นายสุรชัย รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) หรือก๊าซหุงต้ม เปิดเผยว่า จากที่ราคาน้ำมันดีเซลขยับเพิ่มมาถึงเกือบ 30 บาทต่อลิตร ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งปรับสูงขึ้นมาก ดังนั้น ทางสมาคมฯ จะเสนอต่อกรมการค้าภายในขอปรับราคาค่าขนส่งก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นอีก จากเดิมที่จะเสนอปรับเพียงขึ้น 3-5 บาทต่อถังขนาด 15 กิโลกรัม โดยคาดว่าจะขอความเห็นชอบจากทางกรมการค้าภายใน ภายในเดือนมีนาคม สาเหตุที่ขอปรับขึ้นนอกเหนือจากต้นทุนขนส่งเพิ่มขึ้นแล้วยังเป็นปัจจัยที่โรงบรรจุได้ขยับค่าบรรจุขึ้นเต็มเพดาน เมื่อช่วงปลายปี 2550 อีกด้วย
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ปิดวานนี้ (27 ก.พ.) ยังคงทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุด โดยเบนซิน 95 ราคา 112.20 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ดีเซล 117.56 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทำให้ค่าตลาดน้ำมันในเมืองไทย ดีเซลยังคงติดลบ 40 สตางค์ต่อลิตร เบนซิน 10 สตางค์ต่อลิตร แม้ว่าวันนี้จะมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันทุกประเภท 40 สตางค์ต่อลิตรไปแล้ว ก็ตาม ส่งผลให้ผู้ค้าน้ำมันยังคงขาดทุนจากการค้าน้ำมันลิตรละประมาณ 1.50 - 2 บาท และหากสะท้อนต้นทุนแนวโน้ม ราคาน้ำมันอาจปรับขึ้นอีกในสัปดาห์นี้ แต่ทั้งนี้ผู้ค้าส่วนใหญ่ต่างรอดูท่าทีของ ปตท.ผู้ค้ารายใหญ่ที่สุดจะตัดสินใจขึ้นราคาหรือไม่ หากขยับขึ้นก็จะทำให้ราคาน้ำมันเมืองไทยทำสถิติสูงสุดในทุกประเภท โดยเฉพาะดีเซลจะสูงเกินหลักจิตวิทยาที่สำคัญที่ 30 บาทต่อลิตร และจะกระทบต่อภาคขนส่ง-เกษตร โดยดีเซลจะขยับไปอยู่ที่ 30.34 บาทต่อลิตร และเบนซิน 95 ราคาจะขยับไปที่ 33.99 บาทต่อลิตร
ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้สัมภาษณ์ว่า หากจะลดราคาน้ำมันจากปัจจัยในประเทศจะนำไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะดูถึงโครงสร้างราคาน้ำมันทั้งหมดว่าจะปรับลดได้หรือไม่ เช่น ภาษีน้ำมันที่จัดเก็บในอัตรา 3 - 4 บาทต่อลิตร เงินกองทุนต่าง ๆ โดยในส่วนเงินกองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรา 25 สตางค์สำหรับแก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล ส่วนเบนซิน-ดีเซล จัดเก็บในอัตรา 75 สตางค์ต่อลิตร เพราะ 50 สตางค์เป็นเงินที่เก็บไว้เพื่อนำไปก่อสร้างรถไฟฟ้า ส่วนเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น จัดเก็บจากเบนซิน 95,91 ในอัตรา 3.45 และ 3 บาทต่อลิตร ดีเซล 10 สตางค์ต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 (อี 10) 25 สตางค์ (อี 20) ติดลบ 30 สตางค์ ไบโอดีเซล บี 5 ติดลบ 40 สตางค์ โดยในส่วนที่ติดลบนั้นเป็นการได้รับเงินกองทุนน้ำมันชดเชยจากส่วนของเบนซิน-ดีเซล ทั้งนี้ หากลดเงินกองทุนอนุรักษ์หรือเงินภาษี ก็จะส่งผลกระทบต่อรายได้รัฐและโครงการเมกะโปรเจกต์ในอนาคต
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ปิดวานนี้ (27 ก.พ.) ยังคงทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุด โดยเบนซิน 95 ราคา 112.20 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ดีเซล 117.56 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทำให้ค่าตลาดน้ำมันในเมืองไทย ดีเซลยังคงติดลบ 40 สตางค์ต่อลิตร เบนซิน 10 สตางค์ต่อลิตร แม้ว่าวันนี้จะมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันทุกประเภท 40 สตางค์ต่อลิตรไปแล้ว ก็ตาม ส่งผลให้ผู้ค้าน้ำมันยังคงขาดทุนจากการค้าน้ำมันลิตรละประมาณ 1.50 - 2 บาท และหากสะท้อนต้นทุนแนวโน้ม ราคาน้ำมันอาจปรับขึ้นอีกในสัปดาห์นี้ แต่ทั้งนี้ผู้ค้าส่วนใหญ่ต่างรอดูท่าทีของ ปตท.ผู้ค้ารายใหญ่ที่สุดจะตัดสินใจขึ้นราคาหรือไม่ หากขยับขึ้นก็จะทำให้ราคาน้ำมันเมืองไทยทำสถิติสูงสุดในทุกประเภท โดยเฉพาะดีเซลจะสูงเกินหลักจิตวิทยาที่สำคัญที่ 30 บาทต่อลิตร และจะกระทบต่อภาคขนส่ง-เกษตร โดยดีเซลจะขยับไปอยู่ที่ 30.34 บาทต่อลิตร และเบนซิน 95 ราคาจะขยับไปที่ 33.99 บาทต่อลิตร
ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้สัมภาษณ์ว่า หากจะลดราคาน้ำมันจากปัจจัยในประเทศจะนำไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะดูถึงโครงสร้างราคาน้ำมันทั้งหมดว่าจะปรับลดได้หรือไม่ เช่น ภาษีน้ำมันที่จัดเก็บในอัตรา 3 - 4 บาทต่อลิตร เงินกองทุนต่าง ๆ โดยในส่วนเงินกองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรา 25 สตางค์สำหรับแก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล ส่วนเบนซิน-ดีเซล จัดเก็บในอัตรา 75 สตางค์ต่อลิตร เพราะ 50 สตางค์เป็นเงินที่เก็บไว้เพื่อนำไปก่อสร้างรถไฟฟ้า ส่วนเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น จัดเก็บจากเบนซิน 95,91 ในอัตรา 3.45 และ 3 บาทต่อลิตร ดีเซล 10 สตางค์ต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 (อี 10) 25 สตางค์ (อี 20) ติดลบ 30 สตางค์ ไบโอดีเซล บี 5 ติดลบ 40 สตางค์ โดยในส่วนที่ติดลบนั้นเป็นการได้รับเงินกองทุนน้ำมันชดเชยจากส่วนของเบนซิน-ดีเซล ทั้งนี้ หากลดเงินกองทุนอนุรักษ์หรือเงินภาษี ก็จะส่งผลกระทบต่อรายได้รัฐและโครงการเมกะโปรเจกต์ในอนาคต