น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการค่าจ้างกลาง เลื่อนการพิจารณาการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ไปเป็นวันที่ 2 พฤษภาคมว่า เป็นการสะท้อนความไม่จริงใจของรัฐบาล และตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลอาจจะต้องการประเมินกำลังกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ที่ประกาศว่าจะชุมนุมอย่างยืดเยื้อหากไม่ปรับขึ้นค่าจ้าง ว่าจะเอาจริงมากน้อยแค่ไหน
สำหรับเครือข่ายสมานฉันท์จะไปรวมตัวกันที่หน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนเดินทางไปยื่นหนังสือขอเรียกร้องวันแรงงานต่อนายกรัฐมนตรี ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล โดยจะนำปัญหาการขึ้นค่าจ้าง เป็นปัญหาเร่งด่วนที่สุดให้นายกรัฐมนตรีแก้ไข เพราะขณะนี้ สภาพเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตัวเลขที่เครือข่ายฯ ต้องการให้ปรับขึ้น ยังเป็น 233 บาท จึงจะเพียงพอกับค่าครองชีพในปัจจุบัน และต้องปรับเท่ากันทั่วประเทศ ส่วนที่องค์กรแรงงานอื่นต้องการให้ปรับขึ้น 9 บาท แต่ยังไม่ได้ปรับขึ้นนั้น ก็อยากให้รัฐบาลเร่งพิจารณา เนื่องจากหากขึ้น 9 บาท ยังไม่สอดคล้องกับภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน ความจริงน่าจะปรับถึง 12-15 บาท
อย่างไรก็ตาม ตนจะรอดูผลการประชุมในวันที่ 2 พฤษภาคม อีกครั้ง หลังจากนั้นจะประชุมกำหนดท่าที ในระหว่างนี้อยากเสนอให้รัฐบาลออกมาตรการที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงาน เช่น ควบคุมราคาน้ำมัน ราคาสินค้า ไม่สูงเกินที่ผู้ใช้แรงงานจะรับไหว
สำหรับเครือข่ายสมานฉันท์จะไปรวมตัวกันที่หน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนเดินทางไปยื่นหนังสือขอเรียกร้องวันแรงงานต่อนายกรัฐมนตรี ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล โดยจะนำปัญหาการขึ้นค่าจ้าง เป็นปัญหาเร่งด่วนที่สุดให้นายกรัฐมนตรีแก้ไข เพราะขณะนี้ สภาพเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตัวเลขที่เครือข่ายฯ ต้องการให้ปรับขึ้น ยังเป็น 233 บาท จึงจะเพียงพอกับค่าครองชีพในปัจจุบัน และต้องปรับเท่ากันทั่วประเทศ ส่วนที่องค์กรแรงงานอื่นต้องการให้ปรับขึ้น 9 บาท แต่ยังไม่ได้ปรับขึ้นนั้น ก็อยากให้รัฐบาลเร่งพิจารณา เนื่องจากหากขึ้น 9 บาท ยังไม่สอดคล้องกับภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน ความจริงน่าจะปรับถึง 12-15 บาท
อย่างไรก็ตาม ตนจะรอดูผลการประชุมในวันที่ 2 พฤษภาคม อีกครั้ง หลังจากนั้นจะประชุมกำหนดท่าที ในระหว่างนี้อยากเสนอให้รัฐบาลออกมาตรการที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงาน เช่น ควบคุมราคาน้ำมัน ราคาสินค้า ไม่สูงเกินที่ผู้ใช้แรงงานจะรับไหว