นายไพรัช โรจน์เจริญงาม หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขบวนรถไฟฟ้าที่จะใช้ในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (แอร์พอร์ต ลิงก์) ได้มาถึงประเทศไทยอีก 4 ขบวน ในวันนี้ (11 ม.ค.) โดยจะลำเลียงขึ้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเมื่อรวมกับรถที่ส่งมาก่อนหน้า 2 ขบวนแล้ว จะยังเหลืออีก 3 ขบวน ซึ่งตามกำหนดจะถึงประเทศไทยในราวปลายเดือนมกราคมนี้ เมื่อได้รับจำนวนขบวนรถครบ 9 ขบวนแล้ว จะทำการทดสอบระบบ เมื่อระบบสมบูรณ์แล้ว คาดว่าจะเปิดบริการได้ในปี 2552
รถไฟฟ้าในโครงการฯ นี้ มีความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. วิ่งบนทางยกระดับ ตามแนวทางรถไฟในสายตะวันออกของเส้นทางรถไฟปัจจุบัน ความยาว 28 กิโลเมตร มีสถานีให้บริการ 8 สถานี คือ พญาไท ราชปรารภ มักกะสัน รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง และสุวรรณภูมิ โดยมี จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า BTS ที่พญาไท และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRTA ที่มักกะสัน
การบริการจะแยกเป็น 2 ระบบ คือ รถไฟฟ้าด่วน เป็นขบวนรถที่ให้บริการผู้ที่เดินทางโดยสายการบิน ซึ่งจะวิ่งระหว่างมักกะสัน-สุวรรณภูมิ ใช้เวลา 15 นาที ส่วนรถไฟฟ้าธรรมดา จะเปิดบริการทั่วไปแก่ผู้โดยสารในเมือง ระหว่างพญาไท-สุวรรณภูมิ ใช้เวลาเดินทาง 30 นาที ซึ่งรถทั้ง 2 ระบบ จะมีความถี่ให้บริการทุก ๆ 15 นาที โดยในระยะแรกคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการวันละไม่ต่ำก่วา 80,000 คน
รถไฟฟ้าในโครงการฯ นี้ มีความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. วิ่งบนทางยกระดับ ตามแนวทางรถไฟในสายตะวันออกของเส้นทางรถไฟปัจจุบัน ความยาว 28 กิโลเมตร มีสถานีให้บริการ 8 สถานี คือ พญาไท ราชปรารภ มักกะสัน รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง และสุวรรณภูมิ โดยมี จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า BTS ที่พญาไท และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRTA ที่มักกะสัน
การบริการจะแยกเป็น 2 ระบบ คือ รถไฟฟ้าด่วน เป็นขบวนรถที่ให้บริการผู้ที่เดินทางโดยสายการบิน ซึ่งจะวิ่งระหว่างมักกะสัน-สุวรรณภูมิ ใช้เวลา 15 นาที ส่วนรถไฟฟ้าธรรมดา จะเปิดบริการทั่วไปแก่ผู้โดยสารในเมือง ระหว่างพญาไท-สุวรรณภูมิ ใช้เวลาเดินทาง 30 นาที ซึ่งรถทั้ง 2 ระบบ จะมีความถี่ให้บริการทุก ๆ 15 นาที โดยในระยะแรกคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการวันละไม่ต่ำก่วา 80,000 คน