โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
“เจอครั้งแรก ผมนี่หลงรักเลยครับ”
ผมขอหยิบยืมคำพูดประสาวัยรุ่น(ที่แม้จะสร่างซาความฮอตฮิตในโซเชียลมีเดียไปแล้ว)มาบอกกล่าวถึงความรู้เมื่อแรกพบกับ “สะพานซูตองเป้” ที่ได้ขึ้นไปแอ่วมาเมื่อช่วงกลางหนาวที่ผ่านมา
เป็นรักแรกพบบทอันประทับใจที่ได้ปักหมุดให้สะพานแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งสถานที่ต้นๆในการไปเยือนแม่ฮ่องสอนครั้งต่อๆไป
สะพานแห่งศรัทธา
สะพานซูตองเป้ ตั้งอยู่ที่บ้านกุงไม้สัก ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 8 กิโลเมตร
สะพานซูตองเป้ เป็นสะพานไม้(โครงสร้าง เสา-คาน)ส่วนพื้นปูด้วยไม้ไผ่ที่ทำในลักษณะพื้นสับฟาก พื้นขัดแตะ(เหมือนฝาบ้าน) และพื้นไม้ไผ่สาน มีความกว้างประมาณ 2 เมตร แต่ยาวถึง 500 เมตร ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นสะพานไม้ไผ่ที่ยาวที่สุดในเมืองไทย
สะพานแห่งนี้ เกิดจากแรงกายแรงใจของทั้งพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านกุงไม้สัก และคณะศรัทธาต่างๆ(โดยการนำของพระปลัดจิตตพัฒน์ อคคฺปัญโญ ประธานสงฆ์สวนธรรมภูสมะ)ที่ได้ร่วมกันสร้างขึ้นทอดข้ามแม่น้ำสะงาข้ามทุ่งนาของชาวบ้าน เชื่อมระหว่าง“สวนธรรมภูสมะ”สถานปฏิบัติธรรมอันปลีกวิเวกสงบ กับ“หมู่บ้านกุงไม้สัก” เพื่อให้พระภิกษุสามเณรจากสวนธรรมภูสมะเดินบิณฑบาต รวมถึงชาวบ้าน เกษตรกรที่อยู่ในบริเวณนั้นได้เดินข้ามสัญจรไป-มา
ซูตองเป้ เป็นภาษาไทใหญ่ แปลว่า อธิษฐานสำเร็จสัมฤทธิผล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่สร้างจากแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชน โดยเจ้าของที่นาได้ถวายผืนนาที่สะพานสร้างทอดผ่าน ส่วนคณะศรัทธาอื่นๆก็ได้บริจาคเสาไม้ บริจาคไม้ไผ่ แรงงาน และปัจจัยอื่นๆ ในการสร้างสะพานแห่งนี้
ส่งผลให้สะพานซูตองเป้ใช้งบประมาณในการก่อสร้างไม่มากไม่มาย เพียง 8 แสนกว่าบาท(ถ้าเป็นของทางราชการหรือนักการเมืองท้องถิ่นนี่คงปาเข้าหลายล้านเพราะต้องเสียค่าหักหัวคิวด้วย) ใช้เวลาก่อสร้างไม่นานราว 3 เดือนกว่า โดยได้ทำการวางเสาเอกในวันที่ 20 เม.ย. 2554 และทำการก่อสร้างเสร็จสิ้นเปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ส.ค. 2554
หลังสะพานแห่งนี้สร้างแล้วเสร็จนอกจากประโยชน์ด้านการสัญจรแล้ว ด้วยความสวยงามคลาสสิกเป็นเอกลักษณ์ของสะพาน กับทำเลที่ตั้งที่มีทิวทัศน์สวยงาม รวมถึงวิถีปฏิบัติของพระ-เณรแห่งสวนธรรมภูสมะนั้นก็เปี่ยมศรัทธาน่าเลื่อมใส ส่งผลให้สะพานซูตองเป้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นมาในเวลาไม่นาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาพของสะพานซูตองเป้ได้ถูกนำไปเผยแพร่บนโลกออนไลน์ มีการโพสต์ การแชร์กันอย่างกว้างขวาง นั่นจึงทำให้สะพานแห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมาอย่างรวดเร็ว กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มาแรง และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮอตในอันดับต้นๆของเมืองสามหมอก จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เปี่ยมศรัทธา น่าเลื่อมใส
ด้วยความโด่งดังของสะพานซูตองเป้ ทำให้เมื่อมีโอกาสขึ้นไปแอ่วเมืองสามหมอก ผมจึงไม่พลาดการไปสัมผัสกับสะพานไม้ไผ่ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยแห่งนี้ด้วยประการทั้งปวง
จากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนผมกับน้อง 2 สาว ตื่นกันแต่เช้ามืดก่อนไก่โห่เพื่อออกเดินทางสู่บ้างกุงไม้สัก ทั้งนี้ก็เพื่อจะไปให้ทันพระ-เณรออกบิณฑบาต ซึ่งช่วงที่ผมไปเป็นหน้าหนาว พระ-เณรจะออกเดินบิณฑบาตในราว 7 โมงเช้า
พวกเราไปถึงกันประมาณ 6 โมงครึ่งกว่าๆ ที่ท้องฟ้าเริ่มส่องแสงเรื่อเรืองท่ามกลางอากาศอันหนาวเหน็บระยับ พร้อมๆกับที่มีนักท่องเที่ยวอีก 2 กลุ่มที่ฝ่าความหนาวมาเฝ้ารอใส่บาตรเช่นเดียวกับเรา
จากนั้นในช่วงราว 7 โมงเศษๆที่ท้องฟ้ายังคงเรื่อเรืองอยู่ มีเสียงของหมาเห่าดังลั่นมา เป็นดังสัญญาณให้รู้ว่าพระ-เณรได้ออกเดินบิณฑบาต จากสวนธรรมภูสมะสู่บ้านกุงไม้สัก
แล้วสักพัก พระ-เณร ก็ได้เดินบิณฑบาตด้วยเท้าเปล่าผ่านมา ให้นักท่องเที่ยวที่เฝ้ารอใส่บาตร เป็นภาพเสน่ห์แห่งศรัทธายามเช้าอันน่าเลื่อมใส ครั้นพระ-เณร เดินผ่านพ้น นักท่องเที่ยวแต่ละคนคลายความสำรวมเปลี่ยนมาเป็นความชิลล์ ลั้นลา เดินถ่ายรูปบนสะพานกันอย่างเพลิดเพลิน ก่อนจะแยกย้ายกันไปท่องเที่ยวต่อตามโปรแกรมของแต่ละกลุ่ม ส่วนผมกับน้อง 2 สาว ได้เดินตามสะพานจากฝั่งหมู่บ้านข้ามแม่น้ำสะงาขึ้นไปยังสวนธรรมภูสมะ ท่ามกลางแสงทองอ่อนๆของยามเช้าที่สาดส่อง
ในช่วงปลายสะพานก่อนเข้าสู่สวนธรรมฯจะเป็นบันไดเดินขึ้นเนินสู่สวนธรรมฯ โดยระหว่างที่ผมกำลังเดินขึ้นไปจะถึงยังสวนธรรมฯอยู่แล้ว ก็มีเด็กผู้หญิง 2 หนูน้อยในชุดไทใหญ่สวยงามวิ่งออกมาต้อนรับ พร้อมกล่าวคำทักทายว่า
“ยินดีต้อนรับสู่ธรรมภูสมะ”
สวนธรรมภูสมะ
สำหรับ 2 หนูน้อยนี้เธอเป็นเด็กในหมู่บ้านจากโรงเรียนแถวนั้นมาทำหน้าที่เป็นไกด์น้อยคอยแนะนำนักท่องเที่ยว โดยแต่ละคนชื่อน่ารักไม่เบา คนหนึ่งชื่อ “ข้าวเหนียว” ส่วนอีกคน “ชื่อน้ำหวาน”
หากเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสวนธรรมฯหรือสะพานทั้งสองมักจะพูดพร้อมกันดังประสานเสียง ดังเช่น ข้อมูลสะพานที่ เธอทั้ง 2 พูดอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า “ซูตองเป้ เป็นภาษาใหญ่ แปลว่า อธิษฐานประสบผลสำเร็จ”(ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น)
พร้อมกันนี้เธอทั้งคู่ยังบอกต่อว่า สมัยก่อนตอนยังไม่สร้างสะพาน พระ-เณร ที่ออกบิณฑบาตยามเช้าจากสวนธรรมภูสมะต้องเดินอ้อมแม่น้ำไกลเพื่อเข้ามาในหมู่บ้าน ส่วนชาวบ้านกุงไม้สักจะมาทำบุญที่สวนธรรมฯก็ต้องเดินอ้อมกัน ถือว่าลำบากน่าดู(สวนธรรมยังมีเส้นทางขั้นได้อีกทางหนึ่งหากไม่ได้มาทางสะพาน)
นอกจากนี้ไกด์น้อยทั้งสองยังบอกว่า พวกเธอจะมาเป็นไกด์เฉพาะในวันเสาร์-อาทิตย์หรือวันหยุดพิเศษ เพราะโรงเรียนปิด โดยคนที่สอนพวกเธอก็คือคุณป้าที่ขายกาแฟและของที่ระลึกอยู่ที่สวนธรรมฯนั่นเอง
