นายสุจิต บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของตนเองในการหนีการตรวจสอบคดียุบพรรค เพราะไม่เช่นนั้นรัฐบาลอาจขาดความน่าเชื่อถือในสายตาของประชาชน เพราะว่าไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ
สำหรับการประชุมคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีการประชุมไปเมื่อวานนี้ มีมติกำหนดกรอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกเป็น 3 แนวทาง โดยแนวทางแรก คือการแก้ไขเล็กเพียง 3-4 มาตรา ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องของการยุบพรรค การเปิดโอกาสให้ ส.ส.เข้าไปช่วยเหลือรัฐมนตรีในหน่วยงานราชการได้ และที่สำคัญที่สุดคือ มาตรา 190 ในเรื่องของการทำสัญญากับต่างประเทศ ที่กฎหมายต้องเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชน ซึ่งจะทำให้การเจรจาต่างๆ ต้องล่าช้าไม่ทันต่อสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการบริหารประเทศ สำหรับแนวทางที่ 2 คือ การแก้ไขขนาดกลาง คือเพิ่มเติมในส่วนของวิธีการเลือกตั้ง รวมไปถึงที่มาของ ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดอีกด้วย ส่วนแนวทางสุดท้ายคือการปรับใหญ่ โดยการนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาเป็นที่ตั้ง จากนั้นค่อยแก้ในส่วนที่มีปัญหาเป็นรายมาตรา
สำหรับการประชุมคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีการประชุมไปเมื่อวานนี้ มีมติกำหนดกรอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกเป็น 3 แนวทาง โดยแนวทางแรก คือการแก้ไขเล็กเพียง 3-4 มาตรา ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องของการยุบพรรค การเปิดโอกาสให้ ส.ส.เข้าไปช่วยเหลือรัฐมนตรีในหน่วยงานราชการได้ และที่สำคัญที่สุดคือ มาตรา 190 ในเรื่องของการทำสัญญากับต่างประเทศ ที่กฎหมายต้องเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชน ซึ่งจะทำให้การเจรจาต่างๆ ต้องล่าช้าไม่ทันต่อสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการบริหารประเทศ สำหรับแนวทางที่ 2 คือ การแก้ไขขนาดกลาง คือเพิ่มเติมในส่วนของวิธีการเลือกตั้ง รวมไปถึงที่มาของ ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดอีกด้วย ส่วนแนวทางสุดท้ายคือการปรับใหญ่ โดยการนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาเป็นที่ตั้ง จากนั้นค่อยแก้ในส่วนที่มีปัญหาเป็นรายมาตรา