นายแพทย์เสรี หงส์หยก รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงการล้มตายของแมวจำนวนมากที่ จ.อ่างทอง หลังจากมีอาการเซื่องซึม ไม่กินอาหาร และน้ำลายไหลออกมาจากปาก อาเจียนมีเลือดปนออกมา ส่งกลิ่นเหม็น และตายหลังจากมีอาการเพียง 1 วัน ทั้งเชื้อยังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้แมวในละแวกเดียวกันล้มตายเป็นจำนวนมาก ว่า โรคที่เกิดขึ้นเป็นโรคติดต่อในสัตว์ เกิดขึ้นจากไวรัสเป็นเชื้อประจำถิ่น สามารถเกิดขึ้นได้ และไม่ติดต่อสู่คน ไม่ควรตื่นตระหนก
เบื้องต้นคาดว่า เชื้อไวรัสดังกล่าวน่าจะเป็นเชื้อโรคหัดหรือหวัดแมว เพราะเป็นเชื้อจำเพาะในแมว และเกิดขึ้นบ่อยในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือ FVRV และ FHV ซึ่งเมื่อแมวได้รับเชื้อจะมีอาการหวัด ถ้าแมวติดเชื้อทั้ง 2 ชนิดร่วมกันอาการจะรุนแรงมากขึ้น หลังจากแมวได้รับเชื้อจะมีระยะฟักตัวประมาณ 2-10 วัน โดยแมวจะมีอาการอักเสบที่ตา จมูก หลอดลม และมีน้ำตาไหล มีน้ำมูกและเสมหะ นอกจากนี้ จะมีอาการซึม หายใจลำบาก เป็นไข้ ไอ จาม และเบื่ออาหาร ในกรณีที่มีแบคทีเรียร่วมด้วย จะมีน้ำมูกข้น เหนียวเป็นหนอง และอาจจะพบแผลเป็นวงลึกๆ บนลิ้น ทำให้แมวเจ็บจนไม่กินอาหาร ถ้ารุนแรงจะปอดบวม เยื้อหุ้มปอดอักเสบ ทำให้ตาย
การแพร่ระบาดของโรคหวัดแมวคล้ายคลึงกับการดูแลไข้หวัดนก แมวติดต่อได้ทางน้ำมูก น้ำลาย แนะนำให้ป้องกันโรคหวัดแมว หรือจัดการป้องกันโรคไข้หวัดนก
เบื้องต้นคาดว่า เชื้อไวรัสดังกล่าวน่าจะเป็นเชื้อโรคหัดหรือหวัดแมว เพราะเป็นเชื้อจำเพาะในแมว และเกิดขึ้นบ่อยในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือ FVRV และ FHV ซึ่งเมื่อแมวได้รับเชื้อจะมีอาการหวัด ถ้าแมวติดเชื้อทั้ง 2 ชนิดร่วมกันอาการจะรุนแรงมากขึ้น หลังจากแมวได้รับเชื้อจะมีระยะฟักตัวประมาณ 2-10 วัน โดยแมวจะมีอาการอักเสบที่ตา จมูก หลอดลม และมีน้ำตาไหล มีน้ำมูกและเสมหะ นอกจากนี้ จะมีอาการซึม หายใจลำบาก เป็นไข้ ไอ จาม และเบื่ออาหาร ในกรณีที่มีแบคทีเรียร่วมด้วย จะมีน้ำมูกข้น เหนียวเป็นหนอง และอาจจะพบแผลเป็นวงลึกๆ บนลิ้น ทำให้แมวเจ็บจนไม่กินอาหาร ถ้ารุนแรงจะปอดบวม เยื้อหุ้มปอดอักเสบ ทำให้ตาย
การแพร่ระบาดของโรคหวัดแมวคล้ายคลึงกับการดูแลไข้หวัดนก แมวติดต่อได้ทางน้ำมูก น้ำลาย แนะนำให้ป้องกันโรคหวัดแมว หรือจัดการป้องกันโรคไข้หวัดนก