ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า การเกิดพายุไซโคลนนาร์กีสที่ประเทศพม่าถือเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวโยงกับภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และมีโอกาสเกิดเป็นพายุ
ทั้งนี้ การพยากรณ์อากาศให้แม่นยำ ต้องอาศัยตัวแปรหลายอย่าง และเครื่องมือที่พร้อม พยากรณ์ได้ล่วงหน้า 1 สัปดาห์ โดยใช้เครือข่ายนานาชาติ แลกเปลี่ยนข้อมูลกันตลอดเวลา จึงต้องติดตามสถานการณ์พายุที่มีโอกาสเกิดในเขตร้อน ระหว่างละติจูดที่ 5-20 ได้ตลอดปี ซึ่งมีความรุนแรงหลายระดับ แม้ในประเทศไทยยังไม่อยู่ในระดับที่รุนแรง แต่ก็ทำให้คนไทยสนใจข่าวสภาพดินฟ้าอากาศอากาศมากขึ้น นับจากเกิดคลื่นสึนามิ
อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.สุทัศน์ กล่าวว่า ในรอบ 100 ปี ประเทศไทยไม่เคยเกิดพายุรุนแรงระดับพายุไซโคลน แต่นักวิทยาศาสตร์ทุกสาขาจะร่วมมือกันต่อไป เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการพยากรณ์
ทั้งนี้ การพยากรณ์อากาศให้แม่นยำ ต้องอาศัยตัวแปรหลายอย่าง และเครื่องมือที่พร้อม พยากรณ์ได้ล่วงหน้า 1 สัปดาห์ โดยใช้เครือข่ายนานาชาติ แลกเปลี่ยนข้อมูลกันตลอดเวลา จึงต้องติดตามสถานการณ์พายุที่มีโอกาสเกิดในเขตร้อน ระหว่างละติจูดที่ 5-20 ได้ตลอดปี ซึ่งมีความรุนแรงหลายระดับ แม้ในประเทศไทยยังไม่อยู่ในระดับที่รุนแรง แต่ก็ทำให้คนไทยสนใจข่าวสภาพดินฟ้าอากาศอากาศมากขึ้น นับจากเกิดคลื่นสึนามิ
อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.สุทัศน์ กล่าวว่า ในรอบ 100 ปี ประเทศไทยไม่เคยเกิดพายุรุนแรงระดับพายุไซโคลน แต่นักวิทยาศาสตร์ทุกสาขาจะร่วมมือกันต่อไป เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการพยากรณ์