรงขึ้น เพราะภาคการเกษตรกลายเป็นทรัพยากรซึ่งเป็นที่ต้องการไปทั่วโลก
ส่วนความขัดแย้งประการสุดท้าย เป็นความขัดแย้งระหว่างศูนย์กลางกับชายขอบ ซึ่งปรากฏในปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นความขัดแย้งระหว่างในพื้นที่ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในประเทศ แต่เป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ คือคนมุสลิม คนไทยพุทธซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศแต่เป็นคนส่วนน้อยในพื้นที่ สำหรับแนวทางแก้ปัญหา ต้องอาศัยการค้นคว้าวิจัยกับความรู้เพื่อช่วยลดอคติ โดยอย่างน้อยหากมีความรู้ อคติหรือแนวทางที่จะแบ่งเขาแบ่งเราชนิดที่ไม่ลืมหูลืมตาอาจจะลดลง