นางแอนน์ แคลร์ ดูเฟย์ หัวหน้าหน่วยคุ้มครองเด็กขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ในพม่า แสดงความวิตกว่า สภาพของศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยที่แออัด ถูกสร้างเป็นที่พักชั่วคราวนั้น ทำให้เด็กกำพร้าและเด็ก ๆ ที่แยกจากครอบครัวต้องอาศัยท่ามกลางกลุ่มคนแปลกหน้า และหากไม่มีการจัดที่หลับนอนเป็นส่วนตัวให้ เด็กเหล่านั้นก็เสี่ยงที่จะถูกหาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง รวมทั้งถูกล่วงละเมิดทางเพศได้ เพราะก่อนหน้านี้มีรายงานชิ้นหนึ่งระบุว่า มีความพยายามค้าเด็กวัยรุ่นผู้รอดชีวิตจากไซโคลนในนครย่างกุ้ง แต่ไม่มีรายงานยืนยันว่ามีการล่วงเกินทางเพศเกิดขึ้น
นอกจากนี้ ยูนิเซฟ ยังคาดว่า เหยื่อผู้เสียชีวิตจากไซโคลนนาร์กีสในพม่าจำนวน 1 ใน 3 เป็นเด็ก เพราะจากข้อมูลประชากรในพื้นที่ประสบภัยชี้ว่ามีเด็กเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ขณะที่องค์กรแคร์ ของออสเตรเลียระบุว่า ตามศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยมีแต่ผู้รอดชีวิตที่เป็นผู้ใหญ่ ส่วนผู้รอดชีวิตที่เป็นเด็กและคนชรามีน้อยมาก คาดว่าเด็กส่วนใหญ่จะจมน้ำเสียชีวิต ขณะที่เด็กที่รอดชีวิตมาได้ก็อาจเผชิญความบอบช้ำด้านจิตใจต่อการสูญเสียครอบครัว และเผชิญปัญหาสุขภาพ อาทิ การขาดสารอาหาร ท้องร่วง และอาจป่วยเป็นไข้มาลาเรีย นอกจากนี้ยังอาจไม่ได้กลับเข้าเรียนอีกเพราะโรงเรียนราว 3,000 แห่ง ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากภัยพิบัติครั้งนี้
นอกจากนี้ ยูนิเซฟ ยังคาดว่า เหยื่อผู้เสียชีวิตจากไซโคลนนาร์กีสในพม่าจำนวน 1 ใน 3 เป็นเด็ก เพราะจากข้อมูลประชากรในพื้นที่ประสบภัยชี้ว่ามีเด็กเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ขณะที่องค์กรแคร์ ของออสเตรเลียระบุว่า ตามศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยมีแต่ผู้รอดชีวิตที่เป็นผู้ใหญ่ ส่วนผู้รอดชีวิตที่เป็นเด็กและคนชรามีน้อยมาก คาดว่าเด็กส่วนใหญ่จะจมน้ำเสียชีวิต ขณะที่เด็กที่รอดชีวิตมาได้ก็อาจเผชิญความบอบช้ำด้านจิตใจต่อการสูญเสียครอบครัว และเผชิญปัญหาสุขภาพ อาทิ การขาดสารอาหาร ท้องร่วง และอาจป่วยเป็นไข้มาลาเรีย นอกจากนี้ยังอาจไม่ได้กลับเข้าเรียนอีกเพราะโรงเรียนราว 3,000 แห่ง ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากภัยพิบัติครั้งนี้