นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดโครงการอบรมความรู้แก่สื่อบุคคล (เครือข่ายคนพิการ) "คนพิการสานประชาธิปไตย” ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค วันนี้ (20 ก.พ.) มีผู้พิการเข้าร่วมการอบรมประมาณ 200 คน โดยย้ำถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง ส.ว. และหน้าที่ของ ส.ว. ที่เป็นผู้กลั่นกรองกฎหมาย ตรวจสอบและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ และการถอดถอนนักการเมืองและข้าราชการระดับสูง ที่ทุจริตและทำผิดต่อหน้าที่ ออกจากตำแหน่ง
โดยนายประพันธ์ กล่าวว่า หากผู้พิการช่วยกันรณรงค์ให้ผู้พิการในเครือข่ายออกมาใช้สิทธิเลือก ส.ว.ได้เป็นจำนวนมาก ก็จะเป็นผลดีที่จะมีตัวแทนมาดูแลสิทธิของคนพิการ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดสิทธิของคนพิการมากกว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่าน ๆ มา นอกจากนี้ คนพิการถือเป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ และมีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น จึงต้องการให้คนพิการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ออกมาตัดสินใจเลือก ส.ว.
นอกจากนี้ นายประพันธ์ ยอมรับว่า ประชาชนอาจให้ความสนใจเรื่องการเลือกตั้ง ส.ว.น้อย เพราะมีเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล การอภิปรายนโยบายรัฐบาล และการสรรหา ส.ว. แต่ขณะนี้ทุกอย่างดำเนินการใกล้เสร็จสิ้นหมดแล้ว ดังนั้น กกต.จะเร่งรณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องการเลือกตั้ง ส.ว.ให้มากขึ้น ผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งการเคาะประตูบ้าน เพื่อให้ประชาชนทราบว่าจะมีการเลือกตั้ง ส.ว.ในวันที่ 2 มีนาคมนี้ ซึ่ง กกต.อยากให้มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. ให้มากเท่ากับการเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งสุดท้าย คือร้อยละ 70 แต่จะได้ตามเป้าหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประชาชน และการให้ข้อมูลข่าวสารของสื่อ
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งนี้ สามารถหาเสียงได้ รวมทั้งสถานีโทรทัศน์สามารถเชิญผู้สมัครออกทีวีได้ เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนสนใจการเลือกตั้ง ส.ว.มากขึ้น แต่ต้องคำนึงถึงความเท่าเทียมกัน
โดยนายประพันธ์ กล่าวว่า หากผู้พิการช่วยกันรณรงค์ให้ผู้พิการในเครือข่ายออกมาใช้สิทธิเลือก ส.ว.ได้เป็นจำนวนมาก ก็จะเป็นผลดีที่จะมีตัวแทนมาดูแลสิทธิของคนพิการ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดสิทธิของคนพิการมากกว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่าน ๆ มา นอกจากนี้ คนพิการถือเป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ และมีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น จึงต้องการให้คนพิการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ออกมาตัดสินใจเลือก ส.ว.
นอกจากนี้ นายประพันธ์ ยอมรับว่า ประชาชนอาจให้ความสนใจเรื่องการเลือกตั้ง ส.ว.น้อย เพราะมีเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล การอภิปรายนโยบายรัฐบาล และการสรรหา ส.ว. แต่ขณะนี้ทุกอย่างดำเนินการใกล้เสร็จสิ้นหมดแล้ว ดังนั้น กกต.จะเร่งรณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องการเลือกตั้ง ส.ว.ให้มากขึ้น ผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งการเคาะประตูบ้าน เพื่อให้ประชาชนทราบว่าจะมีการเลือกตั้ง ส.ว.ในวันที่ 2 มีนาคมนี้ ซึ่ง กกต.อยากให้มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. ให้มากเท่ากับการเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งสุดท้าย คือร้อยละ 70 แต่จะได้ตามเป้าหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประชาชน และการให้ข้อมูลข่าวสารของสื่อ
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งนี้ สามารถหาเสียงได้ รวมทั้งสถานีโทรทัศน์สามารถเชิญผู้สมัครออกทีวีได้ เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนสนใจการเลือกตั้ง ส.ว.มากขึ้น แต่ต้องคำนึงถึงความเท่าเทียมกัน