นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงการเยี่ยมชมโครงการผลิตก๊าซชีวภาพในโรงงานแปรรูปปาล์ม ยางพารา และโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพร ว่า กระทรวงพลังงานมีแผนชัดเจนที่จะส่งเสริมก๊าซชีวภาพจากขยะและน้ำเสีย เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยดำเนินการต่อเนื่องมา 13 ปี ผลิตก๊าซชีวภาพได้กว่า 300 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี คิดเป็นมูลค่า 1,560 ล้านบาทต่อปี แต่ยังมีขยะและน้ำเสียอีกมากที่ยังรอการส่งเสริม ดังนั้น ในช่วงปี 2551-2554 กระทรวงพลังงานได้ทำแผนผลักดันให้มีการผลิตก๊าซชีวภาพในไทยเพิ่มขึ้นและเต็มรูปแบบ โดยใช้เงินจากกองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน การส่งเสริมด้านการพัฒนาเทคโนโลยี การให้ส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า มุ่งเน้นไปยังผู้ประกอบการ 11 กลุ่ม ได้แก่ ฟาร์มสุกรขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ โรงแป้งมัน โรงงานน้ำมันปาล์ม โรงงานเอทานอล โรงน้ำยางข้น โรงงานอาหาร กระป๋อง โรงฆ่าสัตว์ โรงชำแหละแปรรูปไก่ ขยะเศษอาหารตามโรงแรมและอุตสาหกรรมอื่นๆ
นายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า หากดำเนินการครบตามแผนที่วางไว้จะสามารถนำก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกรรวม 2.4 ล้านตัว โรงงาน 338 แห่ง โรงฆ่าสัตว์ 85 แห่ง และแหล่งของเสียชุมชน 300 แห่ง มาผลิตก๊าซชีวภาพเพิ่มขึ้นปีละ 761.8 ล้านลูกบาศก์เมตร มูลค่า 5,400 ล้านบาทต่อปี สามารถทดแทนไฟฟ้าปีละ 204 ล้านหน่วย ทดแทนก๊าซหุงต้มปีละ 10.4 ล้านกิโลกรัม และทดแทนน้ำมันเตาปีละ 308.9 ล้านลิตร
นายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า หากดำเนินการครบตามแผนที่วางไว้จะสามารถนำก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกรรวม 2.4 ล้านตัว โรงงาน 338 แห่ง โรงฆ่าสัตว์ 85 แห่ง และแหล่งของเสียชุมชน 300 แห่ง มาผลิตก๊าซชีวภาพเพิ่มขึ้นปีละ 761.8 ล้านลูกบาศก์เมตร มูลค่า 5,400 ล้านบาทต่อปี สามารถทดแทนไฟฟ้าปีละ 204 ล้านหน่วย ทดแทนก๊าซหุงต้มปีละ 10.4 ล้านกิโลกรัม และทดแทนน้ำมันเตาปีละ 308.9 ล้านลิตร