หนังสือพิมพ์เดอะ สตาร์ของมาเลเซีย อ้างถึงถ้อยแถลงของนายราอิส ยาติม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่า มาเลเซียและอินโดนีเซียได้ตั้งคณะทำงานร่วมซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายทางทะเลและแนวพรมแดนเพื่อศึกษาข้อพิพาทเขตแดนบริเวณแหล่งกาซอัมบาลัต และหาข้อสรุปที่ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับได้ พร้อมกันนี้จะตั้งองค์กรกลางขึ้นมาตัดสินหลังได้ข้อสรุปจากคณะกรรมการทางเทคนิคของทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว
นายราอิส เปิดเผยด้วยว่า มาเลเซียและอินโดนีเซียเห็นพ้องที่จะไม่ยื่นประเด็นข้อพิพาทแหล่งก๊าซอัมบาลัตสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) และว่า ทั้ง 2 ฝ่ายเชื่อว่าจะสามารถหาข้อสรุปในประเด็นการอ้างสิทธิถือครองด้วยกระบวนการที่รอมชอม ซึ่งการที่ทั้ง 2 ฝ่ายเลือกวิธีนี้ เนื่องจากไม่ต้องการให้กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
อนึ่ง มาเลเซียและอินโดนีเซียต่างอ้างอธิปไตยเหนือแหล่งก๊าซอัมบาลัตใกล้พรมแดนบนเกาะบอร์เนียว กรณีพิพาทดังกล่าวปะทุขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 หลังมาเลเซียให้สัมปทานบริษัทเชลล์เข้าไปสำรวจแหล่งน้ำมันในทะเลสุลาเวสีใกล้รัฐซาบาห์ของมาเลเซีย และ จ.กาลิมันตันตะวันออกของอินโดนีเซีย ส่งผลให้ทั้ง 2 ประเทศนำเรือและเครื่องบินรบ รวมทั้งวางกำลังทหารพร้อมเผชิญหน้ากันในพื้นที่ดังกล่าว
นายราอิส เปิดเผยด้วยว่า มาเลเซียและอินโดนีเซียเห็นพ้องที่จะไม่ยื่นประเด็นข้อพิพาทแหล่งก๊าซอัมบาลัตสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) และว่า ทั้ง 2 ฝ่ายเชื่อว่าจะสามารถหาข้อสรุปในประเด็นการอ้างสิทธิถือครองด้วยกระบวนการที่รอมชอม ซึ่งการที่ทั้ง 2 ฝ่ายเลือกวิธีนี้ เนื่องจากไม่ต้องการให้กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
อนึ่ง มาเลเซียและอินโดนีเซียต่างอ้างอธิปไตยเหนือแหล่งก๊าซอัมบาลัตใกล้พรมแดนบนเกาะบอร์เนียว กรณีพิพาทดังกล่าวปะทุขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 หลังมาเลเซียให้สัมปทานบริษัทเชลล์เข้าไปสำรวจแหล่งน้ำมันในทะเลสุลาเวสีใกล้รัฐซาบาห์ของมาเลเซีย และ จ.กาลิมันตันตะวันออกของอินโดนีเซีย ส่งผลให้ทั้ง 2 ประเทศนำเรือและเครื่องบินรบ รวมทั้งวางกำลังทหารพร้อมเผชิญหน้ากันในพื้นที่ดังกล่าว