โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
หลังออกพรรษามาได้สัปดาห์กว่าๆ เช้าวันหนึ่งที่ออฟฟิศจู่ๆ ก็มี “ซองขาว” มาวางเด่นอยู่ที่โต๊ะผม
หะแรกเห็นตกใจ!!! เห็นไกลๆนึกว่าเป็นซองขาวอย่างว่า แต่เมื่อไปเห็นใกล้ๆ ค่อยโล่งใจ เพราะนี่คือซองกฐินที่น้องในออฟฟิศมาชวนผมทำบุญและร่วมเป็นคณะกรรมการทอดกฐินที่วัดแห่งหนึ่งในภาคกลาง
ครับงานนี้ผมให้ชื่อ ทำบุญ และจกไปด้วยความยินดี
สำหรับเมืองไทยเราเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่โบราณว่าหลังวันออกพรรษา(แรม 1 ค่ำ เดือน 11) ก็จะเป็นเทศกาลทอดกฐิน ซึ่งปีหนึ่งจะทำได้เพียงครั้งเดียวในช่วงนี้ และเป็นเวลาแค่ 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
โดยกฐินในบ้านเราแบ่งหลักๆ เป็น “กฐินหลวง” ที่พระมหากษัตริย์ทรงทอดกฐินตามวัดพระอารามหลวง และ “กฐินราษฎร์” ที่พุทธศาสนิกชนคนทั่วไปนำไปทอดตามวัดต่างๆ
นอกจากนี้ก็ยังมีกฐินชนิดพิเศษอีกประเภทหนึ่งคือ “จุลกฐิน” หรือ “กฐินแล่น” ที่หลายๆ คนมักเข้าใจผิดคิดว่าจุลกฐินเป็นกฐินเล็ก แต่จริงๆแล้วจุลกฐินเป็นกฐินที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน แต่เต็มไปด้วยความละเอียดลออ และเต็มไปด้วยความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจของชุมชน โดยต้องทำการเก็บฝ้าย ทอฝ้าย ตัดเย็บเป็นผ้าไตรจีวร 1 ชุด ให้แล้วเสร็จ ก่อนจะนำไปถวายวัดในเช้าถัดไป
เค้ามูลของการทำจีวรให้เสร็จในวันเดียว ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้ารับสั่งในคณะสงฆ์ในวัดพระเชตวันร่วมมือกันทำผ้าไตรจีวรเพื่อถวายแก่พระอนุรุทธะ ผู้มีจีวรเก่าใช้การเกือบไม่ได้แล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงช่วยการทำไตรจีวรด้วย โดยทรงรับหน้าที่สนเข็มในการทำจีวรครั้งนี้ด้วย
จุลกฐินยังมีลักษณะพิเศษ คือ ไม่ใช่ว่าพอถึงเวลาก็สามารถนำองค์กฐินไปทอดที่วัดได้ หากแต่คิดจะทำจุลกฐินต้องมีการเตรียมตัวกันก่อนล่วงหน้ามาเป็นอย่างดี
1…
สำหรับ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ยังคงมีการสืบสานการทำบุญจุลกฐิน ตามวิถีประเพณีดั้งเดิมอันงดงามเป็นเอกลักษณ์เอาไว้ ซึ่งเดิม อ.แม่แจ่ม จะมีการจัดงานบุญจุลกฐินที่ “วัดยางหลวง” ต.ท่าผา ที่ปีนี้มีการจัดขึ้นไปในวันที่ 7-8 พ.ย.ที่ผ่านมา (8 พ.ย. เป็นงานแห่องค์กฐินไปถวายวัด)
อย่างไรก็ดีมาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่ “วัดบ้านทัพ” ต.ท่าผา ก็เป็นอีกหนึ่งวัดที่มีการรื้อฟื้นประเพณีจุลกฐินขึ้นมา และมีการจัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้ทางวัดได้เชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญในงาน “ทอฝ้าย สายบุญ จุลกฐิน” ปีที่ 5 ขึ้น เมื่อวันที่ 14-15 พ.ย. ที่ผ่านมา
งานนี้ผมมีโอกาสไปร่วมงานด้วย จึงนำความประทับใจที่ได้พบเจอมาบอกเล่าสู่กันฟัง โดยภายในงานผมโชคดีได้เจอกับพี่“อรรถพล ปราโมทย์” หรือ “พี่ต้อง” ชาวเชียงใหม่ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับจุลกฐินอย่างลึกซึ้ง ซึ่งพี่ต้องได้ช่วยอธิบาย ให้ความรู้ ไขความกระจ่างเกี่ยวกับงานจุลกฐินแม่แจ่มให้ฟังอย่างละเอียด
“จุลกฐินเป็นกิจกรรมการทำกฐินที่ต้องทำให้เสร็จภายใน 1 วัน ซึ่งคนสมัยก่อนถือว่าได้บุญมากล้นกว่าการทอดกฐินปกติทั่วๆไป”
พี่ต้องเกริ่นนำก่อนจะอธิบายรายละเอียดของงานจุลกฐินให้ฟังว่า งานจุลกฐินเป็นงานประเพณีที่ดั้งเดิมมีขึ้นเฉพาะในชุมชนที่มีการปลูกฝ้าย ทอผ้า เพราะต้องทำผ้าไตรจีวร 1 ชุดให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน แล้วจึงนำไปถวายวัดในเช้าวันถัดไป ซึ่งชาวชุมชนต้องสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันเตรียมงาน จัดงาน และทอผ้าไตรจีวรให้เสร็จ
ทั้งนี้ในบ้านเราแต่เดิมจะมีการจัดงานจุลกฐินขึ้นเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสานที่มีการปลูกฝ้าย ทอผ้า แต่ว่าในยุคนี้มีการจัดงานจุลกฐินประยุกต์เพื่อการท่องเที่ยวขึ้น โดยมีการนำฝ้ายจากที่อื่นมาปั่น นำช่างทอผ้าจากที่อื่นมาทอด้วยแนวคิดแก่นประเพณีดั้งเดิม ขณะที่รูปแบบรายละเอียดและการสร้างสรรค์นั้นมีการปรับเปลี่ยนไปตามสมัยนิยม และสภาพพื้นที่
สำหรับที่วัดบ้านทัพนั้นเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่สามารถทำจุลกฐินได้ เพราะเป็นชุมชนที่มีการปลูกฝ้าย ทอผ้ามานับแต่อดีต ซึ่งลุง“วันชัย สารินจา” มัคทายกวัดบ้านทัพ บอกกับผมว่า งานจุลกฐินวัดบ้านทัพมีการจัดขึ้นมาตั้งแต่อดีต ก่อนที่จะหายไป ทางวัดจึงรื้อฟื้นขึ้นมา และจัดต่อเนื่องปีนี้เป็นปีที่ 5 แล้ว โดยงานจุลกฐินปัจจุบันที่วัดบ้านทัพ จะเป็นการร่วมมือกันของ 3 ชุมชนในตำบลท่าผา คือ บ้านทัพ บ้านท้องฝาย และบ้านไร่ ซึ่งทั้ง 3 หมู่บ้าน ปัจจุบันยังคงมีการทอฝ้ายและมีคนทอผ้าอยู่เป็นกิจวัตร
2…
