โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
แม้ทะเลแหวกเกาะพิทักษ์ จ.ชุมพร น้ำทะเลอาจจะไม่สวยใส หาดทรายไม่ได้ละเอียดขาวเนียน เท่าทะเลแหวกที่เกาะสามเส้า จ.กระบี่
แต่ทะเลแหวกเกาะพิทักษ์ก็มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์กับ ประเพณี “วิ่งแหวกทะเล” หนึ่งเดียวในเมืองไทย ซึ่งปีนี้ (2565) มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 26 มิ.ย.
พูดถึงเกาะพิทักษ์แล้ว ที่นี่ถือเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและโฮมสเตย์อันโดดเด่นในอันดับต้นๆ ของเมืองไทย
1…
เกาะพิทักษ์ ตั้งอยู่ที่ ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร เป็นเกาะที่มีคำขวัญเท่ๆว่า “ถนนน้ำข้ามสมุทร น้ำจืดผุดกลางเกาะ หอยเจาะทะเลขาด หาดสองน้ำ”
ที่มาของชื่อเกาะพิทักษ์ มี 2 ข้อสันนิษฐาน หนึ่งนั้นเชื่อว่าน่าจะมาจากคำว่าเกาะ“ผีทัก” ซึ่งชาวบ้านเขามีตำนานของปู่เดชกับเสียงผีทัก ส่วนอีกหนึ่งสันนิษฐานว่ามาจากเกาะ “ที่พัก” เพราะสมัยก่อนในช่วงมรสุม เกาะแห่งนี้เป็นที่หลบพักของเรือบรรทุกสินค้า เรือประมง เพื่อรอให้คลื่นลมสงบ ก่อนออกเดินทางต่อไป
ปัจจุบันบนเกาะพิทักษ์มีชุมชนเล็กๆ ตั้งอยู่ มีบ้านเรือน 40 กว่าหลังคาเรือน บนเกาะไม่มีโรงเรียน ไม่มีวัด แต่เพิ่งสร้างพระพุทธรูปมางมารวิชัย (ปางชนะมาร) เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเกาะ ประดิษฐานอยู่บริเวณชายหาดหนึ่งเดียวของเกาะ (ทางขึ้นเขาจุดชมวิว)
ชาวเกาะพิทักษ์ใช้ชีวิตอยู่กันอย่างเรียบง่าย พอเพียง อยู่กันแบบเครือญาติ พี่น้อง ชาวบ้านมีอาชีพหลักคือประมง (ส่วนใหญ่) กับทำสวนมะพร้าว ขณะที่อาชีพรองนั้นคือการทำด้านท่องเที่ยวชุมชน โฮมสเตย์ ซึ่งผู้ที่บุกเบิกทำท่องเที่ยวโฮมสเตย์บนเกาะ คือผู้ใหญ่บ้าน“อำพล ธานีครุฑ” หรือ “ผู้ใหญ่หรั่ง” ที่ต้องต่อสู้ฟันฝ่ากับอุปสรรคมากหลาย กว่าจะสร้างชื่อให้กับเกาะพิทักษ์มาจนถึงวันนี้
ผู้ใหญ่หรั่งเปิดเผยว่า หลังเรียนจบที่กรุงเทพฯ ทำงานที่กรุงเทพฯ ได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วกลับมาอยู่บ้าน พบว่าชุมชนที่นี่ประสบกับปัญหามากมาย โดยเฉพาะกับเรื่องทรัพยากรสัตว์น้ำทะเลพวกกุ้งหอยปูปลาที่เป็นทั้งอาหาร สร้างงาน สร้างเงินลดน้อยลง กอปรกับถูกเรืออวนลากอวนรุนเข้ามาแย่งพื้นที่ทำกินใกล้ชายฝั่ง ทำการประมงแบบทำลายล้าง ขณะที่ชาวบ้านก็มีทะเลาะแตกแยก ไม่ช่วยกันรักษาอู่ข้าวอู่น้ำของตัวเอง
