โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
สถานที่บางแห่ง เกาะบางเกาะในบ้านเรา ถูกบุกเบิกเปิดโลกทางการท่องเที่ยวโดยฝรั่งต่างชาติก่อน ก่อนที่คนไทยจะเข้าไปเที่ยวตามเมื่อเริ่มเป็นที่รู้จักมีชื่อเสียงขึ้นมา
หนึ่งในนั้นก็คือ “เกาะบุโหลน” จ.สตูล อีกหนึ่งหมู่เกาะงามปลายด้ามขวาน แห่งท้องทะเลไทยฝั่งอันดามัน ที่วันนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวต่างชาติ แต่ว่ากับคนไทยยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสักเท่าไหร่
หมู่เกาะบุโหลน
หมู่เกาะบุโหลน หรือ เกาะบุโหลน ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ที่มีพื้นที่ครอบคลุม 2 จังหวัดคือ ตรังและสตูล โดยเกาะบุโหลนอยู่ในเขตจังหวัดสตูล ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล
คุณ“เจตกร หวันสู” ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสตูล บอกกับผมว่า เกาะบุโหลนนั้นเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวฝรั่งมานานนับสิบปี รู้จักมาก่อนเกาะหลีเป๊ะ(แห่งหมู่เกาะตะรุเตา)ที่กำลังโด่งดังฮอตฮิตอยู่ทุกวันนี้มาหลายปีแล้ว
เกาะบุโหลนตั้งอยู่ห่างจากท่าเรือปากบาราประมาณ 22 กิโลเมตร เช่นเดียวกับเกาะตะรุเตาที่อยู่ห่างจากท่าเรือปากบาราไป 22 กิโลเมตรเท่าๆกัน แต่เกาะบุโหลนนั้นตั้งอยู่ทางด้านเหนือ(ด้านบน)ติดทะเลตรัง ส่วนเกาะตะรุเตาตั้งอยู่ทางใต้(ด้านล่าง)ติดกับน่านน้ำมาเลเซีย
สำหรับชื่อเกาะ“บุโหลน”นั้น สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “บูโละ” ในภาษามลายูที่แปลว่าไม้ไผ่ ที่มีบางข้อมูลได้บอกว่าในอดีตที่นี่(บางเกาะ)เคยมีไม้ไผ่อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งตามข้อมูลของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ระบุว่า หมู่เกาะบุโหลนประกอบด้วย “5 เกาะ” กับ “1 หิน” ดังนี้
5 เกาะคือ เกาะบุโหลนต่างๆ นำโดยสามเกาะหลัก ที่เป็นที่ท่องเที่ยวสำคัญของผมในทริปนี้ คือ “บุโหลนเล”(บือซาค), “บุโหลนดอน”(ดางาด) และ“บุโหลนไม้ไผ่”(ตืองะ) ส่วนอีก 2 เกาะที่เหลือ คือ “เกาะบุโหลนรัง”(ซารัง) เกาะหินขนาดเล็กไม่มีชายหาดและแนวปะการัง กับ “เกาะบุโหลนไก่”(อายำ)เกาะเล็กๆที่ไม่มีชายหาดและแนวปะการังเช่นกัน
ขณะที่ 1 หินนั้น คือ“หินขาว” ที่หลายๆคนมักเรียกว่าเกาะหินขาว แต่อันที่จริงมันไม่ใช่เกาะ เพราะเป็นเพียงโขดหินใต้ทะเลที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมาเป็นแท่งหินสีขาว ที่มีทั้งส่วนที่ขาวเองตามธรรมชาติและขาวจากสีของขี้นกที่มาทิ้งบอมบ์ไว้อยู่เรื่อยๆ
หินขาวมีโลกใต้ทะเลที่สวยงามเทียบเท่ากับ“ร่องน้ำจาบัง”(หมู่เกาะตะรุเตาที่อยู่ในทะเลสตูลเหมือนกัน) ใต้ทะเลที่หินขาวถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์ไม่น้อย ที่นี่โดดเด่นไปด้วยปะการังเจ็ดสีหรือแนวปะการังอ่อนหลากสีอันสวยงาม(ดูมีหลากสีมากกว่าที่ร่องน้ำจาบังเสียอีก) ถือเป็นจุดดำน้ำสำคัญที่นักท่องเที่ยวเมื่อมาเที่ยวเกาะบุโหลนมักจะไม่พลาดการมาดำน้ำที่นี่ เพียงแต่ว่าที่นี่มีกระแสน้ำแรงและคลื่นลมแรงในบางวัน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการกั้นเชือกเป็นแนวให้ผู้ลงดำน้ำได้เกาะยึดเหมือนที่ร่องน้ำจาบัง การลงดำน้ำที่นี่ในบางวันที่คลื่นลมแรงจึงอาจจะยากลำบากในการเทียบเรือ หรือบางวันอาจลงดำน้ำไม่ได้เลยก็ได้สำหรับผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็นหรือว่ายไม่แข็ง