งานจุลกฐินวัดบ้านทัพเริ่มกันตั้งแต่เช้าของวันที่ 14 พ.ย. วันนี้เรียกว่า “วันดา” เป็นวันเตรียมงาน จัดเตรียมข้าวของอุปกรณ์สำหรับการแห่องค์กฐินในวันรุ่งขึ้น เตรียมอุปกรณ์สำหรับการปั่นฝ้าย ทอฝ้าย การทำผ้าไตรจีวรที่จะนำไปถวายพระในวันรุ่งขึ้น รวมถึงเตรียมอาหารการกินในแบบขันโตกพื้นเมืองไว้เลี้ยงแขกเหรื่อ เตรียมการแสดงศิลปวัฒนธรรม ไว้ให้ผู้มาร่วมงานได้ชมกัน
จากนั้นพอถึงช่วงเย็นจะเป็นช่วงเวลาที่คึกคักมา พ่ออุ๊ย แม่อุ๊ย ต่างพากันมาที่วัดเพื่อตระเตรียมการทำองค์กฐิน ทอผ้าไตรจีวร นอกจากนี้ในช่วงเย็นยังมีการเลี้ยงขันโตกกับแขกเหรื่อผู้มาเยือน มีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมจากโรงเรียนในพื้นที่ เช่น ฟ้อนต่างๆ การแสดงกลองปู่จา เป็นต้น รวมถึงเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยว คนต่างถิ่นที่มาร่วมงาน สามารถลองเรียนรู้ในกระบวนการงานบุญจุลกฐิน เช่น ร่วมอีดฝ้าย ปั่นฝ้าย หรือร่วมทอผ้าได้ โดยมีชาวบ้านผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ
ครั้นในช่วงหัวค่ำเมื่อถึงฤกษ์ที่เหมาะสม จะเป็นพิธีสมโภชน์องค์กฐินในวิหาร จากนั้นก็จะเป็นพิธีเก็บฝ้ายที่ถือฤกษ์งามเหมือนกัน
สำหรับพิธีเก็บฝ้ายพี่ต้องเล่าให้ฟังว่า ในอดีตจะต้องคัดผู้หญิงพรหมจรรย์ 7 นาง ที่เป็นดังตัวแทนของ “สัตบริภัณฑ์คีรี” หรือ เขาสัตบริภัณฑ์ทั้ง 7 นุ่งขาว ห่มขาว มาเก็บตัวนอนที่วัด 1 คืน ก่อนมีงาน
ครั้นถึงช่วงเก็บฝ้ายก็จะนำฟ้อนมาเก็บฝ้ายจากนั้นจึงเปิดให้คนทั่วไปร่วมกันไปช่วยเก็บฝ้าย ส่วนในปัจจุบันพิธีการเก็บฝ้ายก็มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยตามสภาพพื้นที่ โดยพิธีเก็บฝ้ายปีนี้ที่วัดบ้านทัพนั้นจะมีเทวดาเข้าร่วมด้วย
“จะเห็นได้ว่างานจุลกฐินต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี วางแผนกันมาหลายเดือน เพราะต้องลงมือปลูกฝ้าย เพื่อให้ฝ้ายโตและออกดอกพอดีในช่วงหลังวันออกพรรษา ไม่เกินหนึ่งเดือน เพื่อสามารถเก็บฝ้ายมาทอในงานจุลกฐินได้”
พี่ต้องอธิบาย พร้อมกับบอกว่า ฝ้ายที่เก็บได้มาจะนำไปรวมกับฝ้ายอีกส่วนหนึ่งที่ชาวบ้านนำมาถวายเพื่อนำไปทอเป็นผ้าไตรจีวรต่อไป รวมถึงมีการกวน “ข้าวมธุปายาส” หรือ “ข้าวทิพย์” เพื่อไปถวายวัดในวันรุ่งขึ้นด้วย
สำหรับกระบวนการทำผ้าไตรจีวรหลังการเก็บฝ้ายได้แก่ การ “อีดฝ้าย” ที่เป็นการนำฝ้ายมาแยกเมล็ด, การ “ก๋งฝ้าย” คือดีดฝ้ายให้ฟูปุย การปั่นฝ้ายเป็นเส้นด้าย นำไปขึ้นกี่ทอเป็นผ้าผืนสีขาว แล้วนำไปตัดเย็บเป็นผ้าไตรจีวร 1 ชุด ก่อนที่จะนำไปย้อมเป็นจีวรสีฝาด ซึ่งทั้งหมดต้องทำให้เสร็จก่อนเช้า
โดยชาวบ้านที่นี่จะแต่งชุดสวยๆงามๆ มาร่วมช่วยงาน ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ พ่ออุ๊ย แม่อุ๊ย พร้อมๆกับมีการแบ่งหน้าที่กันเป็นแผนกๆ อย่างดี ก่อนจะส่งต่อให้เหล่าช่างทอในช่วงสุดท้าย
สำหรับปีนี้มีกี่ 10 ตัว กับช่างทอมาผลัดเปลี่ยนกันทอ มือสอง มือสาม ไปตลอดทั้งคืน จนกระทั่งแล้วเสร็จเป็นไตรจีวรในช่วงประมาณตี 4 ให้ผู้ที่มาร่วมทอผ้า เตรียมงาน จัดงาน ได้ไปนอนพักผ่อนเอาแรง แล้วตื่นขึ้นมาแต่งชุดสวยๆ งามๆ กันเต็มยศ เพื่อไปร่วมงานบุญกันด้วยจิตใจผ่องแผ้ว โดยแม่อุ๊ยและผู้หญิงชาวแม่แจ่ม(รวมถึงแขกเหรื่อที่มาร่วมงานและนักท่องเที่ยวหลายๆคน) จะพากันสวมชุดขาวหรือชุดพื้นบ้านล้านนา พร้อมกับสวมผ้า “ซิ่นตีนจกแม่แจ่ม” อันสวยงามเป็นเอกลักษณ์มาร่วมงานกันด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม อิ่มเอิบบุญ
3…
หลังตระเตรียมงาน ทำผ้าไตรจีวรได้แล้วเสร็จในวันดา (14 พ.ย.คาบเกี่ยวต่อเช้ามืดวันที่ 15 พ.ย.)
เช้าวันรุ่งขึ้น 15 พ.ย. เป็นวันถวายบุญ โดยชาวบ้านจะนำต้นกฐิน บริวารกฐิน มาไว้ที่วัด จากนั้นจะนำไปตั้งต้นขบวนที่บ้านท้องฝายที่อยู่ห่างจากวัดบ้านทัพไปประมาณกิโลเมตรกว่าๆ ก่อนจะจัดขบวนแห่แหนกันมาอย่างคึกคัก นำโดยนางรำและชุดฟ้อนนกกิงกะหร่า ตามด้วยขบวนแห่องค์กฐินที่ต้องใช้ผู้ชายล้วนแห่ ก่อนต่อด้วยขบวนแห่อื่นๆ
ขบวนแห่จุลกฐินวัดบ้านทัพ แม้จะไม่ใช่ขบวนใหญ่ แต่ก็เป็นขบวนงานบุญที่คึกคักเต็มไปด้วยพลังแห่งศรัทธา ซึ่งขบวนจะแห่ไปสิ้นสุดที่วัด เพื่อทำพิธีถวายองค์กฐินให้แก่วัด พร้อมทำพิธีสืบต่อชะตาแก่ผู้มาร่วมงาน แล้วทางวัดจะนำผ้าไตรจีวรไปให้แก่พระภิกษุรูปที่ขาดแคลนจีวรหรือต้องการใช้จีวรต่อไป อันถือเป็นการเสร็จสิ้นพิธีจุลกฐินแห่งวัดบ้านทัพ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ที่สร้างความประทับใจให้กับคนต่างถิ่นที่มีโอกาสได้เข้ามาร่วมงานอย่างผมได้เป็นอย่างดี
และนี่ก็คืออีกหนึ่งอานิสงส์ที่ผมได้รับจากงานนี้
นับเป็นอีกวิถีไทยที่มากไปด้วยมนต์เสน่ห์ที่น่าสัมผัสเรียนรู้พร้อมอนุรักษ์ให้ดำรงคงอยู่ไปตราบนานเท่านาน
*****************************************
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทางในอำเภอแม่แจ่ม และแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0-5324-8604-5
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com
หลังออกพรรษามาได้สัปดาห์กว่าๆ เช้าวันหนึ่งที่ออฟฟิศจู่ๆ ก็มี “ซองขาว” มาวางเด่นอยู่ที่โต๊ะผม
หะแรกเห็นตกใจ!!! เห็นไกลๆนึกว่าเป็นซองขาวอย่างว่า แต่เมื่อไปเห็นใกล้ๆ ค่อยโล่งใจ เพราะนี่คือซองกฐินที่น้องในออฟฟิศมาชวนผมทำบุญและร่วมเป็นคณะกรรมการทอดกฐินที่วัดแห่งหนึ่งในภาคกลาง
ครับงานนี้ผมให้ชื่อ ทำบุญ และจกไปด้วยความยินดี
สำหรับเมืองไทยเราเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่โบราณว่าหลังวันออกพรรษา(แรม 1 ค่ำ เดือน 11) ก็จะเป็นเทศกาลทอดกฐิน ซึ่งปีหนึ่งจะทำได้เพียงครั้งเดียวในช่วงนี้ และเป็นเวลาแค่ 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
โดยกฐินในบ้านเราแบ่งหลักๆ เป็น “กฐินหลวง” ที่พระมหากษัตริย์ทรงทอดกฐินตามวัดพระอารามหลวง และ “กฐินราษฎร์” ที่พุทธศาสนิกชนคนทั่วไปนำไปทอดตามวัดต่างๆ
นอกจากนี้ก็ยังมีกฐินชนิดพิเศษอีกประเภทหนึ่งคือ “จุลกฐิน” หรือ “กฐินแล่น” ที่หลายๆ คนมักเข้าใจผิดคิดว่าจุลกฐินเป็นกฐินเล็ก แต่จริงๆแล้วจุลกฐินเป็นกฐินที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน แต่เต็มไปด้วยความละเอียดลออ และเต็มไปด้วยความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจของชุมชน โดยต้องทำการเก็บฝ้าย ทอฝ้าย ตัดเย็บเป็นผ้าไตรจีวร 1 ชุด ให้แล้วเสร็จ ก่อนจะนำไปถวายวัดในเช้าถัดไป
เค้ามูลของการทำจีวรให้เสร็จในวันเดียว ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้ารับสั่งในคณะสงฆ์ในวัดพระเชตวันร่วมมือกันทำผ้าไตรจีวรเพื่อถวายแก่พระอนุรุทธะ ผู้มีจีวรเก่าใช้การเกือบไม่ได้แล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงช่วยการทำไตรจีวรด้วย โดยทรงรับหน้าที่สนเข็มในการทำจีวรครั้งนี้ด้วย
จุลกฐินยังมีลักษณะพิเศษ คือ ไม่ใช่ว่าพอถึงเวลาก็สามารถนำองค์กฐินไปทอดที่วัดได้ หากแต่คิดจะทำจุลกฐินต้องมีการเตรียมตัวกันก่อนล่วงหน้ามาเป็นอย่างดี
1…
สำหรับ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ยังคงมีการสืบสานการทำบุญจุลกฐิน ตามวิถีประเพณีดั้งเดิมอันงดงามเป็นเอกลักษณ์เอาไว้ ซึ่งเดิม อ.แม่แจ่ม จะมีการจัดงานบุญจุลกฐินที่ “วัดยางหลวง” ต.ท่าผา ที่ปีนี้มีการจัดขึ้นไปในวันที่ 7-8 พ.ย.ที่ผ่านมา (8 พ.ย. เป็นงานแห่องค์กฐินไปถวายวัด)
อย่างไรก็ดีมาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่ “วัดบ้านทัพ” ต.ท่าผา ก็เป็นอีกหนึ่งวัดที่มีการรื้อฟื้นประเพณีจุลกฐินขึ้นมา และมีการจัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้ทางวัดได้เชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญในงาน “ทอฝ้าย สายบุญ จุลกฐิน” ปีที่ 5 ขึ้น เมื่อวันที่ 14-15 พ.ย. ที่ผ่านมา
งานนี้ผมมีโอกาสไปร่วมงานด้วย จึงนำความประทับใจที่ได้พบเจอมาบอกเล่าสู่กันฟัง โดยภายในงานผมโชคดีได้เจอกับพี่“อรรถพล ปราโมทย์” หรือ “พี่ต้อง” ชาวเชียงใหม่ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับจุลกฐินอย่างลึกซึ้ง ซึ่งพี่ต้องได้ช่วยอธิบาย ให้ความรู้ ไขความกระจ่างเกี่ยวกับงานจุลกฐินแม่แจ่มให้ฟังอย่างละเอียด
“จุลกฐินเป็นกิจกรรมการทำกฐินที่ต้องทำให้เสร็จภายใน 1 วัน ซึ่งคนสมัยก่อนถือว่าได้บุญมากล้นกว่าการทอดกฐินปกติทั่วๆไป”
พี่ต้องเกริ่นนำก่อนจะอธิบายรายละเอียดของงานจุลกฐินให้ฟังว่า งานจุลกฐินเป็นงานประเพณีที่ดั้งเดิมมีขึ้นเฉพาะในชุมชนที่มีการปลูกฝ้าย ทอผ้า เพราะต้องทำผ้าไตรจีวร 1 ชุดให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน แล้วจึงนำไปถวายวัดในเช้าวันถัดไป ซึ่งชาวชุมชนต้องสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันเตรียมงาน จัดงาน และทอผ้าไตรจีวรให้เสร็จ
ทั้งนี้ในบ้านเราแต่เดิมจะมีการจัดงานจุลกฐินขึ้นเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสานที่มีการปลูกฝ้าย ทอผ้า แต่ว่าในยุคนี้มีการจัดงานจุลกฐินประยุกต์เพื่อการท่องเที่ยวขึ้น โดยมีการนำฝ้ายจากที่อื่นมาปั่น นำช่างทอผ้าจากที่อื่นมาทอด้วยแนวคิดแก่นประเพณีดั้งเดิม ขณะที่รูปแบบรายละเอียดและการสร้างสรรค์นั้นมีการปรับเปลี่ยนไปตามสมัยนิยม และสภาพพื้นที่
สำหรับที่วัดบ้านทัพนั้นเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่สามารถทำจุลกฐินได้ เพราะเป็นชุมชนที่มีการปลูกฝ้าย ทอผ้ามานับแต่อดีต ซึ่งลุง“วันชัย สารินจา” มัคทายกวัดบ้านทัพ บอกกับผมว่า งานจุลกฐินวัดบ้านทัพมีการจัดขึ้นมาตั้งแต่อดีต ก่อนที่จะหายไป ทางวัดจึงรื้อฟื้นขึ้นมา และจัดต่อเนื่องปีนี้เป็นปีที่ 5 แล้ว โดยงานจุลกฐินปัจจุบันที่วัดบ้านทัพ จะเป็นการร่วมมือกันของ 3 ชุมชนในตำบลท่าผา คือ บ้านทัพ บ้านท้องฝาย และบ้านไร่ ซึ่งทั้ง 3 หมู่บ้าน ปัจจุบันยังคงมีการทอฝ้ายและมีคนทอผ้าอยู่เป็นกิจวัตร
2…
งานจุลกฐินวัดบ้านทัพเริ่มกันตั้งแต่เช้าของวันที่ 14 พ.ย. วันนี้เรียกว่า “วันดา” เป็นวันเตรียมงาน จัดเตรียมข้าวของอุปกรณ์สำหรับการแห่องค์กฐินในวันรุ่งขึ้น เตรียมอุปกรณ์สำหรับการปั่นฝ้าย ทอฝ้าย การทำผ้าไตรจีวรที่จะนำไปถวายพระในวันรุ่งขึ้น รวมถึงเตรียมอาหารการกินในแบบขันโตกพื้นเมืองไว้เลี้ยงแขกเหรื่อ เตรียมการแสดงศิลปวัฒนธรรม ไว้ให้ผู้มาร่วมงานได้ชมกัน
จากนั้นพอถึงช่วงเย็นจะเป็นช่วงเวลาที่คึกคักมา พ่ออุ๊ย แม่อุ๊ย ต่างพากันมาที่วัดเพื่อตระเตรียมการทำองค์กฐิน ทอผ้าไตรจีวร นอกจากนี้ในช่วงเย็นยังมีการเลี้ยงขันโตกกับแขกเหรื่อผู้มาเยือน มีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมจากโรงเรียนในพื้นที่ เช่น ฟ้อนต่างๆ การแสดงกลองปู่จา เป็นต้น รวมถึงเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยว คนต่างถิ่นที่มาร่วมงาน สามารถลองเรียนรู้ในกระบวนการงานบุญจุลกฐิน เช่น ร่วมอีดฝ้าย ปั่นฝ้าย หรือร่วมทอผ้าได้ โดยมีชาวบ้านผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ
ครั้นในช่วงหัวค่ำเมื่อถึงฤกษ์ที่เหมาะสม จะเป็นพิธีสมโภชน์องค์กฐินในวิหาร จากนั้นก็จะเป็นพิธีเก็บฝ้ายที่ถือฤกษ์งามเหมือนกัน
สำหรับพิธีเก็บฝ้ายพี่ต้องเล่าให้ฟังว่า ในอดีตจะต้องคัดผู้หญิงพรหมจรรย์ 7 นาง ที่เป็นดังตัวแทนของ “สัตบริภัณฑ์คีรี” หรือ เขาสัตบริภัณฑ์ทั้ง 7 นุ่งขาว ห่มขาว มาเก็บตัวนอนที่วัด 1 คืน ก่อนมีงาน
ครั้นถึงช่วงเก็บฝ้ายก็จะนำฟ้อนมาเก็บฝ้ายจากนั้นจึงเปิดให้คนทั่วไปร่วมกันไปช่วยเก็บฝ้าย ส่วนในปัจจุบันพิธีการเก็บฝ้ายก็มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยตามสภาพพื้นที่ โดยพิธีเก็บฝ้ายปีนี้ที่วัดบ้านทัพนั้นจะมีเทวดาเข้าร่วมด้วย
“จะเห็นได้ว่างานจุลกฐินต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี วางแผนกันมาหลายเดือน เพราะต้องลงมือปลูกฝ้าย เพื่อให้ฝ้ายโตและออกดอกพอดีในช่วงหลังวันออกพรรษา ไม่เกินหนึ่งเดือน เพื่อสามารถเก็บฝ้ายมาทอในงานจุลกฐินได้”
พี่ต้องอธิบาย พร้อมกับบอกว่า ฝ้ายที่เก็บได้มาจะนำไปรวมกับฝ้ายอีกส่วนหนึ่งที่ชาวบ้านนำมาถวายเพื่อนำไปทอเป็นผ้าไตรจีวรต่อไป รวมถึงมีการกวน “ข้าวมธุปายาส” หรือ “ข้าวทิพย์” เพื่อไปถวายวัดในวันรุ่งขึ้นด้วย
สำหรับกระบวนการทำผ้าไตรจีวรหลังการเก็บฝ้ายได้แก่ การ “อีดฝ้าย” ที่เป็นการนำฝ้ายมาแยกเมล็ด, การ “ก๋งฝ้าย” คือดีดฝ้ายให้ฟูปุย การปั่นฝ้ายเป็นเส้นด้าย นำไปขึ้นกี่ทอเป็นผ้าผืนสีขาว แล้วนำไปตัดเย็บเป็นผ้าไตรจีวร 1 ชุด ก่อนที่จะนำไปย้อมเป็นจีวรสีฝาด ซึ่งทั้งหมดต้องทำให้เสร็จก่อนเช้า
โดยชาวบ้านที่นี่จะแต่งชุดสวยๆงามๆ มาร่วมช่วยงาน ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ พ่ออุ๊ย แม่อุ๊ย พร้อมๆกับมีการแบ่งหน้าที่กันเป็นแผนกๆ อย่างดี ก่อนจะส่งต่อให้เหล่าช่างทอในช่วงสุดท้าย
สำหรับปีนี้มีกี่ 10 ตัว กับช่างทอมาผลัดเปลี่ยนกันทอ มือสอง มือสาม ไปตลอดทั้งคืน จนกระทั่งแล้วเสร็จเป็นไตรจีวรในช่วงประมาณตี 4 ให้ผู้ที่มาร่วมทอผ้า เตรียมงาน จัดงาน ได้ไปนอนพักผ่อนเอาแรง แล้วตื่นขึ้นมาแต่งชุดสวยๆ งามๆ กันเต็มยศ เพื่อไปร่วมงานบุญกันด้วยจิตใจผ่องแผ้ว โดยแม่อุ๊ยและผู้หญิงชาวแม่แจ่ม(รวมถึงแขกเหรื่อที่มาร่วมงานและนักท่องเที่ยวหลายๆคน) จะพากันสวมชุดขาวหรือชุดพื้นบ้านล้านนา พร้อมกับสวมผ้า “ซิ่นตีนจกแม่แจ่ม” อันสวยงามเป็นเอกลักษณ์มาร่วมงานกันด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม อิ่มเอิบบุญ
3…
หลังตระเตรียมงาน ทำผ้าไตรจีวรได้แล้วเสร็จในวันดา (14 พ.ย.คาบเกี่ยวต่อเช้ามืดวันที่ 15 พ.ย.)
เช้าวันรุ่งขึ้น 15 พ.ย. เป็นวันถวายบุญ โดยชาวบ้านจะนำต้นกฐิน บริวารกฐิน มาไว้ที่วัด จากนั้นจะนำไปตั้งต้นขบวนที่บ้านท้องฝายที่อยู่ห่างจากวัดบ้านทัพไปประมาณกิโลเมตรกว่าๆ ก่อนจะจัดขบวนแห่แหนกันมาอย่างคึกคัก นำโดยนางรำและชุดฟ้อนนกกิงกะหร่า ตามด้วยขบวนแห่องค์กฐินที่ต้องใช้ผู้ชายล้วนแห่ ก่อนต่อด้วยขบวนแห่อื่นๆ
ขบวนแห่จุลกฐินวัดบ้านทัพ แม้จะไม่ใช่ขบวนใหญ่ แต่ก็เป็นขบวนงานบุญที่คึกคักเต็มไปด้วยพลังแห่งศรัทธา ซึ่งขบวนจะแห่ไปสิ้นสุดที่วัด เพื่อทำพิธีถวายองค์กฐินให้แก่วัด พร้อมทำพิธีสืบต่อชะตาแก่ผู้มาร่วมงาน แล้วทางวัดจะนำผ้าไตรจีวรไปให้แก่พระภิกษุรูปที่ขาดแคลนจีวรหรือต้องการใช้จีวรต่อไป อันถือเป็นการเสร็จสิ้นพิธีจุลกฐินแห่งวัดบ้านทัพ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ที่สร้างความประทับใจให้กับคนต่างถิ่นที่มีโอกาสได้เข้ามาร่วมงานอย่างผมได้เป็นอย่างดี
และนี่ก็คืออีกหนึ่งอานิสงส์ที่ผมได้รับจากงานนี้
นับเป็นอีกวิถีไทยที่มากไปด้วยมนต์เสน่ห์ที่น่าสัมผัสเรียนรู้พร้อมอนุรักษ์ให้ดำรงคงอยู่ไปตราบนานเท่านาน
*****************************************
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทางในอำเภอแม่แจ่ม และแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0-5324-8604-5
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com