แล้วหลังจากนั้นพวกเธอก็ได้เชิญชวนให้เราเดินเที่ยวกันในสวนธรรมฯกัน แต่ว่าก่อนที่พวกจะออกเดินชมสวนธรรมฯ ก็ได้ยินเสียงหมาเห่าลั่น ซึ่งน้องไกด์น้อยทั้ง 2 บอกว่า พระ-เณร กำลังเดินกลับมาแล้ว จากนั้นบรรดาหมาในวัดก็พร้อมใจกันวิ่งลงไปรอรับพระ-เณรที่เดินกลับจากบิณฑบาต ตามเณรน้อย(บางรูปที่ไม่ได้บิณฑบาต)กับเด็กวัดบางรูปที่ไปช่วยรับของ ขณะที่ในช่วงขาไปที่พระ-เณรเหล่านี้ออกเดินบิณฑบาตตั้งแต่ฟ้ายังไม่ทันแจ้ง เจ้าหมาพวกนี้พวกมันต่างๆพากันวิ่งกรูออกไปส่ง บางตัววิ่งลิ่วนำหน้า
เรียกว่าทั้งไปส่ง-ไปรับ นับเป็นหมาแสนรู้ที่ดูน่าประทับใจไม่น้อยเลย
อ้อ!!! แต่ก็มีหมาบางตัวที่หลวงพ่อท่านเลี้ยงไว้ ที่แม้จะเห็นมันดูเชื่อง แต่ว่าอย่าไปลูบหัวมัน เพราะมันไม่ชอบ ไม่ยอมให้ใครมาลูบหัว เพราะแม้ขนาดพระในวัดยังลูบหัวมันไม่ได้ มันจะขู่และทำท่าจะกัดเอา ดังนั้นใครที่ไปสวนธรรมฯแล้วจะเล่นกับหมาก็ต้องสังเกตพฤติกรรมของหมาบางตัวกันให้ดีๆ
อย่าลืมนึกถึงสวนธรรมภูสมะ
สำหรับสวนธรรมภูสมะ เป็นพุทธศาสนาสถานอันปลีกวิเวก บรรยากาศดี และวิวดี ภายในบริเวณ(ที่ตั้งอยู่บนเนินเขา) ดูงดงามไปด้วยศิลปะพม่าและไทใหญ่รวมถึงงานร่วมสมัยที่ทางวัดนำมาประดับไว้ โดยอาคารต่างๆจะดูโดดเด่นไปด้วยหลังคาฉลุสังกะสีในแบบศิลปะพม่า
ส่วนที่ถือเป็นไฮไลท์ก็คือองค์ “พระพุทธรูปทรงเครื่อง” พระประธานแห่งสวนธรรมฯองค์ที่งดงามไปด้วยศิลปะพม่าสีทองอร่าม ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารโถง ไม่มีผนัง ส่วนข้างๆก็มีอาคารขนาดรองประดิษฐานพระพุทธรูปให้สักการะบูชา รวมไปถึง อาคารที่ให้คนมาไหว้พระแล้วทำบุญด้วยการเขียนชื่อใส่ป้ายแขวนไว้ ที่ผมเห็นแล้วชวนให้นึกถึงวัดจำนวนมากในญี่ปุ่นหรือเกาหลีไม่น้อยเลย
นอกจากนี้ภายในสวนธรรมก็ยังมีถ้อยคำธรรมะ คติเตือนใจ และรูปปั้นปริศนาธรรมที่ทรงเสน่ห์ไปด้วยงานศิลปะร่วมสมัย อีกทั้งยังมีจุดชมวิวที่มองลงไปเห็นสะพานซูตองเป้ทอดยาวอย่างสวยงาม
นับเป็นอีกหนึ่งจุดชมสะพานซูตองเป้ยอดนิยม โดยเฉพาะยามที่พระ-เณร ออกเดินบิณฑบาต ยามขากลับที่มีคนนิยมถ่ายภาพมุมนี้ออกมากันเป็นจำนวนมาก
ครับหลังเที่ยวที่สวนธรรมฯกันจนอิ่มบุญอิ่มใจแล้วก็ได้เวลาล่ำลาสถานที่แห่งนี้ ซึ่งไกดืน้อย 2 หนูน้อยก็ได้เดินมาส่งลา พร้อมกับพูดพร้อมกันเป็นดังเสียงประสานว่า
“ก่อนเข้านอนอย่างลืมนึกถึงสวนธรรมภูสมะนะคะ”
อย่าทำร้ายสะพานซูตองเป้
ลงจากสวนธรรมฯเรายังไม่ได้ไปไหนไกล เพราะช่วงนี้แสงแดดอ่อนๆยามเช้ากำลังสาดส่อง บรรยากาศถือว่าดีเป็นบ้า เราจึงยังคงใช้เวลาละเลียดเสพความงามของสะพานและทิวทัศน์รอบข้างกันอย่างเท่าที่ใจต้องการ
สะพานซูตองเป้ มีหลากหลายมุมให้สัมผัส ถ่ายรูปเที่ยวชม ไม่ว่าจะเป็นในช่วงโค้งสะพาน ใต้สะพาน พื้นไม้ไผ่(สาน) เหลี่ยมเสา หัวสะพาน หรือมองผ่านทุ่งนา ซึ่งในช่วงฤดูฝนที่ท้องทุ่งนาเขียวขจีกับช่วงหน้าหนาวที่ข้าวออกรวงเหลืองทอง มุมมองของสะพานถือว่าสวยงามมาก เป็นช่วงไฮไลท์ของการถ่ายรูปสะพานเลยทีเดียว
พูดถึงการถ่ายรูปแล้ว ในการกลับไปเที่ยวสะพานอีกครั้งในวันถัดไป ได้พบเห็นเรื่องที่ไม่พึงกระทำในการถ่ายรูปของคนถ่ายภาพบางคน(ไม่ขอเรียกว่าช่างภาพ เพราะมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม) คือคนกลุ่มนี้เหมือนเป็นพวกนักล่าภาพ มากกว่าคนถ่ายภาพ พวกเขาไปสะพานซูตองเป้อย่างคนกระหายภาพ ไปถ่ายภาพพระบิณฑบาตแบบวิ่งดักหน้า ดักหลัง รบกวนการเดินของพระ แถมบางคนยังมีบอกให้พระเดินช้าๆเพื่อที่จะได้รูปอย่างต้องการ(ดีที่ไม่บอกให้ท่านเดินกลับมาใหม่ล่ะ)
นี่ถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรทำของนักท่องเที่ยว คนถ่ายรูป เพราะเป็นการรบกวนวัตรปฏิบัติของพระภิกษุ-สามเณรท่าน
นอกจากนี้ล่าสุดกับการอวดภาพของนักท่องเที่ยวคะนองจำนวนหนึ่งที่มีการแชร์กันอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์(จากเพจ “ซูตองเป้ สวนธรรมภูสมะ พุทธศาสนสถาน”) กับภาพนักท่องเที่ยวไปกระโดดบนสะพานอย่างไม่ปราณีนั้นได้ถูกชาวเน็ตตำหนิอย่างมาก
เพราะจริงๆแล้วไม่ได้สร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ทางการท่องเที่ยว แต่ด้วยความที่สะพานแห่งนี้มีเสน่ห์อย่างมาก เป็นสะพานไม้ไผ่ยาวที่สุดในเมืองไทย มีมุมถ่ายรูปอันงดงามหลายจุด มีวิวทิวทัศน์ของท้องทุ่งนาอันสวยงาม มีบรรยากาศของพระ-เณรออกเดินบิณฑบาตอันเปี่ยมศรัทธาเลื่อมใส
ทำให้สะพานซูตองเป้กลายเป็นดังสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นมาในทางอ้อม และมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปถ่ายรูปสะพานแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต่างก็ไปด้วยจุดประสงค์ที่ดีงาม โดยนอกจากจะไปถ่ายรูปสะพานแห่งนี้แล้ว ก็ยังไปใส่บาตรพระภิกษุสามเณรที่ออกบิณฑบาตในตอนเช้าตรู่ ไปทำบุญ ไหว้พระที่สวนธรรมภูสมะกัน
อย่างไรก็ดีในข้อเท็จจริงนั้น แม้สะพานซูตองเป้ จะมีโครงสร้างของเสา คาน เป็นไม้จริง และโครงสร้างบางส่วนเป็นเหล็ก แต่ว่าพื้นสะพานนั้นทำเป็นไม้ไผ่สานที่ไม่แข็งแรงนัก เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ในการสร้างขึ้นเพื่อ รองรับน้ำหนักในการเดินสัญจรไป-มา ธรรมดา ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อรองรับน้ำหนักการกระแทกกระทั้น กระโดด วิ่ง หรือการแบกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากๆ
ดังนั้นการที่มีนักท่องเที่ยวขึ้นไปกระโดด หรือวิ่งบนสะพานนั้น นับเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง เพราะนั่นเป็นการทำให้สะพานชำรุดทรุดโทรมเร็วขึ้น ซึ่งสำหรับคนที่มาเที่ยวสะพานแห่งนี้ เมื่อเราเข้าไปรบกวนสถานที่ปฏิบัติธรรมของบรรพชิตท่าน ก็จำเป็นต้องสำรวมทั้ง กาย วาจา ใจ จะถ่ายรูป เซลฟี่ ต้องทำอย่างสำรวม เหมาะสม
ที่สำคัญคือห้ามไปกระโดดบนสะพาน เนื่องจากจะทำให้สะพานชำรุดเร็วขึ้น เพราะสะพานซูตองเป้ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่แห่งธรรม ที่เชื่อมระหว่างโลกของบรรพชิตกับฆราวาส ดังนั้นคนที่ไปเที่ยวจำเป็นต้องเคารพสถานที่
และโปรดอย่าได้ทำร้ายทำลายสะพานแห่งนี้กันเลย
*****************************************
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
“เจอครั้งแรก ผมนี่หลงรักเลยครับ”
ผมขอหยิบยืมคำพูดประสาวัยรุ่น(ที่แม้จะสร่างซาความฮอตฮิตในโซเชียลมีเดียไปแล้ว)มาบอกกล่าวถึงความรู้เมื่อแรกพบกับ “สะพานซูตองเป้” ที่ได้ขึ้นไปแอ่วมาเมื่อช่วงกลางหนาวที่ผ่านมา
เป็นรักแรกพบบทอันประทับใจที่ได้ปักหมุดให้สะพานแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งสถานที่ต้นๆในการไปเยือนแม่ฮ่องสอนครั้งต่อๆไป
สะพานแห่งศรัทธา
สะพานซูตองเป้ ตั้งอยู่ที่บ้านกุงไม้สัก ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 8 กิโลเมตร
สะพานซูตองเป้ เป็นสะพานไม้(โครงสร้าง เสา-คาน)ส่วนพื้นปูด้วยไม้ไผ่ที่ทำในลักษณะพื้นสับฟาก พื้นขัดแตะ(เหมือนฝาบ้าน) และพื้นไม้ไผ่สาน มีความกว้างประมาณ 2 เมตร แต่ยาวถึง 500 เมตร ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นสะพานไม้ไผ่ที่ยาวที่สุดในเมืองไทย
สะพานแห่งนี้ เกิดจากแรงกายแรงใจของทั้งพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านกุงไม้สัก และคณะศรัทธาต่างๆ(โดยการนำของพระปลัดจิตตพัฒน์ อคคฺปัญโญ ประธานสงฆ์สวนธรรมภูสมะ)ที่ได้ร่วมกันสร้างขึ้นทอดข้ามแม่น้ำสะงาข้ามทุ่งนาของชาวบ้าน เชื่อมระหว่าง“สวนธรรมภูสมะ”สถานปฏิบัติธรรมอันปลีกวิเวกสงบ กับ“หมู่บ้านกุงไม้สัก” เพื่อให้พระภิกษุสามเณรจากสวนธรรมภูสมะเดินบิณฑบาต รวมถึงชาวบ้าน เกษตรกรที่อยู่ในบริเวณนั้นได้เดินข้ามสัญจรไป-มา
ซูตองเป้ เป็นภาษาไทใหญ่ แปลว่า อธิษฐานสำเร็จสัมฤทธิผล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่สร้างจากแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชน โดยเจ้าของที่นาได้ถวายผืนนาที่สะพานสร้างทอดผ่าน ส่วนคณะศรัทธาอื่นๆก็ได้บริจาคเสาไม้ บริจาคไม้ไผ่ แรงงาน และปัจจัยอื่นๆ ในการสร้างสะพานแห่งนี้
ส่งผลให้สะพานซูตองเป้ใช้งบประมาณในการก่อสร้างไม่มากไม่มาย เพียง 8 แสนกว่าบาท(ถ้าเป็นของทางราชการหรือนักการเมืองท้องถิ่นนี่คงปาเข้าหลายล้านเพราะต้องเสียค่าหักหัวคิวด้วย) ใช้เวลาก่อสร้างไม่นานราว 3 เดือนกว่า โดยได้ทำการวางเสาเอกในวันที่ 20 เม.ย. 2554 และทำการก่อสร้างเสร็จสิ้นเปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ส.ค. 2554
หลังสะพานแห่งนี้สร้างแล้วเสร็จนอกจากประโยชน์ด้านการสัญจรแล้ว ด้วยความสวยงามคลาสสิกเป็นเอกลักษณ์ของสะพาน กับทำเลที่ตั้งที่มีทิวทัศน์สวยงาม รวมถึงวิถีปฏิบัติของพระ-เณรแห่งสวนธรรมภูสมะนั้นก็เปี่ยมศรัทธาน่าเลื่อมใส ส่งผลให้สะพานซูตองเป้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นมาในเวลาไม่นาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาพของสะพานซูตองเป้ได้ถูกนำไปเผยแพร่บนโลกออนไลน์ มีการโพสต์ การแชร์กันอย่างกว้างขวาง นั่นจึงทำให้สะพานแห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมาอย่างรวดเร็ว กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มาแรง และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮอตในอันดับต้นๆของเมืองสามหมอก จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เปี่ยมศรัทธา น่าเลื่อมใส
ด้วยความโด่งดังของสะพานซูตองเป้ ทำให้เมื่อมีโอกาสขึ้นไปแอ่วเมืองสามหมอก ผมจึงไม่พลาดการไปสัมผัสกับสะพานไม้ไผ่ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยแห่งนี้ด้วยประการทั้งปวง
จากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนผมกับน้อง 2 สาว ตื่นกันแต่เช้ามืดก่อนไก่โห่เพื่อออกเดินทางสู่บ้างกุงไม้สัก ทั้งนี้ก็เพื่อจะไปให้ทันพระ-เณรออกบิณฑบาต ซึ่งช่วงที่ผมไปเป็นหน้าหนาว พระ-เณรจะออกเดินบิณฑบาตในราว 7 โมงเช้า
พวกเราไปถึงกันประมาณ 6 โมงครึ่งกว่าๆ ที่ท้องฟ้าเริ่มส่องแสงเรื่อเรืองท่ามกลางอากาศอันหนาวเหน็บระยับ พร้อมๆกับที่มีนักท่องเที่ยวอีก 2 กลุ่มที่ฝ่าความหนาวมาเฝ้ารอใส่บาตรเช่นเดียวกับเรา
จากนั้นในช่วงราว 7 โมงเศษๆที่ท้องฟ้ายังคงเรื่อเรืองอยู่ มีเสียงของหมาเห่าดังลั่นมา เป็นดังสัญญาณให้รู้ว่าพระ-เณรได้ออกเดินบิณฑบาต จากสวนธรรมภูสมะสู่บ้านกุงไม้สัก
แล้วสักพัก พระ-เณร ก็ได้เดินบิณฑบาตด้วยเท้าเปล่าผ่านมา ให้นักท่องเที่ยวที่เฝ้ารอใส่บาตร เป็นภาพเสน่ห์แห่งศรัทธายามเช้าอันน่าเลื่อมใส ครั้นพระ-เณร เดินผ่านพ้น นักท่องเที่ยวแต่ละคนคลายความสำรวมเปลี่ยนมาเป็นความชิลล์ ลั้นลา เดินถ่ายรูปบนสะพานกันอย่างเพลิดเพลิน ก่อนจะแยกย้ายกันไปท่องเที่ยวต่อตามโปรแกรมของแต่ละกลุ่ม ส่วนผมกับน้อง 2 สาว ได้เดินตามสะพานจากฝั่งหมู่บ้านข้ามแม่น้ำสะงาขึ้นไปยังสวนธรรมภูสมะ ท่ามกลางแสงทองอ่อนๆของยามเช้าที่สาดส่อง
ในช่วงปลายสะพานก่อนเข้าสู่สวนธรรมฯจะเป็นบันไดเดินขึ้นเนินสู่สวนธรรมฯ โดยระหว่างที่ผมกำลังเดินขึ้นไปจะถึงยังสวนธรรมฯอยู่แล้ว ก็มีเด็กผู้หญิง 2 หนูน้อยในชุดไทใหญ่สวยงามวิ่งออกมาต้อนรับ พร้อมกล่าวคำทักทายว่า
“ยินดีต้อนรับสู่ธรรมภูสมะ”
สวนธรรมภูสมะ
สำหรับ 2 หนูน้อยนี้เธอเป็นเด็กในหมู่บ้านจากโรงเรียนแถวนั้นมาทำหน้าที่เป็นไกด์น้อยคอยแนะนำนักท่องเที่ยว โดยแต่ละคนชื่อน่ารักไม่เบา คนหนึ่งชื่อ “ข้าวเหนียว” ส่วนอีกคน “ชื่อน้ำหวาน”
หากเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสวนธรรมฯหรือสะพานทั้งสองมักจะพูดพร้อมกันดังประสานเสียง ดังเช่น ข้อมูลสะพานที่ เธอทั้ง 2 พูดอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า “ซูตองเป้ เป็นภาษาใหญ่ แปลว่า อธิษฐานประสบผลสำเร็จ”(ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น)
พร้อมกันนี้เธอทั้งคู่ยังบอกต่อว่า สมัยก่อนตอนยังไม่สร้างสะพาน พระ-เณร ที่ออกบิณฑบาตยามเช้าจากสวนธรรมภูสมะต้องเดินอ้อมแม่น้ำไกลเพื่อเข้ามาในหมู่บ้าน ส่วนชาวบ้านกุงไม้สักจะมาทำบุญที่สวนธรรมฯก็ต้องเดินอ้อมกัน ถือว่าลำบากน่าดู(สวนธรรมยังมีเส้นทางขั้นได้อีกทางหนึ่งหากไม่ได้มาทางสะพาน)
นอกจากนี้ไกด์น้อยทั้งสองยังบอกว่า พวกเธอจะมาเป็นไกด์เฉพาะในวันเสาร์-อาทิตย์หรือวันหยุดพิเศษ เพราะโรงเรียนปิด โดยคนที่สอนพวกเธอก็คือคุณป้าที่ขายกาแฟและของที่ระลึกอยู่ที่สวนธรรมฯนั่นเอง
แล้วหลังจากนั้นพวกเธอก็ได้เชิญชวนให้เราเดินเที่ยวกันในสวนธรรมฯกัน แต่ว่าก่อนที่พวกจะออกเดินชมสวนธรรมฯ ก็ได้ยินเสียงหมาเห่าลั่น ซึ่งน้องไกด์น้อยทั้ง 2 บอกว่า พระ-เณร กำลังเดินกลับมาแล้ว จากนั้นบรรดาหมาในวัดก็พร้อมใจกันวิ่งลงไปรอรับพระ-เณรที่เดินกลับจากบิณฑบาต ตามเณรน้อย(บางรูปที่ไม่ได้บิณฑบาต)กับเด็กวัดบางรูปที่ไปช่วยรับของ ขณะที่ในช่วงขาไปที่พระ-เณรเหล่านี้ออกเดินบิณฑบาตตั้งแต่ฟ้ายังไม่ทันแจ้ง เจ้าหมาพวกนี้พวกมันต่างๆพากันวิ่งกรูออกไปส่ง บางตัววิ่งลิ่วนำหน้า
เรียกว่าทั้งไปส่ง-ไปรับ นับเป็นหมาแสนรู้ที่ดูน่าประทับใจไม่น้อยเลย
อ้อ!!! แต่ก็มีหมาบางตัวที่หลวงพ่อท่านเลี้ยงไว้ ที่แม้จะเห็นมันดูเชื่อง แต่ว่าอย่าไปลูบหัวมัน เพราะมันไม่ชอบ ไม่ยอมให้ใครมาลูบหัว เพราะแม้ขนาดพระในวัดยังลูบหัวมันไม่ได้ มันจะขู่และทำท่าจะกัดเอา ดังนั้นใครที่ไปสวนธรรมฯแล้วจะเล่นกับหมาก็ต้องสังเกตพฤติกรรมของหมาบางตัวกันให้ดีๆ
อย่าลืมนึกถึงสวนธรรมภูสมะ
สำหรับสวนธรรมภูสมะ เป็นพุทธศาสนาสถานอันปลีกวิเวก บรรยากาศดี และวิวดี ภายในบริเวณ(ที่ตั้งอยู่บนเนินเขา) ดูงดงามไปด้วยศิลปะพม่าและไทใหญ่รวมถึงงานร่วมสมัยที่ทางวัดนำมาประดับไว้ โดยอาคารต่างๆจะดูโดดเด่นไปด้วยหลังคาฉลุสังกะสีในแบบศิลปะพม่า
ส่วนที่ถือเป็นไฮไลท์ก็คือองค์ “พระพุทธรูปทรงเครื่อง” พระประธานแห่งสวนธรรมฯองค์ที่งดงามไปด้วยศิลปะพม่าสีทองอร่าม ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารโถง ไม่มีผนัง ส่วนข้างๆก็มีอาคารขนาดรองประดิษฐานพระพุทธรูปให้สักการะบูชา รวมไปถึง อาคารที่ให้คนมาไหว้พระแล้วทำบุญด้วยการเขียนชื่อใส่ป้ายแขวนไว้ ที่ผมเห็นแล้วชวนให้นึกถึงวัดจำนวนมากในญี่ปุ่นหรือเกาหลีไม่น้อยเลย
นอกจากนี้ภายในสวนธรรมก็ยังมีถ้อยคำธรรมะ คติเตือนใจ และรูปปั้นปริศนาธรรมที่ทรงเสน่ห์ไปด้วยงานศิลปะร่วมสมัย อีกทั้งยังมีจุดชมวิวที่มองลงไปเห็นสะพานซูตองเป้ทอดยาวอย่างสวยงาม
นับเป็นอีกหนึ่งจุดชมสะพานซูตองเป้ยอดนิยม โดยเฉพาะยามที่พระ-เณร ออกเดินบิณฑบาต ยามขากลับที่มีคนนิยมถ่ายภาพมุมนี้ออกมากันเป็นจำนวนมาก
ครับหลังเที่ยวที่สวนธรรมฯกันจนอิ่มบุญอิ่มใจแล้วก็ได้เวลาล่ำลาสถานที่แห่งนี้ ซึ่งไกดืน้อย 2 หนูน้อยก็ได้เดินมาส่งลา พร้อมกับพูดพร้อมกันเป็นดังเสียงประสานว่า
“ก่อนเข้านอนอย่างลืมนึกถึงสวนธรรมภูสมะนะคะ”
อย่าทำร้ายสะพานซูตองเป้
ลงจากสวนธรรมฯเรายังไม่ได้ไปไหนไกล เพราะช่วงนี้แสงแดดอ่อนๆยามเช้ากำลังสาดส่อง บรรยากาศถือว่าดีเป็นบ้า เราจึงยังคงใช้เวลาละเลียดเสพความงามของสะพานและทิวทัศน์รอบข้างกันอย่างเท่าที่ใจต้องการ
สะพานซูตองเป้ มีหลากหลายมุมให้สัมผัส ถ่ายรูปเที่ยวชม ไม่ว่าจะเป็นในช่วงโค้งสะพาน ใต้สะพาน พื้นไม้ไผ่(สาน) เหลี่ยมเสา หัวสะพาน หรือมองผ่านทุ่งนา ซึ่งในช่วงฤดูฝนที่ท้องทุ่งนาเขียวขจีกับช่วงหน้าหนาวที่ข้าวออกรวงเหลืองทอง มุมมองของสะพานถือว่าสวยงามมาก เป็นช่วงไฮไลท์ของการถ่ายรูปสะพานเลยทีเดียว
พูดถึงการถ่ายรูปแล้ว ในการกลับไปเที่ยวสะพานอีกครั้งในวันถัดไป ได้พบเห็นเรื่องที่ไม่พึงกระทำในการถ่ายรูปของคนถ่ายภาพบางคน(ไม่ขอเรียกว่าช่างภาพ เพราะมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม) คือคนกลุ่มนี้เหมือนเป็นพวกนักล่าภาพ มากกว่าคนถ่ายภาพ พวกเขาไปสะพานซูตองเป้อย่างคนกระหายภาพ ไปถ่ายภาพพระบิณฑบาตแบบวิ่งดักหน้า ดักหลัง รบกวนการเดินของพระ แถมบางคนยังมีบอกให้พระเดินช้าๆเพื่อที่จะได้รูปอย่างต้องการ(ดีที่ไม่บอกให้ท่านเดินกลับมาใหม่ล่ะ)
นี่ถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรทำของนักท่องเที่ยว คนถ่ายรูป เพราะเป็นการรบกวนวัตรปฏิบัติของพระภิกษุ-สามเณรท่าน
นอกจากนี้ล่าสุดกับการอวดภาพของนักท่องเที่ยวคะนองจำนวนหนึ่งที่มีการแชร์กันอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์(จากเพจ “ซูตองเป้ สวนธรรมภูสมะ พุทธศาสนสถาน”) กับภาพนักท่องเที่ยวไปกระโดดบนสะพานอย่างไม่ปราณีนั้นได้ถูกชาวเน็ตตำหนิอย่างมาก
เพราะจริงๆแล้วไม่ได้สร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ทางการท่องเที่ยว แต่ด้วยความที่สะพานแห่งนี้มีเสน่ห์อย่างมาก เป็นสะพานไม้ไผ่ยาวที่สุดในเมืองไทย มีมุมถ่ายรูปอันงดงามหลายจุด มีวิวทิวทัศน์ของท้องทุ่งนาอันสวยงาม มีบรรยากาศของพระ-เณรออกเดินบิณฑบาตอันเปี่ยมศรัทธาเลื่อมใส
ทำให้สะพานซูตองเป้กลายเป็นดังสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นมาในทางอ้อม และมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปถ่ายรูปสะพานแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต่างก็ไปด้วยจุดประสงค์ที่ดีงาม โดยนอกจากจะไปถ่ายรูปสะพานแห่งนี้แล้ว ก็ยังไปใส่บาตรพระภิกษุสามเณรที่ออกบิณฑบาตในตอนเช้าตรู่ ไปทำบุญ ไหว้พระที่สวนธรรมภูสมะกัน
อย่างไรก็ดีในข้อเท็จจริงนั้น แม้สะพานซูตองเป้ จะมีโครงสร้างของเสา คาน เป็นไม้จริง และโครงสร้างบางส่วนเป็นเหล็ก แต่ว่าพื้นสะพานนั้นทำเป็นไม้ไผ่สานที่ไม่แข็งแรงนัก เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ในการสร้างขึ้นเพื่อ รองรับน้ำหนักในการเดินสัญจรไป-มา ธรรมดา ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อรองรับน้ำหนักการกระแทกกระทั้น กระโดด วิ่ง หรือการแบกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากๆ
ดังนั้นการที่มีนักท่องเที่ยวขึ้นไปกระโดด หรือวิ่งบนสะพานนั้น นับเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง เพราะนั่นเป็นการทำให้สะพานชำรุดทรุดโทรมเร็วขึ้น ซึ่งสำหรับคนที่มาเที่ยวสะพานแห่งนี้ เมื่อเราเข้าไปรบกวนสถานที่ปฏิบัติธรรมของบรรพชิตท่าน ก็จำเป็นต้องสำรวมทั้ง กาย วาจา ใจ จะถ่ายรูป เซลฟี่ ต้องทำอย่างสำรวม เหมาะสม
ที่สำคัญคือห้ามไปกระโดดบนสะพาน เนื่องจากจะทำให้สะพานชำรุดเร็วขึ้น เพราะสะพานซูตองเป้ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่แห่งธรรม ที่เชื่อมระหว่างโลกของบรรพชิตกับฆราวาส ดังนั้นคนที่ไปเที่ยวจำเป็นต้องเคารพสถานที่
และโปรดอย่าได้ทำร้ายทำลายสะพานแห่งนี้กันเลย
*****************************************
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com