แหล่งข่าวจากกรมการค้าภายในแจ้งว่า เมื่อนายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เดินทางกลับปฏิบัติราชการต่างประเทศ คาดว่าจะเชิญกลุ่มสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมโรงชำแหละเนื้อสุกร และกลุ่มผู้ค้าปลีกเนื้อสุกร ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์เนื้อสุกร เพราะขณะนี้กรมฯ ได้รับการร้องเรียนว่า ราคาเนื้อสุกรเป็นหน้าฟาร์มราคาค่อนข้างสูง ทำให้เนื้อสุกรจำหน่ายตามท้องตลาดมีราคาสูงขึ้นกิโลกรัมละ 115 - 120 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้บริโภคเนื้อสุกรได้รับความเดือดร้อน จึงจำเป็นต้องเชิญผู้ประกอบการเหล่านี้มาหารือ ซึ่งคาดว่าจะหารือกันภายในสัปดาห์หน้า
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ทางกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรได้รับผลกระทบจากต้นทุน เช่น ข้าวโพด ปรับขึ้นจากกิโลกรัมละ 3 - 4 บาท เป็นกิโลกรัมละ 7 บาท กากถั่วเหลือง จาก 10 - 12 บาท ปัจจุบัน 20 บาทต่อกิโลกรัม
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ทางกลุ่มสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้มีการคำนวณต้นทุนและยื่นหนังสือต่อกรมการค้าภายใน ระบุราคาสุกรหน้าฟาร์มเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52 - 53 บาท เนื้อสุกรจำหน่ายตามท้องตลาดกิโลกรัมละ 90 - 95 บาท แต่ขณะนี้มีการอ้างว่าจากภาวะต้นทุนการเลี้ยงสุกร ต้นทุนขนส่ง ทำให้ผู้เลี้ยงสุกรไม่สามารถแบกรับภาระได้ จึงดำเนินการปรับราคาสุกรหน้าฟาร์มขึ้นเป็น 58 - 59 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ราคาเนื้อสุกรจำหน่ายตามท้องตลาดกิโลกรัมละ 115 - 120 บาทกิโลกรัม ซึ่งเป็นการขยับค่อนข้างสูง
ดังนั้น จึงต้องมีการคำนวณต้นทุนที่แท้จริงว่าต้นทางสุกรหน้าฟาร์มควรราคาเท่าใด และสุกรท้องตลาดควรจะเป็นเท่าใด โดยควรปรับตามต้นทุนที่แท้จริง ไม่ใช่ปรับแบบไม่รู้ว่าต้นทุนเท่าใด ดังนั้น ผู้ค้ารายใหญ่และรายเล็กจะต้องร่วมตกลงกำหนดราคาสุกรให้ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ทางกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรได้รับผลกระทบจากต้นทุน เช่น ข้าวโพด ปรับขึ้นจากกิโลกรัมละ 3 - 4 บาท เป็นกิโลกรัมละ 7 บาท กากถั่วเหลือง จาก 10 - 12 บาท ปัจจุบัน 20 บาทต่อกิโลกรัม
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ทางกลุ่มสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้มีการคำนวณต้นทุนและยื่นหนังสือต่อกรมการค้าภายใน ระบุราคาสุกรหน้าฟาร์มเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52 - 53 บาท เนื้อสุกรจำหน่ายตามท้องตลาดกิโลกรัมละ 90 - 95 บาท แต่ขณะนี้มีการอ้างว่าจากภาวะต้นทุนการเลี้ยงสุกร ต้นทุนขนส่ง ทำให้ผู้เลี้ยงสุกรไม่สามารถแบกรับภาระได้ จึงดำเนินการปรับราคาสุกรหน้าฟาร์มขึ้นเป็น 58 - 59 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ราคาเนื้อสุกรจำหน่ายตามท้องตลาดกิโลกรัมละ 115 - 120 บาทกิโลกรัม ซึ่งเป็นการขยับค่อนข้างสูง
ดังนั้น จึงต้องมีการคำนวณต้นทุนที่แท้จริงว่าต้นทางสุกรหน้าฟาร์มควรราคาเท่าใด และสุกรท้องตลาดควรจะเป็นเท่าใด โดยควรปรับตามต้นทุนที่แท้จริง ไม่ใช่ปรับแบบไม่รู้ว่าต้นทุนเท่าใด ดังนั้น ผู้ค้ารายใหญ่และรายเล็กจะต้องร่วมตกลงกำหนดราคาสุกรให้ชัดเจน