สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวม 2,625 คน เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญและประเด็นร้อนทางการเมือง ผลปรากฎว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.9 เ ห็นว่า กลุ่มที่ต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นกลุ่มที่มุ่งประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคล ในขณะที่ร้อยละ 36.1 คิดว่าเป็นกลุ่มที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ นอกจากนี้ ผลสำรวจพบด้วยว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.9 คิดว่าผู้ที่ได้ประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือ กลุ่มนักการเมือง ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 13.7 เท่านั้น ที่คิดว่าเป็นประชาชนทุกคนได้ประโยชน์ และร้อยละ 32.4 คิดว่าทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ยังระบุว่า คนที่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในการสำรวจเดือนมีนาคม พบว่ามีร้อยละ 59.3 แต่ผลสำรวจล่าสุดพบว่า ได้ลดลงเหลือร้อยละ 49.6 ที่เห็นด้วย นอกจากนี้ การสำรวจครั้งก่อนยังพบว่าร้อยละ 32.9 ไม่เห็นด้วย แต่การสำรวจล่าสุด พบร้อยละ 46.9 ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่ดีแล้ว แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในกลุ่มการเมืองได้ ไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวาย รวมทั้งเป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติ เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.4 เกรงว่า จะเกิดความวุ่นวายขึ้น ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ขณะที่ร้อยละ 23.6 ไม่คิดว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้น อีกทั้งส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.0 เห็นว่า ควรมีการลงประชามติต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน ขณะที่ร้อยละ 23.1 เห็นว่าไม่ควรมีการลงประชามติ และร้อยละ 1.9 ไม่มีความเห็น ซึ่งเมื่อจำแนกตามจุดยืนทางการเมืองต่อเรื่องการลงประชามติ พบว่า ประชาชนทุกกลุ่มคือ กลุ่มหนุนรัฐบาล กลุ่มไม่หนุนรัฐบาล และกลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 70 ต่างเห็นควรลงประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ยังระบุว่า คนที่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในการสำรวจเดือนมีนาคม พบว่ามีร้อยละ 59.3 แต่ผลสำรวจล่าสุดพบว่า ได้ลดลงเหลือร้อยละ 49.6 ที่เห็นด้วย นอกจากนี้ การสำรวจครั้งก่อนยังพบว่าร้อยละ 32.9 ไม่เห็นด้วย แต่การสำรวจล่าสุด พบร้อยละ 46.9 ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่ดีแล้ว แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในกลุ่มการเมืองได้ ไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวาย รวมทั้งเป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติ เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.4 เกรงว่า จะเกิดความวุ่นวายขึ้น ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ขณะที่ร้อยละ 23.6 ไม่คิดว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้น อีกทั้งส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.0 เห็นว่า ควรมีการลงประชามติต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน ขณะที่ร้อยละ 23.1 เห็นว่าไม่ควรมีการลงประชามติ และร้อยละ 1.9 ไม่มีความเห็น ซึ่งเมื่อจำแนกตามจุดยืนทางการเมืองต่อเรื่องการลงประชามติ พบว่า ประชาชนทุกกลุ่มคือ กลุ่มหนุนรัฐบาล กลุ่มไม่หนุนรัฐบาล และกลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 70 ต่างเห็นควรลงประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