Facebook :Travel @ Manager
เมื่อถึงวันหยุดทีไรฉันมักจะหาสถานที่ออกไปสูดอากาศนอกบ้าน และแวะไหว้พระตามวัดวาอารามต่างๆ ครั้งนี้ฉันเลือกมาสัมผัสบรรยากาศพร้อมชมวิถีชีวิตของชาวมอญใกล้เมืองกรุงโดยมุ่งมาที่จังหวัดปทุมธานี
“สามโคก” เป็นหนึ่งอำเภอในจังหวัดปทุมธานี มีความเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยาเป็นราชธานี เดิมมีชื่อว่า “เมืองสามโคก” เพราะมีโคกโบราณตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้ทั้งหมด 3 แห่งด้วยกัน ในสมัยนั้นมีชาวมอญได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนบริเวณนี้ ต่อมาครอบครัวชาวมอญขยายตัวเจริญรุ่งเรืองจนเป็นชุมชนขึ้น ปัจจุบันอำเภอสามโคกมีวัดวาอารามเก่าแก่ที่ยังคงศิลปะสมัยอยุธยาและมอญให้ชมอยู่หลายแห่ง
โดยครั้งนี้ฉันมีโอกาสมาที่ “วัดสิงห์” เป็นวัดคู่เมืองสามโคกมาอย่างช้านาน โดยวัดแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่า ภายในมีวิหารโถง (ศาลาดิน) เป็นอาคารทรงไทยจั่วลูกฟักหน้าพรม มีมาลัยโดยรอบ มุงด้วยกระเบื้องเชิงชายทำเป็นบันแถลงรูปสามเหลี่ยมปลายเรียวโค้งรูปเทพพนมสลับกับรูปดอกบัวอ่อนช้อยสวยงาม
ภายในศาลาดินมีเสาทั้งระเบียงเรียบ รายรอบเป็นจำนวนมาก พื้นปูด้วยกระเบื้องดินเผาขัดมัน ด้านข้างทั้งสองก่ออิฐยกแนวเป็นอาสนะสงฆ์ เสาของอาคารเป็นเสาไม้กลมทาด้วยสีแดงเป็นอาคารเก่าแก่สมัยอยุธยา ด้านในมีพระพุทธรูปหลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ในวิหารโถง ก่อด้วยอิฐถือปูนลงรักปิดทองปางมารวิชัย เป็นศิลปะสมัยอยุธยา มีอายุกว่า 320 ปี และด้านหลังของหลวงพ่อโตจะมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ประดิษฐานอยู่
ใกล้กับศาลาดินจะมองเห็นกุฏิหลังเก่า เป็นอาคารเก่าแก่สร้างในสมัยอยุธยาที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ และเป็นแบบอย่างอาคารที่คนไทยรับเทคนิคการก่อสร้างอาคารจากต่างชาติที่เข้ามาในสมัยอยุธยา
นอกจากนี้ยังมีอุโบสถเก่าแก่ของวัดสิงห์ โดยถูกสร้างขึ้นเมื่อสมัยอยุธยาตอนกลาง มีการบูรณะครั้งใหญ่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นอาคารที่ใช้ในการทำสังฆกรรม ประกอบด้วยกำแพงแก้วล้อมรอบ ด้านในกำแพงก่อเป็นช่องสามเหลี่ยม บริเวณทางเข้าทำเป็นซุ้มโค้งก่ออิฐแบบกูบช้าง ทั้งด้านหน้าและด้านหลังศิลปแบบอยุธยา ภายในอุโบสถมีองค์พระประธานที่ก่อสร้างสมัยอยุธยาตอนกลาง (พระประธานจตุรทิศ) มีพระพุทธรูปเป็นพระประธานองค์ใหญ่ 2 องค์
อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจของวัดนี้คือมี "โกศพญากราย" ก่อด้วยอิฐฉาบปูนรูปแบบโกศโถทรงกระบอกกลมปากผาย ฝายอดปริกปูนปั้นประดับกระจก ตั้งอยู่ในบริเวณโบสถ์หน้าวิหารน้อยฐานเหลี่ยมย่อมุมตกแต่งด้วยลายปูนปั้นประดับด้วยลายบัวแวง ลายหน้ากระดานประจำยามก้ามปู ส่วนตัวโกศประดับด้วยลายปูนปั้นลายกาบพรหมศร และกาบกระจังโดยรอบตัวโกศ ส่วนยอดประดับด้วยบัวกลุ่ม 12 ชั้น บัวจงกลปลีคงยอดและหยาดน้ำค้างสวยงามโดดเด่นด้วยรูป และงดงามด้วยฝีมือปั้นปูนสดที่หาชมได้ยาก
ด้านหลังของโกศพญากรายเป็น "วิหารน้อย" วิหารหลังเล็กก่อด้วยอิฐเป็นอาคารทรงไทย มุงด้วยกระเบื้องดินเผากาบู ด้านหน้ามีชายคาปีกนกยื่นออกมาจากตัวอาคาร ฐานของอาคารทำเป็นท้องสำเภาก่ออิฐเป็นฐานปัทม์แอ่นโค้ มีช่องประตูเข้าสู่วิหารด้านหน้า ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ด้านหน้าพระประธานมีพระอัครสาวกยืนซ้ายขวา
บริเวณด้านนอกของวัดสิงห์ จะมีเนินโคกเตาให้ได้ชมกัน ซึ่งเป็นที่มาของชื่ออำเภอสามโคกนั่นเอง ในอดีตมีเตาเผาสามโคกตั้งเรียงรายกัน โคกที่สามถูกรถไถเกรดเนินโคกเตา นำไปทำถนนจนหมดคงเหลือไว้เพียงสองโคก เนินเตาที่หนึ่งมีพื้นที่กว้างประมาณ 300 ตารางวา มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นโดยรอบ ส่วนเนินโคกเตาที่สองถูกถนนตัดผ่านจึงเหลือเพียงส่วนเดียว และพบแนวอิฐโครงสร้างเตาและเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผาอยู่โดยทั่วไป
ในช่วงวันหยุดนี้ลองหาเวลาว่างมาแวะเวียนท่องเที่ยวกันที่อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พร้อมสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวมอญ และชมศิลปะอันงดงามในสมัยอยุธยาที่ยังคงให้เห็น อีกทั้งยังเดินทางสะดวกใช้เวลาไม่นาน
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
เมื่อถึงวันหยุดทีไรฉันมักจะหาสถานที่ออกไปสูดอากาศนอกบ้าน และแวะไหว้พระตามวัดวาอารามต่างๆ ครั้งนี้ฉันเลือกมาสัมผัสบรรยากาศพร้อมชมวิถีชีวิตของชาวมอญใกล้เมืองกรุงโดยมุ่งมาที่จังหวัดปทุมธานี
“สามโคก” เป็นหนึ่งอำเภอในจังหวัดปทุมธานี มีความเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยาเป็นราชธานี เดิมมีชื่อว่า “เมืองสามโคก” เพราะมีโคกโบราณตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้ทั้งหมด 3 แห่งด้วยกัน ในสมัยนั้นมีชาวมอญได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนบริเวณนี้ ต่อมาครอบครัวชาวมอญขยายตัวเจริญรุ่งเรืองจนเป็นชุมชนขึ้น ปัจจุบันอำเภอสามโคกมีวัดวาอารามเก่าแก่ที่ยังคงศิลปะสมัยอยุธยาและมอญให้ชมอยู่หลายแห่ง
โดยครั้งนี้ฉันมีโอกาสมาที่ “วัดสิงห์” เป็นวัดคู่เมืองสามโคกมาอย่างช้านาน โดยวัดแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่า ภายในมีวิหารโถง (ศาลาดิน) เป็นอาคารทรงไทยจั่วลูกฟักหน้าพรม มีมาลัยโดยรอบ มุงด้วยกระเบื้องเชิงชายทำเป็นบันแถลงรูปสามเหลี่ยมปลายเรียวโค้งรูปเทพพนมสลับกับรูปดอกบัวอ่อนช้อยสวยงาม
ภายในศาลาดินมีเสาทั้งระเบียงเรียบ รายรอบเป็นจำนวนมาก พื้นปูด้วยกระเบื้องดินเผาขัดมัน ด้านข้างทั้งสองก่ออิฐยกแนวเป็นอาสนะสงฆ์ เสาของอาคารเป็นเสาไม้กลมทาด้วยสีแดงเป็นอาคารเก่าแก่สมัยอยุธยา ด้านในมีพระพุทธรูปหลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ในวิหารโถง ก่อด้วยอิฐถือปูนลงรักปิดทองปางมารวิชัย เป็นศิลปะสมัยอยุธยา มีอายุกว่า 320 ปี และด้านหลังของหลวงพ่อโตจะมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ประดิษฐานอยู่
ใกล้กับศาลาดินจะมองเห็นกุฏิหลังเก่า เป็นอาคารเก่าแก่สร้างในสมัยอยุธยาที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ และเป็นแบบอย่างอาคารที่คนไทยรับเทคนิคการก่อสร้างอาคารจากต่างชาติที่เข้ามาในสมัยอยุธยา
นอกจากนี้ยังมีอุโบสถเก่าแก่ของวัดสิงห์ โดยถูกสร้างขึ้นเมื่อสมัยอยุธยาตอนกลาง มีการบูรณะครั้งใหญ่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นอาคารที่ใช้ในการทำสังฆกรรม ประกอบด้วยกำแพงแก้วล้อมรอบ ด้านในกำแพงก่อเป็นช่องสามเหลี่ยม บริเวณทางเข้าทำเป็นซุ้มโค้งก่ออิฐแบบกูบช้าง ทั้งด้านหน้าและด้านหลังศิลปแบบอยุธยา ภายในอุโบสถมีองค์พระประธานที่ก่อสร้างสมัยอยุธยาตอนกลาง (พระประธานจตุรทิศ) มีพระพุทธรูปเป็นพระประธานองค์ใหญ่ 2 องค์
อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจของวัดนี้คือมี "โกศพญากราย" ก่อด้วยอิฐฉาบปูนรูปแบบโกศโถทรงกระบอกกลมปากผาย ฝายอดปริกปูนปั้นประดับกระจก ตั้งอยู่ในบริเวณโบสถ์หน้าวิหารน้อยฐานเหลี่ยมย่อมุมตกแต่งด้วยลายปูนปั้นประดับด้วยลายบัวแวง ลายหน้ากระดานประจำยามก้ามปู ส่วนตัวโกศประดับด้วยลายปูนปั้นลายกาบพรหมศร และกาบกระจังโดยรอบตัวโกศ ส่วนยอดประดับด้วยบัวกลุ่ม 12 ชั้น บัวจงกลปลีคงยอดและหยาดน้ำค้างสวยงามโดดเด่นด้วยรูป และงดงามด้วยฝีมือปั้นปูนสดที่หาชมได้ยาก
ด้านหลังของโกศพญากรายเป็น "วิหารน้อย" วิหารหลังเล็กก่อด้วยอิฐเป็นอาคารทรงไทย มุงด้วยกระเบื้องดินเผากาบู ด้านหน้ามีชายคาปีกนกยื่นออกมาจากตัวอาคาร ฐานของอาคารทำเป็นท้องสำเภาก่ออิฐเป็นฐานปัทม์แอ่นโค้ มีช่องประตูเข้าสู่วิหารด้านหน้า ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ด้านหน้าพระประธานมีพระอัครสาวกยืนซ้ายขวา
บริเวณด้านนอกของวัดสิงห์ จะมีเนินโคกเตาให้ได้ชมกัน ซึ่งเป็นที่มาของชื่ออำเภอสามโคกนั่นเอง ในอดีตมีเตาเผาสามโคกตั้งเรียงรายกัน โคกที่สามถูกรถไถเกรดเนินโคกเตา นำไปทำถนนจนหมดคงเหลือไว้เพียงสองโคก เนินเตาที่หนึ่งมีพื้นที่กว้างประมาณ 300 ตารางวา มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นโดยรอบ ส่วนเนินโคกเตาที่สองถูกถนนตัดผ่านจึงเหลือเพียงส่วนเดียว และพบแนวอิฐโครงสร้างเตาและเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผาอยู่โดยทั่วไป
ในช่วงวันหยุดนี้ลองหาเวลาว่างมาแวะเวียนท่องเที่ยวกันที่อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พร้อมสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวมอญ และชมศิลปะอันงดงามในสมัยอยุธยาที่ยังคงให้เห็น อีกทั้งยังเดินทางสะดวกใช้เวลาไม่นาน
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager