โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
คลิกชมคลิปหินบ่อเพชรระยิบระยับ
ด้วยลักษณะภูมิประเทศเฉพาะของ “กระบี่ : เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก” ที่มีภูเขาหินปูนตั้งอยู่มากมายทั้งบนฝั่งและในทะเล ทำให้กระบี่เป็นเมืองที่มีถ้ำน่าสนใจแฝงตัวอยู่ตามขุนเขาหินปูนมากมาย
สำหรับการล่องใต้ลงไปเยือนกระบี่ของผมคราวนี้ นอกจะออกทะเลไปสัมผัสน้ำสวย ฟ้าใส อันมากไปด้วยสาวๆในชุดบิกินีมาเดินอวดโฉมแล้ว ที่บนฝั่งผมก็ได้มีโอกาสไปเยือน “ถ้ำปราสาทนาฬาคิริง” ที่ถือเป็นอีกประสบการณ์แปลกใหม่ในการเยือนกระบี่ของผม
ถ้ำปราสาทนาฬาคิริง ตั้งอยู่ภายในเขตพื้นที่ดูแลของ “วัดถ้ำปราสาทนาฬาคิริง” ที่เดิมเป็นสำนักสงฆ์ ก่อนจะพัฒนาขึ้นมาเป็นวัดในปัจจุบัน ซึ่งล่าสุดทางวัดกำลังมีการสร้างโบสถ์หลังงามในรูปทรงเฉพาะ ตั้งเด่นอยู่หน้าขุนเขาถ้ำปราสาทฯ เป็นรูปช้างหมอบ ชูงวง-ชูงา ดูแปลกตา แต่ว่าสมส่วนสวยงาม โดยในอนาคตทางวัดจะทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เกี่ยวกับช้าง เพราะที่มาของโบสถ์รูปช้างกับถ้ำนั้นสัมพันธ์กัน ซึ่งคาดว่าโบสถ์ช้างหมอบน่าจะสร้างแล้วเสร็จภายในปีนี้
1...
ที่วัดถ้ำปราสาทฯ ผมกับคณะเข้าไปกราบนมัสการ “หลวงพ่อขจิต กมโล” ท่านเจ้าอาวาสวัดถ้ำปราสาทฯ ที่มีความสำคัญมากต่อถ้ำปราสาทนาฬาคิริง เพราะท่านเป็นผู้ค้นพบถ้ำแห่งนี้ โดยเรื่องราวการค้นพบถ้ำของท่านนั้นน่าสนใจไม่น้อย ซึ่งผมขอเล่าเท้าความย้อนไปในอดีต ในสมัยที่หลวงพ่อขจิตท่านยังออกธุดงค์ไปทั่วไทย
หลวงพ่อขจิตท่านมีพื้นเพเป็นคนสงขลา ในช่วงปี พ.ศ. 2529 มีโอกาสธุดงค์ขึ้นเหนือ และไปจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำวัว จ.แม่ฮ่องสอน แล้วได้นิมิตเห็นชายตัวดำรูปร่างสูงใหญ่ไม่ใส่เสื้อนุ่งโจงกระเบนสีขาว สะพายย่ามมือถือเทียนมาชวนหลวงพ่อไปดูถ้ำแห่งหนึ่ง ชายคนนั้นพูดอะไรมากมายหลายอย่าง พร้อมกับให้หลวงพ่อไปอยู่ในถ้ำนั้น ทีแรกหลวงพ่อขจิตปฏิเสธ แต่ชายร่างใหญ่ได้พยามอธิบาย ชักจูง จนหลวงพ่อยอม ชายคนนั้นจึงพาหลวงพ่อออกจากถ้ำ
หลังนิมิตผ่านพ้น หลวงพ่อขจิตได้พยายามสืบเสาะหาถ้ำในนิมิตตามที่ต่างๆอยู่หลายแห่ง จนในปี 2533 ท่านได้รับนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าสำนักสงฆ์แหงหนึ่งใน อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ มีชาวบ้านมานิมนต์ไปงานบุญเดือนสิบ หลวงพ่อจึงถามชาวบ้านว่าในละแวกนี้มีวัดหรือถ้ำบ้างหรือไม่ ชาวบ้านก็ตอบว่ามี แต่อยู่ในป่ารกทึบไม่มีใครกล้าเข้าไป หลวงพ่อจึงเข้าไปสำรวจพบว่าเป็นถ้ำคล้ายในนิมิต นั่นจึงเป็นการเปิดโลกถ้ำแห่งนี้สู่ภายนอก โดยครั้งแรกที่หลวงพ่อพบเจอถ้ำคือวันที่ 9 ก.ค. 2533 นับเป็นเวลา 24 ปีมาจนถึงปัจจุบัน
เหตุที่หลวงพ่อขจิตตั้งชื่อถ้ำแห่งนี้ว่า “ถ้ำปราสาทนาฬาคิริง”นั้น เพราะถ้ำนี้มีก้อนหิน หินงอกหินย้อย ที่ชวนให้จินตนาการเกี่ยวกับช้างมากมาย โดยท่านบอกกับผมว่า ชื่อ “นาฬาคิริง” มาจากชื่อ “นาฬาคิรี” ที่เป็นช้างสำคัญเชือกหนึ่งในสมัยพุทธกาล
ในบทสวดมนต์พาหุงบทหนึ่งที่ได้มีการพูดถึงช้างนาฬาคิริงว่า “นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง...ฯลฯ” ซึ่งแปลความได้ว่า “พญาช้างนาฬาคิรีตกมันหนักดุร้ายเหลือ แล่นเข้ามาราวกับไฟไหม้ป่า ดุจจักราวุธ เหมือนฟ้าผ่า พระจอมมุนีทรงชนะด้วยน้ำพระเมตตา ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า...”
สำหรับช้างนาฬาคิริง เป็นช้างที่พระเทวทัตสั่งให้มาทำร้ายพระพุทธเจ้าถึง 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ ในครั้งที่ 3 พระเทวทัตจึงติดสินบนควาญช้างให้มอมเหล้าช้างนาฬาคิรีจนเกิดความคลุ้มคลั่ง วิ่งมาจะทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธองค์ได้แสดงพุทธปาฏิหาริย์บันดาลให้พญาช้างวิ่งเฉไปทางอื่น แล้วทรงแผ่เมตตาจนสร้างสงบสติอารมณ์ ทรุดกายถวายกราบบังคมทูล พร้อมน้ำตาไหลอาบแก้ม สำนึกตน แล้วเดินกลับเข้าสู่โรงช้างดังเดิม ซึ่งในคัมภีร์อนาคตวงศ์ระว่า หลังสิ้นยุคพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้าแล้ว จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้อีกหลายพระองค์ โดยช้างนาฬาคิรี จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง มีพระนามว่า “พระติสสพุทธเจ้า”
2…
ปกติการเที่ยวชมภายในถ้ำปราสาทนาฬาคิริง จะต้องขออนุญาตทางวัดถ้ำปราสาทฯก่อน เพื่อจะได้มีการจัดผู้นำชม เป็นลูกศิษย์วัด ไกด์เยาวชน รวมถึงตัวหลวงพ่อขจิตเองมาเป็นผู้นำชม เพราะจะได้ดูแลนักท่องเที่ยวอย่างใกล้ชิด คอยให้ข้อมูล อธิบาย และให้นักท่องเที่ยวเดินในเส้นทางที่กำหนด
ที่สำคัญคือห้ามไม่ให้นักท่องเที่ยว ไปสัมผัส จับจ้อง แตะ หินงอกหินย้อยใดๆภายในถ้ำ เนื่องจากถ้ำแห่งนี้ยังคงมีชีวิต คือ เป็น “ถ้ำเป็น” ที่มีหินงอกหินย้อยเติบโตอยู่ตลอดเวลา(แต่ว่าใช้เวลานานมาก) ดังนั้นเกิดใครไปแตะหินที่กำลังเติบโต หินเป็นจะกลายเป็นหินตายในทันที
ไม่เว้นแม้แต่แค่เพียงเห็นเป็นแค่หยดน้ำใสๆ แต่ถ้าเอานิ้วมือไปสัมผัสนั่นก็จะกลายเป็นการฆาตกรรมหินที่ไม่มีโอกาสให้มันได้เติบโตอีกต่อไป
3...
ถ้ำปราสาทนาฬาคิริงตั้งอยู่ภายในขุนเขาหินปูนสูงตระหง่าน ใกล้ๆปากทางเข้า-ออก นอกจากจะมีพระพุทธรูปแล้วยังมีการสร้างรูปปั้นผู้นิมิตเอาไว้ให้สักการะบูชากัน
งานนี้ผมโชคดีไม่น้อยที่มีหลวงพ่อขจิตมาเป็นไกด์กิตติมศักดิ์พาเที่ยวถ้ำ ซึ่งแม้จะผมเดินตามหลวงพ่อขจิตไปแบบกระชั้นชิด เพื่อจะได้ฟังคำอธิบายนำชมจากท่านชัดๆ แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ทันเจ้าหมาแสนรู้ของหลวงพ่อ 2 ตัว ที่ตามติดชิดยิ่งกว่า เจ้าหมา 2 ตัวนี้มันดูดีกว่าคนเที่ยวถ้ำหลายๆคนในบ้านเรามาก เพราะมันเดินไปตามทาง ไม่ไปโดน กัด ตระกายหินงอกหินย้อย ผิดกับคนเที่ยวถ้ำมือบอนหลายๆคนในบ้านเรา ที่พอเข้าถ้ำทีไรเป็นต้องจับโน่น ลูบนี่ แถมบางคนหนักข้อไปอีก มีการไปขูดหิน โรยแป้ง ขอเลข ขอหวย นั่นจึงเป็นที่มาของการดูแลอย่างเคร่งครัดของหลวงพ่อขจิตต่อผู้ที่มาเที่ยวถ้ำปราสาทฯดังที่กล่าวไปข้างต้น
จากปากทางเข้าเมื่อผ่านอุโมงค์เข้าไป ผมได้พบกับโถงถ้ำขนาดย่อย มีหินงอกหินย้อยสวยงาม โดยระหว่างทางมีไฟประดับไปเป็นระยะๆ(ไฟเหล่านี้เปิดเฉพาะช่วงที่มีนักท่องเที่ยวเข้าชม)
สภาพภายในถ้ำปราสาทฯนั้น ต้องบอกว่ามีหินเป็นที่อุดมสมบูรณ์มาก ทั้งหินที่เกิดจากน้ำหยดติ๋งๆลงมาจากเพดานถ้ำ เป็นหินงอกที่ด้านล่าง และเป็นหินย้อยที่ด้านบน หินหลายก้อนชวนให้จินตนาการ โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับช้าง ทั้งหินรูปเท้าช้าง หัวใจช้าง งวงช้าง หินเพนียดคล้องช้าง หินรูปตัวช้าง หัวช้าง เครื่องทรงช้าง เป็นต้น
ขณะที่หินรูปร่างน่าสนใจให้จินตนาการอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับช้างก็มี หินที่ประทับบรรทมเจ้าพระยา หินรูปมนุษย์โบราณ หินรูปเด็ก หินรูปม่าน หินรูปฟัน ส่วนที่ผมชอบมากก็คือ เหล่าผลึกหินย้อยสีขาวเนียนดุจหิมะ หับรูปทรงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หินเสาหิมะสีเขา หินรูปหลอดสีขาวสวยงาม หินไม้เสียบลูกชิ้น-ไส้กรอก หินปะการัง รวมถึงจุดไฮไลท์อย่าง กลุ่ม“หินเขี้ยวหนุมาน”(ควอรตซ์) ที่อยู่บนเพดานด้านบนพ้นมือคน “หินบ่อเพชร” ที่เป็นแอ่งหินขนาดเล็กแต่ว่ายามต้องแสงมีประกายเพชรระยิบระยับสวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ และห้องโถงที่มีหินรูปหัวใจตั้งตระหง่านโดดเด่น
ความน่าตื่นตาของถ้ำปราสาทนาฬาคิริงยังไม่หมดเท่านี้ เพราะในช่วงที่ผมไปเยือน เป็นช่วงฤดูหนอนถ้ำ ซึ่งพวกมันจะชักใยเป็นเส้นสายสวยงามเพื่อดักแมลงเป็นอาหาร หากเราสังเกตตามเส้นใยอาจจะเห็นหนอนถ้ำบางตัวค่อยๆคืบคลานไต่ไปบนใย ดูเพลินตาดี โดยเฉพาะยามสาดแสงไปโดน เส้นใยไหมของมันจะสะท้อนแสงเป็นริ้วสายสวยงาม ถือเป็นอีกหนึ่งของดีคู่ถ้ำปราสาทนาฬาคิริงที่มีให้เห็นเฉพาะบางช่วงเท่านั้น
4…
ถ้ำปราสาทนาฬาคิริง มีโพรงถ้ำเป็นรูปตัวยู(U) เป็นเส้นทางเข้าทางหนึ่ง ออกทางหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมในการเที่ยวชม
อย่างไรก็ดีถ้ำแห่งนี้ยังมีบางจุดที่เส้นทาง บันได รวมถึงหลอดไฟดับชำรุดไปบ้าง เนื่องจากขาดงบประมาณในการซ่อมแซมปรับปรุง ซึ่งในสิ่งสวยๆงามๆจากความน่าอัศจรรย์ของธรรมชาติในถ้ำแห่งนี้ มีสิ่งที่ผมเห็น ผมได้ยินได้ฟังแล้ว อดสะทกสะท้อนใจไม่ได้ก็คือ ถ้ำแห่งนี้หลวงพ่อขจิตท่านพัฒนาดูแลเองมาตลอด 24 ปี ตามกำลังและปัจจัยที่มี จนวันนี้ถ้ำปราสาทฯเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวกว้างขวางขึ้น แต่กระนั้นก็ไม่เคยมีภาครัฐมาสนใจช่วยเหลือ
นี่ไยมิใช่เป็นอีกหนึ่งปัญหาของสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองไทยที่มีคนตั้งใจทำ ตั้งใจดูแล แต่รัฐกับไม่ใส่ใจ ฉะนั้นสิ่งที่นักท่องเที่ยวอยากจะช่วยเหลือถ้ำแห่งนี้ นอกจากการช่วยบริจาคเงินช่วยเหลือเป็นค่าไฟ ค่าไกด์ ค่าบำรุง ค่าห้องน้ำ และค่าอื่นๆแล้ว สิ่งที่ช่วยรักษาถ้ำแห่งนี้ได้อย่างไม่ยากเย็นก็คือ ปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด อย่าไปสัมผัสจับแตะต้อง เดินตามเส้นทางที่กำหนด เพื่อไม่ให้ธรรมชาติอันงดงามถูกทำลายลงจากน้ำมือของพวกเรา ซึ่งหลวงพ่อขจิตได้บอกกับผมว่า
“หัวใจสำคัญในการเที่ยวถ้ำแห่งนี้ก็คือเรื่องของการอนุรักษ์ธรรมชาติ”
**********************************************************************************************************************
ถ้ำปราสาทนาฬาคิริงเปิดให้เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นักท่องเที่ยวสามารถบริจาคได้ตามจิตศรัทธา แต่การเข้าชมถ้ำต้องขออนุญาตจากทางวัดก่อน เพื่อจัดผู้นำชมและคนดูแลตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น โดยในช่วงหน้าฝนน้ำฝนจากภูเขาจะไหลลงมาท่วมปากถ้ำและภายในถ้ำ จึงมีช่วงเวลาหนึ่งที่วัดปิดถ้ำเพื่อให้ธรรมชาติได้พักฟื้น ส่วนการเที่ยวถ้ำในช่วงปลายฝนต้นหนาวที่น้ำยังคงท่วมถึงอยู่ การเข้าชมจะต้องนั่งเรือท้องแบนเข้าไป ถือเป็นอีกหนึ่งสีสันของการเที่ยวถ้ำแห่งนี้
ถ้ำปราสาทนาฬาคิริง เลขที่ 67 หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 ถนนอ่าวลึก-พระแสง ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางจากตัวเมืองกระบี่วิ่งไปตามทางหลวงหมายเลข 4 จากนั้นให้เลี้ยวแยกขวามือที่อำเภออ่าวลึกไปตามถนนสายอ่าวลึก-พระแสง แล้วถึงแยกซ้ายมือมีป้ายบอกไปถ้ำนาฬาคิริงรวมระยะทางจากตัวเมืองกระบี่ ประมาณ 70 กิโลเมตร ผู้สนใจสามารถสอบงถามข้อมูลและแจ้งความจำนงในการเที่ยวถ้ำได้ที่ หลวงพ่อขจิต กมโล โทร.
089-593-1016
และสามารถสอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวถ้ำปราสาทนาฬาคิริง เชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆใน จ.กระบี่ รวมไปถึงที่พัก ร้านอาหาร การเดินทาง ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกระบี่ โทร. 0-7562-2163, 0-7561-2811-2
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
คลิกชมคลิปหินบ่อเพชรระยิบระยับ
ด้วยลักษณะภูมิประเทศเฉพาะของ “กระบี่ : เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก” ที่มีภูเขาหินปูนตั้งอยู่มากมายทั้งบนฝั่งและในทะเล ทำให้กระบี่เป็นเมืองที่มีถ้ำน่าสนใจแฝงตัวอยู่ตามขุนเขาหินปูนมากมาย
สำหรับการล่องใต้ลงไปเยือนกระบี่ของผมคราวนี้ นอกจะออกทะเลไปสัมผัสน้ำสวย ฟ้าใส อันมากไปด้วยสาวๆในชุดบิกินีมาเดินอวดโฉมแล้ว ที่บนฝั่งผมก็ได้มีโอกาสไปเยือน “ถ้ำปราสาทนาฬาคิริง” ที่ถือเป็นอีกประสบการณ์แปลกใหม่ในการเยือนกระบี่ของผม
ถ้ำปราสาทนาฬาคิริง ตั้งอยู่ภายในเขตพื้นที่ดูแลของ “วัดถ้ำปราสาทนาฬาคิริง” ที่เดิมเป็นสำนักสงฆ์ ก่อนจะพัฒนาขึ้นมาเป็นวัดในปัจจุบัน ซึ่งล่าสุดทางวัดกำลังมีการสร้างโบสถ์หลังงามในรูปทรงเฉพาะ ตั้งเด่นอยู่หน้าขุนเขาถ้ำปราสาทฯ เป็นรูปช้างหมอบ ชูงวง-ชูงา ดูแปลกตา แต่ว่าสมส่วนสวยงาม โดยในอนาคตทางวัดจะทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เกี่ยวกับช้าง เพราะที่มาของโบสถ์รูปช้างกับถ้ำนั้นสัมพันธ์กัน ซึ่งคาดว่าโบสถ์ช้างหมอบน่าจะสร้างแล้วเสร็จภายในปีนี้
1...
ที่วัดถ้ำปราสาทฯ ผมกับคณะเข้าไปกราบนมัสการ “หลวงพ่อขจิต กมโล” ท่านเจ้าอาวาสวัดถ้ำปราสาทฯ ที่มีความสำคัญมากต่อถ้ำปราสาทนาฬาคิริง เพราะท่านเป็นผู้ค้นพบถ้ำแห่งนี้ โดยเรื่องราวการค้นพบถ้ำของท่านนั้นน่าสนใจไม่น้อย ซึ่งผมขอเล่าเท้าความย้อนไปในอดีต ในสมัยที่หลวงพ่อขจิตท่านยังออกธุดงค์ไปทั่วไทย
หลวงพ่อขจิตท่านมีพื้นเพเป็นคนสงขลา ในช่วงปี พ.ศ. 2529 มีโอกาสธุดงค์ขึ้นเหนือ และไปจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำวัว จ.แม่ฮ่องสอน แล้วได้นิมิตเห็นชายตัวดำรูปร่างสูงใหญ่ไม่ใส่เสื้อนุ่งโจงกระเบนสีขาว สะพายย่ามมือถือเทียนมาชวนหลวงพ่อไปดูถ้ำแห่งหนึ่ง ชายคนนั้นพูดอะไรมากมายหลายอย่าง พร้อมกับให้หลวงพ่อไปอยู่ในถ้ำนั้น ทีแรกหลวงพ่อขจิตปฏิเสธ แต่ชายร่างใหญ่ได้พยามอธิบาย ชักจูง จนหลวงพ่อยอม ชายคนนั้นจึงพาหลวงพ่อออกจากถ้ำ
หลังนิมิตผ่านพ้น หลวงพ่อขจิตได้พยายามสืบเสาะหาถ้ำในนิมิตตามที่ต่างๆอยู่หลายแห่ง จนในปี 2533 ท่านได้รับนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าสำนักสงฆ์แหงหนึ่งใน อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ มีชาวบ้านมานิมนต์ไปงานบุญเดือนสิบ หลวงพ่อจึงถามชาวบ้านว่าในละแวกนี้มีวัดหรือถ้ำบ้างหรือไม่ ชาวบ้านก็ตอบว่ามี แต่อยู่ในป่ารกทึบไม่มีใครกล้าเข้าไป หลวงพ่อจึงเข้าไปสำรวจพบว่าเป็นถ้ำคล้ายในนิมิต นั่นจึงเป็นการเปิดโลกถ้ำแห่งนี้สู่ภายนอก โดยครั้งแรกที่หลวงพ่อพบเจอถ้ำคือวันที่ 9 ก.ค. 2533 นับเป็นเวลา 24 ปีมาจนถึงปัจจุบัน
เหตุที่หลวงพ่อขจิตตั้งชื่อถ้ำแห่งนี้ว่า “ถ้ำปราสาทนาฬาคิริง”นั้น เพราะถ้ำนี้มีก้อนหิน หินงอกหินย้อย ที่ชวนให้จินตนาการเกี่ยวกับช้างมากมาย โดยท่านบอกกับผมว่า ชื่อ “นาฬาคิริง” มาจากชื่อ “นาฬาคิรี” ที่เป็นช้างสำคัญเชือกหนึ่งในสมัยพุทธกาล
ในบทสวดมนต์พาหุงบทหนึ่งที่ได้มีการพูดถึงช้างนาฬาคิริงว่า “นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง...ฯลฯ” ซึ่งแปลความได้ว่า “พญาช้างนาฬาคิรีตกมันหนักดุร้ายเหลือ แล่นเข้ามาราวกับไฟไหม้ป่า ดุจจักราวุธ เหมือนฟ้าผ่า พระจอมมุนีทรงชนะด้วยน้ำพระเมตตา ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า...”
สำหรับช้างนาฬาคิริง เป็นช้างที่พระเทวทัตสั่งให้มาทำร้ายพระพุทธเจ้าถึง 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ ในครั้งที่ 3 พระเทวทัตจึงติดสินบนควาญช้างให้มอมเหล้าช้างนาฬาคิรีจนเกิดความคลุ้มคลั่ง วิ่งมาจะทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธองค์ได้แสดงพุทธปาฏิหาริย์บันดาลให้พญาช้างวิ่งเฉไปทางอื่น แล้วทรงแผ่เมตตาจนสร้างสงบสติอารมณ์ ทรุดกายถวายกราบบังคมทูล พร้อมน้ำตาไหลอาบแก้ม สำนึกตน แล้วเดินกลับเข้าสู่โรงช้างดังเดิม ซึ่งในคัมภีร์อนาคตวงศ์ระว่า หลังสิ้นยุคพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้าแล้ว จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้อีกหลายพระองค์ โดยช้างนาฬาคิรี จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง มีพระนามว่า “พระติสสพุทธเจ้า”
2…
ปกติการเที่ยวชมภายในถ้ำปราสาทนาฬาคิริง จะต้องขออนุญาตทางวัดถ้ำปราสาทฯก่อน เพื่อจะได้มีการจัดผู้นำชม เป็นลูกศิษย์วัด ไกด์เยาวชน รวมถึงตัวหลวงพ่อขจิตเองมาเป็นผู้นำชม เพราะจะได้ดูแลนักท่องเที่ยวอย่างใกล้ชิด คอยให้ข้อมูล อธิบาย และให้นักท่องเที่ยวเดินในเส้นทางที่กำหนด
ที่สำคัญคือห้ามไม่ให้นักท่องเที่ยว ไปสัมผัส จับจ้อง แตะ หินงอกหินย้อยใดๆภายในถ้ำ เนื่องจากถ้ำแห่งนี้ยังคงมีชีวิต คือ เป็น “ถ้ำเป็น” ที่มีหินงอกหินย้อยเติบโตอยู่ตลอดเวลา(แต่ว่าใช้เวลานานมาก) ดังนั้นเกิดใครไปแตะหินที่กำลังเติบโต หินเป็นจะกลายเป็นหินตายในทันที
ไม่เว้นแม้แต่แค่เพียงเห็นเป็นแค่หยดน้ำใสๆ แต่ถ้าเอานิ้วมือไปสัมผัสนั่นก็จะกลายเป็นการฆาตกรรมหินที่ไม่มีโอกาสให้มันได้เติบโตอีกต่อไป
3...
ถ้ำปราสาทนาฬาคิริงตั้งอยู่ภายในขุนเขาหินปูนสูงตระหง่าน ใกล้ๆปากทางเข้า-ออก นอกจากจะมีพระพุทธรูปแล้วยังมีการสร้างรูปปั้นผู้นิมิตเอาไว้ให้สักการะบูชากัน
งานนี้ผมโชคดีไม่น้อยที่มีหลวงพ่อขจิตมาเป็นไกด์กิตติมศักดิ์พาเที่ยวถ้ำ ซึ่งแม้จะผมเดินตามหลวงพ่อขจิตไปแบบกระชั้นชิด เพื่อจะได้ฟังคำอธิบายนำชมจากท่านชัดๆ แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ทันเจ้าหมาแสนรู้ของหลวงพ่อ 2 ตัว ที่ตามติดชิดยิ่งกว่า เจ้าหมา 2 ตัวนี้มันดูดีกว่าคนเที่ยวถ้ำหลายๆคนในบ้านเรามาก เพราะมันเดินไปตามทาง ไม่ไปโดน กัด ตระกายหินงอกหินย้อย ผิดกับคนเที่ยวถ้ำมือบอนหลายๆคนในบ้านเรา ที่พอเข้าถ้ำทีไรเป็นต้องจับโน่น ลูบนี่ แถมบางคนหนักข้อไปอีก มีการไปขูดหิน โรยแป้ง ขอเลข ขอหวย นั่นจึงเป็นที่มาของการดูแลอย่างเคร่งครัดของหลวงพ่อขจิตต่อผู้ที่มาเที่ยวถ้ำปราสาทฯดังที่กล่าวไปข้างต้น
จากปากทางเข้าเมื่อผ่านอุโมงค์เข้าไป ผมได้พบกับโถงถ้ำขนาดย่อย มีหินงอกหินย้อยสวยงาม โดยระหว่างทางมีไฟประดับไปเป็นระยะๆ(ไฟเหล่านี้เปิดเฉพาะช่วงที่มีนักท่องเที่ยวเข้าชม)
สภาพภายในถ้ำปราสาทฯนั้น ต้องบอกว่ามีหินเป็นที่อุดมสมบูรณ์มาก ทั้งหินที่เกิดจากน้ำหยดติ๋งๆลงมาจากเพดานถ้ำ เป็นหินงอกที่ด้านล่าง และเป็นหินย้อยที่ด้านบน หินหลายก้อนชวนให้จินตนาการ โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับช้าง ทั้งหินรูปเท้าช้าง หัวใจช้าง งวงช้าง หินเพนียดคล้องช้าง หินรูปตัวช้าง หัวช้าง เครื่องทรงช้าง เป็นต้น
ขณะที่หินรูปร่างน่าสนใจให้จินตนาการอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับช้างก็มี หินที่ประทับบรรทมเจ้าพระยา หินรูปมนุษย์โบราณ หินรูปเด็ก หินรูปม่าน หินรูปฟัน ส่วนที่ผมชอบมากก็คือ เหล่าผลึกหินย้อยสีขาวเนียนดุจหิมะ หับรูปทรงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หินเสาหิมะสีเขา หินรูปหลอดสีขาวสวยงาม หินไม้เสียบลูกชิ้น-ไส้กรอก หินปะการัง รวมถึงจุดไฮไลท์อย่าง กลุ่ม“หินเขี้ยวหนุมาน”(ควอรตซ์) ที่อยู่บนเพดานด้านบนพ้นมือคน “หินบ่อเพชร” ที่เป็นแอ่งหินขนาดเล็กแต่ว่ายามต้องแสงมีประกายเพชรระยิบระยับสวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ และห้องโถงที่มีหินรูปหัวใจตั้งตระหง่านโดดเด่น
ความน่าตื่นตาของถ้ำปราสาทนาฬาคิริงยังไม่หมดเท่านี้ เพราะในช่วงที่ผมไปเยือน เป็นช่วงฤดูหนอนถ้ำ ซึ่งพวกมันจะชักใยเป็นเส้นสายสวยงามเพื่อดักแมลงเป็นอาหาร หากเราสังเกตตามเส้นใยอาจจะเห็นหนอนถ้ำบางตัวค่อยๆคืบคลานไต่ไปบนใย ดูเพลินตาดี โดยเฉพาะยามสาดแสงไปโดน เส้นใยไหมของมันจะสะท้อนแสงเป็นริ้วสายสวยงาม ถือเป็นอีกหนึ่งของดีคู่ถ้ำปราสาทนาฬาคิริงที่มีให้เห็นเฉพาะบางช่วงเท่านั้น
4…
ถ้ำปราสาทนาฬาคิริง มีโพรงถ้ำเป็นรูปตัวยู(U) เป็นเส้นทางเข้าทางหนึ่ง ออกทางหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมในการเที่ยวชม
อย่างไรก็ดีถ้ำแห่งนี้ยังมีบางจุดที่เส้นทาง บันได รวมถึงหลอดไฟดับชำรุดไปบ้าง เนื่องจากขาดงบประมาณในการซ่อมแซมปรับปรุง ซึ่งในสิ่งสวยๆงามๆจากความน่าอัศจรรย์ของธรรมชาติในถ้ำแห่งนี้ มีสิ่งที่ผมเห็น ผมได้ยินได้ฟังแล้ว อดสะทกสะท้อนใจไม่ได้ก็คือ ถ้ำแห่งนี้หลวงพ่อขจิตท่านพัฒนาดูแลเองมาตลอด 24 ปี ตามกำลังและปัจจัยที่มี จนวันนี้ถ้ำปราสาทฯเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวกว้างขวางขึ้น แต่กระนั้นก็ไม่เคยมีภาครัฐมาสนใจช่วยเหลือ
นี่ไยมิใช่เป็นอีกหนึ่งปัญหาของสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองไทยที่มีคนตั้งใจทำ ตั้งใจดูแล แต่รัฐกับไม่ใส่ใจ ฉะนั้นสิ่งที่นักท่องเที่ยวอยากจะช่วยเหลือถ้ำแห่งนี้ นอกจากการช่วยบริจาคเงินช่วยเหลือเป็นค่าไฟ ค่าไกด์ ค่าบำรุง ค่าห้องน้ำ และค่าอื่นๆแล้ว สิ่งที่ช่วยรักษาถ้ำแห่งนี้ได้อย่างไม่ยากเย็นก็คือ ปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด อย่าไปสัมผัสจับแตะต้อง เดินตามเส้นทางที่กำหนด เพื่อไม่ให้ธรรมชาติอันงดงามถูกทำลายลงจากน้ำมือของพวกเรา ซึ่งหลวงพ่อขจิตได้บอกกับผมว่า
“หัวใจสำคัญในการเที่ยวถ้ำแห่งนี้ก็คือเรื่องของการอนุรักษ์ธรรมชาติ”
**********************************************************************************************************************
ถ้ำปราสาทนาฬาคิริงเปิดให้เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นักท่องเที่ยวสามารถบริจาคได้ตามจิตศรัทธา แต่การเข้าชมถ้ำต้องขออนุญาตจากทางวัดก่อน เพื่อจัดผู้นำชมและคนดูแลตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น โดยในช่วงหน้าฝนน้ำฝนจากภูเขาจะไหลลงมาท่วมปากถ้ำและภายในถ้ำ จึงมีช่วงเวลาหนึ่งที่วัดปิดถ้ำเพื่อให้ธรรมชาติได้พักฟื้น ส่วนการเที่ยวถ้ำในช่วงปลายฝนต้นหนาวที่น้ำยังคงท่วมถึงอยู่ การเข้าชมจะต้องนั่งเรือท้องแบนเข้าไป ถือเป็นอีกหนึ่งสีสันของการเที่ยวถ้ำแห่งนี้
ถ้ำปราสาทนาฬาคิริง เลขที่ 67 หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 ถนนอ่าวลึก-พระแสง ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางจากตัวเมืองกระบี่วิ่งไปตามทางหลวงหมายเลข 4 จากนั้นให้เลี้ยวแยกขวามือที่อำเภออ่าวลึกไปตามถนนสายอ่าวลึก-พระแสง แล้วถึงแยกซ้ายมือมีป้ายบอกไปถ้ำนาฬาคิริงรวมระยะทางจากตัวเมืองกระบี่ ประมาณ 70 กิโลเมตร ผู้สนใจสามารถสอบงถามข้อมูลและแจ้งความจำนงในการเที่ยวถ้ำได้ที่ หลวงพ่อขจิต กมโล โทร.
089-593-1016
และสามารถสอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวถ้ำปราสาทนาฬาคิริง เชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆใน จ.กระบี่ รวมไปถึงที่พัก ร้านอาหาร การเดินทาง ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกระบี่ โทร. 0-7562-2163, 0-7561-2811-2
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com