xs
xsm
sm
md
lg

ทึ่ง! 10 เห็ดป่าสวยแปลก หาชมได้ในป่าไทย (ไม่แถมไฟเซอร์)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ปิ่น บุตรี


เดินป่าหน้าฝน มีโอกาสพบเจอเห็ดป่าสวยแปลกได้หลากหลายชนิด (ภาพ : กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้)
พาไปรู้จักกับ 10 เห็ดป่าสวยแปลกของเมืองไทย บางชนิดไม่คิดว่ามีอยู่ในโลก ซึ่งได้คัดสรรมาจากบทความ ตามนักวิจัยเข้าป่าไปสำรวจ “เห็ด” ตอน 1 และ 2 จากเพจ “กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้”

ช่วงฤดูฝนถือเป็นฤดูของเห็ดป่า ซึ่งในป่าทั่วไทยจะมีเห็ดผุดโผล่ขึ้นมาอวดโฉมให้เห็นกันมากมาย บางชนิดกินได้ แต่บางชนิดกินไม่ได้ และหลายชนิดมีความสวยงามน่าถ่ายรูปโดยเฉพาะตากล้องสายมาโคร นอกจากนี้ก็ยังมีเห็ดบางชนิดที่มีความแปลกจนไม่คิดว่าจะมีอยู่ในโลก

เดินป่าหน้าฝน มีโอกาสพบเจอเห็ดป่าสวยแปลกได้หลากหลายชนิด (ภาพ : กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้)
และนี่ก็คือ 10 เห็ดป่าสวยแปลกของเมืองไทย ซึ่งได้คัดสรรมาจากบทความ ตามนักวิจัยเข้าป่าไปสำรวจ “เห็ด” ตอน 1 และ 2 จากเพจ “กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้”

เห็ดม่วงมณี


เห็ดม่วงมณี (ภาพ : กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้)
เห็ดม่วงมณี - Marasmius haematocephalus (Mont.) Fr.

ดำรงชีวิตเป็นเห็ดกินซากพืช พบได้ตามซากใบไม้ผุบนพื้นป่า

เห็ดรังนกขอบเรียบ


เห็ดรังนกขอบเรียบ (ภาพ : กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้)
เห็ดรังนกขอบเรียบ - Cyathus olla (Batsch) Pers.

ดำรงชีวิตเป็นเห็ดกินซากพบได้ทั้งบนไม้ผุและใบไม้ผุบนพื้นป่าที่มีความชื้นและมีซากอินทรียวัตถุทับถมหนาแน่น

เห็ดกรวยเกล็ดทอง


เห็ดกรวยเกล็ดทอง   (ภาพ : กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้)
เห็ดกรวยเกล็ดทอง (ดอกอ่อน) - Turbinellus floccosus (Schwein.) Earle ex Giachini & Castellano

ดำรงชีวิตเป็นเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา พบได้บนพื้นดินตามป่าสนเขา เป็นเห็ดพิษ รับประทานไม่ได้

เห็ดประทัดจีน / เห็ดแดงชาด


เห็ดประทัดจีน  (ภาพ : กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้)
เห็ดประทัดจีน / เห็ดแดงชาด (ดอกอ่อน) - Hygrocybe coccineocrenata (P.D. Orton) M.M. Moser

ดำรงชีวิตเป็นเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา พบได้ตามพื้นป่าที่มีความชื้นสูง มีรายงานว่ากินได้ แต่ไม่แนะนำเนื่องจากมีเห็ดหลายชนิดที่หน้าตาใกล้เคียงกันแต่ยังไม่มีข้อมูลการกิน

เห็ดร่างแหกระโปรงยาว หรือ เห็ดเยื่อไผ่


เห็ดร่างแหกระโปรงยาว  (ภาพ : กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้)
เห็ดร่างแหกระโปรงยาว หรือ เห็ดเยื่อไผ่ - Phallus indusiatus Vent.

ดำรงชีวิตเป็นเห็ดกินซากพืช พบได้ตามพื้นป่าที่มีซากอินทรียวัตถุทับถบและชื้น มักพบมากในป่าไผ่ที่มีเศษซากใบไผ่ทับถม จึงทำให้เกิดชื่อที่เรียกว่า เห็ดเยื่อไผ่ (bamboo mushroom) ขึ้นมา

เห็ดชามเหลือง


เห็ดชามเหลือง  (ภาพ : กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้)
เห็ดชามเหลือง - Aleuria luteonitens (Berk. & Broome) Gillet

ดำรงชีวิตแบบเห็ดกินซากพืช พบได้บนพื้นดินที่มีซากอินทรียวัตถุทับถมและเปียกชื้น ไม่มีข้อมูลการกิน


เห็ดหูหนูเสือ

เห็ดหูหนูเสือ  (ภาพ : กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้)
เห็ดหูหนูเสือ - Auricularia mesenterica (Dicks.) Pers.

ดำรงชีวิตแบบเห็ดกินซากพืช พบได้บนกิ่งไม้ ท่อนไม้ที่ตายแล้วแต่มีความชื้นสูง เป็นเห็ดกินได้แต่ด้วยมีเนื้อที่เหนียวกว่าเห็ดหูหนูทั่วไปจึงทำให้ไม่เป็นที่นิยม แต่สามารถเพาะเลี้ยงเป็นเห็ดเศรษฐกิจได้เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นเห็ดสมุนไพรด้วย

เห็ดวุ้นเขากวางเหลือง


เห็ดวุ้นเขากวางเหลือง  (ภาพ : กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้)
เห็ดวุ้นเขากวางเหลือง - Calocera cornea (Batsch) Fr.

ดำรงชีวิตแบบเห็ดกินซากพืช พบได้บนกิ่งไม้-ท่อนไม้ที่ตายแล้วและมีความชื้นสูงมากและเมื่อแห้งดอกเห็ดยังคงสภาพอยู่ได้คล้ายกับเห็ดหูหนูแต่เมื่อได้รับความชื้นจะกลับมาคล้ายมีชีวิตเหมือนเดิม ไม่มีข้อมูลว่าได้ถูกนำมากินหรือไม่

เห็ดถ้วยแชมเปญ


เห็ดถ้วยแชมเปญ  (ภาพ : กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้)
เห็ดถ้วยแชมเปญ - Cookeina sulcipes (Berk.) Kuntze

ดำรงชีวิตแบบเห็ดกินซากพืช พบได้บนกิ่งไม้-ท่อนไม้ที่ตายแล้วและมีความชื้นสูง เป็นเห็ดกินได้ รสชาติจืดแต่มีความหยุ่นคล้ายเห็ดหูหนู นักถ่ายภาพธรรมชาตินิยมถ่ายเมื่อเวลาเข้าป่า ถือว่าเป็นเห็ดสวยงามและยังกินได้อีกชนิดหนึ่งด้วย

เห็ดถ้วยแชมเปญขน


เดินป่าหน้าฝน มีโอกาสพบเจอเห็ดป่าสวยแปลกได้หลากหลายชนิด (ภาพ : กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้)
เห็ดถ้วยแชมเปญขน - Cookeina tricholoma (Mont.) Kuntze

ดำรงชีวิตแบบเห็ดกินซากพืช พบได้บนกิ่งไม้-ท่อนไม้ที่ตายแล้วและมีความชื้นสูง เป็นเห็ดกินได้ รสชาติจืดแต่มีความหยุ่นคล้ายเห็ดหูหนู นักถ่ายภาพธรรมชาตินิยมถ่ายเมื่อเวลาเข้าป่า ถือว่าเป็นเห็ดสวยงามและยังกินได้อีกชนิดหนึ่งด้วย

และนี่ก็คือ 10 เห็ดป่าสวยแปลกที่พบได้ในป่าไม้เมืองไทย โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนซึ่งเป็นฤดูของเห็ดป่าในบ้านเรา

อย่างไรก็ดี ใครที่เดินป่าแล้วเจอเห็ดพวกนี้ก็ขอให้ดูแต่ตา มืออย่าต้อง อย่าไปเด็ดเก็บมันขึ้นมา (เพราะยังไงก็ไม่ได้ไฟเซอร์แถมมาด้วย) แต่ควรปล่อยให้มันคงอยู่คู่ธรรมชาติ เก็บมาแต่เพียงภาพถ่าย โดยปล่อยไว้ให้พวกมันอยู่สร้างประโยชน์ให้ธรรมชาติต่อไป






กำลังโหลดความคิดเห็น