ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตุการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่องโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเด็ก และเยาวชนไทย และทัศนคติต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย กรณีศึกษาตัวอย่างเด็กและเยาวชนไทยอายุระหว่าง 10 - 24 ปี ทั่วประเทศทั้งในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาลใน 15 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ พิษณุโลก แพร่ ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย ยโสธร ลพบุรี อยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สุราษฏร์ธานี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 3,137 ตัวอย่าง ระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 24 พฤษภาคม 2551
จากผลการสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.3 ยังคงเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยท่ามกลางวิกฤตต่างๆ มากมายในประเทศไทย ในขณะที่ร้อยละ 24.2 ไม่แน่ใจว่าจะเชื่อมั่นหรือไม่เชื่อมั่นดี และเพียงร้อยละ 3.5 ที่ไม่เชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศไทย ที่น่าเป็นห่วงคือ การใช้สารเสพติดชนิดต่างๆ เป็นประจำในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในกลุ่มคนที่ใช้ยาเสพติดพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.5 สูบบุหรี่ รองลงมาคือ ร้อยละ 74.2 ใช้ยาบ้า ร้อยละ 61.7 ดื่มเหล้า ร้อยละ 39.4 ใช้ยาไอซ์ ร้อยละ 27.4 ใช้กัญชา ร้อยละ 20.2 ใช้กระท่อม ร้อยละ 11.4 ใช้ยาแก้ไอ ร้อยละ 9.1 ใช้ยาอี ยาเลิฟ ร้อยละ 9.1 ใช้สารระเหย ร้อยละ 6.7 ใช้ยากล่อมประสาท ยาคลายเครียด ร้อยละ 5.4 ใช้ยาเค ร้อยละ 3.8 ใช้ผงขาว เฮโรอีน และร้อยละ 3.2 ใช้ 4 คูณ 100 ตามลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คุณภาพของเด็ก และเยาวชนไทยยังคงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องเฝ้าระวังรักษาอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามเด็ก และเยาวชนส่วนใหญ่ยังคงมีทัศนคติที่ดีต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยแม้สังคมไทยจะประสบกับวิกฏตการณ์ต่างๆ ขณะนี้ ดังนั้นทางออกที่น่าเหมาะสม คือ กลุ่มบุคคลต้นแบบของสังคมน่าจะร่วมมือกันแสดงให้เด็ก และเยาวชนเห็นเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างจริงจังและต่อเนื่องทั้งในด้านคุณธรรมและการเมือง ให้เกิดความซึมซับลงไปสู่จิตใจ และพฤติกรรมของเด็ก และเยาวชนไทยในปัจจุบันและอนาคตของสังคมไทยข้างหน้า
จากผลการสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.3 ยังคงเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยท่ามกลางวิกฤตต่างๆ มากมายในประเทศไทย ในขณะที่ร้อยละ 24.2 ไม่แน่ใจว่าจะเชื่อมั่นหรือไม่เชื่อมั่นดี และเพียงร้อยละ 3.5 ที่ไม่เชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศไทย ที่น่าเป็นห่วงคือ การใช้สารเสพติดชนิดต่างๆ เป็นประจำในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในกลุ่มคนที่ใช้ยาเสพติดพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.5 สูบบุหรี่ รองลงมาคือ ร้อยละ 74.2 ใช้ยาบ้า ร้อยละ 61.7 ดื่มเหล้า ร้อยละ 39.4 ใช้ยาไอซ์ ร้อยละ 27.4 ใช้กัญชา ร้อยละ 20.2 ใช้กระท่อม ร้อยละ 11.4 ใช้ยาแก้ไอ ร้อยละ 9.1 ใช้ยาอี ยาเลิฟ ร้อยละ 9.1 ใช้สารระเหย ร้อยละ 6.7 ใช้ยากล่อมประสาท ยาคลายเครียด ร้อยละ 5.4 ใช้ยาเค ร้อยละ 3.8 ใช้ผงขาว เฮโรอีน และร้อยละ 3.2 ใช้ 4 คูณ 100 ตามลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คุณภาพของเด็ก และเยาวชนไทยยังคงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องเฝ้าระวังรักษาอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามเด็ก และเยาวชนส่วนใหญ่ยังคงมีทัศนคติที่ดีต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยแม้สังคมไทยจะประสบกับวิกฏตการณ์ต่างๆ ขณะนี้ ดังนั้นทางออกที่น่าเหมาะสม คือ กลุ่มบุคคลต้นแบบของสังคมน่าจะร่วมมือกันแสดงให้เด็ก และเยาวชนเห็นเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างจริงจังและต่อเนื่องทั้งในด้านคุณธรรมและการเมือง ให้เกิดความซึมซับลงไปสู่จิตใจ และพฤติกรรมของเด็ก และเยาวชนไทยในปัจจุบันและอนาคตของสังคมไทยข้างหน้า