Youtube :Travel MGR
เพจกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โพสต์ภาพ "ตุ๊กแกป่าหางม้วนบาลา Bent-toed Gecko ซึ่งเดิมมีรายงานพบในคาบสมุทรมลายู เฉพาะประเทศมาเลเซีย และในส่วนของประเทศไทยมีรายงานอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2561 ว่าพบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ทั้งนี้ข้อมูลในเพจกรมอุทยานฯ กล่าวว่า มีรายงานที่พบตุ๊กแกชนิดนี้ในมาเลเซีย ที่ Gunung benom ในรัฐปาหัง ที่ระดับความสูง 215 เมตร จากระดับน้ำทะเล ลักษณะป่าที่พบเป็นป่าดิบชื้นแบบมลายู แบบเดียวกันกับที่พบในป่าฮาลา-บาลา ของไทย ซึ่งตัวที่พบในป่าบาลาก็พบในระดับความสูงไม่เกิน 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลเช่นกัน
ดูจากการพบตัวโดยตรงของตุ๊กแกป่าหางม้วนบาลานี้แล้ว ส่วนใหญ่จะพบในวันที่ฝนตก บนใบไม้ที่ไม่สูงจากพื้นดินมากนัก อาจเป็นเพราะเรื่องของการหาอาหาร ซึ่งคงเป็นแมลงขนาดเล็กที่พบเฉพาะในป่าที่ราบต่ำ ในรายละเอียดเรื่องนิเวศวิทยาอื่นๆ ยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม
ตุ๊กแกป่าหางม้วนบาลานี้ เป็นรายงานการพบครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อปี 2561 ชื่อภาษาไทยจึงให้ชื่อตามแหล่งที่พบครั้งแรกของไทย คือที่ป่าบาลา จังหวัดนราธิวาส เป็นป่าดิบชื้นที่ราบต่ำที่มีอาณาเขตบางส่วนเชื่อมต่อกับป่าใหญ่เบลุ่มที่เป็นพรมแดนเชื่อมต่อกับไทยและมาเลเซีย (เอกสารอ้างอิงคลิกที่นี่)
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR
เพจกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โพสต์ภาพ "ตุ๊กแกป่าหางม้วนบาลา Bent-toed Gecko ซึ่งเดิมมีรายงานพบในคาบสมุทรมลายู เฉพาะประเทศมาเลเซีย และในส่วนของประเทศไทยมีรายงานอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2561 ว่าพบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ทั้งนี้ข้อมูลในเพจกรมอุทยานฯ กล่าวว่า มีรายงานที่พบตุ๊กแกชนิดนี้ในมาเลเซีย ที่ Gunung benom ในรัฐปาหัง ที่ระดับความสูง 215 เมตร จากระดับน้ำทะเล ลักษณะป่าที่พบเป็นป่าดิบชื้นแบบมลายู แบบเดียวกันกับที่พบในป่าฮาลา-บาลา ของไทย ซึ่งตัวที่พบในป่าบาลาก็พบในระดับความสูงไม่เกิน 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลเช่นกัน
ดูจากการพบตัวโดยตรงของตุ๊กแกป่าหางม้วนบาลานี้แล้ว ส่วนใหญ่จะพบในวันที่ฝนตก บนใบไม้ที่ไม่สูงจากพื้นดินมากนัก อาจเป็นเพราะเรื่องของการหาอาหาร ซึ่งคงเป็นแมลงขนาดเล็กที่พบเฉพาะในป่าที่ราบต่ำ ในรายละเอียดเรื่องนิเวศวิทยาอื่นๆ ยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม
ตุ๊กแกป่าหางม้วนบาลานี้ เป็นรายงานการพบครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อปี 2561 ชื่อภาษาไทยจึงให้ชื่อตามแหล่งที่พบครั้งแรกของไทย คือที่ป่าบาลา จังหวัดนราธิวาส เป็นป่าดิบชื้นที่ราบต่ำที่มีอาณาเขตบางส่วนเชื่อมต่อกับป่าใหญ่เบลุ่มที่เป็นพรมแดนเชื่อมต่อกับไทยและมาเลเซีย (เอกสารอ้างอิงคลิกที่นี่)
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR