นายเสรี สุวรรณภานนท์ รองประธานชมรม ส.ส.ร.50 (สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550) กล่าวถึงผลประชุมเพื่อกำหนดท่าทีต่อการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ชมรมฯ ยังคงยืนยันจุดยืนที่ไม่เห็นด้วยกับความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตัวเองและพวกพ้อง แต่เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาที่จะดำเนินการได้ตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนกรณีที่มีภาคประชาชนเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา เพื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้น นายเสรี กล่าวว่า ชมรมฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ความพยายามขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ สืบเนื่องมาจากการเสนอข้อมูลเนื้อหาสาระที่ผิดไปจากเจตนารมณ์ที่ร่างไว้ โดยสร้างความไม่เข้าใจต่อประชาชนมาโดยตลอด เพื่อให้เกิดความชัดเจน ชมรมฯ จึงเห็นว่า ควรทำเอกสารข้อสรุปของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 โดยนำเสนอแนวทางที่ชัดเจนถึงผลดีของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เปรียบเทียบกับปัญหาการใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 โดยชมรมฯ จะเปิดเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนได้รับทราบ
รองประธานชมรม ส.ส.ร.50 กล่าวอีกว่า กรณีที่มีภาคประชาชนเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ชมรมฯ ได้พิจารณาเบื้องต้นแล้วเห็นว่า สิทธิในการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยรวบรวมรายชื่อของประชาชนเกินกว่า 50,000 รายชื่อ เป็นสิ่งที่ทำได้ เพราะเป็นการทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญควรดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเป็นการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง แต่การเสนอให้นำรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาใช้แทนรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เนื่องจากเป็นการเสนอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ
ส่วนกรณีที่มีภาคประชาชนเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา เพื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้น นายเสรี กล่าวว่า ชมรมฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ความพยายามขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ สืบเนื่องมาจากการเสนอข้อมูลเนื้อหาสาระที่ผิดไปจากเจตนารมณ์ที่ร่างไว้ โดยสร้างความไม่เข้าใจต่อประชาชนมาโดยตลอด เพื่อให้เกิดความชัดเจน ชมรมฯ จึงเห็นว่า ควรทำเอกสารข้อสรุปของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 โดยนำเสนอแนวทางที่ชัดเจนถึงผลดีของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เปรียบเทียบกับปัญหาการใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 โดยชมรมฯ จะเปิดเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนได้รับทราบ
รองประธานชมรม ส.ส.ร.50 กล่าวอีกว่า กรณีที่มีภาคประชาชนเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ชมรมฯ ได้พิจารณาเบื้องต้นแล้วเห็นว่า สิทธิในการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยรวบรวมรายชื่อของประชาชนเกินกว่า 50,000 รายชื่อ เป็นสิ่งที่ทำได้ เพราะเป็นการทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญควรดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเป็นการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง แต่การเสนอให้นำรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาใช้แทนรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เนื่องจากเป็นการเสนอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