หินขาววันนี้ ยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานฯหมู่เกาะเภตรา แต่ว่าอีกไม่นานทางอุทยานจะผนวกเข้าไว้ เพื่อที่จะได้ป้องกันคนมาทำลายทรัพยากรและดูแลอนุรักษ์ได้คล่องตัวขึ้น
บุโหลนไม้ไผ่
หมู่เกาะบุโหลนวันนี้ยังคงมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามพิสุทธิ์ และคงไว้ด้วยวิถีชาวชุมชน(บนเกาะ)อันเรียบง่าย จนมีคนเปรียบเปรยว่า เกาะบุโหลนคือเกาะสมุยย้อนไปเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว คือเกาะพีพีย้อนไปเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว คือเกาะหลีเป๊ะย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว
สำหรับ 3 เกาะบุโหลนหลักๆที่เที่ยวสำคัญในทริปนี้ที่กล่าวถึงไปในข้างต้นนั้น ผมเปิดประเดิมกันด้วย เกาะบุโหลนไม้ไผ่(ตืองะ) โดยเมื่อเดินทางออกจากท่าเรือปากบารามาได้ประมาณ 30 นาที ผมกับเพื่อนๆก็มาถึงยังเกาะแห่งนี้ ที่พอเรือแล่นเข้าไปเทียบชายหาดใกล้ๆเกาะ ภาพน้ำทะเลสวยใสแจ๋วที่ปรากฏแก่สายตานั้นก็เป็นดังสิ่งการันตีในเบื้องต้นว่า หมูเกาะแห่งนี้น่าจะมีดีไม่น้อยเลย
เกาะบุโหลนไม้ไผ่ เป็นเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดใน 3 เกาะหลัก คือเล็กกว่าเกาะบุโหลนดอนเล็กน้อยเกาะบุโหลนไม้ไผ่ไม่มีชุมชนอยู่อาศัย แต่มีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯตั้งอยู่มีเจ้าหน้าที่ดูและอยู่จำนวนหนึ่ง
บนเกาะบุโหลนไม้ไผ่ มีหาดทรายอยู่ 2 จุด คือหาดทางทิศเหนือ(จุดที่เรานำเรือมาเทียบท่า)ยาวประมาณ 100 เมตร กับหาดทางทิศตะวันออกที่เป็นหาดหลักยาวประมาณ 500 เมตร สามารถเล่นน้ำและดำดูปะการังน้ำตื้นได้ นอกจากนี้ยังมีเนินเขาเตี้ยให้เดินขึ้นไปชมวิวมองลงมาเห็นชายหาดหลักแห่งนี้
บุโหลนไม้ไผ่เป็นเกาะที่มีบรรยากาศสงบเป็นส่วนตัว บนเกาะมีลานกางเต็นท์ มีห้องน้ำบริการ และมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล ใครที่ชอบพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติเกาะบุโหลนไม้ไผ่ถือเป็นตัวเลือกชั้นดีที่สามารถไปพักค้างกันได้ตามอัธยาศัย
บุโหลนดอน
เกาะบุโหลนดอน(ดางาด) เป็นเกาะใหญ่ลำดับสองของหมู่เกาะบุโหลน ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ดูแลของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา แต่ว่าบนเกาะก็มีชาวชุมชนอาศัยอยู่เป็นชุมชนชาวเลอูรักลาโว้ยราว 70 กว่าครัวเรือน ที่เข้ามาอยู่อาศัยจับจองเป็นกลุ่มแรกก่อนประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานฯ โดยพวกเขาประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก
ชาวบ้านบนเกาะบุโหลนดอนเป็นชุมชนมุสลิมที่ดำรงวิถีอยู่กันอย่างเรียบง่าย แต่เมื่อผมได้เดินไปสัมผัสมันกลับไปเปี่ยมไปด้วยสีสันความมีชีวิตชีวา ดูทรงเสน่ห์เป็นยิ่งนัก บ้านเรือนพวกเขาปลูกสร้างอย่างเรียบง่าย หลายบ้านนิยมเรียกนกเขา หลายบ้านเลี้ยงแพะ ชาวชุมชนอยู่กันฉันมิตรพอเพียงดูอบอุ่น มีโรงเรียนอยู่บนเกาะคอยให้ความรู้เด็กๆตามอัตภาพ
พี่ชาวสตูลที่พาไปบอกว่าชุมชนชาวเลที่นี่เป็นดังภาพอดีตของชุมชนชาวเอ(อูรักลาโว้ย)แห่งเกาะหลีเป๊ะ ที่วันนี้ชุมชนชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะมีวิถีเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของการท่องเที่ยวที่รุกโหมกระหน่ำ จนแทบจะเปลี่ยนจากคนใน(หลีเป๊ะ)ให้กลายเป็นคนนอกไปทุกที
บนเกาะบุโหลนดอนอาจไม่มีหาดทรายสวยๆงามๆ แต่ว่าที่นี่มีความงดงามตามธรรมชาติจากวิถีชีวิตวัฒนธรรมชุมชน ที่แค่ผมไปเดินถ่ายรูปก็ชักชวนให้ผมกินปูม้า-ปูทะเลนึ่ง ที่สดใหม่เพิ่งจับขึ้นจากทะเล เนื้อปูแน่นหวานอร่อย ชนิดร้านซีฟู้ดดังในกรุงเทพฯต้องชิดซ้ายหลบขวา
พี่เจ้าบ้านบอกว่าปูที่นี่เป็นอาหารกินเล่นของพวกเขาและกินกันจนเบื่อ แต่ผมนั้นไม่เบื่อแป๊บเดียวฟาดเรียบ ซึ่งพี่เจ้าของบ้านก็ใจดีไปขนปูนึ่งมาให้กินกันอีก พร้อมกับเชิญชวนให้ผมกับเพื่อนกลับมาเที่ยวที่เกาะแห่งนี้กันอีก
“บนเกาะมากางเต็นท์นอนได้ หรือไม่อย่างนั้นมานอนที่บ้านพี่ก็ได้”
นี่คือน้ำใจที่พี่เจ้าของบ้านชาวเกาะที่เลี้ยงปูหยิบยื่นให้
สำหรับบรรยากาศบนเกาะบุโหลนดอน พวกชาวต่างชาติ พวกชอบเที่ยวแบบวิถีวัฒนธรรมชุมชน หรือพวกชอบถ่ายรูปก็คงจะเพลิดเพลินกับที่นี่ ส่วนพวกที่ชอบเที่ยวติดหรูไฮโซที่นี่อาจไม่เหมาะกับพวกเขา แต่ก็ไม่แน่นะ ถ้าหากได้ลงไปเดินสัมผัส ได้เจอมิตรไมตรีของชาวบ้าน รอยยิ้มน่ารักๆของเด็ก อาจจะประทับใจ ติดใจเกาะบุโหลน ชนิดต้องหาโอกาสกลับไปเยือนอีกหลายๆครั้งก็เป็นได้
บุโหลนเล
เกาะบุโหลนเล(บือซาค) หรือเกาะบุโหลนใหญ่ เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีสภาพธรรมชาติของหาดทรายชายทะเลที่สวยงามที่สุดของหมู่เกาะแห่งนี้
เกาะบุโหลนเลมีชาวชุมชนอาศัยอยู่เช่นเดียวกับที่บุโหลนดอน แต่ชาวบ้านที่นี่มีทั้งชาวเลอูรักลาโว้ยที่มาอาศัยอยู่บนเกาะมาตั้งแต่ก่อนประกาศจัดตั้งเป็นอุทยาน และชาวบ้านจากบนฝั่งที่ขึ้นไปประกอบอาชีพอยู่บนเกาะ
นอกจากนี้บนเกาะบุโหลนเลยังมีรีสอร์ทเล็กๆทั้งของชาวบ้านและนายทุนต่างถิ่นไว้บริการอยู่หลายแห่งหลายเจ้าที่ตั้งอยู่ท่ามกลางบรรยากาศอันร่วมรื่น โดยสภาพของธรรมชาติที่นี่ของยังคงสวยงามพิสุทธิ์ ซึ่งแม้จะมีชาวบ้านมาเข้ามาอาศัยอยู่ช้านาน มีการทำสวนยางขึ้นบนเกาะ แต่เกาะบุโหลนเลก็ยังคงป่าส่วนหนึ่งที่ยังคงสภาพสมบูรณ์และมีป่าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าดิบชื้น อีกทั้งบนเกาะยังมีสัตว์เฉพาะถิ่นอย่าง ค้างคาวเล็บกุด ค้างคาวปีกถุงเคราดำ ค้างคาวหน้ายักษ์สามหลืบ
ขณะที่นกเงือกก็มีอยู่จำนวนหนึ่ง ชนิดที่พวกมันได้บินโฉบลงมากินลูกไม้ให้ผมเห็นกันแบบไม่ไกล ส่วนเจ้าสัตว์ที่เรามักจะคุ้นเคยเห็นตามข่าวว่ามันมักจะไปโผล่แถวทำเนียบหรือรัฐสภา อย่าง“เหี้ย”นั้นก็มีให้เห็นทั้งในป่าและในหมู่บ้านที่ออกมาหาอาหารกิน
ส่วนโลกใต้ทะเลบริเวณเกาะบุโหลนเล ทางด้านทิศตะวันตกมีแนวปะการังน้ำตื้น สำหรับดำน้ำดูปะการัง มีพวกปะการังแข็ง อย่างปะการังโต๊ะ ปะการังเขากวาง ปะการังโขด และปะการังแข็งอีกหลายชนิดให้ดำน้ำตื้นทัศนากัน
ด้านหาดและอ่าวบนเกาะบุโหลนเลนั้นก็มี “อ่าวพังกาใหญ่”, “อ่าวพังกาน้อย” และอ่าวชื่อเท่ๆอย่าง“อ่าวสบายใจ” รวมถึง“หาดแพนแซน” ที่ชาวบ้านเรียกชื่อหาดตามชื่อรีสอร์ทที่อยู่บริเวณนั้น หาดแพนแซนเป็นแนวหาดทรายยาว พื้นทรายละเอียดยิบ พวกฝรั่งนิยมมาอาบแดดเล่นน้ำที่นี่กันเป็นจำนวนมาก รวมถึง“อ่าวม่วง” จุดขึ้นเรือของผมกับคณะในทริปนี้
อ่าวม่วงตั้งชื่อตามต้นมะม่วงป่าต้นใหญ่ที่ครั้งหนึ่งเคยยืนต้นโดดเด่นตระหง่าน แต่ว่าวันนี้มันได้จากไปเหลือไว้เพียงแต่ชื่อ อ่าวม่วง แม้จะไม่ใช่หาดทรายชวนเล่นน้ำแต่ก็ดูมีเสน่ห์ด้วยภาพวิถีชีวิตของชุมชนชาวประมง ซึ่งที่นี่ถือเป็นศูนย์กลางการทำประมงของเกาะ หากไปถูกจังหวะเวลาก็จะเห็นชาวบ้านช่วยกันปลด ปู ปลา หมึก จากข่าย แห ที่ออกเลไปจับมาด้วยเครื่องมือประมงพื้นบ้าน
จากอ่าวม่วงผมเดินตัดผ่านหมู่บ้าน ไปทัศนาชมเกาะตามจุดต่างๆ ผ่านสวนยาง ชุมชน รีสอร์ทต่างๆ ไปจนถึงอีกฟากฝั่งของเกาะที่อ่าวพังกาน้อย ที่เป็นเวิ้งอ่าวขนาดย่อม แต่มีบรรยากาศเงียบสงบ มีนักท่องเที่ยวมาพักอยู่ไม่ได้ขาด
เกาะบุโหลนเลถือว่ามีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูงสุดในบรรดา 3 เกาะ แต่สำหรับชาวบ้านบนเกาะส่วนหนึ่ง พวกเขายังประสบกับปัญหาด้านความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตในหลายด้าน ซึ่งทางอช.หมู่เกาะเภตรา ได้จับมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีมูลนิธิชัยพัฒนาให้การสนับสนุนอีกแรง ได้ร่วมมือกันลงไปช่วยชาวบ้านในพื้นที่ในหลายๆด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ด้านการพัฒนาสุขภาพอนามัย,ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม,อนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของชาวบ้านโดยเฉพาะชาวอูรักลาโว้ย ,สำรวจแหล่งน้ำ,ปรับปรุงคุณภาพน้ำ,โครงการด้านพัฒนาเศรษฐกิจ ,การส่งเสริมการท่องเที่ยวจัดทำเส้นทางเดินธรรมชาติบนเกาะ พร้อมกับมีการทำป้ายข้อมูลท่องเที่ยวที่ทำออกได้อย่างสวยงามน่าสนใจมาก
วันเดย์ทริป
ด้วยศักยภาพอันล้นเหลือและธรรมชาติอันพิสุทธิ์สวยงาม อีกทั้งยังคงมีความดิบซึ่งเป็นที่ปรารถนาของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทำให้เกาะบุโหลนในวันนี้เริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากขึ้น และก็มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาพักอยู่ไม่ได้ขาด ส่วนนักท่องเที่ยวก็เริ่มเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันบ้าง นั่นจึงทำให้ล่าสุด ทางกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยว จ.สตูล โดยการส่งเสริมของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานตรัง ที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ จ.สตูลด้วย ได้ร่วมกันผลักดันกิจกรรมนำร่อง“เที่ยวเกาะบุโหลนแบบวันเดย์ทริป”(1 Day Trip)ขึ้น เพื่อต้องการกระจายรายได้สู่พื้นที่เกาะบุโหลนให้มากขึ้น และกระจายคนที่ไปอัดแน่นกันบนเกาะหลีเป๊ะให้มาเที่ยวทะเลสตูลทางตอนเหนือที่เกาะแห่งนี้บ้าง
โดยจากฝั่งท่าเรือปากบารา เดินทางมาเที่ยว ใน 3 เกาะหลักของหมู่เกาะ คือ บุโหลนไม้ไผ่ บุโหลนเล และบุโหลนดอน พร้อมด้วยกิจกรรมดำน้ำที่หินขาว ในแบบสบายๆแต่ก็เต็มอิ่มภายใน 1 วัน
ทั้งนี้นอกจากสภาพธรรมชาติ หาดทรายชายทะเลแล้ว ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวสตูลท่านหนึ่งได้บอกกับว่าเกาะบุโหลนมีจุดเด่นๆหลักๆทางการท่องเที่ยวที่เขาสรุปได้อยู่ 4 ประการด้วยกัน คือ 1.อยู่ใกล้ฝั่ง 2.มีความเป็นวิถีชีวิต(ต่างชาติชอบ) 3.สงบ บรรยากาศดี และ 4.มีบรรยากาศแห่งการพักผ่อน
และนั่นถือเป็นการเดินหน้าเติบโตทางการท่องเที่ยวอีกขั้นหนึ่งของเกาะบุโหลน ที่ต้องติดตามกันต่อไปว่าในอนาคตเกาะงามแห่งนี้จะเป็นเช่นใด เพราะที่ผ่านมาหลังจากเกาะบุโหลนเริ่มมีชื่อเสียง ก็ได้มีนายทุนเข้าไปจับจองสร้างรีสอร์ทที่พัก ซึ่งหลายเจ้าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายแค่อีกหลายเจ้าก็ทำไม่ถูกต้อง
นั่นจึงทำให้เมื่อเร็วๆนี้ทางการต้องเข้าไปปราบปรามและรื้อถอนรีสอร์ทจำนวนหนึ่งของนายทุนที่เข้ามาบุกรุกพื้นที่อุทยานฯโดยผิดกฎหมาย ส่วนนายทุนผู้บุกรุกที่ทำผิดอีกจำนวนหนึ่งนั้นก็อยู่ในขั้นตอนการดำเนินคดีที่ต้องเฝ้าติดตามกันต่อไป เพราะเพียงแค่เกาะบุโหลนเริ่มมีชื่อเสียง ก็มีนายทุนพุ่งเป้าหวังเข้าไปแสวงหาผลกำไรกันแล้ว
อนาคต???
สถานที่บางแห่ง เกาะบางเกาะในบ้านเรา ถูกบุกเบิกเปิดโลกทางการท่องเที่ยวโดยฝรั่งต่างชาติก่อน ก่อนที่คนไทยจะเข้าไปเที่ยวตามเมื่อเริ่มเป็นที่รู้จักมีชื่อเสียงขึ้นมา จากนั้นทัวร์จีน ทัวร์รัสเซีย ก็แห่เข้าไปเที่ยว นายทุนก็สบช่องเข้าไปกอบโกย
อย่างไรก็ดีด้วยแนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบไทยๆ ที่ผู้อนุรักษ์ หวังดี จริงใจ เน้นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มักจะพ่ายแพ้ต่อผู้ที่มาแสวงหาผลประโยชน์กอบโกย สุดท้ายสถานที่ท่องเที่ยวหลายๆแห่ง เกาะหลายๆเกาะ ก็ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆที่รุมเร้าตามมาจนเสียศูนย์กู่ไม่กลับ กลายเป็นปัญหาพื้นฐานที่วันนี้ยังแก้กันไม่ได้
ยังไงๆผมได้แต่ภาวนา ว่าในอนาคตขออย่าให้เกาะบุโหลนเป็นเช่นนั้นเลย
*****************************************
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดกิจกรรมท่องเที่ยวเกาะบุโหลน ทั้งแบบ วัน เดย์ ทริป และแบบพักค้างคืน รวมถึงที่พักต่างๆบนเกาะได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานตรัง (ดูแล จ.ตรัง และสตูล) โทร. 0 7521 5867, 0 7521 1085
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
สถานที่บางแห่ง เกาะบางเกาะในบ้านเรา ถูกบุกเบิกเปิดโลกทางการท่องเที่ยวโดยฝรั่งต่างชาติก่อน ก่อนที่คนไทยจะเข้าไปเที่ยวตามเมื่อเริ่มเป็นที่รู้จักมีชื่อเสียงขึ้นมา
หนึ่งในนั้นก็คือ “เกาะบุโหลน” จ.สตูล อีกหนึ่งหมู่เกาะงามปลายด้ามขวาน แห่งท้องทะเลไทยฝั่งอันดามัน ที่วันนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวต่างชาติ แต่ว่ากับคนไทยยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสักเท่าไหร่
หมู่เกาะบุโหลน
หมู่เกาะบุโหลน หรือ เกาะบุโหลน ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ที่มีพื้นที่ครอบคลุม 2 จังหวัดคือ ตรังและสตูล โดยเกาะบุโหลนอยู่ในเขตจังหวัดสตูล ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล
คุณ“เจตกร หวันสู” ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสตูล บอกกับผมว่า เกาะบุโหลนนั้นเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวฝรั่งมานานนับสิบปี รู้จักมาก่อนเกาะหลีเป๊ะ(แห่งหมู่เกาะตะรุเตา)ที่กำลังโด่งดังฮอตฮิตอยู่ทุกวันนี้มาหลายปีแล้ว
เกาะบุโหลนตั้งอยู่ห่างจากท่าเรือปากบาราประมาณ 22 กิโลเมตร เช่นเดียวกับเกาะตะรุเตาที่อยู่ห่างจากท่าเรือปากบาราไป 22 กิโลเมตรเท่าๆกัน แต่เกาะบุโหลนนั้นตั้งอยู่ทางด้านเหนือ(ด้านบน)ติดทะเลตรัง ส่วนเกาะตะรุเตาตั้งอยู่ทางใต้(ด้านล่าง)ติดกับน่านน้ำมาเลเซีย
สำหรับชื่อเกาะ“บุโหลน”นั้น สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “บูโละ” ในภาษามลายูที่แปลว่าไม้ไผ่ ที่มีบางข้อมูลได้บอกว่าในอดีตที่นี่(บางเกาะ)เคยมีไม้ไผ่อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งตามข้อมูลของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ระบุว่า หมู่เกาะบุโหลนประกอบด้วย “5 เกาะ” กับ “1 หิน” ดังนี้
5 เกาะคือ เกาะบุโหลนต่างๆ นำโดยสามเกาะหลัก ที่เป็นที่ท่องเที่ยวสำคัญของผมในทริปนี้ คือ “บุโหลนเล”(บือซาค), “บุโหลนดอน”(ดางาด) และ“บุโหลนไม้ไผ่”(ตืองะ) ส่วนอีก 2 เกาะที่เหลือ คือ “เกาะบุโหลนรัง”(ซารัง) เกาะหินขนาดเล็กไม่มีชายหาดและแนวปะการัง กับ “เกาะบุโหลนไก่”(อายำ)เกาะเล็กๆที่ไม่มีชายหาดและแนวปะการังเช่นกัน
ขณะที่ 1 หินนั้น คือ“หินขาว” ที่หลายๆคนมักเรียกว่าเกาะหินขาว แต่อันที่จริงมันไม่ใช่เกาะ เพราะเป็นเพียงโขดหินใต้ทะเลที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมาเป็นแท่งหินสีขาว ที่มีทั้งส่วนที่ขาวเองตามธรรมชาติและขาวจากสีของขี้นกที่มาทิ้งบอมบ์ไว้อยู่เรื่อยๆ
หินขาวมีโลกใต้ทะเลที่สวยงามเทียบเท่ากับ“ร่องน้ำจาบัง”(หมู่เกาะตะรุเตาที่อยู่ในทะเลสตูลเหมือนกัน) ใต้ทะเลที่หินขาวถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์ไม่น้อย ที่นี่โดดเด่นไปด้วยปะการังเจ็ดสีหรือแนวปะการังอ่อนหลากสีอันสวยงาม(ดูมีหลากสีมากกว่าที่ร่องน้ำจาบังเสียอีก) ถือเป็นจุดดำน้ำสำคัญที่นักท่องเที่ยวเมื่อมาเที่ยวเกาะบุโหลนมักจะไม่พลาดการมาดำน้ำที่นี่ เพียงแต่ว่าที่นี่มีกระแสน้ำแรงและคลื่นลมแรงในบางวัน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการกั้นเชือกเป็นแนวให้ผู้ลงดำน้ำได้เกาะยึดเหมือนที่ร่องน้ำจาบัง การลงดำน้ำที่นี่ในบางวันที่คลื่นลมแรงจึงอาจจะยากลำบากในการเทียบเรือ หรือบางวันอาจลงดำน้ำไม่ได้เลยก็ได้สำหรับผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็นหรือว่ายไม่แข็ง
หินขาววันนี้ ยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานฯหมู่เกาะเภตรา แต่ว่าอีกไม่นานทางอุทยานจะผนวกเข้าไว้ เพื่อที่จะได้ป้องกันคนมาทำลายทรัพยากรและดูแลอนุรักษ์ได้คล่องตัวขึ้น
บุโหลนไม้ไผ่
หมู่เกาะบุโหลนวันนี้ยังคงมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามพิสุทธิ์ และคงไว้ด้วยวิถีชาวชุมชน(บนเกาะ)อันเรียบง่าย จนมีคนเปรียบเปรยว่า เกาะบุโหลนคือเกาะสมุยย้อนไปเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว คือเกาะพีพีย้อนไปเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว คือเกาะหลีเป๊ะย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว
สำหรับ 3 เกาะบุโหลนหลักๆที่เที่ยวสำคัญในทริปนี้ที่กล่าวถึงไปในข้างต้นนั้น ผมเปิดประเดิมกันด้วย เกาะบุโหลนไม้ไผ่(ตืองะ) โดยเมื่อเดินทางออกจากท่าเรือปากบารามาได้ประมาณ 30 นาที ผมกับเพื่อนๆก็มาถึงยังเกาะแห่งนี้ ที่พอเรือแล่นเข้าไปเทียบชายหาดใกล้ๆเกาะ ภาพน้ำทะเลสวยใสแจ๋วที่ปรากฏแก่สายตานั้นก็เป็นดังสิ่งการันตีในเบื้องต้นว่า หมูเกาะแห่งนี้น่าจะมีดีไม่น้อยเลย
เกาะบุโหลนไม้ไผ่ เป็นเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดใน 3 เกาะหลัก คือเล็กกว่าเกาะบุโหลนดอนเล็กน้อยเกาะบุโหลนไม้ไผ่ไม่มีชุมชนอยู่อาศัย แต่มีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯตั้งอยู่มีเจ้าหน้าที่ดูและอยู่จำนวนหนึ่ง
บนเกาะบุโหลนไม้ไผ่ มีหาดทรายอยู่ 2 จุด คือหาดทางทิศเหนือ(จุดที่เรานำเรือมาเทียบท่า)ยาวประมาณ 100 เมตร กับหาดทางทิศตะวันออกที่เป็นหาดหลักยาวประมาณ 500 เมตร สามารถเล่นน้ำและดำดูปะการังน้ำตื้นได้ นอกจากนี้ยังมีเนินเขาเตี้ยให้เดินขึ้นไปชมวิวมองลงมาเห็นชายหาดหลักแห่งนี้
บุโหลนไม้ไผ่เป็นเกาะที่มีบรรยากาศสงบเป็นส่วนตัว บนเกาะมีลานกางเต็นท์ มีห้องน้ำบริการ และมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล ใครที่ชอบพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติเกาะบุโหลนไม้ไผ่ถือเป็นตัวเลือกชั้นดีที่สามารถไปพักค้างกันได้ตามอัธยาศัย
บุโหลนดอน
เกาะบุโหลนดอน(ดางาด) เป็นเกาะใหญ่ลำดับสองของหมู่เกาะบุโหลน ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ดูแลของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา แต่ว่าบนเกาะก็มีชาวชุมชนอาศัยอยู่เป็นชุมชนชาวเลอูรักลาโว้ยราว 70 กว่าครัวเรือน ที่เข้ามาอยู่อาศัยจับจองเป็นกลุ่มแรกก่อนประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานฯ โดยพวกเขาประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก
ชาวบ้านบนเกาะบุโหลนดอนเป็นชุมชนมุสลิมที่ดำรงวิถีอยู่กันอย่างเรียบง่าย แต่เมื่อผมได้เดินไปสัมผัสมันกลับไปเปี่ยมไปด้วยสีสันความมีชีวิตชีวา ดูทรงเสน่ห์เป็นยิ่งนัก บ้านเรือนพวกเขาปลูกสร้างอย่างเรียบง่าย หลายบ้านนิยมเรียกนกเขา หลายบ้านเลี้ยงแพะ ชาวชุมชนอยู่กันฉันมิตรพอเพียงดูอบอุ่น มีโรงเรียนอยู่บนเกาะคอยให้ความรู้เด็กๆตามอัตภาพ
พี่ชาวสตูลที่พาไปบอกว่าชุมชนชาวเลที่นี่เป็นดังภาพอดีตของชุมชนชาวเอ(อูรักลาโว้ย)แห่งเกาะหลีเป๊ะ ที่วันนี้ชุมชนชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะมีวิถีเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของการท่องเที่ยวที่รุกโหมกระหน่ำ จนแทบจะเปลี่ยนจากคนใน(หลีเป๊ะ)ให้กลายเป็นคนนอกไปทุกที
บนเกาะบุโหลนดอนอาจไม่มีหาดทรายสวยๆงามๆ แต่ว่าที่นี่มีความงดงามตามธรรมชาติจากวิถีชีวิตวัฒนธรรมชุมชน ที่แค่ผมไปเดินถ่ายรูปก็ชักชวนให้ผมกินปูม้า-ปูทะเลนึ่ง ที่สดใหม่เพิ่งจับขึ้นจากทะเล เนื้อปูแน่นหวานอร่อย ชนิดร้านซีฟู้ดดังในกรุงเทพฯต้องชิดซ้ายหลบขวา
พี่เจ้าบ้านบอกว่าปูที่นี่เป็นอาหารกินเล่นของพวกเขาและกินกันจนเบื่อ แต่ผมนั้นไม่เบื่อแป๊บเดียวฟาดเรียบ ซึ่งพี่เจ้าของบ้านก็ใจดีไปขนปูนึ่งมาให้กินกันอีก พร้อมกับเชิญชวนให้ผมกับเพื่อนกลับมาเที่ยวที่เกาะแห่งนี้กันอีก
“บนเกาะมากางเต็นท์นอนได้ หรือไม่อย่างนั้นมานอนที่บ้านพี่ก็ได้”
นี่คือน้ำใจที่พี่เจ้าของบ้านชาวเกาะที่เลี้ยงปูหยิบยื่นให้
สำหรับบรรยากาศบนเกาะบุโหลนดอน พวกชาวต่างชาติ พวกชอบเที่ยวแบบวิถีวัฒนธรรมชุมชน หรือพวกชอบถ่ายรูปก็คงจะเพลิดเพลินกับที่นี่ ส่วนพวกที่ชอบเที่ยวติดหรูไฮโซที่นี่อาจไม่เหมาะกับพวกเขา แต่ก็ไม่แน่นะ ถ้าหากได้ลงไปเดินสัมผัส ได้เจอมิตรไมตรีของชาวบ้าน รอยยิ้มน่ารักๆของเด็ก อาจจะประทับใจ ติดใจเกาะบุโหลน ชนิดต้องหาโอกาสกลับไปเยือนอีกหลายๆครั้งก็เป็นได้
บุโหลนเล
เกาะบุโหลนเล(บือซาค) หรือเกาะบุโหลนใหญ่ เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีสภาพธรรมชาติของหาดทรายชายทะเลที่สวยงามที่สุดของหมู่เกาะแห่งนี้
เกาะบุโหลนเลมีชาวชุมชนอาศัยอยู่เช่นเดียวกับที่บุโหลนดอน แต่ชาวบ้านที่นี่มีทั้งชาวเลอูรักลาโว้ยที่มาอาศัยอยู่บนเกาะมาตั้งแต่ก่อนประกาศจัดตั้งเป็นอุทยาน และชาวบ้านจากบนฝั่งที่ขึ้นไปประกอบอาชีพอยู่บนเกาะ
นอกจากนี้บนเกาะบุโหลนเลยังมีรีสอร์ทเล็กๆทั้งของชาวบ้านและนายทุนต่างถิ่นไว้บริการอยู่หลายแห่งหลายเจ้าที่ตั้งอยู่ท่ามกลางบรรยากาศอันร่วมรื่น โดยสภาพของธรรมชาติที่นี่ของยังคงสวยงามพิสุทธิ์ ซึ่งแม้จะมีชาวบ้านมาเข้ามาอาศัยอยู่ช้านาน มีการทำสวนยางขึ้นบนเกาะ แต่เกาะบุโหลนเลก็ยังคงป่าส่วนหนึ่งที่ยังคงสภาพสมบูรณ์และมีป่าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าดิบชื้น อีกทั้งบนเกาะยังมีสัตว์เฉพาะถิ่นอย่าง ค้างคาวเล็บกุด ค้างคาวปีกถุงเคราดำ ค้างคาวหน้ายักษ์สามหลืบ
ขณะที่นกเงือกก็มีอยู่จำนวนหนึ่ง ชนิดที่พวกมันได้บินโฉบลงมากินลูกไม้ให้ผมเห็นกันแบบไม่ไกล ส่วนเจ้าสัตว์ที่เรามักจะคุ้นเคยเห็นตามข่าวว่ามันมักจะไปโผล่แถวทำเนียบหรือรัฐสภา อย่าง“เหี้ย”นั้นก็มีให้เห็นทั้งในป่าและในหมู่บ้านที่ออกมาหาอาหารกิน
ส่วนโลกใต้ทะเลบริเวณเกาะบุโหลนเล ทางด้านทิศตะวันตกมีแนวปะการังน้ำตื้น สำหรับดำน้ำดูปะการัง มีพวกปะการังแข็ง อย่างปะการังโต๊ะ ปะการังเขากวาง ปะการังโขด และปะการังแข็งอีกหลายชนิดให้ดำน้ำตื้นทัศนากัน
ด้านหาดและอ่าวบนเกาะบุโหลนเลนั้นก็มี “อ่าวพังกาใหญ่”, “อ่าวพังกาน้อย” และอ่าวชื่อเท่ๆอย่าง“อ่าวสบายใจ” รวมถึง“หาดแพนแซน” ที่ชาวบ้านเรียกชื่อหาดตามชื่อรีสอร์ทที่อยู่บริเวณนั้น หาดแพนแซนเป็นแนวหาดทรายยาว พื้นทรายละเอียดยิบ พวกฝรั่งนิยมมาอาบแดดเล่นน้ำที่นี่กันเป็นจำนวนมาก รวมถึง“อ่าวม่วง” จุดขึ้นเรือของผมกับคณะในทริปนี้
อ่าวม่วงตั้งชื่อตามต้นมะม่วงป่าต้นใหญ่ที่ครั้งหนึ่งเคยยืนต้นโดดเด่นตระหง่าน แต่ว่าวันนี้มันได้จากไปเหลือไว้เพียงแต่ชื่อ อ่าวม่วง แม้จะไม่ใช่หาดทรายชวนเล่นน้ำแต่ก็ดูมีเสน่ห์ด้วยภาพวิถีชีวิตของชุมชนชาวประมง ซึ่งที่นี่ถือเป็นศูนย์กลางการทำประมงของเกาะ หากไปถูกจังหวะเวลาก็จะเห็นชาวบ้านช่วยกันปลด ปู ปลา หมึก จากข่าย แห ที่ออกเลไปจับมาด้วยเครื่องมือประมงพื้นบ้าน
จากอ่าวม่วงผมเดินตัดผ่านหมู่บ้าน ไปทัศนาชมเกาะตามจุดต่างๆ ผ่านสวนยาง ชุมชน รีสอร์ทต่างๆ ไปจนถึงอีกฟากฝั่งของเกาะที่อ่าวพังกาน้อย ที่เป็นเวิ้งอ่าวขนาดย่อม แต่มีบรรยากาศเงียบสงบ มีนักท่องเที่ยวมาพักอยู่ไม่ได้ขาด
เกาะบุโหลนเลถือว่ามีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูงสุดในบรรดา 3 เกาะ แต่สำหรับชาวบ้านบนเกาะส่วนหนึ่ง พวกเขายังประสบกับปัญหาด้านความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตในหลายด้าน ซึ่งทางอช.หมู่เกาะเภตรา ได้จับมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีมูลนิธิชัยพัฒนาให้การสนับสนุนอีกแรง ได้ร่วมมือกันลงไปช่วยชาวบ้านในพื้นที่ในหลายๆด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ด้านการพัฒนาสุขภาพอนามัย,ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม,อนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของชาวบ้านโดยเฉพาะชาวอูรักลาโว้ย ,สำรวจแหล่งน้ำ,ปรับปรุงคุณภาพน้ำ,โครงการด้านพัฒนาเศรษฐกิจ ,การส่งเสริมการท่องเที่ยวจัดทำเส้นทางเดินธรรมชาติบนเกาะ พร้อมกับมีการทำป้ายข้อมูลท่องเที่ยวที่ทำออกได้อย่างสวยงามน่าสนใจมาก
วันเดย์ทริป
ด้วยศักยภาพอันล้นเหลือและธรรมชาติอันพิสุทธิ์สวยงาม อีกทั้งยังคงมีความดิบซึ่งเป็นที่ปรารถนาของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทำให้เกาะบุโหลนในวันนี้เริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากขึ้น และก็มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาพักอยู่ไม่ได้ขาด ส่วนนักท่องเที่ยวก็เริ่มเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันบ้าง นั่นจึงทำให้ล่าสุด ทางกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยว จ.สตูล โดยการส่งเสริมของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานตรัง ที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ จ.สตูลด้วย ได้ร่วมกันผลักดันกิจกรรมนำร่อง“เที่ยวเกาะบุโหลนแบบวันเดย์ทริป”(1 Day Trip)ขึ้น เพื่อต้องการกระจายรายได้สู่พื้นที่เกาะบุโหลนให้มากขึ้น และกระจายคนที่ไปอัดแน่นกันบนเกาะหลีเป๊ะให้มาเที่ยวทะเลสตูลทางตอนเหนือที่เกาะแห่งนี้บ้าง
โดยจากฝั่งท่าเรือปากบารา เดินทางมาเที่ยว ใน 3 เกาะหลักของหมู่เกาะ คือ บุโหลนไม้ไผ่ บุโหลนเล และบุโหลนดอน พร้อมด้วยกิจกรรมดำน้ำที่หินขาว ในแบบสบายๆแต่ก็เต็มอิ่มภายใน 1 วัน
ทั้งนี้นอกจากสภาพธรรมชาติ หาดทรายชายทะเลแล้ว ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวสตูลท่านหนึ่งได้บอกกับว่าเกาะบุโหลนมีจุดเด่นๆหลักๆทางการท่องเที่ยวที่เขาสรุปได้อยู่ 4 ประการด้วยกัน คือ 1.อยู่ใกล้ฝั่ง 2.มีความเป็นวิถีชีวิต(ต่างชาติชอบ) 3.สงบ บรรยากาศดี และ 4.มีบรรยากาศแห่งการพักผ่อน
และนั่นถือเป็นการเดินหน้าเติบโตทางการท่องเที่ยวอีกขั้นหนึ่งของเกาะบุโหลน ที่ต้องติดตามกันต่อไปว่าในอนาคตเกาะงามแห่งนี้จะเป็นเช่นใด เพราะที่ผ่านมาหลังจากเกาะบุโหลนเริ่มมีชื่อเสียง ก็ได้มีนายทุนเข้าไปจับจองสร้างรีสอร์ทที่พัก ซึ่งหลายเจ้าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายแค่อีกหลายเจ้าก็ทำไม่ถูกต้อง
นั่นจึงทำให้เมื่อเร็วๆนี้ทางการต้องเข้าไปปราบปรามและรื้อถอนรีสอร์ทจำนวนหนึ่งของนายทุนที่เข้ามาบุกรุกพื้นที่อุทยานฯโดยผิดกฎหมาย ส่วนนายทุนผู้บุกรุกที่ทำผิดอีกจำนวนหนึ่งนั้นก็อยู่ในขั้นตอนการดำเนินคดีที่ต้องเฝ้าติดตามกันต่อไป เพราะเพียงแค่เกาะบุโหลนเริ่มมีชื่อเสียง ก็มีนายทุนพุ่งเป้าหวังเข้าไปแสวงหาผลกำไรกันแล้ว
อนาคต???
สถานที่บางแห่ง เกาะบางเกาะในบ้านเรา ถูกบุกเบิกเปิดโลกทางการท่องเที่ยวโดยฝรั่งต่างชาติก่อน ก่อนที่คนไทยจะเข้าไปเที่ยวตามเมื่อเริ่มเป็นที่รู้จักมีชื่อเสียงขึ้นมา จากนั้นทัวร์จีน ทัวร์รัสเซีย ก็แห่เข้าไปเที่ยว นายทุนก็สบช่องเข้าไปกอบโกย
อย่างไรก็ดีด้วยแนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบไทยๆ ที่ผู้อนุรักษ์ หวังดี จริงใจ เน้นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มักจะพ่ายแพ้ต่อผู้ที่มาแสวงหาผลประโยชน์กอบโกย สุดท้ายสถานที่ท่องเที่ยวหลายๆแห่ง เกาะหลายๆเกาะ ก็ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆที่รุมเร้าตามมาจนเสียศูนย์กู่ไม่กลับ กลายเป็นปัญหาพื้นฐานที่วันนี้ยังแก้กันไม่ได้
ยังไงๆผมได้แต่ภาวนา ว่าในอนาคตขออย่าให้เกาะบุโหลนเป็นเช่นนั้นเลย
*****************************************
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดกิจกรรมท่องเที่ยวเกาะบุโหลน ทั้งแบบ วัน เดย์ ทริป และแบบพักค้างคืน รวมถึงที่พักต่างๆบนเกาะได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานตรัง (ดูแล จ.ตรัง และสตูล) โทร. 0 7521 5867, 0 7521 1085
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com