นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อความเข้าใจในการเก็บข้อมูล ติดตามภาวะสุขภาพจิตของผู้ประสบภัยสึนามิ ทั้งภาวะซึมเศร้า และโรคเครียด ภายหลังประสบภัยพิบัติในรอบปีที่ 3 ณ โรงแรมดิอันดาบุรี รีสอร์ท จ.พังงา พร้อมส่งทีมสุขภาพจิตลงพื้นที่ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 12 - 18 กุมภาพันธ์นี้ คาดผลแล้วเสร็จเดือนมีนาคมนี้
ซึ่งจากการศึกษา ติดตามภาวะจิตใจของผู้ประสบภัยในช่วงระยะเวลาต่างๆ เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันและแก้ปัญหาความเจ็บป่วยทางจิตใจในระยะยาวได้ ที่ผ่านมากรมสุขภาพจิต ได้ร่วมมือกับศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ ด้านสาธารณสุข ศึกษาติดตามภาวะสุขภาพจิตของผู้ประสบภัยสึนามิ ที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป มาแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกศึกษาใน 3 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์มากที่สุด ได้แก่ จ.พังงา กระบี่ และภูเก็ต พบว่าความชุกของปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มผู้ใหญ่มีแนวโน้มลดลง ส่วนกลุ่มเด็กมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวอีกว่า การศึกษาวิจัยในครั้งที่ 3 นี้ จะเริ่มเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ประสบภัยสึนามิที่เคยตอบแบบสัมภาษณ์ครั้งที่ 1 มาแล้ว เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จำนวนกว่า 700 คน สำหรับระหว่างวันที่ 12 - 18 กุมภาพันธ์นี้ ในพื้นที่ อ.เมือง อ.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วทุ่ง และ อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา โดยใช้ทีมเก็บข้อมูลจากหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต 6 แห่ง และกลุ่มที่ปรึกษาสุขภาพจิต ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านเทคนิคจากศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ
ทั้งนี้ หากประเมินแล้วพบว่ามีปัญหาสุขภาพจิต หรือโรคทางจิตเวช ทีมงานจะให้คำปรึกษา แนะนำในเบื้องต้น และส่งต่อเข้ารับการตรวจรักษาตามความเหมาะสมต่อไป
ซึ่งจากการศึกษา ติดตามภาวะจิตใจของผู้ประสบภัยในช่วงระยะเวลาต่างๆ เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันและแก้ปัญหาความเจ็บป่วยทางจิตใจในระยะยาวได้ ที่ผ่านมากรมสุขภาพจิต ได้ร่วมมือกับศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ ด้านสาธารณสุข ศึกษาติดตามภาวะสุขภาพจิตของผู้ประสบภัยสึนามิ ที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป มาแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกศึกษาใน 3 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์มากที่สุด ได้แก่ จ.พังงา กระบี่ และภูเก็ต พบว่าความชุกของปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มผู้ใหญ่มีแนวโน้มลดลง ส่วนกลุ่มเด็กมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวอีกว่า การศึกษาวิจัยในครั้งที่ 3 นี้ จะเริ่มเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ประสบภัยสึนามิที่เคยตอบแบบสัมภาษณ์ครั้งที่ 1 มาแล้ว เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จำนวนกว่า 700 คน สำหรับระหว่างวันที่ 12 - 18 กุมภาพันธ์นี้ ในพื้นที่ อ.เมือง อ.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วทุ่ง และ อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา โดยใช้ทีมเก็บข้อมูลจากหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต 6 แห่ง และกลุ่มที่ปรึกษาสุขภาพจิต ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านเทคนิคจากศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ
ทั้งนี้ หากประเมินแล้วพบว่ามีปัญหาสุขภาพจิต หรือโรคทางจิตเวช ทีมงานจะให้คำปรึกษา แนะนำในเบื้องต้น และส่งต่อเข้ารับการตรวจรักษาตามความเหมาะสมต่อไป