วันนี้ (26 ก.พ.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจัดสัมมนา เรื่อง "สิทธิความเป็นคนของผู้หญิง : พันธกรณีระหว่างประเทศ กฎหมาย และข้อถกเถียง" โดยมีนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนด้านสตรี 50 คนเข้าร่วม
นางจุรี วิจิตรวาทการ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยอมรับว่า การผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับผู้หญิงใน สนช. ต้องเผชิญกับปัญหาเจตคติมาก โดยเฉพาะ สนช.สตรีหลายคน ที่ต่อต้านในการผลักดันกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.คำนำหน้านามหญิง เกรงต่อไปผู้หญิงหันมาใช้นางสาวกันหมด คำว่านางคงหายไป อย่างไรก็ตาม เหลืออีก 90 วัน ที่จะบังคับใช้กฎหมาย ดังนั้น จึงต้องการให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงต่างประเทศ เตรียมการรองรับในการแก้ระบบทะเบียนราษฎร์ แบบฟอร์มต่าง ๆ หนังสือเดินทาง และมีกลไกรองรับให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายจริง
ด้านนางสาววิมลศิริ ชำนาญเวช คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น กล่าวว่า ผลจาก พ.ร.บ.คำนำหน้านามหญิง พ.ศ.2551 ถือว่าจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาการสืบสกุลได้มาก ทำให้ลูกสาวสามารถสืบสกุลให้พ่อแม่ได้ นอกจากนี้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 25 ) พ.ศ.2550 เกี่ยวกับวิธีการขัง หรือจำคุก และการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่เป็นหญิงมีครรภ์ โดยให้รอลงโทษ 3 ปี และกรมราชทัณฑ์ต้องจัดหาสถานที่พิเศษให้แม่ลูกอ่อน หากเลี้ยงลูกให้รอด จะเปลี่ยนจากโทษประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิตได้
นางมาลี พฤกษ์พงศาวลี ผอ.โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าว เคยศึกษากฎหมายตราสามดวงในอดีต พบว่าจะให้อำนาจอิสระกับพ่อและผัวในการเอาลูกและเมียไปขายได้ และมีระบบผัวเดียวหลายเมีย จนกระทั่งรัฐธรรมนูญปี 2517 กำหนดให้หญิง-ชายเสมอภาคกันเป็นครั้งแรก จึงมีการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลให้ผู้หญิงสืบสันตติวงศ์ได้ เมื่อศึกษาเชิงเปรียบเทียบของต่างประเทศ แม้จะมีปัญหาเหมือนของเราในอดีต แต่ต่างชาติมีการแก้ไขปัญหาทุกเรื่องหมดแล้วอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ ในการเสวนาดังกล่าวได้มีผู้เข้าร่วมเสวนาเสนอให้มีการเคลื่อนไหวแก้ปัญหากรณีระเบียบกรมราชทัณฑ์ ที่มีการตรวจยาเสพติดนักโทษทุกครั้ง ในการเดินทางเข้า-ออกจากศาล โดยผู้ชายจะถูกตรวจทวารหนัก ส่วนผู้หญิงจะถูกตรวจช่องคลอด ซึ่งพบว่ามีนักโทษหญิงหลายคน ต้องเดินทางไปขึ้นศาลทุกวัน และถูกตรวจช่องคลอดจนบาดเจ็บ ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ขอให้มีการนำเรื่องนี้ไปหารือเพื่อแก้ไขด้วย
นางจุรี วิจิตรวาทการ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยอมรับว่า การผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับผู้หญิงใน สนช. ต้องเผชิญกับปัญหาเจตคติมาก โดยเฉพาะ สนช.สตรีหลายคน ที่ต่อต้านในการผลักดันกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.คำนำหน้านามหญิง เกรงต่อไปผู้หญิงหันมาใช้นางสาวกันหมด คำว่านางคงหายไป อย่างไรก็ตาม เหลืออีก 90 วัน ที่จะบังคับใช้กฎหมาย ดังนั้น จึงต้องการให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงต่างประเทศ เตรียมการรองรับในการแก้ระบบทะเบียนราษฎร์ แบบฟอร์มต่าง ๆ หนังสือเดินทาง และมีกลไกรองรับให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายจริง
ด้านนางสาววิมลศิริ ชำนาญเวช คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น กล่าวว่า ผลจาก พ.ร.บ.คำนำหน้านามหญิง พ.ศ.2551 ถือว่าจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาการสืบสกุลได้มาก ทำให้ลูกสาวสามารถสืบสกุลให้พ่อแม่ได้ นอกจากนี้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 25 ) พ.ศ.2550 เกี่ยวกับวิธีการขัง หรือจำคุก และการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่เป็นหญิงมีครรภ์ โดยให้รอลงโทษ 3 ปี และกรมราชทัณฑ์ต้องจัดหาสถานที่พิเศษให้แม่ลูกอ่อน หากเลี้ยงลูกให้รอด จะเปลี่ยนจากโทษประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิตได้
นางมาลี พฤกษ์พงศาวลี ผอ.โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าว เคยศึกษากฎหมายตราสามดวงในอดีต พบว่าจะให้อำนาจอิสระกับพ่อและผัวในการเอาลูกและเมียไปขายได้ และมีระบบผัวเดียวหลายเมีย จนกระทั่งรัฐธรรมนูญปี 2517 กำหนดให้หญิง-ชายเสมอภาคกันเป็นครั้งแรก จึงมีการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลให้ผู้หญิงสืบสันตติวงศ์ได้ เมื่อศึกษาเชิงเปรียบเทียบของต่างประเทศ แม้จะมีปัญหาเหมือนของเราในอดีต แต่ต่างชาติมีการแก้ไขปัญหาทุกเรื่องหมดแล้วอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ ในการเสวนาดังกล่าวได้มีผู้เข้าร่วมเสวนาเสนอให้มีการเคลื่อนไหวแก้ปัญหากรณีระเบียบกรมราชทัณฑ์ ที่มีการตรวจยาเสพติดนักโทษทุกครั้ง ในการเดินทางเข้า-ออกจากศาล โดยผู้ชายจะถูกตรวจทวารหนัก ส่วนผู้หญิงจะถูกตรวจช่องคลอด ซึ่งพบว่ามีนักโทษหญิงหลายคน ต้องเดินทางไปขึ้นศาลทุกวัน และถูกตรวจช่องคลอดจนบาดเจ็บ ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ขอให้มีการนำเรื่องนี้ไปหารือเพื่อแก้ไขด้วย