นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกระแสข่าวที่จะมีการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ภายใน 2 เดือน ว่า ไม่ได้มาจากรายงานของ ธปท. หรือผู้บริหาร ธปท. และขณะนี้ ธปท.ยังเข้าไปดูแลค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เงินบาทผันผวนหรือแข็งค่าเร็วเกินไป สำหรับการแข็งค่าของเงินบาทขณะนี้ ยืนยันเป็นเพราะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงและไม่ได้แข็งค่าเฉพาะเงินบาท แต่ค่าเงินสกุลอื่นก็แข็งค่าขึ้นเช่นกัน
นางสุชาดา กล่าวว่า ผู้ส่งออกและนำเข้ารวมทั้งผู้มีข้อผูกพันที่จะต้องใช้เงินตราต่างประเทศ ธปท.ได้มีการหารือและพยายามทำความเข้าใจให้มีการซื้อประกันความเสี่ยง เพราะการซื้อประกันความเสี่ยงจะเป็นวิธีลดความเสี่ยงที่ดีที่สุด และจะต้องซื้อทุกคน ทั้งผู้ส่งออก นำเข้า ผู้ที่กู้ยืมเงินจากต่างประเทศ หรือใครก็ตามที่มีข้อผูกพันกับการใช้เงินตราต่างประเทศ เพราะค่าเงินบาทไม่ได้อยู่นิ่ง ๆ มีโอกาสอ่อนค่าและแข็งค่าได้ทั้งนั้น
นางสุชาดา กล่าวอีกว่า ธปท.คงไม่ขอพูดถึงการส่งข้อมูลมาตรการสำรองเงินทุนระยะสั้นนำเข้าร้อยละ 30 เพิ่มเติมให้กระทรวงการคลังว่าจะดำเนินการเมื่อไร หรือมีข้อมูลอะไรบ้าง เพราะไม่ใช่เรื่องที่ควรพูดกัน แต่ขณะนี้ควรไปพูดกันเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่า ส่วนค่าเงินบาทแข็งค่าเร็ว ธปท.มองว่า น่าจะเป็นผลทางจิตวิทยามากกว่า เพราะมีข่าวด้านสหรัฐค่อนข้างมาก แต่ผู้ส่งออกก็ยังถือเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่ส่วนหนึ่งยังไม่ได้ขายไปหมด ส่วนเรื่องเงินทุนไหลเข้านั้น เป็นการไหลเข้ามาทั้งภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้วางแผนรับมือเงินทุนไหลเข้าไว้บ้างแล้ว เพราะสินเชื่อซับไพร์มก็เป็นปัญหามานานแล้ว อีกทั้งเงินบาทแข็งค่าในขณะนี้ก็ไม่ได้มากกว่าสกุลเงินภูมิภาค และค่าเงินเยนของญี่ปุ่นก็ยังแข็งค่ากว่าเงินบาท การดูค่าเงินควรดูที่ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) มากกว่าที่จะดูตัวค่าเงิน โดยดัชนีค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นในปัจจุบันไม่ถึงร้อยละ 3
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท. ยังกล่าวถึงการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของสหรัฐฯ ที่ปรับลดอัตราการเติบโตลงอีกเหลือเพียงร้อยละ 1.3-2 ว่า เรื่องนี้จะเป็นประเด็นนำเข้าหารือในการประชุมคณะ กรรมการนโยบายการเงิน ( กนง. ) วันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้อยู่แล้ว ซึ่งจะนำข้อมูลเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจต่าง ๆ การปรับประมาณการของเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันเข้าหารืออยู่ในที่ประชุม กนง. ซึ่งการประมาณการเศรษฐกิจไทยที่ร้อยละ 4.5-6 ได้มองผลการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่าจะปรับลดอีกกี่ครั้งไว้แล้ว รวมทั้งความเสียหายจากซับไพร์มด้วย แต่เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐจะทรุดลงอีก ต้องนำมาพิจารณาอีกครั้ง
นางสุชาดา กล่าวว่า ผู้ส่งออกและนำเข้ารวมทั้งผู้มีข้อผูกพันที่จะต้องใช้เงินตราต่างประเทศ ธปท.ได้มีการหารือและพยายามทำความเข้าใจให้มีการซื้อประกันความเสี่ยง เพราะการซื้อประกันความเสี่ยงจะเป็นวิธีลดความเสี่ยงที่ดีที่สุด และจะต้องซื้อทุกคน ทั้งผู้ส่งออก นำเข้า ผู้ที่กู้ยืมเงินจากต่างประเทศ หรือใครก็ตามที่มีข้อผูกพันกับการใช้เงินตราต่างประเทศ เพราะค่าเงินบาทไม่ได้อยู่นิ่ง ๆ มีโอกาสอ่อนค่าและแข็งค่าได้ทั้งนั้น
นางสุชาดา กล่าวอีกว่า ธปท.คงไม่ขอพูดถึงการส่งข้อมูลมาตรการสำรองเงินทุนระยะสั้นนำเข้าร้อยละ 30 เพิ่มเติมให้กระทรวงการคลังว่าจะดำเนินการเมื่อไร หรือมีข้อมูลอะไรบ้าง เพราะไม่ใช่เรื่องที่ควรพูดกัน แต่ขณะนี้ควรไปพูดกันเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่า ส่วนค่าเงินบาทแข็งค่าเร็ว ธปท.มองว่า น่าจะเป็นผลทางจิตวิทยามากกว่า เพราะมีข่าวด้านสหรัฐค่อนข้างมาก แต่ผู้ส่งออกก็ยังถือเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่ส่วนหนึ่งยังไม่ได้ขายไปหมด ส่วนเรื่องเงินทุนไหลเข้านั้น เป็นการไหลเข้ามาทั้งภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้วางแผนรับมือเงินทุนไหลเข้าไว้บ้างแล้ว เพราะสินเชื่อซับไพร์มก็เป็นปัญหามานานแล้ว อีกทั้งเงินบาทแข็งค่าในขณะนี้ก็ไม่ได้มากกว่าสกุลเงินภูมิภาค และค่าเงินเยนของญี่ปุ่นก็ยังแข็งค่ากว่าเงินบาท การดูค่าเงินควรดูที่ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) มากกว่าที่จะดูตัวค่าเงิน โดยดัชนีค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นในปัจจุบันไม่ถึงร้อยละ 3
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท. ยังกล่าวถึงการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของสหรัฐฯ ที่ปรับลดอัตราการเติบโตลงอีกเหลือเพียงร้อยละ 1.3-2 ว่า เรื่องนี้จะเป็นประเด็นนำเข้าหารือในการประชุมคณะ กรรมการนโยบายการเงิน ( กนง. ) วันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้อยู่แล้ว ซึ่งจะนำข้อมูลเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจต่าง ๆ การปรับประมาณการของเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันเข้าหารืออยู่ในที่ประชุม กนง. ซึ่งการประมาณการเศรษฐกิจไทยที่ร้อยละ 4.5-6 ได้มองผลการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่าจะปรับลดอีกกี่ครั้งไว้แล้ว รวมทั้งความเสียหายจากซับไพร์มด้วย แต่เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐจะทรุดลงอีก ต้องนำมาพิจารณาอีกครั้ง