โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ฉันจำได้ว่าเมื่อสมัยเด็กๆ เวลาปิดเทอมหน้าร้อนทีไร เพื่อนฝูงที่ไปเที่ยวทะเลกับครอบครัว พอกลับมาถึงบ้านก็จะรีบวิ่งเอาของฝากจากทะเลมาให้ทันที ไม่ใช่ของแห้ง ปลาหมึก หรือโมบายสวยๆ แต่เป็นเปลือกหอย ที่เพื่อนลงทุนวิ่งเก็บตามชายหาดด้วยตัวเอง ในสมัยนั้นฉันก็รู้สึกดีใจมาก เพราะว่าเปลือกหอยเหล่านั้นรูปร่างแปลกตา สีสันสวยงาม จนต้องเก็บเอาไว้ชื่นชมนานๆ
พอโตขึ้นมา ฉันก็เริ่มเรียนรู้ว่าหากว่าเราไปเที่ยวก็ไม่ควรจะเก็บสิ่งของจากธรรมชาติกลับมาชื่นชมที่บ้าน เพราะหากว่าต่างคนต่างเก็บ เปลือกหอยสวยๆ ก็จะไม่ได้อยู่เคียงคู่กับทะเลให้คนอื่นได้เห็น อีกอย่างหนึ่งก็จะไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเปลือก หรือเป็นบ้านของหอยอีกต่อไป
แต่ถ้าเราอยากจะดูเปลือกหอยสวยๆ อยากชื่นชมความงามจากธรรมชาติขึ้นมาบ้างจะทำอย่างไร ฉันมีคำแนะนำมาบอก เพราะว่าที่นี่เขาเก็บรวบรวมเปลือกหอยสวยๆ จากทั่วโลกมาให้เราได้ชม โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงทะเล ที่แห่งนี้ก็คือ “พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย กรุงเทพฯ” (Bangkok Seashell Museum)
ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 ชั้น แล้วก็แยกโซนต่างๆ ตามชนิดของหอย เดินเข้าไปภายในจะเจอกับโซนขายสินค้าที่ระลึกกันก่อน แต่ตอนนี้ฉันยังไม่แวะหรอกนะ เพราะว่าอยากจะเข้าไปชมเปลือกหอยสวยๆ เต็มแก่แล้ว
เดินเข้ามาถึงก็ต้องยืนมองเปลือกหอยสวยๆ อันแรก “เม่นยักษ์อังกฤษ จากประเทศแคนาดา” ฟังชื่อแล้วดูน่าสับสนว่ามาจากประเทศอะไรกันแน่ ที่จริงแล้วเจ้าสิ่งนี้ไม่ใช่เปลือกหอย แต่เป็นเม่นทะเลที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง สาเหตุที่นำมาจัดแสดงไว้ด้วยก็เพราะว่าจะแสดงให้เห็นว่าสัตว์ทะเลอื่นๆ ที่ไม่ใช่หอยก็สามารถมีเปลือกได้เหมือนกัน
เจ้าเม่นทะเลสีสันสวยงามถูกอกถูกใจฉันเป็นยิ่งนัก แถมเปลือกของมันที่เป็นทรงกลมๆ คล้ายผลส้มก็ยังมีตุ่มอยู่รอบตัว ซึ่งตอนยังมีชีวิตอยู่ ตุ่มพวกนี้ก็คือส่วนที่ต่อเข้ากับหนามแหลมๆ ที่ให้เป็นอวัยวะในการเดินของเม่น
ตรงเข้ามาอีกนิดจะเห็นเปลือกหอยขนาดใหญ่ตั้งอยู่ นั่นก็คือ “หอยมือเสือยักษ์” ที่ดูว่ามีขนาดใหญ่จนน่าตกใจแล้ว ป้ายที่ติดบอกข้อมูลด้านหน้ายังบอกว่า หอยมือเสือยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอาจมีน้ำหนักมากถึง 300 กิโลกรัม!!
นอกจากจะมีเม่นทะเล และหอยมือเสือยักษ์แล้ว ที่ชั้นแรกนี้ก็ยังมีการจัดแสดงหอยหลายๆ วงศ์ให้เดินดู เดินศึกษากันอีก อาทิ อยประเภทวงศ์หอยจุกพราหมณ์ หรือหอยสังข์ทะนาน วงศ์หอยสังข์บิด หอยสังข์แตร หอยสังข์กบ และวงศ์หอยมือเสือ หอยมือแมว วงศ์หอยมะเฟือง วงศ์หอยโข่งทะเล หอยโข่งบาง โข่งเปลือกบาง วงศ์หอยรังนก วงศ์หอยตีนช้าง หอยกระต่าย เป็นต้น
จากชั้นแรก ฉันก็เดินขึ้นมาที่ชั้น 2 ชั้นนี้มีหอยมากหน้าหลายตาเรียงรายมาให้ชมกันมากมาย เริ่มจาก “หอยงวงช้าง” เป็นหอยที่แปลกตาอีกชนิดหนึ่ง เพราะเมื่อผ่าดูตามแนวยาวจะเห็นว่าภายในเป็นห้องๆ เรียงต่อกัน ที่น่าแปลกกว่าก็คือหอยงวงช้างนี้จัดว่าเป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับหมึกทะเล ซึ่งมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่เมื่อ 540-570 ล้านปีก่อน ช่างเป็นสัตว์ที่มีการสืบทอดเผ่าพันธุ์มาได้อย่างยาวนานอีกชนิดเลยทีเดียว
ใกล้ๆ กันก็เป็นหอยสีสันสดใสถูกใจเช่นกัน วงศ์หอยแสงอาทิตย์ หอยแต่งตัว หอยพระอาทิตย์ ที่จะเอาเศษหิน เศษปะการัง หรือเศษเปลือกหอยต่างๆ มาเชื่อมติดกับเปลือกกระจายเป็นวงแผ่รัศมีโดยรอบคล้ายพระอาทิตย์ แล้วก็ยังมีหอยสีสันสดใสได้ใจอย่าง หอยเชลล์ ที่มีกันหลายขนาดหลากสีสันชวนดู
แต่ถ้าใครที่ตกอยู่ในห้วงแห่งความรัก ฉันว่าต้องมาดู “หอยหัวใจ” หรือหอยแครงหัวใจ แม้ว่าจะเป็นหอยสองฝา แต่ความหวานแหววอยู่ที่เมื่อฝาทั้งสองประกบกันแล้วจะกลายเป็นรูปหัวใจสวยงาม บางอันมีสีขาวอมเหลือง บางอันสีเหลืองสดใส บางอันออกสีส้มอ่อนๆ บางอันก็เป็นสีชมพูปิ๊งน่ารักมาก
ที่ชั้นสองนี้ยังมีฟอสซิลหอยขนาดใหญ่ที่ถูกค้นพบอย่างบังเอิญขณะขุดเจาะชั้นหินเพื่อสร้างถนนในประเทศเยอรมัน มีอายุอยู่ในยุคจูราสสิคตอนต้น หรือช่วง 180 ล้านปีก่อนนั่นเอง นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีหอยงวงช้าง หอยปิ่นขาว หอยปิ่นปักผม หอยเพรียงเจาะหินยักษ์ วงศ์หอยสังข์มงคลที่ไว้ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา และวงศ์หอยสังข์ยักษ์ สังข์จีน สังข์น้ำตาล และหอยอื่นๆ อีกมากมาย
ส่วนที่ชั้น 3 ซึ่งอยู่ด้านบนสุดแล้ว ก็ยังมีการจัดแสดงหอยอีกหลากหลายชนิดเหมือนเคย เริ่มจาก วงศ์หอยสังข์ปีก เช่น หอยชักตีน หอยแมงป่อง หอยมือนาง หอยจักรนารายณ์ วงศ์หอยสังข์หนาม ที่มีหน้าตาสวยงามไม่แพ้หอยชนิดอื่นๆ นี่ฉันยังได้รู้จักกับหอยที่มีเข็มพิษอย่างวงศ์หอยเต้าปูน ซึ่งบางชนิดมีพิษร้ายแรงทำให้คนเสียชีวิตได้ วงศ์หอยเม็ดขนุน หอยกระดุม วงศ์หอยเบี้ย ซึ่งเราเคยใช้แทนเงินในสมัยอดีต วงศ์หอยเจดีย์ หอยพลูจีบ ซึ่งมีเข็มพิษเช่นเดียวกับหอยเต้าปูน
ไฮไลต์ของชั้นนี้อยู่ที่ “วงศ์หอยนมสาวน้ำลึก” ซึ่งเป็นหอยที่ติดอันดับต้นๆ ของความหายากและได้รับความนิยมอย่ามากในหมู่นักสะสม เพราะว่าหอยประเภทนี้จะอาศัยอยู่ในท้องทะเลลึกหลายร้อยเมตรไปจนถึงพื้นมหาสมุทรลึกหลายกิโลเมตร
อีกมุมหนึ่งของชั้น 3 นี้ ยังมีหอยสีสันสดใสเรียงราย คอยเรียกคนให้เข้าไปยืนจดจ้องความน่ารักในตัวมันเองอีกหลายชนิด อย่าง “หอยโพลีมิต้า” หรือ หอยแคนดี้จากคิวบา เจ้าตัวนี้เป็นหอยทากบกที่มีลวดลายและมีสันที่วิจิตรตระการตามากที่สุดในโลก นั่นก็เพราะว่าลวดลายและสีสันจากหอยแคนดี้แต่ละชนิดนั้นจะไม่ซ้ำกันเลยในแต่ละเปลือก เดิมนั้นชนพื้นเมืองคิวบาจะเก็บเปลือกหอยไปทำเป็นสร้อยคอและเครื่องประดับต่างๆ แต่ในระยะหลัง หอยชนิดนี้มีจำนวนลดน้อยลงมากเพราะผลกระทบจากสารเคมีในการเกษตร จนมีคนเห็นความสำคัญและยกหอยแคนดี้ให้เป็นมรดกแห่งชาติของคิวบา
หอยอีกชนิดที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ หอยจิ๋วจากธารน้ำ Cuatro Cienegas กลางทะเลทรายประเทศเม็กซิโก เป็นหอยจิ๋วที่มีขนาดเล็กมากจริงๆ เพราะหากว่ามองเผินๆ ก็นึกว่าเป็นก้อนกรวดอะไรสักก้อน แต่ถ้าเพ่งพินิจดีๆ แล้วก็จะเห็นเจ้าหอยจิ๋วตัวนี้มาโชว์โฉมให้เห็นอยู่ในเม็ดแคปซูลที่ทางพิพิธภัณฑ์นำมาจัดแสดงให้ดูกัน
ใครที่เดินดูเปลือกหอยสวยๆ แล้วติดใจ ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถเก็บเปลือกของมันกลับบ้านไปได้ แต่เราก็สามารถเก็บภาพความทรงจำดีๆ กลับไปได้ เพราะทางพิพิธภัณฑ์เขาเปิดให้เข้าชมพร้อมกับถ่ายรูปได้อย่างจุใจ ฉันเองก็เดินวนชมหอยสวยๆ แปลกตาอยู่นานเลยทีเดียว แล้วก็ยังเดินถ่ายรูปมาเสียเยอะแยะ กะว่าจะทำเป็นสมุดภาพเปลือกหอยเก็บไว้ดูแทนเปลือกหอยจากทะเลที่เป้นของฝากเมื่อวัยเยาว์
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย กรุงเทพฯ” ตั้งอยู่ที่ซอยสีลม 23 บางรัก กทม. (อยู่บริเวณหัวมุมถนนสีลม ซอย 23 เยื้องสี่แยกโรงพยาบาลเลิดสิน) เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 10.00-19.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 100 บาท ชาวต่างประเทศ 200 บาท สอบถามรายละเอียด โทร.0-2234-0291 www.bkkseashellmuseum.co.th
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com
ฉันจำได้ว่าเมื่อสมัยเด็กๆ เวลาปิดเทอมหน้าร้อนทีไร เพื่อนฝูงที่ไปเที่ยวทะเลกับครอบครัว พอกลับมาถึงบ้านก็จะรีบวิ่งเอาของฝากจากทะเลมาให้ทันที ไม่ใช่ของแห้ง ปลาหมึก หรือโมบายสวยๆ แต่เป็นเปลือกหอย ที่เพื่อนลงทุนวิ่งเก็บตามชายหาดด้วยตัวเอง ในสมัยนั้นฉันก็รู้สึกดีใจมาก เพราะว่าเปลือกหอยเหล่านั้นรูปร่างแปลกตา สีสันสวยงาม จนต้องเก็บเอาไว้ชื่นชมนานๆ
พอโตขึ้นมา ฉันก็เริ่มเรียนรู้ว่าหากว่าเราไปเที่ยวก็ไม่ควรจะเก็บสิ่งของจากธรรมชาติกลับมาชื่นชมที่บ้าน เพราะหากว่าต่างคนต่างเก็บ เปลือกหอยสวยๆ ก็จะไม่ได้อยู่เคียงคู่กับทะเลให้คนอื่นได้เห็น อีกอย่างหนึ่งก็จะไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเปลือก หรือเป็นบ้านของหอยอีกต่อไป
แต่ถ้าเราอยากจะดูเปลือกหอยสวยๆ อยากชื่นชมความงามจากธรรมชาติขึ้นมาบ้างจะทำอย่างไร ฉันมีคำแนะนำมาบอก เพราะว่าที่นี่เขาเก็บรวบรวมเปลือกหอยสวยๆ จากทั่วโลกมาให้เราได้ชม โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงทะเล ที่แห่งนี้ก็คือ “พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย กรุงเทพฯ” (Bangkok Seashell Museum)
ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 ชั้น แล้วก็แยกโซนต่างๆ ตามชนิดของหอย เดินเข้าไปภายในจะเจอกับโซนขายสินค้าที่ระลึกกันก่อน แต่ตอนนี้ฉันยังไม่แวะหรอกนะ เพราะว่าอยากจะเข้าไปชมเปลือกหอยสวยๆ เต็มแก่แล้ว
เดินเข้ามาถึงก็ต้องยืนมองเปลือกหอยสวยๆ อันแรก “เม่นยักษ์อังกฤษ จากประเทศแคนาดา” ฟังชื่อแล้วดูน่าสับสนว่ามาจากประเทศอะไรกันแน่ ที่จริงแล้วเจ้าสิ่งนี้ไม่ใช่เปลือกหอย แต่เป็นเม่นทะเลที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง สาเหตุที่นำมาจัดแสดงไว้ด้วยก็เพราะว่าจะแสดงให้เห็นว่าสัตว์ทะเลอื่นๆ ที่ไม่ใช่หอยก็สามารถมีเปลือกได้เหมือนกัน
เจ้าเม่นทะเลสีสันสวยงามถูกอกถูกใจฉันเป็นยิ่งนัก แถมเปลือกของมันที่เป็นทรงกลมๆ คล้ายผลส้มก็ยังมีตุ่มอยู่รอบตัว ซึ่งตอนยังมีชีวิตอยู่ ตุ่มพวกนี้ก็คือส่วนที่ต่อเข้ากับหนามแหลมๆ ที่ให้เป็นอวัยวะในการเดินของเม่น
ตรงเข้ามาอีกนิดจะเห็นเปลือกหอยขนาดใหญ่ตั้งอยู่ นั่นก็คือ “หอยมือเสือยักษ์” ที่ดูว่ามีขนาดใหญ่จนน่าตกใจแล้ว ป้ายที่ติดบอกข้อมูลด้านหน้ายังบอกว่า หอยมือเสือยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอาจมีน้ำหนักมากถึง 300 กิโลกรัม!!
นอกจากจะมีเม่นทะเล และหอยมือเสือยักษ์แล้ว ที่ชั้นแรกนี้ก็ยังมีการจัดแสดงหอยหลายๆ วงศ์ให้เดินดู เดินศึกษากันอีก อาทิ อยประเภทวงศ์หอยจุกพราหมณ์ หรือหอยสังข์ทะนาน วงศ์หอยสังข์บิด หอยสังข์แตร หอยสังข์กบ และวงศ์หอยมือเสือ หอยมือแมว วงศ์หอยมะเฟือง วงศ์หอยโข่งทะเล หอยโข่งบาง โข่งเปลือกบาง วงศ์หอยรังนก วงศ์หอยตีนช้าง หอยกระต่าย เป็นต้น
จากชั้นแรก ฉันก็เดินขึ้นมาที่ชั้น 2 ชั้นนี้มีหอยมากหน้าหลายตาเรียงรายมาให้ชมกันมากมาย เริ่มจาก “หอยงวงช้าง” เป็นหอยที่แปลกตาอีกชนิดหนึ่ง เพราะเมื่อผ่าดูตามแนวยาวจะเห็นว่าภายในเป็นห้องๆ เรียงต่อกัน ที่น่าแปลกกว่าก็คือหอยงวงช้างนี้จัดว่าเป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับหมึกทะเล ซึ่งมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่เมื่อ 540-570 ล้านปีก่อน ช่างเป็นสัตว์ที่มีการสืบทอดเผ่าพันธุ์มาได้อย่างยาวนานอีกชนิดเลยทีเดียว
ใกล้ๆ กันก็เป็นหอยสีสันสดใสถูกใจเช่นกัน วงศ์หอยแสงอาทิตย์ หอยแต่งตัว หอยพระอาทิตย์ ที่จะเอาเศษหิน เศษปะการัง หรือเศษเปลือกหอยต่างๆ มาเชื่อมติดกับเปลือกกระจายเป็นวงแผ่รัศมีโดยรอบคล้ายพระอาทิตย์ แล้วก็ยังมีหอยสีสันสดใสได้ใจอย่าง หอยเชลล์ ที่มีกันหลายขนาดหลากสีสันชวนดู
แต่ถ้าใครที่ตกอยู่ในห้วงแห่งความรัก ฉันว่าต้องมาดู “หอยหัวใจ” หรือหอยแครงหัวใจ แม้ว่าจะเป็นหอยสองฝา แต่ความหวานแหววอยู่ที่เมื่อฝาทั้งสองประกบกันแล้วจะกลายเป็นรูปหัวใจสวยงาม บางอันมีสีขาวอมเหลือง บางอันสีเหลืองสดใส บางอันออกสีส้มอ่อนๆ บางอันก็เป็นสีชมพูปิ๊งน่ารักมาก
ที่ชั้นสองนี้ยังมีฟอสซิลหอยขนาดใหญ่ที่ถูกค้นพบอย่างบังเอิญขณะขุดเจาะชั้นหินเพื่อสร้างถนนในประเทศเยอรมัน มีอายุอยู่ในยุคจูราสสิคตอนต้น หรือช่วง 180 ล้านปีก่อนนั่นเอง นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีหอยงวงช้าง หอยปิ่นขาว หอยปิ่นปักผม หอยเพรียงเจาะหินยักษ์ วงศ์หอยสังข์มงคลที่ไว้ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา และวงศ์หอยสังข์ยักษ์ สังข์จีน สังข์น้ำตาล และหอยอื่นๆ อีกมากมาย
ส่วนที่ชั้น 3 ซึ่งอยู่ด้านบนสุดแล้ว ก็ยังมีการจัดแสดงหอยอีกหลากหลายชนิดเหมือนเคย เริ่มจาก วงศ์หอยสังข์ปีก เช่น หอยชักตีน หอยแมงป่อง หอยมือนาง หอยจักรนารายณ์ วงศ์หอยสังข์หนาม ที่มีหน้าตาสวยงามไม่แพ้หอยชนิดอื่นๆ นี่ฉันยังได้รู้จักกับหอยที่มีเข็มพิษอย่างวงศ์หอยเต้าปูน ซึ่งบางชนิดมีพิษร้ายแรงทำให้คนเสียชีวิตได้ วงศ์หอยเม็ดขนุน หอยกระดุม วงศ์หอยเบี้ย ซึ่งเราเคยใช้แทนเงินในสมัยอดีต วงศ์หอยเจดีย์ หอยพลูจีบ ซึ่งมีเข็มพิษเช่นเดียวกับหอยเต้าปูน
ไฮไลต์ของชั้นนี้อยู่ที่ “วงศ์หอยนมสาวน้ำลึก” ซึ่งเป็นหอยที่ติดอันดับต้นๆ ของความหายากและได้รับความนิยมอย่ามากในหมู่นักสะสม เพราะว่าหอยประเภทนี้จะอาศัยอยู่ในท้องทะเลลึกหลายร้อยเมตรไปจนถึงพื้นมหาสมุทรลึกหลายกิโลเมตร
อีกมุมหนึ่งของชั้น 3 นี้ ยังมีหอยสีสันสดใสเรียงราย คอยเรียกคนให้เข้าไปยืนจดจ้องความน่ารักในตัวมันเองอีกหลายชนิด อย่าง “หอยโพลีมิต้า” หรือ หอยแคนดี้จากคิวบา เจ้าตัวนี้เป็นหอยทากบกที่มีลวดลายและมีสันที่วิจิตรตระการตามากที่สุดในโลก นั่นก็เพราะว่าลวดลายและสีสันจากหอยแคนดี้แต่ละชนิดนั้นจะไม่ซ้ำกันเลยในแต่ละเปลือก เดิมนั้นชนพื้นเมืองคิวบาจะเก็บเปลือกหอยไปทำเป็นสร้อยคอและเครื่องประดับต่างๆ แต่ในระยะหลัง หอยชนิดนี้มีจำนวนลดน้อยลงมากเพราะผลกระทบจากสารเคมีในการเกษตร จนมีคนเห็นความสำคัญและยกหอยแคนดี้ให้เป็นมรดกแห่งชาติของคิวบา
หอยอีกชนิดที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ หอยจิ๋วจากธารน้ำ Cuatro Cienegas กลางทะเลทรายประเทศเม็กซิโก เป็นหอยจิ๋วที่มีขนาดเล็กมากจริงๆ เพราะหากว่ามองเผินๆ ก็นึกว่าเป็นก้อนกรวดอะไรสักก้อน แต่ถ้าเพ่งพินิจดีๆ แล้วก็จะเห็นเจ้าหอยจิ๋วตัวนี้มาโชว์โฉมให้เห็นอยู่ในเม็ดแคปซูลที่ทางพิพิธภัณฑ์นำมาจัดแสดงให้ดูกัน
ใครที่เดินดูเปลือกหอยสวยๆ แล้วติดใจ ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถเก็บเปลือกของมันกลับบ้านไปได้ แต่เราก็สามารถเก็บภาพความทรงจำดีๆ กลับไปได้ เพราะทางพิพิธภัณฑ์เขาเปิดให้เข้าชมพร้อมกับถ่ายรูปได้อย่างจุใจ ฉันเองก็เดินวนชมหอยสวยๆ แปลกตาอยู่นานเลยทีเดียว แล้วก็ยังเดินถ่ายรูปมาเสียเยอะแยะ กะว่าจะทำเป็นสมุดภาพเปลือกหอยเก็บไว้ดูแทนเปลือกหอยจากทะเลที่เป้นของฝากเมื่อวัยเยาว์
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย กรุงเทพฯ” ตั้งอยู่ที่ซอยสีลม 23 บางรัก กทม. (อยู่บริเวณหัวมุมถนนสีลม ซอย 23 เยื้องสี่แยกโรงพยาบาลเลิดสิน) เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 10.00-19.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 100 บาท ชาวต่างประเทศ 200 บาท สอบถามรายละเอียด โทร.0-2234-0291 www.bkkseashellmuseum.co.th
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com