นางสาววรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ เปิดเผยว่ารัฐบาลอาจต้องอนุมัติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประมาณร้อยละ 5 -10 เพื่อให้ใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อ และค่าครองชีพของผู้ใช้แรงงานที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากที่ผ่านมาการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานไร้ฝีมือต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ และค่าครองชีพที่ปรับขึ้นตลอดเวลา ทำให้รายได้ของแรงงานขยับขึ้นไม่ทันค่าครองชีพ
ขณะเดียวกัน ตามสภาพความเป็นจริงการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นอีกร้อยละ 5 -10 นั้น คงเป็นไปได้ยากเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั่วไปไม่ดี และอาจมีกระแสต้านจากนายจ้างที่อ้างว่าภาวะเศรษฐกิจไม่ดีต้นทุนการผลิต และการขนส่งปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอาจทำให้หลายกิจการอยู่ไม่ได้
ปัจจัยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานอยู่ที่วันละ 144 บาท ที่จังหวัดน่านา และพะเยา ส่วนจังหวัดที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดวันละ 195 บาท คือกรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร และสมุทรปราการ
ขณะเดียวกัน ตามสภาพความเป็นจริงการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นอีกร้อยละ 5 -10 นั้น คงเป็นไปได้ยากเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั่วไปไม่ดี และอาจมีกระแสต้านจากนายจ้างที่อ้างว่าภาวะเศรษฐกิจไม่ดีต้นทุนการผลิต และการขนส่งปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอาจทำให้หลายกิจการอยู่ไม่ได้
ปัจจัยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานอยู่ที่วันละ 144 บาท ที่จังหวัดน่านา และพะเยา ส่วนจังหวัดที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดวันละ 195 บาท คือกรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร และสมุทรปราการ