Youtube :Travel MGR

หนึ่งในเมืองท่องเที่ยวของอินเดียที่ถือเป็นเมืองยอดนิยมไม่แพ้ที่ไหนต้องยกให้ "ชัยปุระ" (Jaipur) เมืองที่แสนจะมีสีสัน มีชีวิตชีวา ถ่ายรูปออกมามุมไหนก็สวย และสำหรับคนไทยก็สามารถเดินทางมาเที่ยวที่ชัยปุระได้อย่างสะดวกสบายเพราะมีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ เหมือนอย่างวันนี้ที่ "ตะลอนเที่ยว" เดินทางมากับสายการบินไทยสมายล์ ใช้เวลาเดินทางเพียงประมาณ 4 ชั่วโมง 40 นาทีเท่านั้น (เวลาที่อินเดีย ช้ากว่าบ้านเรา 1.30 ช.ม.) ก็ได้มาเยือนเมืองสวยแห่งนี้แล้ว

“ชัยปุระ” ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย เป็นเมืองหลวงของรัฐราชาสถาน (Rajastan) ก่อตั้งขึ้นในราว ค.ศ. 1727 โดยมหาราชาสวาอี ชัยสิงห์ที่ 2 และขึ้นชื่อเรื่องการวางผังเมืองได้อย่างเป็นระบบระเบียบและสวยงาม
หลายคนอาจรู้จักเมืองชัยปุระในชื่อ “นครสีชมพู” นั่นเพราะใน ค.ศ.1876 เมื่ออินเดียยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ มหาราชาราม ซิงห์ ผู้ปกครองเมืองได้สั่งให้ทาสีตึกรามบ้านช่องในเมืองให้เป็นสีชมพูทั้งหมดเพื่อรับเสด็จเจ้าชายแห่งเวลส์ที่จะมาเยือน จนทั้งเมืองเป็นสีชมพูสดใส และต่อมารัฐบาลอินเดียก็ได้ออกกฎหมายควบคุมสิ่งก่อสร้างภายในเขตกำแพงเมืองเก่าให้คงสภาพเดิม รวมถึงรักษาสีชมพูแบบเดิมไว้ จนชัยปุระได้กลายเป็น “Pink City” ที่แม้จะไม่ชมพูหวานใส แต่เป็นสีชมพูอมส้มน่าหลงใหลที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกต่างก็อยากเดินทางมาเยือน


ใน Pink City หรือย่านเมืองเก่าของชัยปุระนั้นมีจุดท่องเที่ยวอยู่หลายจุดด้วยกัน จุดแรกที่เป็นดังแลนด์มาร์กของที่นี่ก็คือ “พระราชวังสายลม” หรือ “ฮาวา มาฮาล” (Hawa Mahal) ซึ่งเป็นอาคาร 5 ชั้น สถาปัตยกรรมสไตล์เปอร์เซียกับโมกุล นอกจากสีชมพูอมส้มที่ฉาบทาอาคารอย่างสวยงามแล้ว ความโดดเด่นก็คือมีช่องหน้าต่างเล็กๆ มากถึง 953 บาน ดูคล้ายรังผึ้ง ซึ่งถอดแบบมาจากรูปทรงมงกุฎของพระกฤษณะ
ช่องหน้าต่างเหล่านี้ประดับด้วยกระจกสีและลวดลายฉลุอย่างสวยงาม ซึ่งเป็นทั้งช่องลมผ่านและมีไว้เพื่อให้สตรีในราชสำนักสามารถมองออกมาดูวิถีชีวิตผู้คนภายนอกได้โดยที่คนด้านนอกจะมองไม่เห็นเรา สำหรับนักท่องเที่ยวจะเลือกชมและถ่ายรูปจากด้านหน้าอาคาร หรือจะเข้าไปชมด้านใน (เสียค่าเข้าชม) ก็ได้เช่นกัน
และถ้าใครอยากชมวิวฮาวา มาฮาลแบบเต็มๆ ตา ขอแนะนำให้ขึ้นไปยังอาคารฝั่งตรงข้ามที่เปิดเป็นคาเฟ่ให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม เลือกได้เลยว่าอยากจะชมวิวมุมไหนบรรยากาศไหน แล้วสั่งเครื่องดื่มหรืออาหารของทางร้านมานั่งจิบนั่งชิมพร้อมชมวิวงามๆ ไปด้วย รับรองว่าฟิน

สำหรับฮาวา มาฮาลนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังหลวงซึ่งเป็นสถานที่ต่อไปที่เราจะเข้าไปชมกัน "พระราชวังหลวง" หรือ City Palace สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ.1797 โดยมหาราชาสวาอี ชัยสิงห์ที่ 2 และจากนั้นก็ได้รับการดูแลต่อเติมโดยมหาราชาของชัยปุระรุ่นต่อๆ มา อาคารส่วนใหญ่ในพระราชวังมีสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างราชปุตกับโมกุล มีความงดงามที่ไม่ควรพลาดชมเป็นอย่างยิ่ง
ปัจจุบันพระราชวังแห่งนี้เป็นสมบัติส่วนพระองค์และยังคงเป็นที่พำนักของของมหาราชาสวาอี แพดมนาบ ซิงห์ ผู้สืบเชื้อสายมหาราชาเมืองชัยปุระองค์ปัจจุบัน แต่ได้เปิดบางส่วนให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าชม และล่าสุดหลายๆ คนคงจะได้ยินข่าวว่าพระองค์เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้าพักในพระราชวังด้วยการเปิดให้จองผ่าน Airbnb ก่อนหน้านี้เป็นช่วงโปรโมชันราคาแค่หลักหมื่น แต่ตอนนี้น่าจะปรับราคาเป็นหลักแสนแล้ว ใครอยากเปิดประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตก็เข้าไปจองกันได้เลย


แต่สำหรับ “ตะลอนเที่ยว” ขอแค่เข้าไปเที่ยวชมก็เพียงพอ โดยการเข้าชม City Palace นั้น เราสามารถเลือกได้ว่าจะชมตรงส่วนไหนบ้าง ซึ่งราคาค่าเข้าชมก็จะแตกต่างกัน เช่น ชมเฉพาะห้องพิพิธภัณฑ์และรอบนอกพระราชวัง ชมพระราชวังยามค่ำ ฯลฯ สำหรับราคาบัตรเข้าชมสูงสุด 3,000 รูปี (ประมาณ 1,500 บาท) ก็จะได้ชมทั้งพิพิธภัณฑ์และห้องต่างๆ ในพระราชวังแบบ Exclusive พร้อมไกด์ส่วนตัว และมีเครื่องดื่มบริการ โดยวันนี้เราเลือกเข้าชมแบบนี้กัน
ก่อนอื่นเราได้เข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ สวัย มาน ซิงห์ ซึ่งเป็นที่รวบรวมสมบัติของพระราชวงศ์ ซึ่งก็มีทั้งข้าวของเครื่องใช้ในอดีต ชุดศึกสงคราม ภาพวาด และภาพถ่ายเก่าแก่ โดยในบริเวณนี้ห้ามถ่ายภาพ ก่อนจะออกมาชมอาคารโถงขนาดใหญ่ซึ่งใช้เป็นสถานที่ว่าราชการหรือที่ทำงาน ก่อนจะเดินผ่านประตูออกมายังลานนกยูง หรือ Pitam Niwas Chawk ซึ่งเป็นลานกว้างสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจชมการแสดงของมหาราชาในอดีต รอบๆ ลานจะมีประตูอยู่ 4 บาน ที่มีลวดลายที่แตกต่างกันและงดงามไม่แพ้กัน และยังเป็นสัญลักษณ์แทนฤดูกาลทั้ง 4 คือ ประตูนกยูง (ฤดูฝน) ประตูดอกบัว (ฤดูร้อน) ประตูลายดอกไม้ (ฤดูหนาว) และประตูลายใบไม้ (ฤดูใบไม้ผลิ) ต้องเดินชมให้ครบทุกประตู

และจากนั้นก็เข้าสู่ช่วงไฮไลท์ที่จะได้ชมห้องต่างๆ ในพระราชวังซึ่งถือเป็นส่วน Private แต่เนื่องจากเวลาไม่พอเราจึงได้ชมเฉพาะบางห้อง อย่างห้องสีฟ้าแสนสวยที่ทำให้หลายคนตกหลุมรัก ห้องนี้เป็นห้องเปิดโล่งใช้สีฟ้าเป็นพื้นและใช้สีขาววาดเป็นลวดลายพรรณพฤกษา มีซุ้มประตูโค้งสวยงามที่ไม่ว่าใครมาถ่ายภาพก็จะได้ภาพสวยๆ กลับไปทุกคน


ส่วนชั้นล่างก็จะเป็นห้องสีทองที่ประดับด้วยกระจกสีเป็นลวดลายดอกไม้ดูงดงามอลังการให้หลายๆ คนเข้าไปถ่ายรูปโพสต์ท่าเป็นมหาราชา มหาราณีกันได้
นอกจากนั้นแล้วในเขตพระราชวังก็ยังมีสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ หอดูดาวจันทาร์ มันทาร์ (Jantar Mantar) ที่สร้างโดยมหาราชาสวาอี ชัยสิงห์ที่ 2 ผู้ทรงสนพระทัยในเรื่องดาราศาสตร์ ภายในมีนาฬิกาแดดขนาดใหญ่ที่วัดเวลาได้อย่างแม่นยำ โดยใช้เป็นเครื่องมือคำนวณฤกษ์ออกรบในสมัยโบราณ มีความมหัศจรรย์จนองค์การยูเนสโกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเลยทีเดียว


แม้จะยังอยากเดินชมพระราชวังนานๆ แต่เนื่องจากไม่ทันเวลาปิดทำการ เราจึงเปลี่ยนมาเดินช้อปปิ้งซื้อของฝากที่ตลาดด้านนอกซึ่งอยู่ริมถนนใกล้กับฮาวามาฮาลแทน ที่นี่มีสินค้าหลากหลายให้เลือกซื้อในราคาไม่แพง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้ารองเท้าแบบพื้นเมือง เครื่องประดับต่างหูสร้อยคอ กระเป๋ารองเท้าหนังอูฐ โคมไฟของแต่งบ้าน ฯลฯ ต่อราคากันได้สนุกสนาน รวมไปถึงของฝากสุดฮิตอย่างผลิตภัณฑ์เวชสำอางหิมาลายาซึ่งเป็นแบรนด์อินเดียแท้ๆ ก็มีช็อปอยู่บริเวณนี้ด้วย


นอกจากนั้นแล้ว “ตะลอนเที่ยว” ยังได้ออกไปนอกเมืองเพื่อไปชม “ป้อมปราการแอมเบอร์” (Amber Fort) ซึ่งอยู่บนเขาห่างจากตัวเมืองออกไป 11 ก.ม. ที่นี่เป็นทั้งป้อมปราการและพระราชวัง สร้างขึ้นโดยมหาราชามาน ซิงห์ที่ 1 ในราวปี ค.ศ.1592 ซึ่งถือเป็นเมืองหลวงเดิมก่อนที่จะย้ายมายังเมืองชัยปุระในปัจจุบัน โดยเหตุผลที่ย้ายก็เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งตามมาด้วยการขาดแคลนแหล่งน้ำ


พระราชวังที่นี่ก็งดงามอลังการไม่แพ้ที่อื่นๆ แถมมีความเก๋ตรงที่สามารถนั่งช้างขึ้นไปยังป้อมด้านบน ได้อารมณ์มหาราชา (สามารถเลือกนั่งรถจี๊ปหรือเดินขึ้นเองก็ได้เช่นกัน) ส่วนด้านบนนั้นก็จะได้ชมตำหนักต่างๆ ที่ประกอบด้วยพระราชวังชั้นในและพระราชวังชั้นนอก มีกำแพงขนาดใหญ่ล้อมรอบ อาคารต่างๆ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบราชปุตและโมกุลผสมผสานกัน มีทั้งอาคารโถงที่สร้างด้วยหินทรายสีชมพู จากนั้นผ่านประตูพระพิคเณศที่งดงามไปด้วยภาพวาดเฟรสโก้ที่สวยงามเข้าไปยังพระราชวังด้านใน
เข้ามาแล้วก็จะพบกับสวนหย่อมสวยงามที่แบ่งตำหนักออกเป็นสองฝั่ง ฝั่งหนึ่งเป็นตำหนักฤดูร้อน อีกฝั่งเป็นฤดูหนาว และยังมีอีกหลายตำหนักที่ล้วนแล้วแต่งดงามแตกต่างกันไป นอกจากนั้นก็ยังมีซุ้มประตูหน้าต่างโค้งที่สวยงามน่าถ่ายรูปไปเสียทุกมุม ถ้าหากมีเวลาก็อยากจะเดินชมให้ทั่วทุกซอกทุกมุมกันเลย


นอกจากนั้นบริเวณนี้ก็ยังมีจุดเที่ยวชมอื่นๆ อาทิ ป้อมนหาร์การห์ (Nahargarh Fort) ป้อมจัยการห์ (Jaigarh Fort) พระราชวังกลางน้ำจาล มาฮาล (Jal Mahal) ตั้งเด่นอยู่กลางทะเลสาบมันสกา เมื่อน้ำขึ้นสูงจะมองเห็นชั้นบนของวังเหมือนลอยอยู่เหนือน้ำ เป็นต้น
ขอแนะนำเลยว่าหากใครจะมาเที่ยวชัยปุระควรมีเวลาอย่างน้อย 2 วัน ถ้าสนใจประวัติศาสตร์และรักการถ่ายภาพจะอยู่ยาว 3-4 วันก็ยังได้ “ตะลอนเที่ยว” เองยังตั้งใจไว้ว่าอยากจะมาเที่ยวที่ชัยปุระซ้ำอีกครั้งเพื่อเก็บรายละเอียดอื่นๆ ที่ยังเที่ยวไม่ครบในครั้งนี้ ดูเหมือนว่าเมืองชัยปุระนี่เองทำให้เราตกหลุมรักอินเดีย จนทำให้อยากจะลองไปเที่ยวยังเมืองอื่นๆ ของอินเดียด้วยหากมีโอกาส


สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR
หนึ่งในเมืองท่องเที่ยวของอินเดียที่ถือเป็นเมืองยอดนิยมไม่แพ้ที่ไหนต้องยกให้ "ชัยปุระ" (Jaipur) เมืองที่แสนจะมีสีสัน มีชีวิตชีวา ถ่ายรูปออกมามุมไหนก็สวย และสำหรับคนไทยก็สามารถเดินทางมาเที่ยวที่ชัยปุระได้อย่างสะดวกสบายเพราะมีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ เหมือนอย่างวันนี้ที่ "ตะลอนเที่ยว" เดินทางมากับสายการบินไทยสมายล์ ใช้เวลาเดินทางเพียงประมาณ 4 ชั่วโมง 40 นาทีเท่านั้น (เวลาที่อินเดีย ช้ากว่าบ้านเรา 1.30 ช.ม.) ก็ได้มาเยือนเมืองสวยแห่งนี้แล้ว
“ชัยปุระ” ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย เป็นเมืองหลวงของรัฐราชาสถาน (Rajastan) ก่อตั้งขึ้นในราว ค.ศ. 1727 โดยมหาราชาสวาอี ชัยสิงห์ที่ 2 และขึ้นชื่อเรื่องการวางผังเมืองได้อย่างเป็นระบบระเบียบและสวยงาม
หลายคนอาจรู้จักเมืองชัยปุระในชื่อ “นครสีชมพู” นั่นเพราะใน ค.ศ.1876 เมื่ออินเดียยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ มหาราชาราม ซิงห์ ผู้ปกครองเมืองได้สั่งให้ทาสีตึกรามบ้านช่องในเมืองให้เป็นสีชมพูทั้งหมดเพื่อรับเสด็จเจ้าชายแห่งเวลส์ที่จะมาเยือน จนทั้งเมืองเป็นสีชมพูสดใส และต่อมารัฐบาลอินเดียก็ได้ออกกฎหมายควบคุมสิ่งก่อสร้างภายในเขตกำแพงเมืองเก่าให้คงสภาพเดิม รวมถึงรักษาสีชมพูแบบเดิมไว้ จนชัยปุระได้กลายเป็น “Pink City” ที่แม้จะไม่ชมพูหวานใส แต่เป็นสีชมพูอมส้มน่าหลงใหลที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกต่างก็อยากเดินทางมาเยือน
ใน Pink City หรือย่านเมืองเก่าของชัยปุระนั้นมีจุดท่องเที่ยวอยู่หลายจุดด้วยกัน จุดแรกที่เป็นดังแลนด์มาร์กของที่นี่ก็คือ “พระราชวังสายลม” หรือ “ฮาวา มาฮาล” (Hawa Mahal) ซึ่งเป็นอาคาร 5 ชั้น สถาปัตยกรรมสไตล์เปอร์เซียกับโมกุล นอกจากสีชมพูอมส้มที่ฉาบทาอาคารอย่างสวยงามแล้ว ความโดดเด่นก็คือมีช่องหน้าต่างเล็กๆ มากถึง 953 บาน ดูคล้ายรังผึ้ง ซึ่งถอดแบบมาจากรูปทรงมงกุฎของพระกฤษณะ
ช่องหน้าต่างเหล่านี้ประดับด้วยกระจกสีและลวดลายฉลุอย่างสวยงาม ซึ่งเป็นทั้งช่องลมผ่านและมีไว้เพื่อให้สตรีในราชสำนักสามารถมองออกมาดูวิถีชีวิตผู้คนภายนอกได้โดยที่คนด้านนอกจะมองไม่เห็นเรา สำหรับนักท่องเที่ยวจะเลือกชมและถ่ายรูปจากด้านหน้าอาคาร หรือจะเข้าไปชมด้านใน (เสียค่าเข้าชม) ก็ได้เช่นกัน
และถ้าใครอยากชมวิวฮาวา มาฮาลแบบเต็มๆ ตา ขอแนะนำให้ขึ้นไปยังอาคารฝั่งตรงข้ามที่เปิดเป็นคาเฟ่ให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม เลือกได้เลยว่าอยากจะชมวิวมุมไหนบรรยากาศไหน แล้วสั่งเครื่องดื่มหรืออาหารของทางร้านมานั่งจิบนั่งชิมพร้อมชมวิวงามๆ ไปด้วย รับรองว่าฟิน
สำหรับฮาวา มาฮาลนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังหลวงซึ่งเป็นสถานที่ต่อไปที่เราจะเข้าไปชมกัน "พระราชวังหลวง" หรือ City Palace สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ.1797 โดยมหาราชาสวาอี ชัยสิงห์ที่ 2 และจากนั้นก็ได้รับการดูแลต่อเติมโดยมหาราชาของชัยปุระรุ่นต่อๆ มา อาคารส่วนใหญ่ในพระราชวังมีสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างราชปุตกับโมกุล มีความงดงามที่ไม่ควรพลาดชมเป็นอย่างยิ่ง
ปัจจุบันพระราชวังแห่งนี้เป็นสมบัติส่วนพระองค์และยังคงเป็นที่พำนักของของมหาราชาสวาอี แพดมนาบ ซิงห์ ผู้สืบเชื้อสายมหาราชาเมืองชัยปุระองค์ปัจจุบัน แต่ได้เปิดบางส่วนให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าชม และล่าสุดหลายๆ คนคงจะได้ยินข่าวว่าพระองค์เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้าพักในพระราชวังด้วยการเปิดให้จองผ่าน Airbnb ก่อนหน้านี้เป็นช่วงโปรโมชันราคาแค่หลักหมื่น แต่ตอนนี้น่าจะปรับราคาเป็นหลักแสนแล้ว ใครอยากเปิดประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตก็เข้าไปจองกันได้เลย
แต่สำหรับ “ตะลอนเที่ยว” ขอแค่เข้าไปเที่ยวชมก็เพียงพอ โดยการเข้าชม City Palace นั้น เราสามารถเลือกได้ว่าจะชมตรงส่วนไหนบ้าง ซึ่งราคาค่าเข้าชมก็จะแตกต่างกัน เช่น ชมเฉพาะห้องพิพิธภัณฑ์และรอบนอกพระราชวัง ชมพระราชวังยามค่ำ ฯลฯ สำหรับราคาบัตรเข้าชมสูงสุด 3,000 รูปี (ประมาณ 1,500 บาท) ก็จะได้ชมทั้งพิพิธภัณฑ์และห้องต่างๆ ในพระราชวังแบบ Exclusive พร้อมไกด์ส่วนตัว และมีเครื่องดื่มบริการ โดยวันนี้เราเลือกเข้าชมแบบนี้กัน
ก่อนอื่นเราได้เข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ สวัย มาน ซิงห์ ซึ่งเป็นที่รวบรวมสมบัติของพระราชวงศ์ ซึ่งก็มีทั้งข้าวของเครื่องใช้ในอดีต ชุดศึกสงคราม ภาพวาด และภาพถ่ายเก่าแก่ โดยในบริเวณนี้ห้ามถ่ายภาพ ก่อนจะออกมาชมอาคารโถงขนาดใหญ่ซึ่งใช้เป็นสถานที่ว่าราชการหรือที่ทำงาน ก่อนจะเดินผ่านประตูออกมายังลานนกยูง หรือ Pitam Niwas Chawk ซึ่งเป็นลานกว้างสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจชมการแสดงของมหาราชาในอดีต รอบๆ ลานจะมีประตูอยู่ 4 บาน ที่มีลวดลายที่แตกต่างกันและงดงามไม่แพ้กัน และยังเป็นสัญลักษณ์แทนฤดูกาลทั้ง 4 คือ ประตูนกยูง (ฤดูฝน) ประตูดอกบัว (ฤดูร้อน) ประตูลายดอกไม้ (ฤดูหนาว) และประตูลายใบไม้ (ฤดูใบไม้ผลิ) ต้องเดินชมให้ครบทุกประตู
และจากนั้นก็เข้าสู่ช่วงไฮไลท์ที่จะได้ชมห้องต่างๆ ในพระราชวังซึ่งถือเป็นส่วน Private แต่เนื่องจากเวลาไม่พอเราจึงได้ชมเฉพาะบางห้อง อย่างห้องสีฟ้าแสนสวยที่ทำให้หลายคนตกหลุมรัก ห้องนี้เป็นห้องเปิดโล่งใช้สีฟ้าเป็นพื้นและใช้สีขาววาดเป็นลวดลายพรรณพฤกษา มีซุ้มประตูโค้งสวยงามที่ไม่ว่าใครมาถ่ายภาพก็จะได้ภาพสวยๆ กลับไปทุกคน
ส่วนชั้นล่างก็จะเป็นห้องสีทองที่ประดับด้วยกระจกสีเป็นลวดลายดอกไม้ดูงดงามอลังการให้หลายๆ คนเข้าไปถ่ายรูปโพสต์ท่าเป็นมหาราชา มหาราณีกันได้
นอกจากนั้นแล้วในเขตพระราชวังก็ยังมีสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ หอดูดาวจันทาร์ มันทาร์ (Jantar Mantar) ที่สร้างโดยมหาราชาสวาอี ชัยสิงห์ที่ 2 ผู้ทรงสนพระทัยในเรื่องดาราศาสตร์ ภายในมีนาฬิกาแดดขนาดใหญ่ที่วัดเวลาได้อย่างแม่นยำ โดยใช้เป็นเครื่องมือคำนวณฤกษ์ออกรบในสมัยโบราณ มีความมหัศจรรย์จนองค์การยูเนสโกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเลยทีเดียว
แม้จะยังอยากเดินชมพระราชวังนานๆ แต่เนื่องจากไม่ทันเวลาปิดทำการ เราจึงเปลี่ยนมาเดินช้อปปิ้งซื้อของฝากที่ตลาดด้านนอกซึ่งอยู่ริมถนนใกล้กับฮาวามาฮาลแทน ที่นี่มีสินค้าหลากหลายให้เลือกซื้อในราคาไม่แพง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้ารองเท้าแบบพื้นเมือง เครื่องประดับต่างหูสร้อยคอ กระเป๋ารองเท้าหนังอูฐ โคมไฟของแต่งบ้าน ฯลฯ ต่อราคากันได้สนุกสนาน รวมไปถึงของฝากสุดฮิตอย่างผลิตภัณฑ์เวชสำอางหิมาลายาซึ่งเป็นแบรนด์อินเดียแท้ๆ ก็มีช็อปอยู่บริเวณนี้ด้วย
นอกจากนั้นแล้ว “ตะลอนเที่ยว” ยังได้ออกไปนอกเมืองเพื่อไปชม “ป้อมปราการแอมเบอร์” (Amber Fort) ซึ่งอยู่บนเขาห่างจากตัวเมืองออกไป 11 ก.ม. ที่นี่เป็นทั้งป้อมปราการและพระราชวัง สร้างขึ้นโดยมหาราชามาน ซิงห์ที่ 1 ในราวปี ค.ศ.1592 ซึ่งถือเป็นเมืองหลวงเดิมก่อนที่จะย้ายมายังเมืองชัยปุระในปัจจุบัน โดยเหตุผลที่ย้ายก็เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งตามมาด้วยการขาดแคลนแหล่งน้ำ
พระราชวังที่นี่ก็งดงามอลังการไม่แพ้ที่อื่นๆ แถมมีความเก๋ตรงที่สามารถนั่งช้างขึ้นไปยังป้อมด้านบน ได้อารมณ์มหาราชา (สามารถเลือกนั่งรถจี๊ปหรือเดินขึ้นเองก็ได้เช่นกัน) ส่วนด้านบนนั้นก็จะได้ชมตำหนักต่างๆ ที่ประกอบด้วยพระราชวังชั้นในและพระราชวังชั้นนอก มีกำแพงขนาดใหญ่ล้อมรอบ อาคารต่างๆ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบราชปุตและโมกุลผสมผสานกัน มีทั้งอาคารโถงที่สร้างด้วยหินทรายสีชมพู จากนั้นผ่านประตูพระพิคเณศที่งดงามไปด้วยภาพวาดเฟรสโก้ที่สวยงามเข้าไปยังพระราชวังด้านใน
เข้ามาแล้วก็จะพบกับสวนหย่อมสวยงามที่แบ่งตำหนักออกเป็นสองฝั่ง ฝั่งหนึ่งเป็นตำหนักฤดูร้อน อีกฝั่งเป็นฤดูหนาว และยังมีอีกหลายตำหนักที่ล้วนแล้วแต่งดงามแตกต่างกันไป นอกจากนั้นก็ยังมีซุ้มประตูหน้าต่างโค้งที่สวยงามน่าถ่ายรูปไปเสียทุกมุม ถ้าหากมีเวลาก็อยากจะเดินชมให้ทั่วทุกซอกทุกมุมกันเลย
นอกจากนั้นบริเวณนี้ก็ยังมีจุดเที่ยวชมอื่นๆ อาทิ ป้อมนหาร์การห์ (Nahargarh Fort) ป้อมจัยการห์ (Jaigarh Fort) พระราชวังกลางน้ำจาล มาฮาล (Jal Mahal) ตั้งเด่นอยู่กลางทะเลสาบมันสกา เมื่อน้ำขึ้นสูงจะมองเห็นชั้นบนของวังเหมือนลอยอยู่เหนือน้ำ เป็นต้น
ขอแนะนำเลยว่าหากใครจะมาเที่ยวชัยปุระควรมีเวลาอย่างน้อย 2 วัน ถ้าสนใจประวัติศาสตร์และรักการถ่ายภาพจะอยู่ยาว 3-4 วันก็ยังได้ “ตะลอนเที่ยว” เองยังตั้งใจไว้ว่าอยากจะมาเที่ยวที่ชัยปุระซ้ำอีกครั้งเพื่อเก็บรายละเอียดอื่นๆ ที่ยังเที่ยวไม่ครบในครั้งนี้ ดูเหมือนว่าเมืองชัยปุระนี่เองทำให้เราตกหลุมรักอินเดีย จนทำให้อยากจะลองไปเที่ยวยังเมืองอื่นๆ ของอินเดียด้วยหากมีโอกาส
สายการบิน “ไทยสมายล์” มีบริการเที่ยวบินตรง “กรุงเทพฯ-ชัยปุระ” 5 เที่ยวบิน/สัปดาห์ คือวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เที่ยวบิน WE343 เวลา 22.05-01.15 น. และเส้นทาง “ชัยปุระ-กรุงเทพฯ” 6 เที่ยวบิน/สัปดาห์ ได้แก่ วันจันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส เสาร์ และอาทิตย์ เที่ยวบิน WE344 เวลา 02.15-08.15 น. ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่โทร. 1181 หรือที่โทร. 0-2118-8888 หรือเว็บไซต์ https://www.thaismileair.com/th
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR