ดร.วัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การประกอบกิจการอาหารจำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ทั้งด้านสุขาภิบาลอาหาร และสุขลักษณะของร้านค้า ซึ่งที่ผ่านมาแม้จะได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการแต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงได้จัดประชุมอบรมเรื่องการตรวจ ประมวลหลักฐานเพื่อการบังคับใช้กฎหมายด้านอาหารปลอดภัย อาทิ พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจำหน่ายในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2545 และ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 เป็นต้น เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร ในการนำกฎหมายด้านอาหารปลอดภัยมาบังคับใช้อย่างจริงจัง เพื่อควบคุม ดูแลการจำหน่ายอาหารในกรุงเทพมหานครให้มีคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค
สำหรับแนวทางการดำเนินการจะทดลองในพื้นที่นำร่อง 5 สำนักงานเขต ได้แก่ เขตพญาไท ดุสิต บางซื่อ ห้วยขวาง และเขตราษฎร์บูรณะ โดยให้สำรวจข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และจัดทำแผนดำเนินการ ตลอดจนสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหา และวิธีการที่จะขยายแนวความคิดให้ประชาชนที่อาศัยและทำงานอยู่โดยรอบให้มีความตระหนักถึงความสะอาดและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค และคุณภาพชีวิตที่ดีของคนกรุงเทพฯ ซึ่งคาดว่าการดำเนินการในจุดนำร่องจะสามารถเห็นเป็นรูปธรรมภายในเดือนมีนาคม 2551 เพื่อจะนำไปเป็นต้นแบบในการขยายผลไปยังทุกสำนักงานเขตต่อไป
สำหรับแนวทางการดำเนินการจะทดลองในพื้นที่นำร่อง 5 สำนักงานเขต ได้แก่ เขตพญาไท ดุสิต บางซื่อ ห้วยขวาง และเขตราษฎร์บูรณะ โดยให้สำรวจข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และจัดทำแผนดำเนินการ ตลอดจนสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหา และวิธีการที่จะขยายแนวความคิดให้ประชาชนที่อาศัยและทำงานอยู่โดยรอบให้มีความตระหนักถึงความสะอาดและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค และคุณภาพชีวิตที่ดีของคนกรุงเทพฯ ซึ่งคาดว่าการดำเนินการในจุดนำร่องจะสามารถเห็นเป็นรูปธรรมภายในเดือนมีนาคม 2551 เพื่อจะนำไปเป็นต้นแบบในการขยายผลไปยังทุกสำนักงานเขตต่อไป