โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
“พรุเราต้องเก็บไว้ เพราะมีความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ต้องห้ามไม่ให้บุกรุกเข้าไป คราวนี้เราทำโครงการที่โคกใน เขาจะบุกรุกเข้าไปไม่ได้อีกแล้ว เพราะจำกัดบริเวณเขา ในพรุเราก็ส่งเสริมเอาไม้พรุเพิ่มประสิทธิภาพ อย่างตามข้างทางนี้สวยมากเห็นไม้ต่างๆ ไม้หลาวชะโอนก็มี”
“การกำหนดขอบเขตป่าพรุ ควรกำหนดขอบเขตป่าพรุให้แน่นอน เพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ อันจะทำให้สภาพแวดล้อมเสียหมด”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริไว้เมื่อ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2535
ป่าพรุโต๊ะแดง-ป่าพรุสิรินธร
“ป่าพรุ” เป็นป่าลักษณะพิเศษ เป็นป่าไม้ทึบไม่ผลัดใบประเภทหนึ่ง มีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ที่ไม่ได้ขึ้นบน“ดินพรุ”ที่เกิดจากสะสมตัวของซากอินทรียวัตถุ
ป่าพรุมีลักษณะเด่นที่สำคัญยิ่ง คือ เป็นป่าดงดิบที่มีน้ำท่วมขังอยู่ตลอด
สำหรับหนึ่งในป่าพรุผืนสำคัญยิ่งของเมืองไทยก็คือ “ป่าพรุโต๊ะแดง” ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันมีเนื้อที่กว่า 120,000 ไร่ (มีส่วนที่สมบูรณ์จริงๆประมาณ 50,000 ไร่) ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอเมือง
“มาเณศ บุณยานันต์” หัวหน้าศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร เล่าให้ผมฟังเมื่อครั้งไปเยือนศูนย์ฯแห่งนี้หนล่าสุดว่า ป่าพรุโต๊ะแดงเป็นป่าผืนสำคัญของชาวนราธิวาสมาช้านาน มีทั้งตำนานเรื่องเล่าความเชื่อ เกี่ยวกับที่มาของผืนป่าแห่งนี้ ปัจจุบันแม้ชื่อจริงๆของป่าพรุแห่งนี้จะเรียกขานกันว่า “ป่าพรุโต๊ะแดง” แต่เนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯมายังป่าพรุแห่งนี้หลายครั้ง หลายๆคนจึงยกให้เป็นดังป่าพรุของสมเด็จพระเทพฯ แล้วพากันนิยมเรียกขานป่าพรุแห่งนี้ว่า “ป่าพรุสิรินธร”
ป่าพรุโต๊ะแดง หรือ ป่าพรุสิรินธร มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ปัจจุบันเป็นป่าพรุขนาดใหญ่ผืนสุดท้ายที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีคุณประโยชน์อันหลากหลายทั้งทางตรงทางอ้อมต่อสภาพแวดล้อมและมนุษย์เรา
อย่างไรก็ดีในอดีตป่าพรุโต๊ะแดงและบริเวณใกล้เคียงได้ถูกทำลายลงจากน้ำมือมนุษย์ ทั้งจากการบุกรุกแผ้วถางป่าพรุ การทำการเกษตรที่ผิดวิธี การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าพรุอย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมถึงการเกิดไฟป่า(ที่มีทั้งเกิดจากธรรมชาติและฝีมือมนุษย์) ส่งผลให้ป่าพรุโต๊ะแดงและป่าพรุอื่นๆในจังหวัดนราธิวาสถูกทำลายกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม ใช้ประโยชน์ได้เพียงส่วนน้อย
กระทั่งในปี พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินแปพระราชฐานไปยัง พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส ความทราบสู่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทถึงความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่บริเวณป่าพรุ พระองค์ท่านจึงมีพระราชดำริเป็นแนวทางในการฟื้นฟูป่าพรุ
หลังจากนั้นป่าพรุโต๊ะแดง และป่าพรุอื่นๆในจังหวัดนราธิวาสก็ได้รับการฟื้นฟูเรื่อยมา โดยในแนวทางการฟื้นฟูป่าพรุนั้น ได้มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่ป่าพรุและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พัฒนาพื้นที่ป่าพรุ เช่น การป้องกันไฟไหม้ป่าพรุ การบริหารจัดการน้ำในป่าพรุ การทำการเกษตรในพื้นที่ป่าพรุอย่างถูกวิธี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร
หลังการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และค้นคว้าวิจัยในเรื่องของป่าพรุตามแนวพระราชดำริมีความก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ คณะดำเนินงานสนองพระราชดำริมีความเห็นว่าเพื่อให้งานด้านการพัฒนาป่าพรุเป็นไปอย่างสอดคล้องผสมผสานกันทั้งในด้านการอนุรักษ์ พัฒนา และการค้นคว้าวิจัย จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร” ขึ้นที่ ต.ปูโยะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส
ศูนย์ฯศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร จัดตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อศึกษา ค้นคว้า วิจัย และ อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าพรุ รวมถึงมุ่งเสริมสร้างจิตสำนึก และประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนได้ทราบและตระหนักถึงความสำคัญของป่าพรุ ซึ่งวันนี้ทางศูนย์ฯศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร ได้จัดโครงการฝึกอบรมผู้พิทักษ์อนุรักษ์ป่าพรุโต๊ะแดงขึ้นมาถึง รุ่นที่ 29 แล้ว ขณะที่อีกหนึ่งโครงการสำคัญนั่นก็คือ “วัยใสไกด์ธรรมชาติ”ที่วันนี้มีมา 17 รุ่นแล้ว
โครงการวัยใสไกด์ธรรมชาติ ได้อบรมเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการให้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ให้เข้าใจรับรู้ถึงความหลากหลายของธรรมชาติในป่าพรุ อีกทั้งยังเป็นเจ้าบ้านที่ดี สามารถมานำเที่ยว บรรยายให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนยังศูนย์ฯศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร
เนื่องจากปัจจุบันศูนย์ฯศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรถือเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ต้องห้ามพลาดในอันดับต้นๆของจังหวัดนราธิวาส ที่นี่เป็นดังห้องเรียนธรรมชาติอันมากไปด้วยสิ่งน่าสนใจและเรื่องราวให้ชวนค้นหามากมาย
สำหรับเส้นทางศึกษาธรรมชาติเที่ยวชมป่าพรุโต๊ะแดงนั้น มีทั้งทางน้ำและทางบก โดยทางน้ำได้แก่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติคลองโต๊ะแดง และเส้นทางศึกษาธรรมชาติคลองควาย ส่วนทางบกนั้นจะอยู่บริเวณที่ทำการศูนย์ฯศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร ได้แก่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติสมุนไพรป่าพรุโต๊ะแดง ระยะทาง 550 เมตร เส้นทางศึกษาธรรมชาติพิพิธภัณฑ์สาคู ระยะทาง 920 เมตร และเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าพรุโต๊ะแดง มีระยะทาง 1,200 เมตร ซึ่งถือเป็นเส้นทางไฮไลท์และเส้นทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนที่นี่
เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าพรุโต๊ะแดง เป็นเส้นทางตามรอยเสด็จ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาที่นี่เพื่อทรงศึกษาธรรมชาติตลอดเส้นทางสายนี้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2536
อย่างไรก็ดีก่อนหน้านี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังป่าพรุโต๊ะแดงเพื่อศึกษาธรรมชาติในบริเวณนี้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2533 โดยทรงศึกษาในเรื่องของดินพรุ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่ได้มีการสร้างเป็นสะพานทางเดินดังในปัจจุบัน เส้นทางที่พระองค์ท่านเสด็จในสมัยนั้นยากลำบากกว่าปัจจุบันมากนัก
มหัศจรรย์ป่าพรุโต๊ะแดง
หลังจากเดินทะลุอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาไปทางด้านหลัง ก่อนจะถึงยังจุดเริ่มต้นของเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าพรุโต๊ะแดง จะพบกับสระน้ำในป่าพรุขนาดย่อมที่มีการจัดภูมิทัศน์เส้นทางเดินชมอย่างสวยงาม
บริเวณนี้จะพบพืชพันธุ์เด่นๆ อย่าง พืชตระกูลหมากแดง ผักแพงพวย บัวสาย สาคู ตาลปัตรฤาษี เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีป้ายข้อความ “พรุโต๊ะแดง ป่าเดียว น้ำเดียว ในแดนดิน” ซึ่งแสดงถึงตัวตนอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผืนป่าพรุแห่งนี้
ต่อจากนั้นทางเดินจะนำเข้าสู่เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าพรุโต๊ะแดง ที่ปัจจุบันมีการปรับปรุงเส้นทางให้น่าสนใจมากขึ้น ระหว่างทางจะมีฐานให้ความรู้ พร้อมป้ายสื่อความหมายให้ข้อมูลเกี่ยวกับพืชพันธุ์ไม้และจุดเด่นน่าสนใจต่างเกี่ยวกับป่าพรุไปตลอดเส้นทาง
สำหรับองค์ความรู้เด่นๆของป่าพรุที่ผมได้รับรู้ผ่านคำอธิบายของเจ้าหน้าที่ผู้นำชม จากป้ายข้อมูลสื่อความหมาย และจากของจริง คือ ผืนดิน ผืนน้ำ และแมกไม้น้อยใหญ่ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติอันร่มรื่นสวยงามน่าทึ่งนั้น โดยสรุปก็มี
-ดิน : ดินในป่าพรุ เป็นดินพรุ หรือ “ดินอินทรีย์”(Peat) ที่เกิดจากสะสมตัวของซากอินทรีย์วัตถุ เช่น เศษไม้ ใบไม้ ซากพืชที่ตายแต่ยังไม่สลายตัว ทับถมกันอยู่อย่างหลวมๆเป็นเวลายาวนานจนเกิดเป็นชั้นหนาปกป้องพื้นดินเดิม
-น้ำ : น้ำในป่าพรุ เป็นน้ำแช่ขังตลอดทั้งปี การไหลเวียนของน้ำเป็นไปอย่างเชื่องช้า เป็นน้ำที่มีอินทรียวัตถุย่อยสลายจึงมีความเป็นกรดอ่อน มีสีน้ำตาลคล้ายน้ำชาอันเป็นสีของน้ำฝาด มีรสเฝื่อนเล็กน้อย แต่ว่าสามารถนำมาบริโภคได้ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ อีกทั้งน้ำในป่าพรุยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำอันหลากหลายได้เป็นอย่างดี
-สัตว์ : สัตว์ในป่าพรุ มีมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หมี หมูป่า เสือดำ แมวป่า ค่าง กระรอก รวมถึงเจ้าลิงจอมซนที่พวกมันพากันกระโดดไป-มา บนเรือนยอดไม้ อวดโฉมให้ผมกับเพื่อนๆได้ชมตัวเป็นๆกัน, สัตว์เลื้อยคลาน(หายาก) เช่น กิ้งก่าบิน งูงวงช้าง งูบองหลาน้ำ รวมถึงมีรายงานว่ามีการพบ“ตะโขง”สัตว์หายาก(มาก)ใกล้สูญพันธ์ของเมืองไทยที่ป่าพรุโต๊ะแดงแห่งนี้
รวมถึงสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น ปาดตาแดง เขียดว๊าก มีนกอีกเกือบ 200 ชนิด มีสัตว์อื่นๆอีก เช่น แมลง ผีเสื้อ แมงมุม ฯลฯ มีสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์ เช่น แมวป่าหัวแบน อีเห็นน้ำ เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา และสัตว์ในป่าพรุที่พบเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เช่น ค้างคาวดายัค หนูสิงคโปร์ กระรอกบินแก้มแดง นกกางเขนหางแดง
ส่วนสัตว์น้ำนั้น แม้น้ำป่าพรุจะมีสีชา รสเฝื่อน แต่ในน้ำก็มีสัตว์น้ำอาศัยอยู่อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะปลานั้นมีอยู่มากมาย เช่น ปลาช่อน ปลากะสง ปลาไหล ปลาดุกลำพัน และที่พิเศษคือ “ปลากะแมะ” ปลาชนิดใหม่ที่ค้นพบที่ป่าพรุแห่งนี้
-พืชพันธุ์ : พืชพันธุ์ในป่าพรุโต๊ะแดงมีไม่น้อยกว่า 500 ชนิด ประกอบด้วยไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย พืชล้มลุก ตลอดจนพืชชั้นต่ำอื่นๆ ซึ่งก็มีพืชเด่นๆที่น่าสนใจ ได้แก่ พืชที่นำมาทำเป็นอาหารได้ เช่น สาคู ผักกูด, พืชสมุนไพร เช่น กูเราะเปรียะ(ใช้เป็นยาแก้ปวด) ครี้(ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ), พืชที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ตังหน สะเดียว หมากแดง
นอกจากนี้ก็ยังมีพืชพันธุ์น่าสนใจอื่นๆ ที่ระหว่างทางจะมีป้ายสื่อความหมายให้ข้อมูลบอกไว้ตลอดเส้นทาง อาทิ “กะพ้อแดง” พืชตระกูลปาล์ม ยอดอ่อนเอามาต้มจิ้มน้ำพริก ก้านใบเอาหนามออกแล้วนำมาทำเป็นตอกทนทานดีนักแล, “หลุมพี”ที่มีหนามเล็กแหลมเต็มต้น ผลมีรสเปรี้ยวแบบมะนาว เป็นอีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจของป่าพรุโต๊ะแดงเพราะชาวบ้านจะเข้ามาเก็บผลไปขายกัน
“หว้าหิน” ไม้ยืนต้น สูง 20-30 เมตร มีใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ผลรับประทานได้ โดยเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2537 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาทรงปลูกต้นหว้าหินในบริเวณทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าพรุโต๊ะแดงแห่งนี้อีกด้วย
ขณะที่พืชพันธุ์ที่น่าสนใจก็มี ข้าหลวงหลังลาย นิ้วมือพระฤาษี,คันหามเสือ,สันตะวาใบพาย,รัศมีเงิน และ “มะฮัง” ไม้เบิกนำแห่งป่าพรุที่ขึ้นและเติบโตได้ดีในที่โล่งโดยเฉพาะในพื้นที่ดินพรุ ซึ่งได้มีการสร้างฐาน “ศาลาเรียนรู้ ยุทธการมะฮัง” ไว้ให้ข้อมูลคุณประโยชน์ของทั้งด้านดิน(วนา) น้ำ(วารี)ป่าพรุโต๊ะแดง และแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการอนุรักษ์และพัฒนาป่าพรุแห่งนี้
ส่วนอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับพืชพันธ์ในป่าพรุโต๊ะแดง ที่จะมีให้เราได้สังเกตในความฉงน แปลกตา ไปเป็นระยะๆ นั่นก็คือ เรื่องของ “ระบบรากของพืชในป่าพรุ” ซึ่งพืชพันธุ์ในป่าพรุนั้นขึ้นบนดินพรุที่มีลักษณะพิเศษ พืชพันธุ์ส่วนใหญ่จึงต้องมีลักษณะพิเศษตาม โดยเฉพาะในเรื่องของรากที่ต้องยื่นขึ้นสูงมาจากผืนดิน แผ่นน้ำ เพื่อมาหายใจ โดยระบบรากหลักๆของที่นี่นั้นได้แก่
-พูพอน(Buttress) เป็นรากของต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมาก ต้นยื่นสูงแผ่เป็นฐานกว้างเพื่อรับน้ำหนักมหาศาลของลำต้นและเรือนยอด
-รากค้ำยัน(Stilt root) เป็นรากที่ยื่นงอกออกมาทางด้านข้างของ ลำต้นในบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลขึ้นลงตลอดเวลา
-รากหายใจ(Pneumatophore) ที่เป็นรากงอกจากรากแขนงโผล่พ้นขึ้นมาเหนือน้ำเพื่อระบายอากาศ แบ่งเป็น รากเดี่ยวตั้งตรงคล้ายหัวหมุด รากที่โผล่พ้นผิวน้ำในลักษณะง่ามหรือหนังสะติ๊กคว่ำ รากที่โค้งคล้ายบ่วง และรากที่หักพับคล้ายหัวเข่า
และนั่นก็คือสิ่งน่าสนใจและองค์ความรู้คร่าวๆในเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าพรุโต๊ะแดง ที่เป็นเส้นทางเดินวงรอบระยะทาง 1,200 เมตร ซึ่งหากเดินชมปกติดูข้อมูล(บ้าง)คร่าวๆก็จะใช้เวลาประมาณ 45 นาที
ส่วนหากเป็นคนชอบถ่ายรูปก็จะใช้เวลาเป็นชั่วโมงขึ้นไป ขณะที่ช่างภาพบางคนบอกกับผมว่าเขาสามารถใช้เวลาจ่อมอยู่บนเส้นทางสายนี้ได้เป็นวัน เพราะตลอดทางมีสิ่งชวนชมให้ละเลียดถ่ายรูปกันอย่างมากมาย
ด้วยการจัดทำเส้นทางที่ดี เป็นระบบระเบียบ พร้อมทั้งมีองค์ความรู้สอดแทรกไปตลอดเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ รวมถึงการบริหารจัดการพื้นที่ที่ดีของศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร ทำให้ที่นี่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยหรือ "รางวัลกินรี" จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)มาครองหลายครั้งด้วยกัน
พรุโต๊ะแดง ป่าพรุใต้ร่มพระบารมี
นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานแนวพระราชดำริเพื่อฟื้นฟุป่าพรุโต๊ะแดง จากในอดีตที่เคยเป็นป่าเสื่อมโทรมให้พลิกฟื้นกลายเป็นมาป่าที่มีศักยภาพสูงดังในปัจจุบันแล้ว
อีกหนึ่งความทรงจำที่ชาวบ้านในพื้นที่รอบๆป่าพรุโต๊ะแดง และเจ้าหน้าที่บางคนในศูนย์ฯศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรที่ทันในเหตุการณ์ ซึ่งวันนี้ยังคงไม่ลืมเลือนก็คือ เหตุการณ์การเกิดไฟป่าครั้งใหญ่เป็นวัติการณ์ของป่าพรุโต๊ะแดงในปี พ.ศ. 2541
ไฟป่าครั้งนั้นสร้างความเสียหายกับป่าพรุตีแดงเป็นจำนวนมาก(นับหมื่นไร่) และยังคงเผามอดไหม้ ไม่มีทีท่าว่าจะดับลงได้ เพราะไฟป่าที่เกิดขึ้นในป่าพรุเมื่อลุกไหม้แล้วจะดับยาก(มาก)กว่าป่าชนิดอื่น เนื่องจากเชื้อเพลิงไม่ได้มีแค่ต้นไม้ในป่าบนดินเท่านั้น หากแต่ลึกลงไปในชั้นดินพรุ บรรดาพวกซากเศษไม้ใบไม้ที่ทับถมกันนั้นจัดเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี ไฟป่าที่ไหม้จึงไหม้ลงไปยังชั้นใต้ดินพรุด้วย
เจ้าหน้าที่แม้สามารถดับไฟข้างบนได้ แต่ไฟที่ไหม้ในชั้นใต้ดินพรุและลุกลามไปเรื่อยๆนั้นยากที่จะดับได้ ทำให้การดับไปและการควบคุมไฟเป็นไปด้วยความยากลำบาก(มาก) ต้องรอให้ฝนตกลงมาจึงจะช่วยดับไฟได้
แต่สุดท้าย“ฝนหลวง”(ฝนเทียม)ใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ท่านทรงคอยบัญชาการทำฝนเทียมเพื่อดับไฟไหม้ป่าพรุด้วยพระองค์เอง ก็สามารถส่งสายฝน(หลวง)ให้โปรยสายลงมาดับไฟป่าที่ป่าพรุโต๊ะแดงแห่งนี้ลงได้
นับเป็นอีกหนึ่งความมหัศจรรย์ใต้ร่มพระบารมีของ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก ที่ยังคงอยู่ในดวงใจของคนไทยตลอดไป
******************************************
“ป่าพรุโต๊ะแดง” หรือ “ป่าพรุสิรินธร” มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอเมือง
ส่วน “ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร” ตั้งอยู่ที่ ต.ปูโยะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.00 - 15.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 098-010-5736. หรือที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงาน นราธิวาส โทร.0-7352-2411 , 0-7354-2345
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
“พรุเราต้องเก็บไว้ เพราะมีความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ต้องห้ามไม่ให้บุกรุกเข้าไป คราวนี้เราทำโครงการที่โคกใน เขาจะบุกรุกเข้าไปไม่ได้อีกแล้ว เพราะจำกัดบริเวณเขา ในพรุเราก็ส่งเสริมเอาไม้พรุเพิ่มประสิทธิภาพ อย่างตามข้างทางนี้สวยมากเห็นไม้ต่างๆ ไม้หลาวชะโอนก็มี”
“การกำหนดขอบเขตป่าพรุ ควรกำหนดขอบเขตป่าพรุให้แน่นอน เพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ อันจะทำให้สภาพแวดล้อมเสียหมด”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริไว้เมื่อ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2535
ป่าพรุโต๊ะแดง-ป่าพรุสิรินธร
“ป่าพรุ” เป็นป่าลักษณะพิเศษ เป็นป่าไม้ทึบไม่ผลัดใบประเภทหนึ่ง มีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ที่ไม่ได้ขึ้นบน“ดินพรุ”ที่เกิดจากสะสมตัวของซากอินทรียวัตถุ
ป่าพรุมีลักษณะเด่นที่สำคัญยิ่ง คือ เป็นป่าดงดิบที่มีน้ำท่วมขังอยู่ตลอด
สำหรับหนึ่งในป่าพรุผืนสำคัญยิ่งของเมืองไทยก็คือ “ป่าพรุโต๊ะแดง” ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันมีเนื้อที่กว่า 120,000 ไร่ (มีส่วนที่สมบูรณ์จริงๆประมาณ 50,000 ไร่) ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอเมือง
“มาเณศ บุณยานันต์” หัวหน้าศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร เล่าให้ผมฟังเมื่อครั้งไปเยือนศูนย์ฯแห่งนี้หนล่าสุดว่า ป่าพรุโต๊ะแดงเป็นป่าผืนสำคัญของชาวนราธิวาสมาช้านาน มีทั้งตำนานเรื่องเล่าความเชื่อ เกี่ยวกับที่มาของผืนป่าแห่งนี้ ปัจจุบันแม้ชื่อจริงๆของป่าพรุแห่งนี้จะเรียกขานกันว่า “ป่าพรุโต๊ะแดง” แต่เนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯมายังป่าพรุแห่งนี้หลายครั้ง หลายๆคนจึงยกให้เป็นดังป่าพรุของสมเด็จพระเทพฯ แล้วพากันนิยมเรียกขานป่าพรุแห่งนี้ว่า “ป่าพรุสิรินธร”
ป่าพรุโต๊ะแดง หรือ ป่าพรุสิรินธร มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ปัจจุบันเป็นป่าพรุขนาดใหญ่ผืนสุดท้ายที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีคุณประโยชน์อันหลากหลายทั้งทางตรงทางอ้อมต่อสภาพแวดล้อมและมนุษย์เรา
อย่างไรก็ดีในอดีตป่าพรุโต๊ะแดงและบริเวณใกล้เคียงได้ถูกทำลายลงจากน้ำมือมนุษย์ ทั้งจากการบุกรุกแผ้วถางป่าพรุ การทำการเกษตรที่ผิดวิธี การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าพรุอย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมถึงการเกิดไฟป่า(ที่มีทั้งเกิดจากธรรมชาติและฝีมือมนุษย์) ส่งผลให้ป่าพรุโต๊ะแดงและป่าพรุอื่นๆในจังหวัดนราธิวาสถูกทำลายกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม ใช้ประโยชน์ได้เพียงส่วนน้อย
กระทั่งในปี พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินแปพระราชฐานไปยัง พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส ความทราบสู่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทถึงความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่บริเวณป่าพรุ พระองค์ท่านจึงมีพระราชดำริเป็นแนวทางในการฟื้นฟูป่าพรุ
หลังจากนั้นป่าพรุโต๊ะแดง และป่าพรุอื่นๆในจังหวัดนราธิวาสก็ได้รับการฟื้นฟูเรื่อยมา โดยในแนวทางการฟื้นฟูป่าพรุนั้น ได้มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่ป่าพรุและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พัฒนาพื้นที่ป่าพรุ เช่น การป้องกันไฟไหม้ป่าพรุ การบริหารจัดการน้ำในป่าพรุ การทำการเกษตรในพื้นที่ป่าพรุอย่างถูกวิธี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร
หลังการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และค้นคว้าวิจัยในเรื่องของป่าพรุตามแนวพระราชดำริมีความก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ คณะดำเนินงานสนองพระราชดำริมีความเห็นว่าเพื่อให้งานด้านการพัฒนาป่าพรุเป็นไปอย่างสอดคล้องผสมผสานกันทั้งในด้านการอนุรักษ์ พัฒนา และการค้นคว้าวิจัย จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร” ขึ้นที่ ต.ปูโยะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส
ศูนย์ฯศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร จัดตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อศึกษา ค้นคว้า วิจัย และ อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าพรุ รวมถึงมุ่งเสริมสร้างจิตสำนึก และประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนได้ทราบและตระหนักถึงความสำคัญของป่าพรุ ซึ่งวันนี้ทางศูนย์ฯศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร ได้จัดโครงการฝึกอบรมผู้พิทักษ์อนุรักษ์ป่าพรุโต๊ะแดงขึ้นมาถึง รุ่นที่ 29 แล้ว ขณะที่อีกหนึ่งโครงการสำคัญนั่นก็คือ “วัยใสไกด์ธรรมชาติ”ที่วันนี้มีมา 17 รุ่นแล้ว
โครงการวัยใสไกด์ธรรมชาติ ได้อบรมเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการให้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ให้เข้าใจรับรู้ถึงความหลากหลายของธรรมชาติในป่าพรุ อีกทั้งยังเป็นเจ้าบ้านที่ดี สามารถมานำเที่ยว บรรยายให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนยังศูนย์ฯศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร
เนื่องจากปัจจุบันศูนย์ฯศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรถือเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ต้องห้ามพลาดในอันดับต้นๆของจังหวัดนราธิวาส ที่นี่เป็นดังห้องเรียนธรรมชาติอันมากไปด้วยสิ่งน่าสนใจและเรื่องราวให้ชวนค้นหามากมาย
สำหรับเส้นทางศึกษาธรรมชาติเที่ยวชมป่าพรุโต๊ะแดงนั้น มีทั้งทางน้ำและทางบก โดยทางน้ำได้แก่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติคลองโต๊ะแดง และเส้นทางศึกษาธรรมชาติคลองควาย ส่วนทางบกนั้นจะอยู่บริเวณที่ทำการศูนย์ฯศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร ได้แก่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติสมุนไพรป่าพรุโต๊ะแดง ระยะทาง 550 เมตร เส้นทางศึกษาธรรมชาติพิพิธภัณฑ์สาคู ระยะทาง 920 เมตร และเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าพรุโต๊ะแดง มีระยะทาง 1,200 เมตร ซึ่งถือเป็นเส้นทางไฮไลท์และเส้นทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนที่นี่
เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าพรุโต๊ะแดง เป็นเส้นทางตามรอยเสด็จ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาที่นี่เพื่อทรงศึกษาธรรมชาติตลอดเส้นทางสายนี้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2536
อย่างไรก็ดีก่อนหน้านี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังป่าพรุโต๊ะแดงเพื่อศึกษาธรรมชาติในบริเวณนี้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2533 โดยทรงศึกษาในเรื่องของดินพรุ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่ได้มีการสร้างเป็นสะพานทางเดินดังในปัจจุบัน เส้นทางที่พระองค์ท่านเสด็จในสมัยนั้นยากลำบากกว่าปัจจุบันมากนัก
มหัศจรรย์ป่าพรุโต๊ะแดง
หลังจากเดินทะลุอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาไปทางด้านหลัง ก่อนจะถึงยังจุดเริ่มต้นของเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าพรุโต๊ะแดง จะพบกับสระน้ำในป่าพรุขนาดย่อมที่มีการจัดภูมิทัศน์เส้นทางเดินชมอย่างสวยงาม
บริเวณนี้จะพบพืชพันธุ์เด่นๆ อย่าง พืชตระกูลหมากแดง ผักแพงพวย บัวสาย สาคู ตาลปัตรฤาษี เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีป้ายข้อความ “พรุโต๊ะแดง ป่าเดียว น้ำเดียว ในแดนดิน” ซึ่งแสดงถึงตัวตนอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผืนป่าพรุแห่งนี้
ต่อจากนั้นทางเดินจะนำเข้าสู่เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าพรุโต๊ะแดง ที่ปัจจุบันมีการปรับปรุงเส้นทางให้น่าสนใจมากขึ้น ระหว่างทางจะมีฐานให้ความรู้ พร้อมป้ายสื่อความหมายให้ข้อมูลเกี่ยวกับพืชพันธุ์ไม้และจุดเด่นน่าสนใจต่างเกี่ยวกับป่าพรุไปตลอดเส้นทาง
สำหรับองค์ความรู้เด่นๆของป่าพรุที่ผมได้รับรู้ผ่านคำอธิบายของเจ้าหน้าที่ผู้นำชม จากป้ายข้อมูลสื่อความหมาย และจากของจริง คือ ผืนดิน ผืนน้ำ และแมกไม้น้อยใหญ่ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติอันร่มรื่นสวยงามน่าทึ่งนั้น โดยสรุปก็มี
-ดิน : ดินในป่าพรุ เป็นดินพรุ หรือ “ดินอินทรีย์”(Peat) ที่เกิดจากสะสมตัวของซากอินทรีย์วัตถุ เช่น เศษไม้ ใบไม้ ซากพืชที่ตายแต่ยังไม่สลายตัว ทับถมกันอยู่อย่างหลวมๆเป็นเวลายาวนานจนเกิดเป็นชั้นหนาปกป้องพื้นดินเดิม
-น้ำ : น้ำในป่าพรุ เป็นน้ำแช่ขังตลอดทั้งปี การไหลเวียนของน้ำเป็นไปอย่างเชื่องช้า เป็นน้ำที่มีอินทรียวัตถุย่อยสลายจึงมีความเป็นกรดอ่อน มีสีน้ำตาลคล้ายน้ำชาอันเป็นสีของน้ำฝาด มีรสเฝื่อนเล็กน้อย แต่ว่าสามารถนำมาบริโภคได้ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ อีกทั้งน้ำในป่าพรุยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำอันหลากหลายได้เป็นอย่างดี
-สัตว์ : สัตว์ในป่าพรุ มีมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หมี หมูป่า เสือดำ แมวป่า ค่าง กระรอก รวมถึงเจ้าลิงจอมซนที่พวกมันพากันกระโดดไป-มา บนเรือนยอดไม้ อวดโฉมให้ผมกับเพื่อนๆได้ชมตัวเป็นๆกัน, สัตว์เลื้อยคลาน(หายาก) เช่น กิ้งก่าบิน งูงวงช้าง งูบองหลาน้ำ รวมถึงมีรายงานว่ามีการพบ“ตะโขง”สัตว์หายาก(มาก)ใกล้สูญพันธ์ของเมืองไทยที่ป่าพรุโต๊ะแดงแห่งนี้
รวมถึงสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น ปาดตาแดง เขียดว๊าก มีนกอีกเกือบ 200 ชนิด มีสัตว์อื่นๆอีก เช่น แมลง ผีเสื้อ แมงมุม ฯลฯ มีสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์ เช่น แมวป่าหัวแบน อีเห็นน้ำ เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา และสัตว์ในป่าพรุที่พบเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เช่น ค้างคาวดายัค หนูสิงคโปร์ กระรอกบินแก้มแดง นกกางเขนหางแดง
ส่วนสัตว์น้ำนั้น แม้น้ำป่าพรุจะมีสีชา รสเฝื่อน แต่ในน้ำก็มีสัตว์น้ำอาศัยอยู่อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะปลานั้นมีอยู่มากมาย เช่น ปลาช่อน ปลากะสง ปลาไหล ปลาดุกลำพัน และที่พิเศษคือ “ปลากะแมะ” ปลาชนิดใหม่ที่ค้นพบที่ป่าพรุแห่งนี้
-พืชพันธุ์ : พืชพันธุ์ในป่าพรุโต๊ะแดงมีไม่น้อยกว่า 500 ชนิด ประกอบด้วยไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย พืชล้มลุก ตลอดจนพืชชั้นต่ำอื่นๆ ซึ่งก็มีพืชเด่นๆที่น่าสนใจ ได้แก่ พืชที่นำมาทำเป็นอาหารได้ เช่น สาคู ผักกูด, พืชสมุนไพร เช่น กูเราะเปรียะ(ใช้เป็นยาแก้ปวด) ครี้(ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ), พืชที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ตังหน สะเดียว หมากแดง
นอกจากนี้ก็ยังมีพืชพันธุ์น่าสนใจอื่นๆ ที่ระหว่างทางจะมีป้ายสื่อความหมายให้ข้อมูลบอกไว้ตลอดเส้นทาง อาทิ “กะพ้อแดง” พืชตระกูลปาล์ม ยอดอ่อนเอามาต้มจิ้มน้ำพริก ก้านใบเอาหนามออกแล้วนำมาทำเป็นตอกทนทานดีนักแล, “หลุมพี”ที่มีหนามเล็กแหลมเต็มต้น ผลมีรสเปรี้ยวแบบมะนาว เป็นอีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจของป่าพรุโต๊ะแดงเพราะชาวบ้านจะเข้ามาเก็บผลไปขายกัน
“หว้าหิน” ไม้ยืนต้น สูง 20-30 เมตร มีใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ผลรับประทานได้ โดยเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2537 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาทรงปลูกต้นหว้าหินในบริเวณทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าพรุโต๊ะแดงแห่งนี้อีกด้วย
ขณะที่พืชพันธุ์ที่น่าสนใจก็มี ข้าหลวงหลังลาย นิ้วมือพระฤาษี,คันหามเสือ,สันตะวาใบพาย,รัศมีเงิน และ “มะฮัง” ไม้เบิกนำแห่งป่าพรุที่ขึ้นและเติบโตได้ดีในที่โล่งโดยเฉพาะในพื้นที่ดินพรุ ซึ่งได้มีการสร้างฐาน “ศาลาเรียนรู้ ยุทธการมะฮัง” ไว้ให้ข้อมูลคุณประโยชน์ของทั้งด้านดิน(วนา) น้ำ(วารี)ป่าพรุโต๊ะแดง และแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการอนุรักษ์และพัฒนาป่าพรุแห่งนี้
ส่วนอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับพืชพันธ์ในป่าพรุโต๊ะแดง ที่จะมีให้เราได้สังเกตในความฉงน แปลกตา ไปเป็นระยะๆ นั่นก็คือ เรื่องของ “ระบบรากของพืชในป่าพรุ” ซึ่งพืชพันธุ์ในป่าพรุนั้นขึ้นบนดินพรุที่มีลักษณะพิเศษ พืชพันธุ์ส่วนใหญ่จึงต้องมีลักษณะพิเศษตาม โดยเฉพาะในเรื่องของรากที่ต้องยื่นขึ้นสูงมาจากผืนดิน แผ่นน้ำ เพื่อมาหายใจ โดยระบบรากหลักๆของที่นี่นั้นได้แก่
-พูพอน(Buttress) เป็นรากของต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมาก ต้นยื่นสูงแผ่เป็นฐานกว้างเพื่อรับน้ำหนักมหาศาลของลำต้นและเรือนยอด
-รากค้ำยัน(Stilt root) เป็นรากที่ยื่นงอกออกมาทางด้านข้างของ ลำต้นในบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลขึ้นลงตลอดเวลา
-รากหายใจ(Pneumatophore) ที่เป็นรากงอกจากรากแขนงโผล่พ้นขึ้นมาเหนือน้ำเพื่อระบายอากาศ แบ่งเป็น รากเดี่ยวตั้งตรงคล้ายหัวหมุด รากที่โผล่พ้นผิวน้ำในลักษณะง่ามหรือหนังสะติ๊กคว่ำ รากที่โค้งคล้ายบ่วง และรากที่หักพับคล้ายหัวเข่า
และนั่นก็คือสิ่งน่าสนใจและองค์ความรู้คร่าวๆในเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าพรุโต๊ะแดง ที่เป็นเส้นทางเดินวงรอบระยะทาง 1,200 เมตร ซึ่งหากเดินชมปกติดูข้อมูล(บ้าง)คร่าวๆก็จะใช้เวลาประมาณ 45 นาที
ส่วนหากเป็นคนชอบถ่ายรูปก็จะใช้เวลาเป็นชั่วโมงขึ้นไป ขณะที่ช่างภาพบางคนบอกกับผมว่าเขาสามารถใช้เวลาจ่อมอยู่บนเส้นทางสายนี้ได้เป็นวัน เพราะตลอดทางมีสิ่งชวนชมให้ละเลียดถ่ายรูปกันอย่างมากมาย
ด้วยการจัดทำเส้นทางที่ดี เป็นระบบระเบียบ พร้อมทั้งมีองค์ความรู้สอดแทรกไปตลอดเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ รวมถึงการบริหารจัดการพื้นที่ที่ดีของศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร ทำให้ที่นี่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยหรือ "รางวัลกินรี" จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)มาครองหลายครั้งด้วยกัน
พรุโต๊ะแดง ป่าพรุใต้ร่มพระบารมี
นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานแนวพระราชดำริเพื่อฟื้นฟุป่าพรุโต๊ะแดง จากในอดีตที่เคยเป็นป่าเสื่อมโทรมให้พลิกฟื้นกลายเป็นมาป่าที่มีศักยภาพสูงดังในปัจจุบันแล้ว
อีกหนึ่งความทรงจำที่ชาวบ้านในพื้นที่รอบๆป่าพรุโต๊ะแดง และเจ้าหน้าที่บางคนในศูนย์ฯศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรที่ทันในเหตุการณ์ ซึ่งวันนี้ยังคงไม่ลืมเลือนก็คือ เหตุการณ์การเกิดไฟป่าครั้งใหญ่เป็นวัติการณ์ของป่าพรุโต๊ะแดงในปี พ.ศ. 2541
ไฟป่าครั้งนั้นสร้างความเสียหายกับป่าพรุตีแดงเป็นจำนวนมาก(นับหมื่นไร่) และยังคงเผามอดไหม้ ไม่มีทีท่าว่าจะดับลงได้ เพราะไฟป่าที่เกิดขึ้นในป่าพรุเมื่อลุกไหม้แล้วจะดับยาก(มาก)กว่าป่าชนิดอื่น เนื่องจากเชื้อเพลิงไม่ได้มีแค่ต้นไม้ในป่าบนดินเท่านั้น หากแต่ลึกลงไปในชั้นดินพรุ บรรดาพวกซากเศษไม้ใบไม้ที่ทับถมกันนั้นจัดเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี ไฟป่าที่ไหม้จึงไหม้ลงไปยังชั้นใต้ดินพรุด้วย
เจ้าหน้าที่แม้สามารถดับไฟข้างบนได้ แต่ไฟที่ไหม้ในชั้นใต้ดินพรุและลุกลามไปเรื่อยๆนั้นยากที่จะดับได้ ทำให้การดับไปและการควบคุมไฟเป็นไปด้วยความยากลำบาก(มาก) ต้องรอให้ฝนตกลงมาจึงจะช่วยดับไฟได้
แต่สุดท้าย“ฝนหลวง”(ฝนเทียม)ใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ท่านทรงคอยบัญชาการทำฝนเทียมเพื่อดับไฟไหม้ป่าพรุด้วยพระองค์เอง ก็สามารถส่งสายฝน(หลวง)ให้โปรยสายลงมาดับไฟป่าที่ป่าพรุโต๊ะแดงแห่งนี้ลงได้
นับเป็นอีกหนึ่งความมหัศจรรย์ใต้ร่มพระบารมีของ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก ที่ยังคงอยู่ในดวงใจของคนไทยตลอดไป
******************************************
“ป่าพรุโต๊ะแดง” หรือ “ป่าพรุสิรินธร” มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอเมือง
ส่วน “ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร” ตั้งอยู่ที่ ต.ปูโยะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.00 - 15.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 098-010-5736. หรือที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงาน นราธิวาส โทร.0-7352-2411 , 0-7354-2345
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com