นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 4 ราย คือ เอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ และฮัชท์ ตกลงร่วมกันเสนอราคาลดค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ในโครงการซิมพาณิชย์ เพื่อลดภาระค่าครองชีพแก่ประชาชน ในอัตราค่าโทรนาทีละ 50 สตางค์ ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. รวม 12 ชั่วโมง ส่วนเวลาที่เหลือ เอไอเอสกับดีแทค คิดค่าโทรนาทีละ 2 บาท สำหรับทรูมูฟกับฮัทช์คิดนาทีละ 1.50 บาท ซึ่งเบื้องต้นจะออกซิมการ์ดแบบพิเศษดังกล่าว 100,000 ซิมการ์ด ให้กระทรวงพาณิชย์นำไปจำหน่ายตามช่องทางของกระทรวง เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง มั่นใจว่าจะไม่กระทบต่อการแข่งขันของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพราะเป็นจำนวนไม่มากนัก แต่ถ้ามากกว่านี้ คงไม่สามารถทำได้ เพราะจะกระทบต่อภาวะการแข่งขัน และต้องขอความเห็นจากผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัท
ส่วนราคาของซิมการ์ด เบื้องต้นเอกชนจะเสนอให้ขายในราคา 49 บาทต่อซิมการ์ด แต่ต้องขึ้นกับการพิจารณาของกระทรวงพาณิชย์ว่า จะตัดสินใจอย่างไร โดยในจำนวน 100,000 ซิมการ์ด ผู้ให้บริการรายใหญ่จะรับภาระมากที่สุด คือ เอไอเอส 40,000 ซิมการ์ด ดีแทค 30,000 ซิมการ์ด ทรูมูฟ 20,000 ซิมการ์ด และฮัทช์ 10,000 ซิมการ์ด ขณะเดียวกัน เอไอเอส กับดีแทค ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดเกินร้อยละ 25 ได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. เพื่อขอความเห็นว่าการจัดทำซิมพาณิชย์ในราคาดังกล่าว ถือว่าเข้าข่ายใช้อำนาจเหนือตลาดหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาการร้องเรียนจากผู้ประกอบการรายเล็ก
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีแทค ยังกล่าวถึงกรณีที่ ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบายจะให้กรมสรรพสามิตทบทวนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม ว่า ถือเป็นนโยบายที่ขัดแย้งกับกระทรวงพาณิชย์ ที่เห็นว่าโทรศัพท์คือสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันจนต้องขอให้ลดราคาลง ขณะที่หลักการของภาษีสรรพสามิต คือ เก็บจากสินค้าฟุ่มเฟือย เพื่อลดการบริโภค เช่น สุราและบุหรี่ อย่างไรก็ตาม หากจะจัดเก็บภาษีดังกล่าวสามารถทำได้ 2 แนวทาง คือ เก็บจาก บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม ในฐานะผู้ให้สัมปทาน ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้ทั้ง 2 องค์กรมีสถานะอ่อนแอลง ส่วนแนวทางที่ 2 คือ จัดเก็บจากทุกบริษัท ซึ่งจะเกิดการผลักภาระสู่ผู้บริโภคทันที ดังนั้นโดยส่วนตัวเห็นว่า หากรัฐต้องการรายได้เพิ่ม ควรจะลดการลงทุนในรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง เพื่อให้เหลือเงินส่งเข้าคลังมากขึ้น แทนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต
ส่วนราคาของซิมการ์ด เบื้องต้นเอกชนจะเสนอให้ขายในราคา 49 บาทต่อซิมการ์ด แต่ต้องขึ้นกับการพิจารณาของกระทรวงพาณิชย์ว่า จะตัดสินใจอย่างไร โดยในจำนวน 100,000 ซิมการ์ด ผู้ให้บริการรายใหญ่จะรับภาระมากที่สุด คือ เอไอเอส 40,000 ซิมการ์ด ดีแทค 30,000 ซิมการ์ด ทรูมูฟ 20,000 ซิมการ์ด และฮัทช์ 10,000 ซิมการ์ด ขณะเดียวกัน เอไอเอส กับดีแทค ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดเกินร้อยละ 25 ได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. เพื่อขอความเห็นว่าการจัดทำซิมพาณิชย์ในราคาดังกล่าว ถือว่าเข้าข่ายใช้อำนาจเหนือตลาดหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาการร้องเรียนจากผู้ประกอบการรายเล็ก
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีแทค ยังกล่าวถึงกรณีที่ ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบายจะให้กรมสรรพสามิตทบทวนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม ว่า ถือเป็นนโยบายที่ขัดแย้งกับกระทรวงพาณิชย์ ที่เห็นว่าโทรศัพท์คือสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันจนต้องขอให้ลดราคาลง ขณะที่หลักการของภาษีสรรพสามิต คือ เก็บจากสินค้าฟุ่มเฟือย เพื่อลดการบริโภค เช่น สุราและบุหรี่ อย่างไรก็ตาม หากจะจัดเก็บภาษีดังกล่าวสามารถทำได้ 2 แนวทาง คือ เก็บจาก บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม ในฐานะผู้ให้สัมปทาน ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้ทั้ง 2 องค์กรมีสถานะอ่อนแอลง ส่วนแนวทางที่ 2 คือ จัดเก็บจากทุกบริษัท ซึ่งจะเกิดการผลักภาระสู่ผู้บริโภคทันที ดังนั้นโดยส่วนตัวเห็นว่า หากรัฐต้องการรายได้เพิ่ม ควรจะลดการลงทุนในรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง เพื่อให้เหลือเงินส่งเข้าคลังมากขึ้น แทนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต