Facebook :Travel @ Manager
“ช็อกโกแลต” ถือเป็นของหวานยอดนิยมทั่วโลกที่หลายคนหลงรัก แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงที่มาของมัน หรือรู้จักหน้าตาของ “ต้นโกโก้” อันเป็นวัตถุดิบในการทำช็อกโกแลต
สำหรับคนไทยเองก็อาจนึกถึงแต่เพียงว่าช็อกโกแลตที่ดีต้องมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะทางยุโรป แต่แท้ที่จริงแล้วเมืองไทยเองก็สามารถปลูกต้นโกโก้และทำช็อกโกแลตเองได้ แม้จะไม่ใช่ในรูปแบบของอุตสาหกรรม แต่ในเรื่องของคุณภาพนั้นรับรองว่าไม่แพ้ช็อกโกแลตของต่างประเทศแน่นอน
วันนี้เรามาอยู่ที่ “โกโก้ วัลเล่ย์” (Cocoa Valley) แห่งอำเภอปัว จังหวัดน่าน ที่มีมนูญ ทนะวัง และจารุวรรณ จิณเสน สามีภรรยาที่เป็นชาวปัวโดยกำเนิดเป็นผู้ดูแล ทั้งสองหันหลังให้กับการทำงานประจำ แล้วกลับมาทำธุรกิจที่บ้านเกิดโดยเปิดกิจการรีสอร์ทและคาเฟ่เล็กๆ อีกทั้งยังเป็นเกษตรกรทำสวนโกโก้ พร้อมทั้งแปรรูปเมล็ดโกโก้ให้กลายเป็นช็อกโกแลตแท้ 100% เพื่อนำวัตถุดิบมาทำเป็นเมนูเครื่องดื่มและเบเกอรี่ให้คนน่านและคนไทยได้ลิ้มลองความอร่อยของช็อกโกแลตแท้ๆ ที่โกโก้ วัลเล่ย์ คาเฟ่ภายในรีสอร์ทด้วย เรียกได้ว่าเป็น “Farm to Cafe” อย่างแท้จริง
มนูญพูดถึงโกโก้ว่า “หลายๆ คนคิดว่าโกโก้กับกาแฟคล้ายกัน แต่จริงๆ แล้วมันต่างกันโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่ต้น ผล รวมไปถึงกระบวนการในการแปรรูปต่างๆ โกโก้เป็นไม้ยืนต้น มีอายุยืนยาวถึงกว่า 50-60 ปี เราได้พันธุ์ต้นที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยนำพันธุ์มาจากชุมพรและพัฒนาเพื่อให้เหมาะที่จะปลูกในภาคเหนือ”
“ต้นโกโก้มีหลายสายพันธุ์ แต่ไม่ว่าจะพันธุ์อะไร หากนำมาปลูกในพื้นที่เดียวกันก็จะให้รสชาติเหมือนกัน เพราะสิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับดินและน้ำ สำหรับทางภาคตะวันออกหรือภาคใต้จะให้รสชาติเปรี้ยวเหมือนผลไม้ และสำหรับของภาคเหนืออย่างที่ปลูกที่สวนจะมีรสชาติที่เรียกว่า ‘Rich’ คือมีรสค่อนข้างเข้ม มี Body”
“เมื่อเทียบกับช็อคโกแลตจากต่างประเทศ เขาทำมาก่อนและเรื่องการตลาดเขาดีกว่าเรา แต่แหล่งปลูกโกโก้แหล่งใหญ่อย่างเม็กซิโก ละตินอเมริกา หรือแอฟริกาก็อยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรที่เหมือนกับประเทศไทยเรา ทางบ้านเราก็ปลูกได้ดีเหมือนกัน” มนูญกล่าว
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน มนูญและจารุวรรณพาไปดูสวนโกโก้ที่อยู่ไม่ห่างจากโกโก้ วัลเล่ย์ รีสอร์ท เท่าไรนัก สวนแห่งนี้มีพื้นที่ราว 5 ไร่ มีพื้นที่อยู่ติดกับลำธารธรรมชาติ เรียกได้ว่าทั้งดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ดี โดยเจี๊ยบเล่าว่าเริ่มทำสวนโกโก้เมื่อราว 6 ปีก่อน โดยต้นโกโก้จะเริ่มออกผลเมื่ออายุต้นราวๆ 2 ปี และจะให้ผลตลอดปี แถมยังไม่มีแมลงศัตรูพืช มีเพียงกระรอกคอยจ้องแย่งผลไปกิน จึงไม่ต้องใช้สารเคมีในการปลูก
ช่วง 2 ปีแรกระหว่างที่รอต้นโกโก้เติบโต ระหว่างนั้นทั้งสองก็ศึกษาหาความรู้อย่างจริงจังเกี่ยวกับโกโก้ ไม่ว่าจะเป็นการปลูก การดูแล รวมไปถึงการแปรรูปเมล็ดโกโก้ให้เป็นช็อกโกแลต โดยบินไปเรียนรู้กับอาจารย์ที่ต่างประเทศ และเมื่อโกโก้ออกผลพร้อมก็ได้เริ่มลงมือนำวัตถุดิบที่สวนมาแปรรูปและใช้ภายในร้าน
ภายในสวนนี้เราได้เห็นหน้าตาของผลโกโก้ว่ามีรูปทรงรีๆ เปลือกขรุขระ หน้าตาคล้ายมะระลูกเล็กๆ ป้อมๆ เมื่อสุกแล้วเปลือกจะมีสีเหลือง ลองผ่าออกดูเนื้อในหน้าตาคล้ายน้อยหน่า เมื่อชิมดูได้เนื้อสัมผัสคล้ายมังคุดรสชาติเปรี้ยวอมหวานแต่เนื้อน้อย มีเมล็ดในเนื้อซึ่งมีรสชาติขมฝาด ซึ่งเจ้าเมล็ดนี่เองคือ “เมล็ดโกโก้” ที่จะกลายมาเป็นช็อกโกแลตแสนอร่อยที่ทุกคนชื่นชอบ
จารุวรรณเล่าให้ฟังถึงกระบวนการในการแปรรูปว่าจะต้องนำเมล็ดโกโก้ในผลสดนี้ไปหมัก ก่อนที่จะนำไปตากให้แห้ง ทุบเมล็ดให้แตก แยกเปลือกออกจากเมล็ดจนได้ออกมาเป็น “โกโก้นิบส์” ซึ่งในขั้นตอนนี้เราได้ชมการแยกเปลือกที่ทางสวนยังใช้แรงงานคนทำ โดยจารุวรรณกล่าวว่าขั้นตอนนี้ในอุตสาหกรรมการทำช็อกโกแลตจะใช้เครื่องสี แต่ที่นี่ยังใช้แรงงานคนทำ ซึ่งนอกจากจะละเอียดกว่าแล้วก็ยังเป็นการสร้างงานใช้คนในชุมชนโดยเฉพาะผู้สูงอายุให้ยังมีรายได้ โดยวิธีแยกเปลือกนั้นใช้วิธีเดียวกับการฝัดข้าวในกระด้ง เปลือกโกโก้ที่เบากว่าจะปลิวออกไป เหลือเพียงเมล็ดไว้ในกระด้ง ซึ่งหากนักท่องเที่ยวอยากลองก็สามารถทำได้
นอกจากนั้นเรายังได้ลองชิมโกโก้นิบส์ซึ่งมีรสขม มีความมันคล้ายอัลมอนด์ และหอมกลิ่นโกโก้ โดยจารุวรรณเล่าต่อว่า โกโก้นิบส์นี้จะถูกส่งต่อไปเข้าเครื่องจักรเพื่อนวดนานถึง 36 ชั่วโมง จนออกมาเป็นช็อกโกแลตเหลวหรือโกโก้แมส ซึ่งเป็นดาร์ก ช็อกโกแลต 100% รวมกระบวนการแปรรูปแล้วใช้เวลากว่า 2 เดือนครึ่ง ซึ่ง process เหล่านี้มีรายละเอียดเยอะที่ต้องคอยดูแลทุกขั้นตอน
และดาร์กช็อกโกแลตนี่เองก็ถูกนำไปทำเป็นเมนูเครื่องดื่มและขนมนานาชนิดในร้านโกโก้ วัลเล่ย์ คาเฟ่ ซึ่งจารุวรรณบอกว่าบางครั้งวัตถุดิบไม่ค่อยพอ อย่างปีที่ผ่านมาเจอปัญหาอากาศแล้งก็ทำให้ผลผลิตขาดตอนไปบ้าง แต่ก็มีการส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูกโกโก้เพื่อส่งขายให้เรา และถ้าสวนไหนเข้าร่วมโครงการโดยการปลูกโกโก้แบบไม่ใช้สารเคมีก็จะรับซื้อโดยการันตีให้ราคาที่ดีกว่าตลาด นอกจากนั้นยังมีแผนที่จะสอนให้เกษตรกรแปรรูปเบื้องต้น เพราะถ้าเป็นผลสดเรารับซื้อที่กิโลกรัมละ 10-15 บาท แต่ถ้าเป็นเมล็ดแห้งจะรับซื้อกิโลละ 120-150 บาท แต่ก็ต้องค่อยเป็นค่อยไปเพราะว่าการแปรรูปก็มีหลายขั้นตอนและต้องใช้ความละเอียด
เพื่อให้เห็นภาพว่าโกโก้กลายมาเป็นช็อกโกแลตแท่งได้อย่างไร เรากลับมาที่คาเฟ่กันอีกครั้งเพื่อมาทำ workshop ช็อกโกแลตแท่ง โดยนำตัวโกโก้แมสที่อุณหภูมิประมาณ 40 องศา มา Tempering หรือปรับอุณหภูมิให้ค่อยๆ เย็นลงด้วยการปาดไปมาบนแผ่นหินอ่อน เพราะหากจับเข้าใส่ตู้เย็นทันทีจะเกิดการแยกชั้นของไขมัน หรือ Fat Bloom ทำให้ผิวช็อกโกแลตไม่สวยไม่มันวาว และเมื่ออุณหภูมิได้ที่แล้วเราก็จะเทใส่บล็อก ตกแต่งหน้าช็อกโกแลตด้วยอัลมอนด์ ลูกเกดหรือผลไม้แห้งต่างๆ ตามชอบ โดยช็อกโกแลตแท่งเหล่านี้ก็สามารถนำกลับไปกินที่บ้านกันได้เลย
ระหว่างรอให้ช็อกโกแลตแข็งตัวพร้อมนำกลับ เราแวะมาที่คาเฟ่เพื่อมาชิมผลิตภัณฑ์โกโก้ต่างๆ ให้ครบถ้วนกระบวนความ และมาพิสูจน์ความเข้มข้นของช็อกโกแลตแท้ๆ ว่าเป็นอย่างไร โดยจารุวรรณกล่าวว่า คาเฟ่อื่นๆ ที่ไม่ได้ผลิตเมล็ดโกโก้เองเขาก็จะซื้อเป็นผงโกโก้หรือดาร์กช็อกโกแลตมาทำขนม ซึ่งก็จะอาจจะไม่ได้ใช้แบบเพียวๆ หรือต้องผสมกับไขมันพืชอื่นๆ เพราะต้นทุนจะสูงมาก แต่ของเราปลูกเองทำเองทุกขั้นตอน จึงสามารถใช้โกโก้แมสซึ่งมีไขมันโกโก้แท้ๆ มาทำขนม ทำให้มีรสชาติที่เข้มข้นโดดเด่น ถูกใจคนรักช็อกโกแลตแท้ๆ เป็นอย่างยิ่ง
ขอแนะนำให้สั่งเป็นเครื่องดื่มโกโก้มาลองชิม โดยมีความเข้มข้นให้เลือก 4 ระดับตามชอบ เริ่มจากน้อยไปมากคือ Standard Medium Double และ Super ซึ่งมีระดับความเข้มต่างกันต่างกันประมาณ 15% จะเลือกดื่มแบบร้อนหรือเย็นก็ได้ตามใจ โดยมีราคาอยู่ที่แก้วละ 65-100 บาท ซึ่งถือว่าไม่แพงเลยเมื่อเป็นโกโก้แท้ๆ ที่เข้มข้นหอมมันแบบนี้
ในฝั่งของเบเกอรี่ก็อยากให้ลองชิมบราวนี่เนื้อหนึบที่เข้มข้น หรือจะลองเป็นช็อกโกแลตโดมหวานหอม ช็อกโกแลตลาวาก็น่าสน หรือจะลองช็อกโกแลตฟองดูว์ก็น่าสั่ง และจะยิ่งน่าสนใจหากบอกว่าดาร์กช็อกโกแลตแท้ๆ (แบบไม่ผสมน้ำตาล) นั้นมีสรรพคุณเลิศๆ หลายอย่าง ทั้งมีสารโพลีฟีนอลส์ (Polyphenals) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันอัลไซเมอร์ บำรุงหัวใจ ลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ต้านซึมเศร้า ชะลอความชรา
หน้าหนาวนี้ใครจะเดินทางมาเที่ยวจังหวัดน่านจึงขอแนะนำว่าไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงที่จะมาเยือนอำเภอปัวและแวะชิมช็อกโกแลตแท้ๆ ที่ “โกโก้ วัลเล่ย์” โดยเฉพาะคนรักช็อกโกแลตที่จะต้องมาพิสูจน์ด้วยตัวเองว่า โกโก้ที่ปลูกในไทยและช็อกโกแลตที่ทำโดยคนไทยแท้ๆ นั้นเข้มข้นหอมมันและอร่อยเพียงใด
“โกโก้ วัลเล่ย์ รีสอร์ท” ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยมีโกโก้ วัลเล่ย์ คาเฟ่ ให้บริการอยู่ภายในรีสอร์ท อีกทั้งทางรีสอร์ทจะมีบริการพาชมสวนโกโก้และเวิร์คช็อปทำช็อกโกแลต โดยจะเปิดให้บริการ 2 รอบ/วัน ในเวลา 09.30 และ 13.30 โดยพาชมสวนและต้นโกโก้ ลองชิมผลโกโก้สด และชมการคัดแยกเปลือกและเมล็ดโกโก้ด้วยมือ จากนั้นกลับไปที่คาเฟ่เพื่อลองทำช็อกโกแลตแท่งด้วยตัวเองพร้อมนำกลับบ้าน ทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงและมีค่าใช้จ่ายคนละ 350 บาท
สำหรับโกโก้ วัลเล่ย์ คาเฟ่ เปิดให้บริการ 09.00-18.00 น. ปิดรับออร์เดอร์เครื่องดื่ม 17.45 น. และผู้ที่สนใจเข้าพักที่รีสอร์ท สามารถสอบถามรายละเอียดหรือจองห้องพักได้ที่โทร. 06 3791 1619 หรือดูรายละเอียดได้ที่เฟซบุค : Cocoa Valley Resort
และนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดน่าน หากต้องการคำแนะนำ หรือสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว ที่กิน ที่พัก สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานน่าน โทร.054 711 217
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
“ช็อกโกแลต” ถือเป็นของหวานยอดนิยมทั่วโลกที่หลายคนหลงรัก แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงที่มาของมัน หรือรู้จักหน้าตาของ “ต้นโกโก้” อันเป็นวัตถุดิบในการทำช็อกโกแลต
สำหรับคนไทยเองก็อาจนึกถึงแต่เพียงว่าช็อกโกแลตที่ดีต้องมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะทางยุโรป แต่แท้ที่จริงแล้วเมืองไทยเองก็สามารถปลูกต้นโกโก้และทำช็อกโกแลตเองได้ แม้จะไม่ใช่ในรูปแบบของอุตสาหกรรม แต่ในเรื่องของคุณภาพนั้นรับรองว่าไม่แพ้ช็อกโกแลตของต่างประเทศแน่นอน
วันนี้เรามาอยู่ที่ “โกโก้ วัลเล่ย์” (Cocoa Valley) แห่งอำเภอปัว จังหวัดน่าน ที่มีมนูญ ทนะวัง และจารุวรรณ จิณเสน สามีภรรยาที่เป็นชาวปัวโดยกำเนิดเป็นผู้ดูแล ทั้งสองหันหลังให้กับการทำงานประจำ แล้วกลับมาทำธุรกิจที่บ้านเกิดโดยเปิดกิจการรีสอร์ทและคาเฟ่เล็กๆ อีกทั้งยังเป็นเกษตรกรทำสวนโกโก้ พร้อมทั้งแปรรูปเมล็ดโกโก้ให้กลายเป็นช็อกโกแลตแท้ 100% เพื่อนำวัตถุดิบมาทำเป็นเมนูเครื่องดื่มและเบเกอรี่ให้คนน่านและคนไทยได้ลิ้มลองความอร่อยของช็อกโกแลตแท้ๆ ที่โกโก้ วัลเล่ย์ คาเฟ่ภายในรีสอร์ทด้วย เรียกได้ว่าเป็น “Farm to Cafe” อย่างแท้จริง
มนูญพูดถึงโกโก้ว่า “หลายๆ คนคิดว่าโกโก้กับกาแฟคล้ายกัน แต่จริงๆ แล้วมันต่างกันโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่ต้น ผล รวมไปถึงกระบวนการในการแปรรูปต่างๆ โกโก้เป็นไม้ยืนต้น มีอายุยืนยาวถึงกว่า 50-60 ปี เราได้พันธุ์ต้นที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยนำพันธุ์มาจากชุมพรและพัฒนาเพื่อให้เหมาะที่จะปลูกในภาคเหนือ”
“ต้นโกโก้มีหลายสายพันธุ์ แต่ไม่ว่าจะพันธุ์อะไร หากนำมาปลูกในพื้นที่เดียวกันก็จะให้รสชาติเหมือนกัน เพราะสิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับดินและน้ำ สำหรับทางภาคตะวันออกหรือภาคใต้จะให้รสชาติเปรี้ยวเหมือนผลไม้ และสำหรับของภาคเหนืออย่างที่ปลูกที่สวนจะมีรสชาติที่เรียกว่า ‘Rich’ คือมีรสค่อนข้างเข้ม มี Body”
“เมื่อเทียบกับช็อคโกแลตจากต่างประเทศ เขาทำมาก่อนและเรื่องการตลาดเขาดีกว่าเรา แต่แหล่งปลูกโกโก้แหล่งใหญ่อย่างเม็กซิโก ละตินอเมริกา หรือแอฟริกาก็อยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรที่เหมือนกับประเทศไทยเรา ทางบ้านเราก็ปลูกได้ดีเหมือนกัน” มนูญกล่าว
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน มนูญและจารุวรรณพาไปดูสวนโกโก้ที่อยู่ไม่ห่างจากโกโก้ วัลเล่ย์ รีสอร์ท เท่าไรนัก สวนแห่งนี้มีพื้นที่ราว 5 ไร่ มีพื้นที่อยู่ติดกับลำธารธรรมชาติ เรียกได้ว่าทั้งดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ดี โดยเจี๊ยบเล่าว่าเริ่มทำสวนโกโก้เมื่อราว 6 ปีก่อน โดยต้นโกโก้จะเริ่มออกผลเมื่ออายุต้นราวๆ 2 ปี และจะให้ผลตลอดปี แถมยังไม่มีแมลงศัตรูพืช มีเพียงกระรอกคอยจ้องแย่งผลไปกิน จึงไม่ต้องใช้สารเคมีในการปลูก
ช่วง 2 ปีแรกระหว่างที่รอต้นโกโก้เติบโต ระหว่างนั้นทั้งสองก็ศึกษาหาความรู้อย่างจริงจังเกี่ยวกับโกโก้ ไม่ว่าจะเป็นการปลูก การดูแล รวมไปถึงการแปรรูปเมล็ดโกโก้ให้เป็นช็อกโกแลต โดยบินไปเรียนรู้กับอาจารย์ที่ต่างประเทศ และเมื่อโกโก้ออกผลพร้อมก็ได้เริ่มลงมือนำวัตถุดิบที่สวนมาแปรรูปและใช้ภายในร้าน
ภายในสวนนี้เราได้เห็นหน้าตาของผลโกโก้ว่ามีรูปทรงรีๆ เปลือกขรุขระ หน้าตาคล้ายมะระลูกเล็กๆ ป้อมๆ เมื่อสุกแล้วเปลือกจะมีสีเหลือง ลองผ่าออกดูเนื้อในหน้าตาคล้ายน้อยหน่า เมื่อชิมดูได้เนื้อสัมผัสคล้ายมังคุดรสชาติเปรี้ยวอมหวานแต่เนื้อน้อย มีเมล็ดในเนื้อซึ่งมีรสชาติขมฝาด ซึ่งเจ้าเมล็ดนี่เองคือ “เมล็ดโกโก้” ที่จะกลายมาเป็นช็อกโกแลตแสนอร่อยที่ทุกคนชื่นชอบ
จารุวรรณเล่าให้ฟังถึงกระบวนการในการแปรรูปว่าจะต้องนำเมล็ดโกโก้ในผลสดนี้ไปหมัก ก่อนที่จะนำไปตากให้แห้ง ทุบเมล็ดให้แตก แยกเปลือกออกจากเมล็ดจนได้ออกมาเป็น “โกโก้นิบส์” ซึ่งในขั้นตอนนี้เราได้ชมการแยกเปลือกที่ทางสวนยังใช้แรงงานคนทำ โดยจารุวรรณกล่าวว่าขั้นตอนนี้ในอุตสาหกรรมการทำช็อกโกแลตจะใช้เครื่องสี แต่ที่นี่ยังใช้แรงงานคนทำ ซึ่งนอกจากจะละเอียดกว่าแล้วก็ยังเป็นการสร้างงานใช้คนในชุมชนโดยเฉพาะผู้สูงอายุให้ยังมีรายได้ โดยวิธีแยกเปลือกนั้นใช้วิธีเดียวกับการฝัดข้าวในกระด้ง เปลือกโกโก้ที่เบากว่าจะปลิวออกไป เหลือเพียงเมล็ดไว้ในกระด้ง ซึ่งหากนักท่องเที่ยวอยากลองก็สามารถทำได้
นอกจากนั้นเรายังได้ลองชิมโกโก้นิบส์ซึ่งมีรสขม มีความมันคล้ายอัลมอนด์ และหอมกลิ่นโกโก้ โดยจารุวรรณเล่าต่อว่า โกโก้นิบส์นี้จะถูกส่งต่อไปเข้าเครื่องจักรเพื่อนวดนานถึง 36 ชั่วโมง จนออกมาเป็นช็อกโกแลตเหลวหรือโกโก้แมส ซึ่งเป็นดาร์ก ช็อกโกแลต 100% รวมกระบวนการแปรรูปแล้วใช้เวลากว่า 2 เดือนครึ่ง ซึ่ง process เหล่านี้มีรายละเอียดเยอะที่ต้องคอยดูแลทุกขั้นตอน
และดาร์กช็อกโกแลตนี่เองก็ถูกนำไปทำเป็นเมนูเครื่องดื่มและขนมนานาชนิดในร้านโกโก้ วัลเล่ย์ คาเฟ่ ซึ่งจารุวรรณบอกว่าบางครั้งวัตถุดิบไม่ค่อยพอ อย่างปีที่ผ่านมาเจอปัญหาอากาศแล้งก็ทำให้ผลผลิตขาดตอนไปบ้าง แต่ก็มีการส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูกโกโก้เพื่อส่งขายให้เรา และถ้าสวนไหนเข้าร่วมโครงการโดยการปลูกโกโก้แบบไม่ใช้สารเคมีก็จะรับซื้อโดยการันตีให้ราคาที่ดีกว่าตลาด นอกจากนั้นยังมีแผนที่จะสอนให้เกษตรกรแปรรูปเบื้องต้น เพราะถ้าเป็นผลสดเรารับซื้อที่กิโลกรัมละ 10-15 บาท แต่ถ้าเป็นเมล็ดแห้งจะรับซื้อกิโลละ 120-150 บาท แต่ก็ต้องค่อยเป็นค่อยไปเพราะว่าการแปรรูปก็มีหลายขั้นตอนและต้องใช้ความละเอียด
เพื่อให้เห็นภาพว่าโกโก้กลายมาเป็นช็อกโกแลตแท่งได้อย่างไร เรากลับมาที่คาเฟ่กันอีกครั้งเพื่อมาทำ workshop ช็อกโกแลตแท่ง โดยนำตัวโกโก้แมสที่อุณหภูมิประมาณ 40 องศา มา Tempering หรือปรับอุณหภูมิให้ค่อยๆ เย็นลงด้วยการปาดไปมาบนแผ่นหินอ่อน เพราะหากจับเข้าใส่ตู้เย็นทันทีจะเกิดการแยกชั้นของไขมัน หรือ Fat Bloom ทำให้ผิวช็อกโกแลตไม่สวยไม่มันวาว และเมื่ออุณหภูมิได้ที่แล้วเราก็จะเทใส่บล็อก ตกแต่งหน้าช็อกโกแลตด้วยอัลมอนด์ ลูกเกดหรือผลไม้แห้งต่างๆ ตามชอบ โดยช็อกโกแลตแท่งเหล่านี้ก็สามารถนำกลับไปกินที่บ้านกันได้เลย
ระหว่างรอให้ช็อกโกแลตแข็งตัวพร้อมนำกลับ เราแวะมาที่คาเฟ่เพื่อมาชิมผลิตภัณฑ์โกโก้ต่างๆ ให้ครบถ้วนกระบวนความ และมาพิสูจน์ความเข้มข้นของช็อกโกแลตแท้ๆ ว่าเป็นอย่างไร โดยจารุวรรณกล่าวว่า คาเฟ่อื่นๆ ที่ไม่ได้ผลิตเมล็ดโกโก้เองเขาก็จะซื้อเป็นผงโกโก้หรือดาร์กช็อกโกแลตมาทำขนม ซึ่งก็จะอาจจะไม่ได้ใช้แบบเพียวๆ หรือต้องผสมกับไขมันพืชอื่นๆ เพราะต้นทุนจะสูงมาก แต่ของเราปลูกเองทำเองทุกขั้นตอน จึงสามารถใช้โกโก้แมสซึ่งมีไขมันโกโก้แท้ๆ มาทำขนม ทำให้มีรสชาติที่เข้มข้นโดดเด่น ถูกใจคนรักช็อกโกแลตแท้ๆ เป็นอย่างยิ่ง
ขอแนะนำให้สั่งเป็นเครื่องดื่มโกโก้มาลองชิม โดยมีความเข้มข้นให้เลือก 4 ระดับตามชอบ เริ่มจากน้อยไปมากคือ Standard Medium Double และ Super ซึ่งมีระดับความเข้มต่างกันต่างกันประมาณ 15% จะเลือกดื่มแบบร้อนหรือเย็นก็ได้ตามใจ โดยมีราคาอยู่ที่แก้วละ 65-100 บาท ซึ่งถือว่าไม่แพงเลยเมื่อเป็นโกโก้แท้ๆ ที่เข้มข้นหอมมันแบบนี้
ในฝั่งของเบเกอรี่ก็อยากให้ลองชิมบราวนี่เนื้อหนึบที่เข้มข้น หรือจะลองเป็นช็อกโกแลตโดมหวานหอม ช็อกโกแลตลาวาก็น่าสน หรือจะลองช็อกโกแลตฟองดูว์ก็น่าสั่ง และจะยิ่งน่าสนใจหากบอกว่าดาร์กช็อกโกแลตแท้ๆ (แบบไม่ผสมน้ำตาล) นั้นมีสรรพคุณเลิศๆ หลายอย่าง ทั้งมีสารโพลีฟีนอลส์ (Polyphenals) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันอัลไซเมอร์ บำรุงหัวใจ ลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ต้านซึมเศร้า ชะลอความชรา
หน้าหนาวนี้ใครจะเดินทางมาเที่ยวจังหวัดน่านจึงขอแนะนำว่าไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงที่จะมาเยือนอำเภอปัวและแวะชิมช็อกโกแลตแท้ๆ ที่ “โกโก้ วัลเล่ย์” โดยเฉพาะคนรักช็อกโกแลตที่จะต้องมาพิสูจน์ด้วยตัวเองว่า โกโก้ที่ปลูกในไทยและช็อกโกแลตที่ทำโดยคนไทยแท้ๆ นั้นเข้มข้นหอมมันและอร่อยเพียงใด
“โกโก้ วัลเล่ย์ รีสอร์ท” ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยมีโกโก้ วัลเล่ย์ คาเฟ่ ให้บริการอยู่ภายในรีสอร์ท อีกทั้งทางรีสอร์ทจะมีบริการพาชมสวนโกโก้และเวิร์คช็อปทำช็อกโกแลต โดยจะเปิดให้บริการ 2 รอบ/วัน ในเวลา 09.30 และ 13.30 โดยพาชมสวนและต้นโกโก้ ลองชิมผลโกโก้สด และชมการคัดแยกเปลือกและเมล็ดโกโก้ด้วยมือ จากนั้นกลับไปที่คาเฟ่เพื่อลองทำช็อกโกแลตแท่งด้วยตัวเองพร้อมนำกลับบ้าน ทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงและมีค่าใช้จ่ายคนละ 350 บาท
สำหรับโกโก้ วัลเล่ย์ คาเฟ่ เปิดให้บริการ 09.00-18.00 น. ปิดรับออร์เดอร์เครื่องดื่ม 17.45 น. และผู้ที่สนใจเข้าพักที่รีสอร์ท สามารถสอบถามรายละเอียดหรือจองห้องพักได้ที่โทร. 06 3791 1619 หรือดูรายละเอียดได้ที่เฟซบุค : Cocoa Valley Resort
และนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดน่าน หากต้องการคำแนะนำ หรือสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว ที่กิน ที่พัก สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานน่าน โทร.054 711 217
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager