สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยสุ่มตัวอย่างจาก 22 จังหวัด ที่เป็นตัวแทนภูมิภาค จำนวน 5,173 คน ระหว่างวันที่ 9-16 มีนาคม 2551 ในหัวข้อ "ปัญหาสังคมในสายตาประชาชน" พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 38.29 เห็นว่าเหตุการณ์ขว้างหินใส่รถยนต์ที่ทำให้น้องมอสเสียชีวิต สะท้อนถึงความเสื่อมโทรมของสังคมไทยมากที่สุด รองลงไปร้อยละ 27.28 เห็นว่าเหตุการลอกทองพระพุทธรูป ขโมยของพระในกุฏิ ร้อยละ 19.95 ตอบว่า เหตุวัยรุ่นเป็นแม่เล้า นักเรียนขายบริการทางเพศ ร้อยละ 6.55 ระบุว่าเหตุขโมยน๊อตจนเสาไฟฟ้าแรงสูงล้มเสียหาย ร้อยละ 5.30 ตอบว่าการปล้นร้านทอง ปล้นธนาคาร
ส่วนความเห็นต่อ สังคมไทย อยู่ในภาวะระดับใด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 52.08 ตอบว่าอยู่ในภาวะวิกฤติที่ต้องเร่งแก้ไขด่วน เพราะทุกข่าว และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้สังคมไทยล่มสลายได้ เพราะมีความรุนแรงมาก ร้อยละ 41.62 เห็นว่าค่อนข้างเข้าสู่ภาวะวิกฤต เพราะเหตุการณ์เริ่มรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และร้อยละ 6.30 ไม่เห็นว่าสังคมไทยอยู่ในภาวะวิกฤตมากนัก ระบุว่าเหมือนกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และยังพอจะแก้ไขได้
ส่วนสาเหตุสำคัญของความเสื่อมโทรมของสังคมไทยจากมากไปหาน้อยคือ 1.สภาพการดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด ลักษณะตัวใครตัวมัน ขาดความมีน้ำใจ 2.ครอบครัวแตกแยก ขาดความอบอุ่น 3.สภาพจิตใจของคนไทยที่ขาดการปลูกฝังจิตสำนึก ถูกทอดทิ้งไม่มีใครเหลียวแลอย่างจริงจัง 4.ทุกหน่วยงานสนใจแต่เรื่องการบ้าน การเมือง และเศรษฐกิจ จนละเลยเรื่องของปัญหาสังคม และ 5.การใช้เงินเป็นตัวตั้ง ความฟุ้งเฟ้อ นิยมความร่ำรวย
แนวทางแก้ไขปัญหานั้นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 33.79 เห็นว่า พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู สื่อมวลชน ศาสนา และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องช่วยกันสร้างจิตสำนึกอย่างจริงจัง รองลงไปเห็นว่าต้องเร่งรัดการใช้กฎหมายทั้งการป้องกันและลงโทษให้เข็ดหลาบและมิเอาเป็นเยี่ยงอย่าง อย่างจริงจัง อย่ามุ่งให้ความสำคัญเฉพาะการเมืองและเศรษฐกิจ จนละเลยปัญหาสังคม ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะฝ่ายการเมืองทั้งรัฐบาล และฝ่ายค้านควรมองปัญหาสังคมเป็นวาระแห่งชาติ
ส่วนความเห็นต่อ สังคมไทย อยู่ในภาวะระดับใด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 52.08 ตอบว่าอยู่ในภาวะวิกฤติที่ต้องเร่งแก้ไขด่วน เพราะทุกข่าว และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้สังคมไทยล่มสลายได้ เพราะมีความรุนแรงมาก ร้อยละ 41.62 เห็นว่าค่อนข้างเข้าสู่ภาวะวิกฤต เพราะเหตุการณ์เริ่มรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และร้อยละ 6.30 ไม่เห็นว่าสังคมไทยอยู่ในภาวะวิกฤตมากนัก ระบุว่าเหมือนกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และยังพอจะแก้ไขได้
ส่วนสาเหตุสำคัญของความเสื่อมโทรมของสังคมไทยจากมากไปหาน้อยคือ 1.สภาพการดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด ลักษณะตัวใครตัวมัน ขาดความมีน้ำใจ 2.ครอบครัวแตกแยก ขาดความอบอุ่น 3.สภาพจิตใจของคนไทยที่ขาดการปลูกฝังจิตสำนึก ถูกทอดทิ้งไม่มีใครเหลียวแลอย่างจริงจัง 4.ทุกหน่วยงานสนใจแต่เรื่องการบ้าน การเมือง และเศรษฐกิจ จนละเลยเรื่องของปัญหาสังคม และ 5.การใช้เงินเป็นตัวตั้ง ความฟุ้งเฟ้อ นิยมความร่ำรวย
แนวทางแก้ไขปัญหานั้นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 33.79 เห็นว่า พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู สื่อมวลชน ศาสนา และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องช่วยกันสร้างจิตสำนึกอย่างจริงจัง รองลงไปเห็นว่าต้องเร่งรัดการใช้กฎหมายทั้งการป้องกันและลงโทษให้เข็ดหลาบและมิเอาเป็นเยี่ยงอย่าง อย่างจริงจัง อย่ามุ่งให้ความสำคัญเฉพาะการเมืองและเศรษฐกิจ จนละเลยปัญหาสังคม ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะฝ่ายการเมืองทั้งรัฐบาล และฝ่ายค้านควรมองปัญหาสังคมเป็นวาระแห่งชาติ