นายธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กล่าวว่า ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา กยศ.ได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทั้งในและนอกศาล และระบบอนุญาโตตุลาการ มีนักศึกษาที่จบการศึกษาเข้าไกล่เกลี่ย 25 - 30 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนกว่า 1 แสนรายต่อปี ที่ต้องเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้อง เนื่องจากไม่คืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ทำให้ต้องเสียเงินในกระบวนการทางกฎหมายกว่าปีละ 6,000 ล้านบาท และส่งผลกระทบต่อการทำงานของศาลด้วย
จากการศึกษาปัญหา พบว่าปัจจัยหลักที่ทำให้นักศึกษาจบใหม่ไม่คืนเงินกองทุนฯ เป็นผลมาจากอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น และแสดงความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการกู้ยืม เนื่องจากเข้าใจว่าเป็นเงินที่รัฐให้เปล่า ซึ่ง กยศ.กำลังเร่งทำความเข้าใจกับผู้กู้รายใหม่และผู้กู้รายเดิม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ และยืนยันว่า การฟ้องร้องผู้ที่ไม่ยอมจ่ายเงินคืนกองทุนฯ ไม่ใช่เป็นการกลั่นแกล้งนักศึกษา เพราะผู้ถูกฟ้องร้องส่วนใหญ่ก็เป็นวัยทำงานแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษามีดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 และจะจ่ายคืนก็ต่อเมื่อนักศึกษาที่กู้ยืมจบการศึกษาและเริ่มมีงานทำแล้วเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ กยศ.จะร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรม จัดโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดี โดยจะเริ่มใน 9 จังหวัดนำร่อง เช่น กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา ระหว่างวันที่ 8 - 13 มกราคมนี้
จากการศึกษาปัญหา พบว่าปัจจัยหลักที่ทำให้นักศึกษาจบใหม่ไม่คืนเงินกองทุนฯ เป็นผลมาจากอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น และแสดงความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการกู้ยืม เนื่องจากเข้าใจว่าเป็นเงินที่รัฐให้เปล่า ซึ่ง กยศ.กำลังเร่งทำความเข้าใจกับผู้กู้รายใหม่และผู้กู้รายเดิม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ และยืนยันว่า การฟ้องร้องผู้ที่ไม่ยอมจ่ายเงินคืนกองทุนฯ ไม่ใช่เป็นการกลั่นแกล้งนักศึกษา เพราะผู้ถูกฟ้องร้องส่วนใหญ่ก็เป็นวัยทำงานแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษามีดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 และจะจ่ายคืนก็ต่อเมื่อนักศึกษาที่กู้ยืมจบการศึกษาและเริ่มมีงานทำแล้วเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ กยศ.จะร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรม จัดโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดี โดยจะเริ่มใน 9 จังหวัดนำร่อง เช่น กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา ระหว่างวันที่ 8 - 13 มกราคมนี้