นายโรเบิร์ต บี เซลลิก ประธานธนาคารโลก (World Bank) กล่าวว่า ความเดือดร้อนของประชากรทั่วโลกจากวิกฤตราคาอาหารในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจลาจลในเฮติ การประท้วงในอียิปต์ หรือความรุนแรงในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก จึงต้องการปลุกจิตใต้สำนึกของประชาคมโลกให้ลุกขึ้นมาช่วยกันแก้ไขปัญหา จากการประมาณการของธนาคารโลก มีประชากรอย่างน้อย 100 ล้านคนในประเทศรายได้ต่ำต้องตกอยู่ในฐานะยากจนแร้นแค้น เพราะปัญหาอาหารราคาแพงต้องเผชิญไปอีกหลายปี ธนาคารโลกจึงได้ขอร้องให้ประชาคมโลกหันมาร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อบรรลุ แนวทางใหม่สำหรับนโยบายด้านอาหารโลก (The New Deal on Global Food Policy) ด้วยการเน้นให้ความช่วยเหลือต่อผู้ที่เดือดร้อนมากที่สุดก่อน โดยบริจาคเงินให้แก่องค์การอาหารโลกซึ่งกำลังขาดแคลนงบประมาณสำหรับจัดหาอาหารเพื่อส่งมอบให้ประชากรในสภาวะฉุกเฉิน เป็นจำนวนสูงถึง 500 ล้านเหรียญสหรัฐ กลุ่มประชาคมยุโรป และญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศที่มีฐานะดีต่าง ๆ ทั่วโลกจำเป็นที่จะต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือตรงนี้ ก่อนที่ประชากรนับล้านคนทั่วโลกจะอดอยากหิวโหยจนถึงขั้นล้มตาย
ขณะนี้หลายประเทศได้ออกมาตรการฉุกเฉินช่วยเหลือด้านอาหารแก่ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มคนที่เปราะบาง เช่น ในกัมพูชาและโมแซมบิก ได้จัดหาอาหารให้แก่คนยากจนโดยแลกเปลี่ยนกับแรงงาน ทั้งการสร้างถนน ขุดเจาะบ่อน้ำ หรือการสร้างโรงเรียน ประเทศอย่างอียิปต์และเอธิโอเปีย ได้เสนอให้ความช่วยเหลือที่เป็นเงินสดแก่ประชาชนเพื่อแลกเปลี่ยนกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สร้างฐานะของตนเองให้ดีขึ้น หรือการส่งบุตรหลานไปโรงเรียนแทนที่จะให้พวกเขามาใช้แรงงานช่วยครอบครัว ซึ่งเป็นมาตรการที่จะส่งผลในทางบวกต่อคนยากจนในระยะยาวเช่นกัน ประเทศทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าในแอฟริกา มีโครงการ การปฏิวัติสีเขียว (The Green Revolution) เพื่อช่วยเพิ่มผลิตผลทางการเกษตรและทำให้เกษตรกรผู้ยากจนสามารถลืมตาอ้าปากได้
แต่ธนาคารโลกไม่สามารถดำเนินการต่าง ๆ ตามลำพังได้ จึงต้องการขอความร่วมมือทุกองค์กรร่วมแรงร่วมใจและประสานงานกันให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว จากการวิจัยของธนาคารโลกนั้นพบว่า รายได้ที่มาจากภาคการเกษตร จะช่วยเหลือประชากรตามชนบทต่าง ๆ ในโลก ซึ่งมีมากถึง 3 ใน 4 ของประชากรผู้ยากจนทั้งหมดของโลก ให้สามารถหลุดพ้นจากความแร้นแค้นได้มากเป็นสามเท่าของรายได้จากภาคส่วนอื่นๆ ทั้งหมด
ขณะนี้หลายประเทศได้ออกมาตรการฉุกเฉินช่วยเหลือด้านอาหารแก่ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มคนที่เปราะบาง เช่น ในกัมพูชาและโมแซมบิก ได้จัดหาอาหารให้แก่คนยากจนโดยแลกเปลี่ยนกับแรงงาน ทั้งการสร้างถนน ขุดเจาะบ่อน้ำ หรือการสร้างโรงเรียน ประเทศอย่างอียิปต์และเอธิโอเปีย ได้เสนอให้ความช่วยเหลือที่เป็นเงินสดแก่ประชาชนเพื่อแลกเปลี่ยนกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สร้างฐานะของตนเองให้ดีขึ้น หรือการส่งบุตรหลานไปโรงเรียนแทนที่จะให้พวกเขามาใช้แรงงานช่วยครอบครัว ซึ่งเป็นมาตรการที่จะส่งผลในทางบวกต่อคนยากจนในระยะยาวเช่นกัน ประเทศทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าในแอฟริกา มีโครงการ การปฏิวัติสีเขียว (The Green Revolution) เพื่อช่วยเพิ่มผลิตผลทางการเกษตรและทำให้เกษตรกรผู้ยากจนสามารถลืมตาอ้าปากได้
แต่ธนาคารโลกไม่สามารถดำเนินการต่าง ๆ ตามลำพังได้ จึงต้องการขอความร่วมมือทุกองค์กรร่วมแรงร่วมใจและประสานงานกันให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว จากการวิจัยของธนาคารโลกนั้นพบว่า รายได้ที่มาจากภาคการเกษตร จะช่วยเหลือประชากรตามชนบทต่าง ๆ ในโลก ซึ่งมีมากถึง 3 ใน 4 ของประชากรผู้ยากจนทั้งหมดของโลก ให้สามารถหลุดพ้นจากความแร้นแค้นได้มากเป็นสามเท่าของรายได้จากภาคส่วนอื่นๆ ทั้งหมด