โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
แม้ตุ๊กแกจะเป็นสัตว์คู่บ้านที่เราๆท่านๆคุ้นเคยกันดี เพราะมันอาศัยอยู่ทั่วไปตามบ้านเรือน ตามวัด ตามต้นไม้
แม้ตุ๊กแกจะเป็นสัตว์ที่เราคุ้นเคยกับเสียงร้องของมันเป็นอย่างดี
แม้ตุ๊กแกบางตัวจะเคยห้อยหัว ห้อยขา ให้คอหวยตีเป็นเลขเด็ดถูกกันหลายคน
แต่ตุ๊กแกก็ยังคงเป็นสัตว์ที่ใครหลายๆคนทั้งกลัวและเกลียด
ผู้หญิงหลายคนเมื่อเจอตุ๊กแกเกาะตามฝาบ้านเป็นต้องกรี๊ดแทบสลบ สาวบางคนแค่ได้ยินเสียงตุ๊กแกข้างบ้านร้องก็กลัวตัวสั่นไม่กล้าอยู่คนเดียว
เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะตุ๊กแกมีรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ เสียงร้อง และนิสัยดุร้าย(ถ้าไปรบกวนมัน)ที่ทำให้คนกลัวและเกลียดมัน
แต่นั่นย่อมไม่ใช่ที่ “บ้านตาล” ต.นาหว้า อ.นาหว้า ในจังหวัดนครพนมแน่นอน เพราะชาวบ้านส่วนหนึ่งของหมู่บ้านแห่งนี้ นอกจากจะไม่กลัวตุ๊กแกแล้ว ถ้าหากเจอมันที่ไหนเป็นต้องปรี่เข้าไปจับ เพื่อนำมาแปรรูปเป็น“ตุ๊กแกอบแห้ง” ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นอาชีพสุดแปลกเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน
พี่สุภาพร ปีฮุ่ง เล่าให้ผมฟังระหว่างที่กลังนั่งใช้ไม้เสียบขาตุ๊กแกว่า ชาวบ้านตาลทำตุ๊กแกอบแห้งมาหลายสิบปี นับชั่วอายุคน เพราะตั้งแต่พี่แกเกิดมาจำความได้ก็เห็นชาวบ้านที่นี่เขาทำตุ๊กแกกันแล้ว
สำหรับพี่สุภาพรนั้นได้ยึดอาชีพทำตุ๊กแกมากว่า 40 ปี ซึ่งพี่สุภาพรย้ำกับผมว่าตุ๊กแกที่จับเป็นตุ๊กแกบ้าน ไม่ใช่ตุ๊กแกป่าชาวบ้านที่นี่จึงไม่ได้ทำผิดตามพ.ร.บ.สัตว์ป่าหวงห้าม
“อาชีพหลักของพวกเราคือทำนา แต่อาชีพเสริมคือทำตุ๊กแกส่งออก ในหมู่บ้านจะมีการรวมกลุ่มกันประมาณ 7-8 หลังคาเรือนช่วยกันทำตุ๊กแกอบแห้ง”
พี่สุภาพรบอกกับผม พร้อมกับเล่าถึงกระบวนการทำตุ๊กแกอบแห้งอย่างคร่าวๆให้ฟังว่า เริ่มจากการไปจับตุ๊กแกตามบ้านหรือตามต้นไม้ในท้องไร่ท้องทุ่ง ส่วนใหญ่ฝีมือการจับตุ๊กแกจะเป็นงานของเด็กๆไปจับมาขายเอาเงินค่าขนม โดยจะทำเป็นบ่วงผูกกับไม้ยาวเพื่อนำไปคล้องจับตุ๊กแก
พี่สุภาพรอธิบายต่อว่าเมื่อได้ตุ๊กแกตัวเป็นๆมาแล้ว ก็ผ่าท้อง เอาเครื่องในออก ล้างทำความสะอาด กรีดตัวแล้วนำไปเสียบขาหรือที่เรียกว่า“กาง” จากนั้นนำมาพันหาง เข้าตู้อบ เสร็จแล้วนำมาตกแต่งก่อนแพ็คนำส่งขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อ โดยสนนราคาขายก็ตามขนาด ตั้งแต่ราว 10 บาทไปจนถึง 55 บาท
ตุ๊กแกอบแห้งที่พ่อค้าซื้อไปนั้น จะถูกส่งออกขายต่อไปในต่างประเทศ อาทิ จีน ไต้หวัน เวียดนาม สิงคโปร์ เพื่อนำไปทำยา โดยเชื่อกันว่า ตุ๊กแกอบแห้งเมื่อผลิตมาเป็นยาสามารถรักษาโรคได้หลายอย่าง โดยเฉพาะการเป็นยาโด๊ป ชูกำลัง และเพิ่มพลังสมรรถภาพทางเพศ นั้นมาในอันดับต้นๆ ส่วนการรักษาโรคอื่นๆ ก็เช่น หอบหืด บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด ช่วยการไหลเวียนของโลหิต ช่วยรักษาเบาหวาน ฟอกปอด ไต และอีกสารพัด นอกจากนี้ยังเชื่อว่ายาที่ผลิตจากตุ๊กแกยังสามารถรักษาโรคมะเร็ง และโรคเอดส์ได้อีกด้วย
นั่นจึงทำให้ปัจจุบันตุ๊กแกอบแห้งเป็นที่ต้องการของตลาดมาก มีชาวไต้หวันมาเปิดโรงงานรับซื้อตุ๊กแกใกล้ๆหมู่บ้าน แต่ละเดือนมียอดส่งออกหลายแสนตัว สร้างรายได้ให้กับบ้านที่ทำตุ๊กแกเดือนละ 5,000-10,000 และมีเงินสะพัดหมุนเวียนในหมู่บ้านไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทต่อเดือนเลยทีเดียว
สำหรับความเชื่อในเรื่องตุ๊กแกช่วยรักษาโรคนั้นมีมาตั้งแต่โบราณ ไม่ว่าจะเป็นสูตรโบราณของจีน ไทย เวียดนาม ขณะที่ในทางแพทย์แผนปัจจุบันนั้นทางกระทรวงสาธารณสุขได้เคยออกมายืนยันว่า ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าตุ๊กแกสามารถรักษาโรคเอดส์แมะเร็งได้ ดังนั้นจึงเป็นความเชื่อที่หากใครคิดจะกินยาตุ๊กแกก็ต้องไตร่ตรองดูให้ดี
นอกจากตุ๊กแกอบแห้งแล้ว ปัจจุบันตุ๊กแกสดก็เป็นที่ต้องการของตลาดเป็นจำนวนมาก เพราะชาวเวียดนาม ชาวจีน จะนิยมซื้อไปประกอบอาหาร โดยนาย“พล น้อยนาง” ชาว อ.นาหว้า ที่มีอาชีพเป็นคนกลางรับซื้อตุ๊กแกไปขายต่ออีกทีนั้น เปิดเผยว่า เดี๋ยวนี้มีคนหันมาขายตุ๊กแกสดกันมาก เพราะตุ๊กแกอบแห้งต้องใช้แรงงานคนมากกว่าตุ๊กแกสด ที่จับมาแล้วคัดขนาดขายได้เลย ซึ่งนายพลแกจะตระเวนขับรถไปรับซื้อตุ๊กแกทั่วภาคอีสานเพราะมีการจับตุ๊กแกขายกันมาก
อนึ่งการที่ตุ๊กแกเป็นที่ต้องการของท้องตลาดมากทำให้มีการจับตุ๊กแกกันมากโดยเฉพาะในแถบภาคอีสาน นั่นจึงทำให้หนุ่มจาก อ.เรณูนคร ในจังหวัดนครพนม คือพี่“ชวลิต เรืองวัฒนา” ผุดไอเดียด้วยการลุงทุนทดลองตั้งฟาร์มเลี้ยงตุ๊กแกขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาตุ๊กแกหายาก ขาดแคลน แต่ตลาดกับต้องการตุ๊กแกมากขึ้น ซึ่งในอนาคตหากฟาร์มตุ๊กแกทำได้จริงและไปได้สวยก็จะต่อยอดทำธุรกิจแบบครบวงจร ทั้งทำฟาร์มตุ๊กแกส่งออก เปิบฟาร์มตุ๊กแกให้เที่ยว ขายอาหารเปิบพิสดารเมนูตุ๊กแก
งานนี้ถ้าพี่ชวลิตทำได้จริง จะสามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องการจับตุ๊กแกเกินปริมาณจนตุ๊กแกขาดแคลนไปได้ไม่น้อยเลย นอกจากนี้ยังทำในอนาคตนครพนมอาจมีที่เที่ยวแห่งใหม่เป็นฟาร์มตุ๊กที่มีเมนูเปิบพิสดารทำจากตุ๊กแกให้กินกัน
อย่างไรก็ดีสำหรับการทำตุ๊กแกอบแห้งของชาวบ้านตาลนั้น ชาวบ้านที่นี่ยืนยันว่า พวกเขายังไม่ประสบกับปัญหาการขาดแคลนตุ๊กแกแต่อย่างใด เพราะการทำตุ๊กแกของชาวบ้านตาล จะมีช่วงพักคือในช่วงประมาณเดือนตุลาคม-มกราคม เพื่อให้ตุ๊กแกผสมพันธุ์และขยายพันธุ์ เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงผสมพันธุ์ของตุ๊กแกที่เป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งที่ผ่านมาการทำตุ๊กแกขายมานับชั่วอายุคนยังไม่พบว่าตุ๊กแกลดน้อย ขาดแคลนลงไป
นอกจากการทำตุ๊กแกแล้ว ชาวบ้านตาลยังมีการทำ ปลิง ไส้เดือน ตากแห้ง เพื่อส่งออก โดยสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปตลอดปี เพราะต้องการพักการจับสัตว์ในแต่ละประเภท เพื่อให้มันขยายพันธุ์ โดยตุ๊กแกจะทำให้ช่วงหน้าร้อนถึงหน้าฝน ส่วนปลิงทำให้ช่วงหน้าฝน ขณะที่หน้าหนาวนั้นจะหันมาทำไส้เดือนตากแห้ง
นับเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่มีอาชีพสุดแปลก แต่ก็เป็นอาชีพที่สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเมื่อไปเยือนนาหว้าแล้วต้องแวะไปดูชาวบ้านตาลเขาทำตุ๊กแกกันเป็นจำนวนไม่น้อย
เพราะความกลัวและเกลียดนั้นสู้ความอยากรู้อยากเห็นไม่ได้
แม้ตุ๊กแกจะเป็นสัตว์คู่บ้านที่เราๆท่านๆคุ้นเคยกันดี เพราะมันอาศัยอยู่ทั่วไปตามบ้านเรือน ตามวัด ตามต้นไม้
แม้ตุ๊กแกจะเป็นสัตว์ที่เราคุ้นเคยกับเสียงร้องของมันเป็นอย่างดี
แม้ตุ๊กแกบางตัวจะเคยห้อยหัว ห้อยขา ให้คอหวยตีเป็นเลขเด็ดถูกกันหลายคน
แต่ตุ๊กแกก็ยังคงเป็นสัตว์ที่ใครหลายๆคนทั้งกลัวและเกลียด
ผู้หญิงหลายคนเมื่อเจอตุ๊กแกเกาะตามฝาบ้านเป็นต้องกรี๊ดแทบสลบ สาวบางคนแค่ได้ยินเสียงตุ๊กแกข้างบ้านร้องก็กลัวตัวสั่นไม่กล้าอยู่คนเดียว
เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะตุ๊กแกมีรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ เสียงร้อง และนิสัยดุร้าย(ถ้าไปรบกวนมัน)ที่ทำให้คนกลัวและเกลียดมัน
แต่นั่นย่อมไม่ใช่ที่ “บ้านตาล” ต.นาหว้า อ.นาหว้า ในจังหวัดนครพนมแน่นอน เพราะชาวบ้านส่วนหนึ่งของหมู่บ้านแห่งนี้ นอกจากจะไม่กลัวตุ๊กแกแล้ว ถ้าหากเจอมันที่ไหนเป็นต้องปรี่เข้าไปจับ เพื่อนำมาแปรรูปเป็น“ตุ๊กแกอบแห้ง” ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นอาชีพสุดแปลกเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน
พี่สุภาพร ปีฮุ่ง เล่าให้ผมฟังระหว่างที่กลังนั่งใช้ไม้เสียบขาตุ๊กแกว่า ชาวบ้านตาลทำตุ๊กแกอบแห้งมาหลายสิบปี นับชั่วอายุคน เพราะตั้งแต่พี่แกเกิดมาจำความได้ก็เห็นชาวบ้านที่นี่เขาทำตุ๊กแกกันแล้ว
สำหรับพี่สุภาพรนั้นได้ยึดอาชีพทำตุ๊กแกมากว่า 40 ปี ซึ่งพี่สุภาพรย้ำกับผมว่าตุ๊กแกที่จับเป็นตุ๊กแกบ้าน ไม่ใช่ตุ๊กแกป่าชาวบ้านที่นี่จึงไม่ได้ทำผิดตามพ.ร.บ.สัตว์ป่าหวงห้าม
“อาชีพหลักของพวกเราคือทำนา แต่อาชีพเสริมคือทำตุ๊กแกส่งออก ในหมู่บ้านจะมีการรวมกลุ่มกันประมาณ 7-8 หลังคาเรือนช่วยกันทำตุ๊กแกอบแห้ง”
พี่สุภาพรบอกกับผม พร้อมกับเล่าถึงกระบวนการทำตุ๊กแกอบแห้งอย่างคร่าวๆให้ฟังว่า เริ่มจากการไปจับตุ๊กแกตามบ้านหรือตามต้นไม้ในท้องไร่ท้องทุ่ง ส่วนใหญ่ฝีมือการจับตุ๊กแกจะเป็นงานของเด็กๆไปจับมาขายเอาเงินค่าขนม โดยจะทำเป็นบ่วงผูกกับไม้ยาวเพื่อนำไปคล้องจับตุ๊กแก
พี่สุภาพรอธิบายต่อว่าเมื่อได้ตุ๊กแกตัวเป็นๆมาแล้ว ก็ผ่าท้อง เอาเครื่องในออก ล้างทำความสะอาด กรีดตัวแล้วนำไปเสียบขาหรือที่เรียกว่า“กาง” จากนั้นนำมาพันหาง เข้าตู้อบ เสร็จแล้วนำมาตกแต่งก่อนแพ็คนำส่งขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อ โดยสนนราคาขายก็ตามขนาด ตั้งแต่ราว 10 บาทไปจนถึง 55 บาท
ตุ๊กแกอบแห้งที่พ่อค้าซื้อไปนั้น จะถูกส่งออกขายต่อไปในต่างประเทศ อาทิ จีน ไต้หวัน เวียดนาม สิงคโปร์ เพื่อนำไปทำยา โดยเชื่อกันว่า ตุ๊กแกอบแห้งเมื่อผลิตมาเป็นยาสามารถรักษาโรคได้หลายอย่าง โดยเฉพาะการเป็นยาโด๊ป ชูกำลัง และเพิ่มพลังสมรรถภาพทางเพศ นั้นมาในอันดับต้นๆ ส่วนการรักษาโรคอื่นๆ ก็เช่น หอบหืด บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด ช่วยการไหลเวียนของโลหิต ช่วยรักษาเบาหวาน ฟอกปอด ไต และอีกสารพัด นอกจากนี้ยังเชื่อว่ายาที่ผลิตจากตุ๊กแกยังสามารถรักษาโรคมะเร็ง และโรคเอดส์ได้อีกด้วย
นั่นจึงทำให้ปัจจุบันตุ๊กแกอบแห้งเป็นที่ต้องการของตลาดมาก มีชาวไต้หวันมาเปิดโรงงานรับซื้อตุ๊กแกใกล้ๆหมู่บ้าน แต่ละเดือนมียอดส่งออกหลายแสนตัว สร้างรายได้ให้กับบ้านที่ทำตุ๊กแกเดือนละ 5,000-10,000 และมีเงินสะพัดหมุนเวียนในหมู่บ้านไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทต่อเดือนเลยทีเดียว
สำหรับความเชื่อในเรื่องตุ๊กแกช่วยรักษาโรคนั้นมีมาตั้งแต่โบราณ ไม่ว่าจะเป็นสูตรโบราณของจีน ไทย เวียดนาม ขณะที่ในทางแพทย์แผนปัจจุบันนั้นทางกระทรวงสาธารณสุขได้เคยออกมายืนยันว่า ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าตุ๊กแกสามารถรักษาโรคเอดส์แมะเร็งได้ ดังนั้นจึงเป็นความเชื่อที่หากใครคิดจะกินยาตุ๊กแกก็ต้องไตร่ตรองดูให้ดี
นอกจากตุ๊กแกอบแห้งแล้ว ปัจจุบันตุ๊กแกสดก็เป็นที่ต้องการของตลาดเป็นจำนวนมาก เพราะชาวเวียดนาม ชาวจีน จะนิยมซื้อไปประกอบอาหาร โดยนาย“พล น้อยนาง” ชาว อ.นาหว้า ที่มีอาชีพเป็นคนกลางรับซื้อตุ๊กแกไปขายต่ออีกทีนั้น เปิดเผยว่า เดี๋ยวนี้มีคนหันมาขายตุ๊กแกสดกันมาก เพราะตุ๊กแกอบแห้งต้องใช้แรงงานคนมากกว่าตุ๊กแกสด ที่จับมาแล้วคัดขนาดขายได้เลย ซึ่งนายพลแกจะตระเวนขับรถไปรับซื้อตุ๊กแกทั่วภาคอีสานเพราะมีการจับตุ๊กแกขายกันมาก
อนึ่งการที่ตุ๊กแกเป็นที่ต้องการของท้องตลาดมากทำให้มีการจับตุ๊กแกกันมากโดยเฉพาะในแถบภาคอีสาน นั่นจึงทำให้หนุ่มจาก อ.เรณูนคร ในจังหวัดนครพนม คือพี่“ชวลิต เรืองวัฒนา” ผุดไอเดียด้วยการลุงทุนทดลองตั้งฟาร์มเลี้ยงตุ๊กแกขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาตุ๊กแกหายาก ขาดแคลน แต่ตลาดกับต้องการตุ๊กแกมากขึ้น ซึ่งในอนาคตหากฟาร์มตุ๊กแกทำได้จริงและไปได้สวยก็จะต่อยอดทำธุรกิจแบบครบวงจร ทั้งทำฟาร์มตุ๊กแกส่งออก เปิบฟาร์มตุ๊กแกให้เที่ยว ขายอาหารเปิบพิสดารเมนูตุ๊กแก
งานนี้ถ้าพี่ชวลิตทำได้จริง จะสามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องการจับตุ๊กแกเกินปริมาณจนตุ๊กแกขาดแคลนไปได้ไม่น้อยเลย นอกจากนี้ยังทำในอนาคตนครพนมอาจมีที่เที่ยวแห่งใหม่เป็นฟาร์มตุ๊กที่มีเมนูเปิบพิสดารทำจากตุ๊กแกให้กินกัน
อย่างไรก็ดีสำหรับการทำตุ๊กแกอบแห้งของชาวบ้านตาลนั้น ชาวบ้านที่นี่ยืนยันว่า พวกเขายังไม่ประสบกับปัญหาการขาดแคลนตุ๊กแกแต่อย่างใด เพราะการทำตุ๊กแกของชาวบ้านตาล จะมีช่วงพักคือในช่วงประมาณเดือนตุลาคม-มกราคม เพื่อให้ตุ๊กแกผสมพันธุ์และขยายพันธุ์ เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงผสมพันธุ์ของตุ๊กแกที่เป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งที่ผ่านมาการทำตุ๊กแกขายมานับชั่วอายุคนยังไม่พบว่าตุ๊กแกลดน้อย ขาดแคลนลงไป
นอกจากการทำตุ๊กแกแล้ว ชาวบ้านตาลยังมีการทำ ปลิง ไส้เดือน ตากแห้ง เพื่อส่งออก โดยสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปตลอดปี เพราะต้องการพักการจับสัตว์ในแต่ละประเภท เพื่อให้มันขยายพันธุ์ โดยตุ๊กแกจะทำให้ช่วงหน้าร้อนถึงหน้าฝน ส่วนปลิงทำให้ช่วงหน้าฝน ขณะที่หน้าหนาวนั้นจะหันมาทำไส้เดือนตากแห้ง
นับเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่มีอาชีพสุดแปลก แต่ก็เป็นอาชีพที่สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเมื่อไปเยือนนาหว้าแล้วต้องแวะไปดูชาวบ้านตาลเขาทำตุ๊กแกกันเป็นจำนวนไม่น้อย
เพราะความกลัวและเกลียดนั้นสู้ความอยากรู้อยากเห็นไม่ได้