xs
xsm
sm
md
lg

“สะพานสรพงษ์” เขาคิชฌกูฏ ไม่ธรรมดา มาจากศรัทธาบุญ “สรพงษ์ ชาตรี” พระเอกในตำนาน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ปิ่น บุตรี


“สะพานสรพงษ์” ศรัทธาบุญจาก “สรพงษ์ ชาตรี” (ภาพจากเพจ : อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏฯ)
อุทยานฯ เขาคิชฌกูฏ เผยภาพ “สะพานสรพงษ์” ระบุชื่อนี้มาจาก “สรพงษ์ ชาตรี” ได้มาสร้างระฆังถวายท่านพ่อเขียนขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ พร้อมส่งกำลังใจให้พระเอกในตำนาน อาการดีขึ้นและหายจากโรคมะเร็งโดยเร็ว

อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ เปิดเผยภาพและข้อมูล “สะพานสรพงษ์” ที่จะขึ้นไปสักการะ “รอยพระพุทธบาทพลวง” ซึ่งมีที่มาจากชื่อ “สรพงษ์ ชาตรี” พระเอกดังในตำนาน ผ่านเพจ ”อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี KhaoKhitchakut National Park” ดังต่อไปนี้

#เล่าขานตำนานคิชฌกูฏEp2
“สะพานสรพงษ์”
ก่อนที่จะถึงสะพานสรพงษ์ จะผ่านราวระฆังบริเวณเนินพระเมตตา ซึ่งมีระฆังจำนวน 152 ลูก ส่วนสะพานสรพงษ์ ที่ได้ชื่อนี้เนื่องจาก คุณสรพงษ์ ชาตรี ได้มาสร้างระฆังถวายท่านพ่อเขียนขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งมีระฆังบริเวณนี้ จำนวน 97 อัน
สุดท้ายนี้ขอให้ อานิสงส์ผลบุญที่ท่านได้ทำส่งผลให้อาการดีขึ้นและหายจากโรคมะเร็ง โดยเร็ว
#ปลอดภัยอุ่นใจไม่เสี่ยงโควิด
#หนึ่งปีหนึ่งคำอธิษฐาน
#คิชฌกูฏพิสูจน์ศรัทธา


สะพานสรพงษ์ข้างทางมีระฆังเรียงราย ซึ่งสร้างถวายโดย สรพงษ์ ชาตรี  (ภาพจากเพจ : อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏฯ)
ทั้งนี้ปัจจุบัน “พี่เอก-สรพงษ์ ชาตรี” พระเอกชื่อดังในตำนาน ได้ป่วยเป็นมะเร็งและกำลังรักษาตัวอยู่ ซึ่งคนไทยจำนวนมากได้ส่งกำลังใจให้พี่เอกอาการดีขึ้นและหายป่วยโดยไว

สำหรับ “เขาคิชฌกูฏ” เป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี โดยจะเปิดให้ท่องเที่ยวเพียงปีละครั้ง และมีไฮไลต์นั่นก็คือ การขึ้นไปสักการะ “รอยพระพุทธบาทพลวง” หรือ “รอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ” ที่นับเป็นรอยพระพุทธบาทที่สูงที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากรอยพระพุทธบาทดังกล่าวประดิษฐานอยู่บนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,050 เมตร

ระฆังริมทางเดินที่สะพานสรพงษ์ (ภาพจากเพจ : อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏฯ)
ใกล้ ๆ กับรอยพระบาทพลวงยังมี “หินลูกพระบาท” หรือ “หินลูกบาตร” ก้อนหินใหญ่รูปทรงคล้ายบาตรคว่ำ ตั้งตระหง่านอยู่ริมหน้าผา เป็นร่มเงาให้แก่รอยพระพุทธบาทเสมอมา

ในปีนี้จะเปิดให้ผู้ที่ศรัทธาขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาทในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ (ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3) - 2 เมษายน (ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5) โดยจะมีพิธีบวงสรวง 31 มกราคม 2565 และปิดงานวันที่ 2 เมษายน 2565

หินลูกพระบาท  (ภาพจากเพจ : อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏฯ)

รอยพระพุทธบาทพลวง  (ภาพจากเพจ : อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏฯ)

ปิดทองหินลูกพระบาท (ภาพจากเพจ : อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏฯ)




กำลังโหลดความคิดเห็น