xs
xsm
sm
md
lg

ฮือฮา! โซเชียลแห่แชร์ไวรัล “โลมาสีชมพู” (สด) ดร.ธรณ์ เชื่อเป็น “โลมาAI”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภาพโลมาสีชมพูสดที่ถูกแชร์กันจนเป็นไวรัลบนโลกโซเชียล ซึ่งกูรูต่างเชื่อกันว่าเป็นภาพ AI
กูรูเชื่อภาพ “โลมาสีชมพูสด” ที่ถูกแชร์กันเป็นจำนวนมากบนโลกโซเชียล เป็นภาพ “โลมาAI” โดย ดร.ธรณ์ ได้โพสต์ถึงน้องโลมาดังกล่าวสั้น ๆ ว่า...ถึงเพื่อนธรณ์ผู้แชร์ภาพโลมาสีชมพูจากอเมริกา ผมเข้าใจว่านั่นคือโลมา AI ฮะ

ถือเป็นอีกหนึ่งไวรัลร้อนแรงบนโลกโซเชียลกับภาพ “โลมาสีชมพูสด” สุดจัดจ้าน กำลังกระโดดเล่นน้ำทะเลอย่างเริงร่า ซึ่งถูกแชร์กันเป็นจำนวนมาก

ภาพโลมาสีชมพูสดที่ถูกแชร์กันจนเป็นไวรัลบนโลกโซเชียล ซึ่งกูรูต่างเชื่อกันว่าเป็นภาพ AI
ภาพนี้แม้ไม่ระบุชัดเจนว่าใครเป็นเจ้าของภาพ แต่มีข้อมูลเบื้องต้นอ้างว่าพบที่บริเวณชายฝั่งนอร์ทแคโรไลนา

อย่างไรก็ดีหลังภาพนี้ถูกโพสต์และแชร์กันเป็นจำนวนมากบนโลกโซเชียล บรรดากูรูผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์ทะเลและภาพจาก AI ได้ออกมาระบุว่า ภาพน้อิงโลมาสีชมพูสดที่กำลังกระโดดอย่างเริงร่าอยู่นี้น่าจะเป็นภาพที่ใช้ AI สร้างขึ้นมา

ภาพโลมาสีชมพูสดที่ถูกแชร์กันจนเป็นไวรัลบนโลกโซเชียล ซึ่งกูรูต่างเชื่อกันว่าเป็นภาพ AI
โดย เพจ เพชรมายา ได้โพสต์ถึงเรื่องนี้เชิงตั้งคำถามว่า โลมาสีชมพูมีจริงหรือไม่ ? ก่อนจะอธิบายว่า

ช่วงนี้มีภาพของโลมาสีชมพูที่ถูกแชร์บนโลกออนไลน์อย่างมากในหลาย ๆ แพลตฟอร์ม หลายคนชื่นชมในอัศจรรย์ของธรรมชาติและฮือฮากันอย่างมาก โดยภาพเหล่านี้ถูกอ้างว่าพบที่บริเวณชายฝั่งนอร์ทแคโรไลนา

ข้อแรก ไม่มีโลมาสายพันธุ์สีชมพูอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งนอร์ทแคโรไลนา

ข้อสอง โลมาสีชมพูมีอยู่จริง แต่....

โลมาที่มีสีออกโทนชมพูอย่าง Amazon River Dolphin ก็อาศัยอยู่แถบแม่น้ำแอมะซอนในอเมริกาใต้

หรือจะเป็น Indo-Pacific Humpback Dolphin ก็อยู่แถวบ้านเราทางมหาสมุทรอินเดียตะวันออกและแปซิฟิกตะวันตก

ความเป็นไปได้เดียวก็คือ มันเป็น Bottlenose Dolphin หรือโลมาปากขวด ที่พบได้ในมหาสมุทรทั่วโลก หน้าตาก็ดูเหมือนจะใช่เสียด้วย

ในขณะที่หลายคนเชื่อว่า มันคือภาพที่ถูกสร้างมาจาก AI หรือผ่านการตัดต่อสีชมพูเข้าไปมากกว่า เพราะจู่ ๆ ภาพชุดนี้ก็ปรากฏขึ้นแบบไม่มีที่มาที่ไป ไม่รู้่ว่าเจ้าของภาพเป็นใครมาจากไหน

ดังนั้น ถ้าใครเห็นคนแชร์ภาพโลมาสีชมพูชุดนี้ จึงอาจตีได้ว่าเป็นภาพปลอมไว้ก่อนครับ


ภาพโลมาสีชมพูสดที่ถูกแชร์กันจนเป็นไวรัลบนโลกโซเชียล ซึ่งกูรูต่างเชื่อกันว่าเป็นภาพ AI
ด้านเพจ ThaiWhales ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลสั้น ๆ ว่า

โลมาสีชมพูBarbie pink ที่แชร์กันน่าจะ ai นะคะ 😅โลมาสีชมพูหรือโลมาหลังโหนกมีจริง … แต่ในรูปนั้นเป็นโลมาปากขวดค่ะ 🐬

เช่นเดียวกับ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ถึงเรื่องน้องโลมาสีชมพูสดตัวนี้ ผ่านเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat เพียงสั้น ๆ ว่า

ถึงเพื่อนธรณ์ผู้แชร์ภาพโลมาสีชมพูจากอเมริกา ผมเข้าใจว่านั่นคือโลมา AI ฮะ 😅

โลมาสีชมพูที่พบเจอบ่อยครั้งที่ทะเลขนอม จ.นครศรีธรรมราช (ภาพจาก อช.หาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้)
สำหรับโลมา ที่หลาย ๆ คนเข้าใจว่าเป็นปลา แต่จริง ๆ โลมาเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในน้ำ (เช่นเดียวกับวาฬ) ทั้งน้ำทะเล น้ำจืด และน้ำกร่อย

โลมามีหลายชนิดในวงศ์ต่าง ๆ ในบ้านเราขอมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่ามีโลมา 11 ชนิด อาทิ โลมาปากขวด โลมาหัวบาตรหลังเรียบ โลมาหลังโหนก โลมาลายแถบ โลมาลายจุด เป็นต้น


โลมาส่วนใหญ่มีสีเทา ดำ ทั้งยังมี “โลมาสีชมพู” ซึ่งในบ้านเราพบเจอบ่อยที่อ่าวไทย โดยเฉพาะบริเวณทะเลขนอม จ.นครศรีธรรม ซึ่งข้อมูลจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชระบุว่า โลมาสีชมพูที่เจอที่ทะเลขนอมเป็น โลมาหลังโหนก หรืออีกชื่อเรียกว่า โลมาขาวเทา/โลมาเผือก (Chinese white dolphin, Pacific humpback dolphin, Indo-Pacific humpbacked dolphin) ซึ่งเป็นโลมาชนิดหนึ่งในวงศ์โลมามหาสมุทร อยู่ในสถานะอนุรักษ์ ประเภทมีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ (NT) จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562

สำหรับสีชมพูของโลมานั้นมาจากเมื่อโลมามีอายุมากจะมีสีสว่างขึ้นจนถึงเป็นสีชมพู สีชมพูนี้ไม่ได้มาจากเซลล์เม็ดสี แต่มาจากสีของหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายสูงเกินไป การพบเห็นโลมาสีชมพู ยังบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลไทย

โลมาสีชมพูที่พบเจอบ่อยครั้งที่ทะเลขนอม จ.นครศรีธรรมราช (ภาพจาก อช.หาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้)








กำลังโหลดความคิดเห็น