ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู.บุช แห่งสหรัฐฯ "ผิดหวัง" ที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก) เลือกที่ไม่เพิ่มเพดานการผลิต ทำเนียบขาวระบุเมื่อวันพุธ(5) ขณะเดียวกันข่าวการไม่ปรับเพดานการผลิตดันราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งที่ 104 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
"เขาต้องการเห็นโอเปกตัดสินใจแตกต่างจากนี้ เขารู้สึกผิดหวังมากที่พวกเขาไม่ไม่เพิ่มเพดานการผลิต" โฆษกทำเนียบขาว ดานา เปริโน บอกภายหลัง
รัฐมนตรีชาติสมาชิกองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก)ลงมติเมินเรียกร้องของผู้นำสหรัฐฯ และคงปริมาณการผลิตไว้เท่าเดิม ดันราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกพุ่ง 104 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เมื่อวันพุธ
บุช "ไม่เชื่อว่าจะเป็นแนวคิดที่ดีต่อผู้ซื้อรายใหญ่ของพวกเขา อย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งเศรษฐกิจชะลอตัว โดยส่วนหนึ่งมาจากราคาแก๊สที่พุ่งสูงขึ้น" เปริโน กล่าวต่อว่า "เรารู้ว่าความต้องการของโลกเพิ่มสูงขึ้นและซัปพลายคับขัน ดังนั้นเราจึงหวังเห็นโอเปกเพิ่มเพดานการผลิต"
ภายหลังโอเปกตัดสินใจคงปริมาณการผลิต ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบโลกพุ่งสูงผ่าน 104 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันพุธ เช่นเดียวกับได้รับแรงกดดันจากสตอกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ลดและเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบไลท์สวีตครูด สำหรับส่งมอบเดือนเมษายน ที่ตลาดไนเม็กซ์ในนครนิวยอร์ก เมื่อวันพุธ เพิ่มขึ้นถึง 5 ดออลาร์ มาปิดตลาดที่ 104.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากไต่เพดานขึ้นไปทำราคาสูงสุดรอบวันที่ 104.64 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ในลอนดอน สัญญาน้ำมันดิบเบรนต์ เพิ่มสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน โดยน้ำมันดิบสำหรับส่งมอบเดือนเมษายน ปิดตลาดสูงขึ้นถึง 4.12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
"เขาต้องการเห็นโอเปกตัดสินใจแตกต่างจากนี้ เขารู้สึกผิดหวังมากที่พวกเขาไม่ไม่เพิ่มเพดานการผลิต" โฆษกทำเนียบขาว ดานา เปริโน บอกภายหลัง
รัฐมนตรีชาติสมาชิกองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก)ลงมติเมินเรียกร้องของผู้นำสหรัฐฯ และคงปริมาณการผลิตไว้เท่าเดิม ดันราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกพุ่ง 104 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เมื่อวันพุธ
บุช "ไม่เชื่อว่าจะเป็นแนวคิดที่ดีต่อผู้ซื้อรายใหญ่ของพวกเขา อย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งเศรษฐกิจชะลอตัว โดยส่วนหนึ่งมาจากราคาแก๊สที่พุ่งสูงขึ้น" เปริโน กล่าวต่อว่า "เรารู้ว่าความต้องการของโลกเพิ่มสูงขึ้นและซัปพลายคับขัน ดังนั้นเราจึงหวังเห็นโอเปกเพิ่มเพดานการผลิต"
ภายหลังโอเปกตัดสินใจคงปริมาณการผลิต ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบโลกพุ่งสูงผ่าน 104 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันพุธ เช่นเดียวกับได้รับแรงกดดันจากสตอกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ลดและเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบไลท์สวีตครูด สำหรับส่งมอบเดือนเมษายน ที่ตลาดไนเม็กซ์ในนครนิวยอร์ก เมื่อวันพุธ เพิ่มขึ้นถึง 5 ดออลาร์ มาปิดตลาดที่ 104.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากไต่เพดานขึ้นไปทำราคาสูงสุดรอบวันที่ 104.64 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ในลอนดอน สัญญาน้ำมันดิบเบรนต์ เพิ่มสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน โดยน้ำมันดิบสำหรับส่งมอบเดือนเมษายน ปิดตลาดสูงขึ้นถึง 4.12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล