โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
“นครสองธรรม”
เป็นฉายาของจังหวัด“นครศรีธรรมราช” จากโครงการ “เมืองต้องห้าม...พลาด” ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ที่ฉายให้เห็นถึงความโดดเด่นในเรื่องของ“ธรรมะ”และ“ธรรมชาติ”ของจังหวัดนี้ออกมาอย่างเด่นชัด
นอกจากนี้จังหวัดนครศรีธรรมราชยังมีสโลแกนชวนเที่ยวฟังติดหูว่า “นครศรีดี๊ดี” ซึ่งเมืองนี้มีนอกจากจะมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอันหลากหลาย นับจากภูเขาจรดทะเลแล้ว ยังเป็นที่ประดิษฐานของ“พระบรมธาตุเมืองนคร” สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญแห่งดินแดนด้ามขวาน ที่หากใครมาเยือนเมืองนครศรีฯแล้ว ไม่ควรพลาดการไปกราบสักการะด้วยประการทั้งปวง
ด้วยความโดดเด่นทั้งในเรื่องของความเป็นนครสองธรรม และความน่าสนใจของสถานที่ท่องเที่ยว ทางบริษัท “Octo Cycling” จึงได้เลือกนครศรีธรรมราช ให้เป็นหนึ่งในเส้นทาง“ปั่นเลาะทั่วไทย” พานักปั่นผู้สนใจจากทั่วทิศล่องใต้ไปปั่นจักรยานเที่ยวเมืองนครศรีดี๊ดี(ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน) กับเส้นทาง(คัดสรร)ที่จะพาเหล่านักปั่น ตะลุยซอกแซกไปสัมผัสเมืองนครศรีในมุมมองที่แตกต่าง ควบคู่กับการแวะกินอาหารอร่อยๆในระหว่างทาง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมปั่นสนุก กินอร่อย หรอยแรง แห่งนครสองธรรม ที่น่าสนใจไม่น้อย
วันที่ 1 ไอ้ไข่-ท่าศาลา
หลังชาวคณะนักปั่นเดินทางมาถึงยังจังหวัดนครศรีธรรมราชในช่วงเช้าตรู่ของวันแรก พวกเราเปิดประเดิมมื้อแรก(มื้อเช้า)ของวันกันที่ร้าน “หนมจีนครูพร”(ถ.นคร-สุราษฎร์ 401 บ.ชมเล ต.กลาย อ.ท่าศาลา) หรือร้าน“ศาลาคาเฟ่เดิม” ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากจุดตั้งต้นการออกปั่น
ร้านหนมจีนครูพร ขึ้นชื่อในเรื่องขนมจีนเส้นสด น้ำยาปูนิ่ม และเป็นร้านที่ปลอดผงชูรส ที่นี่ผมถือคติกองทัพต้องเดินด้วยท้อง เลยจัดชุดใหญ่ไฟไม่กระพริบกับขนมจีนน้ำยาปูนิ่ม พร้อมกับเมนูแนะนำอื่นๆของทางร้าน อย่างขนมจีนน้ำยาปลา แกงไตปลา ลูกชิ้นปลาลวก และไก่ทอดรสเด็ด ตุนเติมพลังกันอย่างเต็มที่
ต่อจากนั้นพวกเรามุ่งหน้าสู่“วัดเจดีย์(ไอ้ไข่)” (ต.ฉลอง อ.สิชล) เพื่อสักการะ“ไอ้ไข่”เอาฤกษ์เอาชัยกันก่อนออกปั่นในวันแรกจาก อ.สิชล สู่ อ.ท่าศาลา มีระยะทางประมาณ 40 กม.
ไอ้ไข่เป็นหนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชื่อดังของจังหวัดนครศรีธรรมราช(บางคนเรียกว่า “ตาไข่” แทนคำว่า “ไอ้” เพื่อแสดงความเคารพ) เชื่อกันว่าเป็นวิญญาณเด็กศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดเจดีย์(ลูกศิษย์วัดเจดีย์) ที่สามารถมากราบไหว้ขอพรจากท่านได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ขอเรื่องโชคลาภ ขอให้ร่ำให้รวย ขอให้ค้าขายได้กำไรดีเงินทองไหลมาเทมา ฯลฯ จนมีคนตั้งฉายาให้ว่า “ไอ้ไข่ ขอได้-ไหว้รับ”
แต่ละวันจะมีผู้คนหลั่งไหลกันมากราบไหว้ขอพรไอ้ไข่กันไม่ได้ขาด ใครที่ขอพรประสบความสำเร็จสมหวัง ก็จะนำสิ่งของต่างๆหลากหลายมาแก้บนกันตามความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น ชุดเสื้อผ้าของเด็ก ชุดทหารของเด็ก ตุ๊กตาทหาร ขนม น้ำแดง ไข่ต้ม รวมไปถึงการแก้บนด้วยการจุดประทัดแก้บนในบริเวณด้านข้างรูปเคารพไอ้ไข่ ซึ่งชื่อเสียงความศักดิ์สิทธิ์อันโด่งดังของไอ้ไข่นั้น วัดได้จากปริมาณปลอกกระดาษและซากประทัดของผู้มาจุดแก้บนที่มีจำนวนมหาศาลจนกองสูงเป็นภูเขาประทัดเลยทีเดียว
ขณะที่อีกหนึ่งสิ่งที่คนนิยมนำมาแก้บนที่นี่กันเป็นจำนวนมากก็คือรูปปั้น“ไก่ชน”(เชื่อว่าไอ้ไข่ท่านชอบเลี้ยงไก่) ที่มีหลากหลายขนาดตั้งแต่ตัวเล็ก กลาง ย่อม ใหญ่ ไปจนถึงไซส์ยักษ์ ตัวสูงใหญ่สูงถึง 2 เมตรกว่าๆเลยทีเดียว
ที่วัดเจดีย์หลังชาวคณะนักปั่นสักการะกราบไหว้ขอพรไอ้ไข่กันเป็นที่เรียบร้อย พวกเราก็ตรวจเช็คจักรยานอีกครั้ง ก่อนตั้งขบวนแล้วออกสตาร์ทตั้งต้นปั่นออกจากลานจอดรถวัดเจดีย์ ค่อยๆทยอยปั่นตามกันไปเป็นขบวน
ระหว่างทางช่วงแรกที่ปั่นออกจากวัดไอ้ไข่ จะพบเจอกับรูปปั้นหุ่นไก่ชนยักษ์ประดับอยู่ 2 ข้างทางจำนวนมาก ให้เราได้ตื่นตาตื่นใจกันกับเอกลักษณ์ของถนนสาย(รูปปั้น)ไก่ชนแห่งนี้
หลังจากนั้นทีมสตาฟจาก Octo Cycling พาคณะเราปั่นเข้าสู่ถนนรอง เส้นทางชนบท และซอกแซกเข้าสู่ถนนหมู่บ้านที่มีรถยนต์วิ่งกันน้อยมาก พวกเราจึงปั่นกันสบาย
สำหรับเส้นทางช่วงนี้เป็นเส้นทางราบเลาะเลียบทะเล จาก อ.สิชล มุ่งหน้าเข้าสู่ อ.ท่าศาลา ระหว่างทางมีบรรยากาศร่มรื่นของทิวมะพร้าว สวนปาล์ม สวนยาง ก่อนจะมาถึงยังหาดสนอ่อน เพื่อแวะพักกินข้าวกลางวันกันที่“ธนาดลบีชรีสอร์ท” ที่พักริมทะเล(หาดสนอ่อน) ที่นอกจากจะมีวิวสวยงามแล้ว ที่นี่ยังมีอาหารรสเด็ดให้บริการ
เสร็จจากมื้ออันอิ่มหนำ ก่อนที่หนังท้องจะตึง หนังตาจะหย่อน พวกเราปั่นกันต่อในช่วงครึ่งบ่ายของวันแรกอีกประมาณ 20 กม. จากหาดสนอ่อนสู่หาดท่าศาลา ไปตามเส้นทางเลาะเลียบชายหาดที่มีวิวทิวทัศน์สวยงามชวนเพลิดเพลิน ก่อนจะมาถึงยัง “โรงแรม พูลสุข รีสอร์ท” ที่พักสงบๆบรรยากาศดีริมทะเลหาดท่าศาลา
มื้อค่ำนี้ที่รีสอร์ทเราจัดเต็มกับซีฟู้ดรสเด็ดสดๆใหม่ๆ ซึ่งชาวคณะเราบางส่วนนั่งรถเข้าไปเลือกซื้ออาหารทะเลสดๆในตลาดมาให้แม่ครัวที่รีสอร์ททำ นำโดย ปูม้านึ่งรสหวานเนื้อแน่น(และไข่เพียบ) กุ้งผัดสะตอ แกงส้มปลากะพง(แกงเหลือง) และอาหารอีกหลากหลาย
ถือเป็นการปิดท้ายการปั่นวันแรกได้อย่างอิ่มหมีพลีมันกันไม่น้อยเลย
วันที่ 2 ท่าศาลา-นครศรีฯ-คีรีวง
สำหรับโปรแกรมปั่นในวันที่ 2 นี้ เป็นการปั่นแบบจัดเต็มมีระยะทางประมาณ 70 กม. จาก อ.ท่าศาลา ปั่นลงใต้ ไปไหว้พระบรมธาตุเมืองนคร ในตัว อ.เมืองนครศรีฯ ก่อนออกปั่นต่อในช่วงบ่ายสู่ อ.ลานสกา เพื่อพิชิตจุดหมาย“หมู่บ้านคีรีวง” แหล่งท่องเที่ยวชุมชนชื่อดังแห่งยุคสมัยของจังหวัดนครศรีฯ
ดังนั้นหลังอิ่มอร่อยจากข้าวต้มมื้อเช้า พวกเราจึงไม่รีรอออกสตาร์ทการปั่นที่วัน 2 กันต่อจาก โรงแรม พูลสุขฯ มุ่งหน้าเข้าสู่ตัวเมืองนครศรีฯ
โดยเส้นทางปั่นของช่วงครึ่งเช้าวันที่ 2 นี้ นอกจากจะสวยงามทรงเสน่ห์แล้ว ยังอุดมไปด้วยบรรยากาศอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เส้นทางเลาะชายหาด เลาะเลียบทะเล ผ่านหมู่บ้านชาวประมง หมู่บ้านชนบทที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำการเกษตรเป็นหลัก ผ่านไร่มะพร้าวผืนใหญ่ เห็นชาวบ้านหลายคน บ้างเผาถ่าน บ้างเลี้ยงวัวควายแพะ(มุสลิม) บ้างกำลังง่วนกับการปลอกมะพร้าวเตรียมส่งขาย
รวมถึงชาวบ้านกลุ่มใหญ่ของหมู่บ้านหนึ่งกำลังง่วนอยู่กับการแข่งนกเขา-นกกรงหัวจุกดูสนุกเพลิดเพลิน
ขณะที่วิถีของเด็กนักเรียนในชนบทนั้น คุณครูได้พาพวกเขาออกเดินทัศนศึกษาผ่านดงมะพร้าว เลาะเลียบทะเล ที่บรรยากาศแบบนี้ไม่สามารถหาชมได้ในเมืองใหญ่
เห็นแล้วชวนให้ผมอดคิดย้อนรำลึกวัยเยากับบรรยากาศต่างจังหวัดชนบท ซึ่งผมก็เป็นเด็กบ้านนอกคนหนึ่งที่เข้ามาใช้ชีวิตในเมืองหลวงอยู่ยาวนาน จนวิถีที่แก่งแย่งวุ่นวายของป่าคอนกรีตมันทำให้ผม ต้องหลบไปท่องเที่ยวพักกาย พักใจ ในต่างจังหวัดอยู่บ่อยครั้ง
สำหรับการมาปั่นจักรยานเที่ยวเมืองนครศรีดี๊ดีครั้งนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งการหนีกรุง มาปรุงฝัน ผ่านการปั่นจักรยาน 2 ล้อ ที่แม้จะเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวที่ต้องใช้กำลังกายและพลังงานแบบเหนื่อยพอดู แต่ว่ามันก็สนุกเพลิดเพลิน และช่วยอารมณ์ถวิลหาชนบท อยากมีบ้านนอกเป็นของตัวเองได้ไม่น้อย
จากเส้นทางชนบท เราปั่นกันเพลินๆเรื่อยมาจนเข้าสู่เขตตัวเมืองนครศรีฯ ในช่วงราวๆเที่ยงวัน ซึ่งก็ได้เวลาอาหารกลางวันวันนี้ที่ร้าน“ตังเกี๋ย แต่เตี้ยม” หนึ่งในร้านติ่มซำเก่าแก่ชื่อดังของเมืองนครศรีฯ
ติ่มซำที่นี่เขาจะเน้นในเรื่องความสดใหม่ เมื่อลูกค้าพอใจเข่งไหน เลือกสั่งแล้ว เขาก็จะนึ่งสดๆ เสิร์ฟมาให้หม่ำกันอย่างจุใจใหม่ๆร้อนๆ ไม่ว่าจะเป็น ขนมจีบ ซาลาเปา(มีซาลาเปาไส้ลาวา(ไส้เยิ้มๆ)รสเด็ดด้วย) ฮะเก๋า ซี่โครงหมูเต้าซี เผือกทอด ห้อยจ้อ แฮ่กึ๊น เต้าหู้ปลา และอีกสารพัด ขณะที่เมนูอาหารจานเดียวนั้นก็มี โจ๊ก บะกุ๊ดเต๋ บะหมี่ ข้าวยำ ให้เลือกอิ่มอร่อยกัน
ปกติผมมักจะกินอาหารประเภทในช่วงมื้อเช้า แต่วันนี้เปลี่ยนบรรยากาศมากินติ่มซำมื้อเที่ยง ที่ก็ให้บรรยากาศแปลกแตกต่างไปอีกแบบ
หลังจัดเต็ม(อีกมื้อ)กับติ่มซำที่จัดเสิร์ฟมาเต็มโต๊ะ พวกเราปั่นเบาๆเลาะชมเมืองนครผ่านกำแพงเมืองเก่า สวนศรีธรรมโศก ผ่านถนนราชดำเนิน ก่อนจะไปจอดที่หน้า “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร”(ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง) เพื่อแวะเข้าไปกราบสักการะองค์ “พระบรมธาตุเมืองนคร”สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองนครที่ชื่อเสียงความศักดิ์สิทธิ์เลื่องระบือไกลไปถึงในต่างประเทศ
พระบรมธาตุเมืองนคร หรือ “พระมหาธาตุเมืองนคร” หรือ “พระบรมธาตุเจดีย์” ภายในบรรจุพระทันตธาตุ(ส่วนฟันของพระพุทธเจ้า)ได้รับการเรียกขานว่าเป็น “พระธาตุทองคำ” เนื่องจากปลียอดหุ้มด้วยทองคำเหลืองอร่าม
ขณะที่ยามแสงแดดตกต้ององค์พระธาตุ เหลื่อมเงากลับทาบทอดไม่ถึงพื้น จนดูเหมือนพระธาตุไม่มีเงา จึงทำให้ได้รับการเรียกขานว่าเป็น“พระธาตุไร้เงา”อีกฉายาหนึ่ง
วันนี้องค์พระธาตุกำลังอยู่ในการบูรณะซ่อมแซม และก็กำลังอยู่ในกระบวนการ(ขอ)ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ซึ่งผมก็ได้แต่ลุ้นให้วัดพระมหาธาตุและองค์พระบรมธาตุเมืองนครได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกโดยไว
หลังอิ่มบุญสุขใจจากการไหว้พระบรมธาตุเมืองนคร คณะเราปั่นต่อไปอีกหน่อยตาม ถ.ราชดำเนิน เพื่อแวะพักเที่ยวและถ่ายรูปกันที่ “บ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์” อาคาร(เรือนปั้นหยา)เก่าแก่ที่งดงามไปด้วยงานสถาปัตยกรรมทักษิณผสมตะวันตก
ต่อจากนั้นคณะเราปั่นออกนอกเมือง(อ.เมืองนครศรีฯ)ยาวไปสู่ อ.ลานสกา มุ่งหน้าสู่หมู่บ้านคีรีวง ซึ่งมีเส้นทางช่วงหนึ่งเราปั่นผ่านถนนกรวดเลียบคลองชลประทานที่มีวิวทิวทัศน์สวยงามน่ายล โดยเฉพาะวิวของ “เทือกเขาหลวง”ที่ทอดตัวตระหง่านเงื้อมอยู่เบื้องหน้า ซึ่งถือเป็นข่าวดี(ของผม)ว่า อีกไม่นานเราก็จะถึงยังหมู่บ้านคีรีวงแล้ว
สำหรับเส้นทางช่วงสุดท้ายของวันเราออกแรงเพิ่มกันอีกนิด ปั่นขึ้นเนิน ลงเนิน(หลายๆเนิน) ก่อนจะมุ่งหน้าเข้าสู่หมู่บ้านคีรีวง หมู่บ้านวิวงามท่ามกลางขุนเขาแวดล้อม ที่ปัจจุบันเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเลื่องชื่อของเมืองไทย
หมู่บ้านคีรีวง(ต.กำโลน อ.ลานสกา) เป็นชุมชนเก่าแก่เชิงเขาหลวง (ในอดีต)ที่นี่เป็นชุมชนเกษตรที่ชาวบ้านดำรงวิถีเรียบง่ายสงบงาม (เดิม)ชาวบ้านที่นี่มีอาชีพหลักคือการทำสวนผลไม้แบบสวนผสม(สวนสมรม) ปลูกพืชผลหลากหลายในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเงาะ ทุเรียน สะตอ และมังคุด(คีรีวงมี“มังคุดเขา”รสอร่อยลูกโตเท่าฝ่ามือ(3-4 ลูก/1 กก.) เป็นผลไม้ขึ้นชื่อของชุมชน)
กระทั่งเมื่อราวๆ 20 กว่าปีมานี้ หมู่บ้านคีรีวงได้ค่อยๆเดินหน้าพัฒนาสู่ชุมชนท่องเที่ยว ซึ่ง(เคย)มีความโดดเด่นในเรื่องวิถีชุมชนที่เข้มแข็ง อีกทั้งยังมีการบริหารจัดการที่ดี จนสามารถคว้ารางวัล“รางวัลกินรี” ประจำปี 2541 จาก ททท. มาครองได้
นอกจากนี้ หมู่บ้านคีรีวงยังได้ชื่อว่า(เคย)เป็นสถานที่ที่มีอากาศดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยจากการสำรวจในปี 2552 พบว่า คุณภาพอากาศบริสุทธิ์ของบ้านคีรีวงนั้นสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานถึง 100 เท่า ทำให้คีรีวงมีเครดิตในเรื่องของหมู่บ้าน(เคย)อากาศดีที่สุดในเมืองไทยติดตัวมาจนทุกวันนี้
ปัจจุบันหมู่บ้านคีรีวงได้ปรับเปลี่ยนจากชุมชนสงบงามเชิงเขาหลวงเข้าสู่ชุมชนท่องเที่ยว(ที่กำลังโตวันโตคืน) ซึ่งชาวบ้านที่นี่ส่วนหนึ่งได้ปรับเปลี่ยนวิถีมาสู่ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวมากขึ้น
ขณะที่ลักษณะทางกายภาพของหมู่บ้านก็ได้มีการปรับเปลี่ยน มีการสร้างที่พัก โฮมสเตย์ เกสต์เฮ้าส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ รวมถึงมีการสร้างสิ่งอะไรต่อมีอะไรต่างๆเพิ่มเติมขึ้นอีกหลากหลาย บางสิ่งที่สร้างก็ดูดีช่วยส่งเสริมพื้นที่ แต่บางสิ่งที่สร้างก็ดูประดักประเดิดก่อเกิดเป็นทัศนอุจาด(ทำลายทัศนียภาพ) ซึ่งชาวชุมชนและผู้เกี่ยวข้องคงจะต้องพิจารณาปรับปรุงพัฒนากันต่อไป
หมู่บ้านคีรีวง มี“คลองท่าดี” เป็นลำน้ำหลักไหลผ่านกลางหมู่บ้าน มี “สะพานบ้านคีรีวง คลองท่าดี” สะพานสายเล็กๆสั้นๆ ที่สร้างทอดผ่านลำน้ำคลองท่าดีนั้น ถือเป็นหนึ่งในจุดที่มีวิวทิวทัศน์สวยงาม เมื่อมองทอดสายตาไปตามลำน้ำที่สวยใสไหลเย็น จะเห็นเทือกขุนเขาหลวงทอดตัวเด่นเป็นสง่า พร้อมทั้งความเขียวขจีของผืนป่าต้นน้ำ
วันนี้แม้หมู่บ้านคีรีวงจะเปลี่ยนแปลงไป(ไม่มากก็น้อย)ตามสึนามิของการท่องเที่ยวที่ถาโถม แต่ภาพความงามของธรรมชาติเหล่านี้ยังคงอยู่ ให้นักท่องเที่ยวผู้มาเยือนได้ทัศนาในความงามกัน
โดยเฉพาะภาพความงามของคลองท่าดี และเทือกเขาหลวงในยามเช้าหรือในยามฟ้าหลังฝนที่มักจะมีสายหมอกขาวโพลน(จากความสมบูรณ์ของป่าเขา)ลอยอ้อยอิ่งปกคลุมเหนือยอดเขา
ส่งผลบริเวณสะพานบ้านคีรีวงฯ กลายเป็นจุดถ่ายรูปมุมมหาชนยอดฮิตแห่งหมู่บ้านคีรีวง ที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เมื่อมาเยือนคีรีวงมักจะไม่พลาดการโพสต์ท่าถ่ายรูป เช็คอินกันบนสะพานแห่งนี้
วันนั้นผมกับชาวคณะปั่นมาถึงคีรีวงในช่วงเย็นๆ ซึ่งหลังจากไปแวะถ่ายรูปบนสะพานบ้านคีรีวงฯแล้ว ก็จูงจักรยานไปเดินเที่ยวถนนคนเดินริมคลองคีรีวงกันต่อ หาขนม ผลไม้ ของกินพื้นถิ่นกินเป็นออร์เดิร์ฟ ในบรรยากาศแบบบ้านๆ เรียบง่ายแต่น่าเดิน(เปิดทุกวันศุกร์ เสาร์ บริเวณตลาดริมคลองหมู่บ้านคีรีวง ช่วงประมาณ 3 โมงเย็นถึง 3 ทุ่ม) ก่อนจะไปอิ่มอร่อยกันที่ร้าน“ภูงาม น้ำสวย”ที่มีความโดดเด่นในเรื่องอาหารพื้นบ้านรสจัดจ้าน(ประเภทเผ็ดแต่อร่อย) ส่งท้ายค่ำคืนของวันที่ 2 ท่ามกลางธรรมชาติของป่าเขาแห่งคีรีวง
วันที่ 3 คีรีวง-นครศรี
มาถึงวันสุดท้ายของกิจกรรมปั่นเที่ยวเมืองนครศรีดี๊ดี หลังเติมพลังเบาๆด้วยโจ๊ก ข้าวต้ม ชากาแฟ ปาท่องโก๋(เก็บท้องไว้จัดหนักกับขนมจีนในมื้อสาย) พวกเราก็ออกปั่นเที่ยวหมู่บ้านคีรีวงยามเช้า สูดอากาศอันสดชื่น เลาะเลียบลำคลองท่าดี ขึ้นไปจนถึงบริเวณสะพานแขวนที่เป็นอีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวถ่ายรูปยอดนิยมของที่นี่
ต่อจากนั้นคณะเราก็อำลาหมู่บ้านคีรีวงปั่นกลับสู่ตัวเมืองนครศรีฯ โดยเราใช้เส้นทางปั่นกลับคนละทางกับเส้นทางปั่นขามาของเมื่อวาน มีระยะทางประมาณ 50 กม.
จากหมู่บ้านคีรีวงปั่นมาได้ไม่นาน เมื่อผ่านอุโมงค์ต้นยางอันสวยงามแล้ว ผู้นำปั่นของเราก็พามาแวะที่ “ร้านขนมจีนป้าเขียว” (ตั้งอยู่ทางเข้าวัดดินดอน ต.ท่าดี อ.ลานสกา) หรือ “ร้านบ้านป้าเขียว” หรือ “หนมจีนต้นกล้วย”เพราะมีโต๊ะนั่งบางมุมตั้งอยู่ในดงกล้วยให้อิ่มอร่อยร่มเงาใบตองกัน
ร้านขนมจีนป้าเขียว เป็นร้านขนมจีนในบรรยากาศบ้านๆ มีความโดดเด่นเรื่องขนมจีนเส้นสด น้ำยาบุฟเฟต์ คือน้ำยากะทิ น้ำยาป่า น้ำพริก แกงไตปลา สามารถตักเติมได้ไม่อั้น รวมไปถึงผักแกล้มสารพัดสารพันที่มีให้ตักแบบบุฟเฟต์กันเพียบไปหมด
นอกจากนี้ที่นี่ยังมีขนมหวาน ไก่ทอด และของกินหลากหลายให้เลือกกิน ซึ่งด้วยรสชาติอร่อยเด็ดของขนมจีนนั้น ทำให้ในแต่ละวัน ทั้งคนนครศรีฯ คนนอกพื้นที่ และนักท่องเที่ยวจะเดินทางมากินขนมจีนที่ร้านป้าเขียวกันเพียบ
สำหรับมื้อนี้(มื้อสาย)ผมจัดหนักอีกครั้ง ก่อนจะปั่นยาวมุ่งหน้ากลับคืนสู่ตัวเมืองนครศรีฯ ไปปิดทริปด้วยการกินอีกครั้งที่ “ร้านโกเตง”(ต.บางจาก อ.เมืองนครศรีฯ) อีกหนึ่งร้านอาหารชื่อดังของเมืองนครศรีฯ ที่มีบุคคลมีชื่อเสียงหลากหลายแวะเวียนมากินอาหารที่ร้านนี้กันอยู่บ่อยๆ
โกเตง เป็นร้านอาหารที่ขึ้นชื่อในเรื่องของซีฟู้ดสดใหม่ คัดสรรวัตถุดิบคุณภาพ สำหรับเมนูเด่นๆของที่นี่ก็อย่างเช่น กุ้งกระเทียม, ปลาเต๋าเต้ยนึ่งบ๊วย, ปูผัดผงกะหรี่, ราดหน้าทะเล และไข่เจียวปู ที่ผมขอเรียกว่าเนื้อปูเจียวใส่ไข่เจียวมากกว่า เพราะทางร้านจัดใส่ปูลงในเนื้อไข่(เจียว)กันแบบจัดเต็ม กินอร่อยลิ้นเพลินปาก
และนี่ก็เป็นการจัดหนักปิดทริป เที่ยวนครศรีดี๊ดี ปั่นสนุก กินอร่อย หรอยอย่างแรง ที่นอกจากจะเป็นหนึ่งในการสัมผัสเมืองนครศรีฯในมุมมองที่แตกต่างแล้ว นี่ยังเป็นทริปปั่นกินตัว(แทบ)แตก ที่ตลอดการปั่น 3 วัน 2 คืน นี่เป็นการออกกำลังกายที่แปลกพิสดารมาก
เพราะนอกจากน้ำหนักตัวผมจะไม่ลดแล้ว ยังเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก
....................................................................................................
Octo Cycling เป็นบริษัทที่มุ่งเชิญชวนผู้ชื่นชอบการปั่นจักรยานออกไปผจญโลกกว้างด้วยการปั่นจักรยานท่องเที่ยวสัมผัสกับสถานที่ต่างๆ ทั้งใน กทม. ในเมืองไทย อาเซียน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เอเชีย และยุโรป เป็นต้น ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2181-2088 หรือที่ www. Octocycling.com หรือ www.facebook.com/octocycling
“นครสองธรรม”
เป็นฉายาของจังหวัด“นครศรีธรรมราช” จากโครงการ “เมืองต้องห้าม...พลาด” ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ที่ฉายให้เห็นถึงความโดดเด่นในเรื่องของ“ธรรมะ”และ“ธรรมชาติ”ของจังหวัดนี้ออกมาอย่างเด่นชัด
นอกจากนี้จังหวัดนครศรีธรรมราชยังมีสโลแกนชวนเที่ยวฟังติดหูว่า “นครศรีดี๊ดี” ซึ่งเมืองนี้มีนอกจากจะมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอันหลากหลาย นับจากภูเขาจรดทะเลแล้ว ยังเป็นที่ประดิษฐานของ“พระบรมธาตุเมืองนคร” สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญแห่งดินแดนด้ามขวาน ที่หากใครมาเยือนเมืองนครศรีฯแล้ว ไม่ควรพลาดการไปกราบสักการะด้วยประการทั้งปวง
ด้วยความโดดเด่นทั้งในเรื่องของความเป็นนครสองธรรม และความน่าสนใจของสถานที่ท่องเที่ยว ทางบริษัท “Octo Cycling” จึงได้เลือกนครศรีธรรมราช ให้เป็นหนึ่งในเส้นทาง“ปั่นเลาะทั่วไทย” พานักปั่นผู้สนใจจากทั่วทิศล่องใต้ไปปั่นจักรยานเที่ยวเมืองนครศรีดี๊ดี(ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน) กับเส้นทาง(คัดสรร)ที่จะพาเหล่านักปั่น ตะลุยซอกแซกไปสัมผัสเมืองนครศรีในมุมมองที่แตกต่าง ควบคู่กับการแวะกินอาหารอร่อยๆในระหว่างทาง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมปั่นสนุก กินอร่อย หรอยแรง แห่งนครสองธรรม ที่น่าสนใจไม่น้อย
วันที่ 1 ไอ้ไข่-ท่าศาลา
หลังชาวคณะนักปั่นเดินทางมาถึงยังจังหวัดนครศรีธรรมราชในช่วงเช้าตรู่ของวันแรก พวกเราเปิดประเดิมมื้อแรก(มื้อเช้า)ของวันกันที่ร้าน “หนมจีนครูพร”(ถ.นคร-สุราษฎร์ 401 บ.ชมเล ต.กลาย อ.ท่าศาลา) หรือร้าน“ศาลาคาเฟ่เดิม” ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากจุดตั้งต้นการออกปั่น
ร้านหนมจีนครูพร ขึ้นชื่อในเรื่องขนมจีนเส้นสด น้ำยาปูนิ่ม และเป็นร้านที่ปลอดผงชูรส ที่นี่ผมถือคติกองทัพต้องเดินด้วยท้อง เลยจัดชุดใหญ่ไฟไม่กระพริบกับขนมจีนน้ำยาปูนิ่ม พร้อมกับเมนูแนะนำอื่นๆของทางร้าน อย่างขนมจีนน้ำยาปลา แกงไตปลา ลูกชิ้นปลาลวก และไก่ทอดรสเด็ด ตุนเติมพลังกันอย่างเต็มที่
ต่อจากนั้นพวกเรามุ่งหน้าสู่“วัดเจดีย์(ไอ้ไข่)” (ต.ฉลอง อ.สิชล) เพื่อสักการะ“ไอ้ไข่”เอาฤกษ์เอาชัยกันก่อนออกปั่นในวันแรกจาก อ.สิชล สู่ อ.ท่าศาลา มีระยะทางประมาณ 40 กม.
ไอ้ไข่เป็นหนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชื่อดังของจังหวัดนครศรีธรรมราช(บางคนเรียกว่า “ตาไข่” แทนคำว่า “ไอ้” เพื่อแสดงความเคารพ) เชื่อกันว่าเป็นวิญญาณเด็กศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดเจดีย์(ลูกศิษย์วัดเจดีย์) ที่สามารถมากราบไหว้ขอพรจากท่านได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ขอเรื่องโชคลาภ ขอให้ร่ำให้รวย ขอให้ค้าขายได้กำไรดีเงินทองไหลมาเทมา ฯลฯ จนมีคนตั้งฉายาให้ว่า “ไอ้ไข่ ขอได้-ไหว้รับ”
แต่ละวันจะมีผู้คนหลั่งไหลกันมากราบไหว้ขอพรไอ้ไข่กันไม่ได้ขาด ใครที่ขอพรประสบความสำเร็จสมหวัง ก็จะนำสิ่งของต่างๆหลากหลายมาแก้บนกันตามความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น ชุดเสื้อผ้าของเด็ก ชุดทหารของเด็ก ตุ๊กตาทหาร ขนม น้ำแดง ไข่ต้ม รวมไปถึงการแก้บนด้วยการจุดประทัดแก้บนในบริเวณด้านข้างรูปเคารพไอ้ไข่ ซึ่งชื่อเสียงความศักดิ์สิทธิ์อันโด่งดังของไอ้ไข่นั้น วัดได้จากปริมาณปลอกกระดาษและซากประทัดของผู้มาจุดแก้บนที่มีจำนวนมหาศาลจนกองสูงเป็นภูเขาประทัดเลยทีเดียว
ขณะที่อีกหนึ่งสิ่งที่คนนิยมนำมาแก้บนที่นี่กันเป็นจำนวนมากก็คือรูปปั้น“ไก่ชน”(เชื่อว่าไอ้ไข่ท่านชอบเลี้ยงไก่) ที่มีหลากหลายขนาดตั้งแต่ตัวเล็ก กลาง ย่อม ใหญ่ ไปจนถึงไซส์ยักษ์ ตัวสูงใหญ่สูงถึง 2 เมตรกว่าๆเลยทีเดียว
ที่วัดเจดีย์หลังชาวคณะนักปั่นสักการะกราบไหว้ขอพรไอ้ไข่กันเป็นที่เรียบร้อย พวกเราก็ตรวจเช็คจักรยานอีกครั้ง ก่อนตั้งขบวนแล้วออกสตาร์ทตั้งต้นปั่นออกจากลานจอดรถวัดเจดีย์ ค่อยๆทยอยปั่นตามกันไปเป็นขบวน
ระหว่างทางช่วงแรกที่ปั่นออกจากวัดไอ้ไข่ จะพบเจอกับรูปปั้นหุ่นไก่ชนยักษ์ประดับอยู่ 2 ข้างทางจำนวนมาก ให้เราได้ตื่นตาตื่นใจกันกับเอกลักษณ์ของถนนสาย(รูปปั้น)ไก่ชนแห่งนี้
หลังจากนั้นทีมสตาฟจาก Octo Cycling พาคณะเราปั่นเข้าสู่ถนนรอง เส้นทางชนบท และซอกแซกเข้าสู่ถนนหมู่บ้านที่มีรถยนต์วิ่งกันน้อยมาก พวกเราจึงปั่นกันสบาย
สำหรับเส้นทางช่วงนี้เป็นเส้นทางราบเลาะเลียบทะเล จาก อ.สิชล มุ่งหน้าเข้าสู่ อ.ท่าศาลา ระหว่างทางมีบรรยากาศร่มรื่นของทิวมะพร้าว สวนปาล์ม สวนยาง ก่อนจะมาถึงยังหาดสนอ่อน เพื่อแวะพักกินข้าวกลางวันกันที่“ธนาดลบีชรีสอร์ท” ที่พักริมทะเล(หาดสนอ่อน) ที่นอกจากจะมีวิวสวยงามแล้ว ที่นี่ยังมีอาหารรสเด็ดให้บริการ
เสร็จจากมื้ออันอิ่มหนำ ก่อนที่หนังท้องจะตึง หนังตาจะหย่อน พวกเราปั่นกันต่อในช่วงครึ่งบ่ายของวันแรกอีกประมาณ 20 กม. จากหาดสนอ่อนสู่หาดท่าศาลา ไปตามเส้นทางเลาะเลียบชายหาดที่มีวิวทิวทัศน์สวยงามชวนเพลิดเพลิน ก่อนจะมาถึงยัง “โรงแรม พูลสุข รีสอร์ท” ที่พักสงบๆบรรยากาศดีริมทะเลหาดท่าศาลา
มื้อค่ำนี้ที่รีสอร์ทเราจัดเต็มกับซีฟู้ดรสเด็ดสดๆใหม่ๆ ซึ่งชาวคณะเราบางส่วนนั่งรถเข้าไปเลือกซื้ออาหารทะเลสดๆในตลาดมาให้แม่ครัวที่รีสอร์ททำ นำโดย ปูม้านึ่งรสหวานเนื้อแน่น(และไข่เพียบ) กุ้งผัดสะตอ แกงส้มปลากะพง(แกงเหลือง) และอาหารอีกหลากหลาย
ถือเป็นการปิดท้ายการปั่นวันแรกได้อย่างอิ่มหมีพลีมันกันไม่น้อยเลย
วันที่ 2 ท่าศาลา-นครศรีฯ-คีรีวง
สำหรับโปรแกรมปั่นในวันที่ 2 นี้ เป็นการปั่นแบบจัดเต็มมีระยะทางประมาณ 70 กม. จาก อ.ท่าศาลา ปั่นลงใต้ ไปไหว้พระบรมธาตุเมืองนคร ในตัว อ.เมืองนครศรีฯ ก่อนออกปั่นต่อในช่วงบ่ายสู่ อ.ลานสกา เพื่อพิชิตจุดหมาย“หมู่บ้านคีรีวง” แหล่งท่องเที่ยวชุมชนชื่อดังแห่งยุคสมัยของจังหวัดนครศรีฯ
ดังนั้นหลังอิ่มอร่อยจากข้าวต้มมื้อเช้า พวกเราจึงไม่รีรอออกสตาร์ทการปั่นที่วัน 2 กันต่อจาก โรงแรม พูลสุขฯ มุ่งหน้าเข้าสู่ตัวเมืองนครศรีฯ
โดยเส้นทางปั่นของช่วงครึ่งเช้าวันที่ 2 นี้ นอกจากจะสวยงามทรงเสน่ห์แล้ว ยังอุดมไปด้วยบรรยากาศอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เส้นทางเลาะชายหาด เลาะเลียบทะเล ผ่านหมู่บ้านชาวประมง หมู่บ้านชนบทที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำการเกษตรเป็นหลัก ผ่านไร่มะพร้าวผืนใหญ่ เห็นชาวบ้านหลายคน บ้างเผาถ่าน บ้างเลี้ยงวัวควายแพะ(มุสลิม) บ้างกำลังง่วนกับการปลอกมะพร้าวเตรียมส่งขาย
รวมถึงชาวบ้านกลุ่มใหญ่ของหมู่บ้านหนึ่งกำลังง่วนอยู่กับการแข่งนกเขา-นกกรงหัวจุกดูสนุกเพลิดเพลิน
ขณะที่วิถีของเด็กนักเรียนในชนบทนั้น คุณครูได้พาพวกเขาออกเดินทัศนศึกษาผ่านดงมะพร้าว เลาะเลียบทะเล ที่บรรยากาศแบบนี้ไม่สามารถหาชมได้ในเมืองใหญ่
เห็นแล้วชวนให้ผมอดคิดย้อนรำลึกวัยเยากับบรรยากาศต่างจังหวัดชนบท ซึ่งผมก็เป็นเด็กบ้านนอกคนหนึ่งที่เข้ามาใช้ชีวิตในเมืองหลวงอยู่ยาวนาน จนวิถีที่แก่งแย่งวุ่นวายของป่าคอนกรีตมันทำให้ผม ต้องหลบไปท่องเที่ยวพักกาย พักใจ ในต่างจังหวัดอยู่บ่อยครั้ง
สำหรับการมาปั่นจักรยานเที่ยวเมืองนครศรีดี๊ดีครั้งนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งการหนีกรุง มาปรุงฝัน ผ่านการปั่นจักรยาน 2 ล้อ ที่แม้จะเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวที่ต้องใช้กำลังกายและพลังงานแบบเหนื่อยพอดู แต่ว่ามันก็สนุกเพลิดเพลิน และช่วยอารมณ์ถวิลหาชนบท อยากมีบ้านนอกเป็นของตัวเองได้ไม่น้อย
จากเส้นทางชนบท เราปั่นกันเพลินๆเรื่อยมาจนเข้าสู่เขตตัวเมืองนครศรีฯ ในช่วงราวๆเที่ยงวัน ซึ่งก็ได้เวลาอาหารกลางวันวันนี้ที่ร้าน“ตังเกี๋ย แต่เตี้ยม” หนึ่งในร้านติ่มซำเก่าแก่ชื่อดังของเมืองนครศรีฯ
ติ่มซำที่นี่เขาจะเน้นในเรื่องความสดใหม่ เมื่อลูกค้าพอใจเข่งไหน เลือกสั่งแล้ว เขาก็จะนึ่งสดๆ เสิร์ฟมาให้หม่ำกันอย่างจุใจใหม่ๆร้อนๆ ไม่ว่าจะเป็น ขนมจีบ ซาลาเปา(มีซาลาเปาไส้ลาวา(ไส้เยิ้มๆ)รสเด็ดด้วย) ฮะเก๋า ซี่โครงหมูเต้าซี เผือกทอด ห้อยจ้อ แฮ่กึ๊น เต้าหู้ปลา และอีกสารพัด ขณะที่เมนูอาหารจานเดียวนั้นก็มี โจ๊ก บะกุ๊ดเต๋ บะหมี่ ข้าวยำ ให้เลือกอิ่มอร่อยกัน
ปกติผมมักจะกินอาหารประเภทในช่วงมื้อเช้า แต่วันนี้เปลี่ยนบรรยากาศมากินติ่มซำมื้อเที่ยง ที่ก็ให้บรรยากาศแปลกแตกต่างไปอีกแบบ
หลังจัดเต็ม(อีกมื้อ)กับติ่มซำที่จัดเสิร์ฟมาเต็มโต๊ะ พวกเราปั่นเบาๆเลาะชมเมืองนครผ่านกำแพงเมืองเก่า สวนศรีธรรมโศก ผ่านถนนราชดำเนิน ก่อนจะไปจอดที่หน้า “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร”(ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง) เพื่อแวะเข้าไปกราบสักการะองค์ “พระบรมธาตุเมืองนคร”สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองนครที่ชื่อเสียงความศักดิ์สิทธิ์เลื่องระบือไกลไปถึงในต่างประเทศ
พระบรมธาตุเมืองนคร หรือ “พระมหาธาตุเมืองนคร” หรือ “พระบรมธาตุเจดีย์” ภายในบรรจุพระทันตธาตุ(ส่วนฟันของพระพุทธเจ้า)ได้รับการเรียกขานว่าเป็น “พระธาตุทองคำ” เนื่องจากปลียอดหุ้มด้วยทองคำเหลืองอร่าม
ขณะที่ยามแสงแดดตกต้ององค์พระธาตุ เหลื่อมเงากลับทาบทอดไม่ถึงพื้น จนดูเหมือนพระธาตุไม่มีเงา จึงทำให้ได้รับการเรียกขานว่าเป็น“พระธาตุไร้เงา”อีกฉายาหนึ่ง
วันนี้องค์พระธาตุกำลังอยู่ในการบูรณะซ่อมแซม และก็กำลังอยู่ในกระบวนการ(ขอ)ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ซึ่งผมก็ได้แต่ลุ้นให้วัดพระมหาธาตุและองค์พระบรมธาตุเมืองนครได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกโดยไว
หลังอิ่มบุญสุขใจจากการไหว้พระบรมธาตุเมืองนคร คณะเราปั่นต่อไปอีกหน่อยตาม ถ.ราชดำเนิน เพื่อแวะพักเที่ยวและถ่ายรูปกันที่ “บ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์” อาคาร(เรือนปั้นหยา)เก่าแก่ที่งดงามไปด้วยงานสถาปัตยกรรมทักษิณผสมตะวันตก
ต่อจากนั้นคณะเราปั่นออกนอกเมือง(อ.เมืองนครศรีฯ)ยาวไปสู่ อ.ลานสกา มุ่งหน้าสู่หมู่บ้านคีรีวง ซึ่งมีเส้นทางช่วงหนึ่งเราปั่นผ่านถนนกรวดเลียบคลองชลประทานที่มีวิวทิวทัศน์สวยงามน่ายล โดยเฉพาะวิวของ “เทือกเขาหลวง”ที่ทอดตัวตระหง่านเงื้อมอยู่เบื้องหน้า ซึ่งถือเป็นข่าวดี(ของผม)ว่า อีกไม่นานเราก็จะถึงยังหมู่บ้านคีรีวงแล้ว
สำหรับเส้นทางช่วงสุดท้ายของวันเราออกแรงเพิ่มกันอีกนิด ปั่นขึ้นเนิน ลงเนิน(หลายๆเนิน) ก่อนจะมุ่งหน้าเข้าสู่หมู่บ้านคีรีวง หมู่บ้านวิวงามท่ามกลางขุนเขาแวดล้อม ที่ปัจจุบันเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเลื่องชื่อของเมืองไทย
หมู่บ้านคีรีวง(ต.กำโลน อ.ลานสกา) เป็นชุมชนเก่าแก่เชิงเขาหลวง (ในอดีต)ที่นี่เป็นชุมชนเกษตรที่ชาวบ้านดำรงวิถีเรียบง่ายสงบงาม (เดิม)ชาวบ้านที่นี่มีอาชีพหลักคือการทำสวนผลไม้แบบสวนผสม(สวนสมรม) ปลูกพืชผลหลากหลายในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเงาะ ทุเรียน สะตอ และมังคุด(คีรีวงมี“มังคุดเขา”รสอร่อยลูกโตเท่าฝ่ามือ(3-4 ลูก/1 กก.) เป็นผลไม้ขึ้นชื่อของชุมชน)
กระทั่งเมื่อราวๆ 20 กว่าปีมานี้ หมู่บ้านคีรีวงได้ค่อยๆเดินหน้าพัฒนาสู่ชุมชนท่องเที่ยว ซึ่ง(เคย)มีความโดดเด่นในเรื่องวิถีชุมชนที่เข้มแข็ง อีกทั้งยังมีการบริหารจัดการที่ดี จนสามารถคว้ารางวัล“รางวัลกินรี” ประจำปี 2541 จาก ททท. มาครองได้
นอกจากนี้ หมู่บ้านคีรีวงยังได้ชื่อว่า(เคย)เป็นสถานที่ที่มีอากาศดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยจากการสำรวจในปี 2552 พบว่า คุณภาพอากาศบริสุทธิ์ของบ้านคีรีวงนั้นสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานถึง 100 เท่า ทำให้คีรีวงมีเครดิตในเรื่องของหมู่บ้าน(เคย)อากาศดีที่สุดในเมืองไทยติดตัวมาจนทุกวันนี้
ปัจจุบันหมู่บ้านคีรีวงได้ปรับเปลี่ยนจากชุมชนสงบงามเชิงเขาหลวงเข้าสู่ชุมชนท่องเที่ยว(ที่กำลังโตวันโตคืน) ซึ่งชาวบ้านที่นี่ส่วนหนึ่งได้ปรับเปลี่ยนวิถีมาสู่ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวมากขึ้น
ขณะที่ลักษณะทางกายภาพของหมู่บ้านก็ได้มีการปรับเปลี่ยน มีการสร้างที่พัก โฮมสเตย์ เกสต์เฮ้าส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ รวมถึงมีการสร้างสิ่งอะไรต่อมีอะไรต่างๆเพิ่มเติมขึ้นอีกหลากหลาย บางสิ่งที่สร้างก็ดูดีช่วยส่งเสริมพื้นที่ แต่บางสิ่งที่สร้างก็ดูประดักประเดิดก่อเกิดเป็นทัศนอุจาด(ทำลายทัศนียภาพ) ซึ่งชาวชุมชนและผู้เกี่ยวข้องคงจะต้องพิจารณาปรับปรุงพัฒนากันต่อไป
หมู่บ้านคีรีวง มี“คลองท่าดี” เป็นลำน้ำหลักไหลผ่านกลางหมู่บ้าน มี “สะพานบ้านคีรีวง คลองท่าดี” สะพานสายเล็กๆสั้นๆ ที่สร้างทอดผ่านลำน้ำคลองท่าดีนั้น ถือเป็นหนึ่งในจุดที่มีวิวทิวทัศน์สวยงาม เมื่อมองทอดสายตาไปตามลำน้ำที่สวยใสไหลเย็น จะเห็นเทือกขุนเขาหลวงทอดตัวเด่นเป็นสง่า พร้อมทั้งความเขียวขจีของผืนป่าต้นน้ำ
วันนี้แม้หมู่บ้านคีรีวงจะเปลี่ยนแปลงไป(ไม่มากก็น้อย)ตามสึนามิของการท่องเที่ยวที่ถาโถม แต่ภาพความงามของธรรมชาติเหล่านี้ยังคงอยู่ ให้นักท่องเที่ยวผู้มาเยือนได้ทัศนาในความงามกัน
โดยเฉพาะภาพความงามของคลองท่าดี และเทือกเขาหลวงในยามเช้าหรือในยามฟ้าหลังฝนที่มักจะมีสายหมอกขาวโพลน(จากความสมบูรณ์ของป่าเขา)ลอยอ้อยอิ่งปกคลุมเหนือยอดเขา
ส่งผลบริเวณสะพานบ้านคีรีวงฯ กลายเป็นจุดถ่ายรูปมุมมหาชนยอดฮิตแห่งหมู่บ้านคีรีวง ที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เมื่อมาเยือนคีรีวงมักจะไม่พลาดการโพสต์ท่าถ่ายรูป เช็คอินกันบนสะพานแห่งนี้
วันนั้นผมกับชาวคณะปั่นมาถึงคีรีวงในช่วงเย็นๆ ซึ่งหลังจากไปแวะถ่ายรูปบนสะพานบ้านคีรีวงฯแล้ว ก็จูงจักรยานไปเดินเที่ยวถนนคนเดินริมคลองคีรีวงกันต่อ หาขนม ผลไม้ ของกินพื้นถิ่นกินเป็นออร์เดิร์ฟ ในบรรยากาศแบบบ้านๆ เรียบง่ายแต่น่าเดิน(เปิดทุกวันศุกร์ เสาร์ บริเวณตลาดริมคลองหมู่บ้านคีรีวง ช่วงประมาณ 3 โมงเย็นถึง 3 ทุ่ม) ก่อนจะไปอิ่มอร่อยกันที่ร้าน“ภูงาม น้ำสวย”ที่มีความโดดเด่นในเรื่องอาหารพื้นบ้านรสจัดจ้าน(ประเภทเผ็ดแต่อร่อย) ส่งท้ายค่ำคืนของวันที่ 2 ท่ามกลางธรรมชาติของป่าเขาแห่งคีรีวง
วันที่ 3 คีรีวง-นครศรี
มาถึงวันสุดท้ายของกิจกรรมปั่นเที่ยวเมืองนครศรีดี๊ดี หลังเติมพลังเบาๆด้วยโจ๊ก ข้าวต้ม ชากาแฟ ปาท่องโก๋(เก็บท้องไว้จัดหนักกับขนมจีนในมื้อสาย) พวกเราก็ออกปั่นเที่ยวหมู่บ้านคีรีวงยามเช้า สูดอากาศอันสดชื่น เลาะเลียบลำคลองท่าดี ขึ้นไปจนถึงบริเวณสะพานแขวนที่เป็นอีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวถ่ายรูปยอดนิยมของที่นี่
ต่อจากนั้นคณะเราก็อำลาหมู่บ้านคีรีวงปั่นกลับสู่ตัวเมืองนครศรีฯ โดยเราใช้เส้นทางปั่นกลับคนละทางกับเส้นทางปั่นขามาของเมื่อวาน มีระยะทางประมาณ 50 กม.
จากหมู่บ้านคีรีวงปั่นมาได้ไม่นาน เมื่อผ่านอุโมงค์ต้นยางอันสวยงามแล้ว ผู้นำปั่นของเราก็พามาแวะที่ “ร้านขนมจีนป้าเขียว” (ตั้งอยู่ทางเข้าวัดดินดอน ต.ท่าดี อ.ลานสกา) หรือ “ร้านบ้านป้าเขียว” หรือ “หนมจีนต้นกล้วย”เพราะมีโต๊ะนั่งบางมุมตั้งอยู่ในดงกล้วยให้อิ่มอร่อยร่มเงาใบตองกัน
ร้านขนมจีนป้าเขียว เป็นร้านขนมจีนในบรรยากาศบ้านๆ มีความโดดเด่นเรื่องขนมจีนเส้นสด น้ำยาบุฟเฟต์ คือน้ำยากะทิ น้ำยาป่า น้ำพริก แกงไตปลา สามารถตักเติมได้ไม่อั้น รวมไปถึงผักแกล้มสารพัดสารพันที่มีให้ตักแบบบุฟเฟต์กันเพียบไปหมด
นอกจากนี้ที่นี่ยังมีขนมหวาน ไก่ทอด และของกินหลากหลายให้เลือกกิน ซึ่งด้วยรสชาติอร่อยเด็ดของขนมจีนนั้น ทำให้ในแต่ละวัน ทั้งคนนครศรีฯ คนนอกพื้นที่ และนักท่องเที่ยวจะเดินทางมากินขนมจีนที่ร้านป้าเขียวกันเพียบ
สำหรับมื้อนี้(มื้อสาย)ผมจัดหนักอีกครั้ง ก่อนจะปั่นยาวมุ่งหน้ากลับคืนสู่ตัวเมืองนครศรีฯ ไปปิดทริปด้วยการกินอีกครั้งที่ “ร้านโกเตง”(ต.บางจาก อ.เมืองนครศรีฯ) อีกหนึ่งร้านอาหารชื่อดังของเมืองนครศรีฯ ที่มีบุคคลมีชื่อเสียงหลากหลายแวะเวียนมากินอาหารที่ร้านนี้กันอยู่บ่อยๆ
โกเตง เป็นร้านอาหารที่ขึ้นชื่อในเรื่องของซีฟู้ดสดใหม่ คัดสรรวัตถุดิบคุณภาพ สำหรับเมนูเด่นๆของที่นี่ก็อย่างเช่น กุ้งกระเทียม, ปลาเต๋าเต้ยนึ่งบ๊วย, ปูผัดผงกะหรี่, ราดหน้าทะเล และไข่เจียวปู ที่ผมขอเรียกว่าเนื้อปูเจียวใส่ไข่เจียวมากกว่า เพราะทางร้านจัดใส่ปูลงในเนื้อไข่(เจียว)กันแบบจัดเต็ม กินอร่อยลิ้นเพลินปาก
และนี่ก็เป็นการจัดหนักปิดทริป เที่ยวนครศรีดี๊ดี ปั่นสนุก กินอร่อย หรอยอย่างแรง ที่นอกจากจะเป็นหนึ่งในการสัมผัสเมืองนครศรีฯในมุมมองที่แตกต่างแล้ว นี่ยังเป็นทริปปั่นกินตัว(แทบ)แตก ที่ตลอดการปั่น 3 วัน 2 คืน นี่เป็นการออกกำลังกายที่แปลกพิสดารมาก
เพราะนอกจากน้ำหนักตัวผมจะไม่ลดแล้ว ยังเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก
....................................................................................................
Octo Cycling เป็นบริษัทที่มุ่งเชิญชวนผู้ชื่นชอบการปั่นจักรยานออกไปผจญโลกกว้างด้วยการปั่นจักรยานท่องเที่ยวสัมผัสกับสถานที่ต่างๆ ทั้งใน กทม. ในเมืองไทย อาเซียน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เอเชีย และยุโรป เป็นต้น ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2181-2088 หรือที่ www. Octocycling.com หรือ www.facebook.com/octocycling