คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ คณะกรรมการการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) และสถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกการครบรอบ 4 ปี การหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ภายในงานมีการจัดเสวนาเรื่อง เหลียวหลังแลหน้า ทิศทางประเทศไทย กับการแก้ไขปัญหาชายแดนใต้ โดยนางจิราพร บุนนาค อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กล่าวว่า จุดอ่อนในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาจากการที่รัฐไม่สามารถหลอมรวมข้อมูลจริง ระหว่างข้อมูลภาครัฐ และข้อมูลจากประชาชนเข้าด้วยกันได้ และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และกลุ่มพลังทางวัฒนธรรมน้อยเกินไป
ด้านนางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยานายสมชาย กล่าวว่า อยากเห็นกระบวนการยุติธรรมของไทย มีความก้าวหน้าทัดเทียมกับหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะการแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับกรณี การละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อจะสามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้ ในกรณีที่หาศพไม่พบ หรือในกรณีของศพนิรนามที่ในแต่ละปีมีมากกว่า 1,000 ศพ การสาบสูญของนายสมชาย เป็นการหายตัวกรณีแรกของในประเทศไทย ที่สามารถนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งในขณะนี้อยู่ในระหว่างการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ส่วนกรณีข้อหากักขังหน่วงเหนี่ยว ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 1 พวกกับพวกอีก 3-4 นาย เป็นผู้ผลักนายสมชายขึ้นรถ แล้วหายตัวไปตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2547 จนถึงวันนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์
ด้านนางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยานายสมชาย กล่าวว่า อยากเห็นกระบวนการยุติธรรมของไทย มีความก้าวหน้าทัดเทียมกับหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะการแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับกรณี การละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อจะสามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้ ในกรณีที่หาศพไม่พบ หรือในกรณีของศพนิรนามที่ในแต่ละปีมีมากกว่า 1,000 ศพ การสาบสูญของนายสมชาย เป็นการหายตัวกรณีแรกของในประเทศไทย ที่สามารถนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งในขณะนี้อยู่ในระหว่างการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ส่วนกรณีข้อหากักขังหน่วงเหนี่ยว ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 1 พวกกับพวกอีก 3-4 นาย เป็นผู้ผลักนายสมชายขึ้นรถ แล้วหายตัวไปตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2547 จนถึงวันนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์