สำนักงานเลขาธิการยุทธศาสตร์นานาชาติเพื่อการบรรเทาภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UN/ISDR) เผยแพร่รายงานประจำปี 2550 รวบรวมโดยศูนย์วิจัยการระบาดวิทยาของภัยพิบัติ (CRED) ว่า ปีที่แล้วเกิดภัยพิบัติขึ้นทั้งหมด 399 ครั้ง เทียบกับอัตราเฉลี่ย 394 ครั้งระหว่างปี 2543-2549 มีผู้เสียชีวิตรวม 16,517 คน น้อยกว่าอัตราเฉลี่ย 73,931 ครั้ง ระหว่างปี 2543-2549 มีผู้ได้รับความเดือดร้อนรวม 197 ล้านคน มูลค่าความเสียหายราว 62,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 2 ล้านล้านบาท) 8 ใน 10 ประเทศที่มีผู้เสียชีวิตเพราะภัยพิบัติมากที่สุดเป็นประเทศในเอเชีย เช่น บังกลาเทศมีผู้คนเสียชีวิต 4,234 คน เพราะไซโคลนซีดร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน
รายงานของ CRED ระบุว่า อุทกภัยยังคงเป็นภัยพิบัติหลักที่สร้างความเดือดร้อนให้คนทั่วโลก คือมากถึง 164 ล้านคน จากจำนวนผู้เดือดร้อนทั้งหมด 197 ล้านคน โดยครึ่งหนึ่งเดือดร้อนจากน้ำท่วมในจีนช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม สิ่งที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับที่คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ทำนายไว้ว่าเอเชียและแอฟริกาตะวันตกจะเดือดร้อนจากอุทกภัยที่เกิดบ่อยและรุนแรงขึ้นกว่าเดิม
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาท้าทายที่รออยู่ในช่วงทศวรรษหน้าอีกหลายประการ 1 ในนั้นคือการติดตามอย่างใกล้ชิดว่าภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจะส่งผลต่อการแพร่กระจายโรคอย่างไรบ้าง
ด้าน UN/ISDR ชี้ว่า ข้อมูลจากรายงานนี้ย้ำให้เห็นว่าหากเพิ่มการลงทุนด้านมาตรการลดความเสี่ยงการเกิดภัยพิบัติ จะช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตและความเสียหายลงได้
รายงานของ CRED ระบุว่า อุทกภัยยังคงเป็นภัยพิบัติหลักที่สร้างความเดือดร้อนให้คนทั่วโลก คือมากถึง 164 ล้านคน จากจำนวนผู้เดือดร้อนทั้งหมด 197 ล้านคน โดยครึ่งหนึ่งเดือดร้อนจากน้ำท่วมในจีนช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม สิ่งที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับที่คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ทำนายไว้ว่าเอเชียและแอฟริกาตะวันตกจะเดือดร้อนจากอุทกภัยที่เกิดบ่อยและรุนแรงขึ้นกว่าเดิม
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาท้าทายที่รออยู่ในช่วงทศวรรษหน้าอีกหลายประการ 1 ในนั้นคือการติดตามอย่างใกล้ชิดว่าภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจะส่งผลต่อการแพร่กระจายโรคอย่างไรบ้าง
ด้าน UN/ISDR ชี้ว่า ข้อมูลจากรายงานนี้ย้ำให้เห็นว่าหากเพิ่มการลงทุนด้านมาตรการลดความเสี่ยงการเกิดภัยพิบัติ จะช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตและความเสียหายลงได้