พนักงานรถไฟใต้ดินยืนสงบนิ่งที่สถานีคาซูมิงาเซกิ เพื่อร่วมรำลึกถึงเพื่อนร่วมงาน 2 คน ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เมื่อปี 2538 ที่สาวกลัทธิโอมชินริเกียวปล่อยแก๊สพิษซารินใส่ประชาชนที่ใช้บริการสถานีรถไฟใต้ดินในกรุงโตเกียวหลายแห่งพร้อมกันในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนตอนเช้า ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 12 คน และได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 5,000 คน
นางชิซูเกะ ทากาฮาชิ ที่สูญเสียสามีในเหตุการณ์ดังกล่าว เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือบรรดาเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายให้มากกว่านี้ เพราะเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลที่ไม่สามารถป้องกันการก่อการร้ายได้ ขณะที่ญาติของเหยื่อซึ่งบางคนที่ยังนอนพักรักษาตัว หรือบาดเจ็บจนไม่สามารถสื่อสารได้ เรียกร้องว่าถูกรัฐบาลเพิกเฉย แต่กลุ่มผู้ก่อเหตุบางคนกลับลอยนวล ไม่ได้รับการลงโทษ
อย่างไรก็ดี ศาลญี่ปุ่นได้พิพากษาประหารชีวิตสาวกลัทธิ 13 คน รวมทั้งนายโชโกะ อาซาฮารา เจ้าลัทธิ จากรายงานประจำปีของตำรวจพบว่าลัทธิโอมชินริเกียว ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อา เลพ” ซึ่งเป็นภาษาฮิบรู ยังคงเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาวกในญี่ปุ่นราว 1,650 คน และในรัสเซียอีก 300 คน โดยเป็นลัทธิถูกกฎหมายภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่
นางชิซูเกะ ทากาฮาชิ ที่สูญเสียสามีในเหตุการณ์ดังกล่าว เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือบรรดาเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายให้มากกว่านี้ เพราะเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลที่ไม่สามารถป้องกันการก่อการร้ายได้ ขณะที่ญาติของเหยื่อซึ่งบางคนที่ยังนอนพักรักษาตัว หรือบาดเจ็บจนไม่สามารถสื่อสารได้ เรียกร้องว่าถูกรัฐบาลเพิกเฉย แต่กลุ่มผู้ก่อเหตุบางคนกลับลอยนวล ไม่ได้รับการลงโทษ
อย่างไรก็ดี ศาลญี่ปุ่นได้พิพากษาประหารชีวิตสาวกลัทธิ 13 คน รวมทั้งนายโชโกะ อาซาฮารา เจ้าลัทธิ จากรายงานประจำปีของตำรวจพบว่าลัทธิโอมชินริเกียว ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อา เลพ” ซึ่งเป็นภาษาฮิบรู ยังคงเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาวกในญี่ปุ่นราว 1,650 คน และในรัสเซียอีก 300 คน โดยเป็นลัทธิถูกกฎหมายภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่