นั่นจึงทำให้อำพลหลังได้รับการเลือกเป็นให้เป็นผู้ใหญ่บ้านเกาะพิทักษ์ เขาได้เดินหน้าฟื้นฟูเพาะ ฟื้นฟูชุมชน ฟื้นฟูชายฝั่งอู่ข้าวอู่น้ำ โดยชักชวนชาวบ้านมาร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ทะเล เพาะพันธุ์ปลา ทำกระชังให้ปู และอื่นๆ จนชุมชนได้รับการคัดเลือกให้เป็น “หมู่บ้านอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลดีเด่น” ปี พ.ศ. 2545
ขณะเดียวกันผู้ใหญ่หรั่งก็ได้ดึงศักยภาพมนต์เสน่ห์ของเกาะพิทักษ์มาทำกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โฮมสเตย์ ที่บริหารจัดการโดยชาวบ้าน โดยเน้นการทำเป็นรายได้เสริมจากอาชีพหลัก เพราะช่วงมรสุมชาวบ้านไม่ค่อยได้ออกเรือหาปลา
ทั้งนี้ ปฐมบทของโฮมสเตย์บนเกาะพิทักษ์เริ่มขึ้นเมื่อราวปี 2538 หลังจากมีนักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่งขึ้นมาเที่ยวบนเกาะ แล้วต้องการพาที่พักหลับนอนบนเกาะ ผู้ใหญ่หรั่งจึงร่วมมือกับชาวบ้านคิดทำโฮมสเตย์ขึ้นมา
พี่พร ธานีครุฑ เมียของผู้ใหญ่หรั่งที่ร่วมต่อสู้ฟันฝ่ากันมาเล่าให้ผมฟังว่า ช่วงแรกๆ กิจกรรมย่อมลุ่มๆ ดอนๆ เป็นธรรมดา ยิ่งชาวบ้านลงมือทำกันเอง ไม่มีประสบการณ์ก็ต้องลองผิดลองถูกกันพอสมควร แต่ด้วยความที่ผู้ใหญ่ไม่ท้อ กิจกรรมก็เติบโตพัฒนา ทำให้หมู่บ้านเกาะพิทักษ์ได้รับรางวัลต่างๆ มาไม่น้อย
อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ชาวบ้านต่อสู้ ล้มลุกคลุกคลาน เท่าที่ผมสอบถามจากชาวบ้านปรากฏว่าภาครัฐนั้นหาได้ใส่ใจไม่ จนเมื่อเกาะพิทักษ์มีชื่อนั่นแหละ หลายหน่วยงานของภาครัฐจึงเข้ามา
นับเป็นการเกาะกระแสดังที่ภาครัฐบ้านเราถนัดนัก
2...
เกาะพิทักษ์ มีการทำโฮมสเตย์ไม่ใช่ใครอยากทำก็ทำได้ แต่ต้องผ่านกฎกติกาของชุมชน บ้านเรือนต้องสะอาดสะด้าน มีที่พักพร้อม ชาวบ้านต้องเข้าใจ ร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน และเน้นเรื่องการทำเป็นอาชีพเสริม อย่ามามุ่งหวังกอบโกยจากการทำโฮมสเตย์เป็นหลัก
นอกจากนี้ชาวบ้านที่ที่นี่เขายังรณรงค์เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม มีการทำน้ำยาล้างจานแบบไม่ใช้สารเคมี มีการทำลูกบอล EM บำบัดน้ำเสีย ซึ่งจะปล่อยลูกบอลบำบัดกันทุกสัปดาห์ในทุกๆ วันอาทิตย์ ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญและชาวบ้านรณรงค์กันอย่างแข็งขันก็คือ การรณรงค์ไม่ขายที่ เพราะวันนี่ชื่อเสียงของเกาะพิทักษ์ถือว่าดังพอตัว ถ้าเกิดมีนายทุนมาซื้อที่ไปทำที่พัก ร้านอาหาร บางทีอะไรที่ดีในวันนี้บนเกาะพิทักษ์อาจเปลี่ยนไป
โฮมสเตย์ที่นี่จัดทำเป็นระบบกลุ่ม มีการบริหารจัดการที่ดีเป็นระบบ ให้แต่ละบ้านหมุนเวียนรับแขกกันไปตามคิว ซึ่งมีผู้ใหญ่เป็นศูนย์กลางในการรับจอง แต่ถ้าบ้านไหนมีลูกค้าประจำ (คนที่เคยมาพักแล้วประทับใจ กลับมาพักอีก) ก็ให้แจ้งความจำนงต่อผู้ใหญ่ว่าจะขอเข้าพักที่บ้านนั้นก็สามารถทำได้ โดยบ้านที่ทำโฮมสเตย์เมื่อมีคนมาพักต้องหัก 5% เข้ากองกลาง เพื่อเป็นค่าบริหารและจัดกิจกรรมในชุมชน
สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเข้าพักกว่า 90% เป็นคนไทย ขอให้เคารพในกฎกติกาที่ชุมชนตั้งไว้ โดยเฉพาะกับเรื่องการร้องเพลงส่งเสียงดัง ซึ่งทางชุมชนให้ร้องเพลงคาราโอเกะกันได้ไม่เกิน 3 ทุ่ม ส่วนหลังจากนั้นใครจะนั่งดื่มแบบเงียบๆ จนถึงถึงเช้าหรือดื่มไปจนตายก็สามารถทำได้ตามความสามารถ แต่อย่าไปส่งเสียงดังรบกวนคนอื่นเขา เนื่องจากบางวันมีนักท่องเที่ยวเข้ามาพักหลายหลัง ขณะที่ชาวบ้านเขาก็ต้องการพักผ่อนหลับนอน เพราะถึงอย่างไรแล้วที่นี่เป็นที่พักแบบโฮมสเตย์ ไม่ใช่ร้านเหล้า ร้านคาราโอเกะ
และด้วยกฎนี้ ทำให้คนไทยเราปรับตัวด้วยการเริ่มดื่มกันตั้งแต่บ่าย และแหกปากร้องเพลงกันแต่หัววัน ทำให้ในวันที่ผมไปเที่ยวเกาะพิทักษ์หนล่าสุด ช่วงเวลาประมาณบ่ายโมงกว่าๆ ก็ได้ยินเสียงคาราโอเกะครวญเพลงลอยมาตามลมแล้ว ซึ่งนี่ถือเป็นวิถีพักผ่อนแบบไทยๆ ที่ไม่ว่ากัน
3...
เกาะพิทักษ์ แม้เป็นเกาะเล็กๆ แต่ว่าก็มีเสน่ห์และมีกิจกรรมให้ทำกันไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการเดินชิลชิลเที่ยวเกาะชมบ้านเรือน ชมธรรมชาติ ที่มีวงรอบเล็ก 800 เมตร กับวงรอบใหญ่ 1.4 กม.ให้เลือกเดิน หรือจะร่วมทำกิจกรรมปลูกป่า ปั้นจุลินทรีย์ EM บอล ซึ่งตอนน้ำท่วมใหญ่ปี 54 ชาวบ้านที่นี่ได้ส่ง EM บอลขึ้นช่วยชาวกรุงเป็นจำนวนมาก
ร่วมทำกิจกรรมของชุมชน อย่าง ทำของที่ระลึกจากเปลือกหอย ซึ่งชาวบ้านที่นี่เขาเน้นย้ำว่าเป็นการนำซากเปลือกหอยทั่วไปที่พบได้บริเวณชายหาดมาประดิษฐ์ทำผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน ไม่ได้เป็นการนำเปลือกหอยหายากมาทำแต่อย่างใด
ใครที่อยากสัมผัสวิถีชาวบ้านไปเดินพูดคุยกับชาวบ้านที่ส่วนใหญ่เขาน่ารัก ยิ้มแย้มแจ่มใส ไปชมการเก็บมะพร้าว เผามะพร้าว ทำน้ำมันมะพร้าว (ตามจังหวะที่ชาวบ้านทำ) ดูการทำเครื่องจับสัตว์น้ำ หรือใครจะไปลองขอเขาทำก็ได้ ร่วมทำผ้าบาติก ทำปลาอินทรีฝังทรายหรือปลาเค็มฝังทรายที่เป็นโอทอปขึ้นชื่อ หรือจะไปชมและร่วมเก็บหอยนางรมหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “หอยเจาะ” ก็น่าสนใจ
ส่วนใครจะเช่าเรือไปตกปลา ไดหมึก ชมทะเลทิวทัศน์เกาะใกล้เคียง ที่หากโชคดีอาจได้เจอโลมาเผือกหรือโลมาสีชมพู ไปดำน้ำดูปะการัง สัมผัสกับทะเลแหวกยามน้ำลง หรือใครที่อยากเล่นน้ำทะเล บนเกาะมีหาดทรายหนึ่งเดียวทางทิศตะวันออกให้เล่นน้ำ หน้าหาดยาวประมาณ 450 เมตร น้ำใส นอกจากนี้หากเดินไปทางองค์พระขึ้นไปชมวิวสูงประมาณ 200 เมตรก็น่าสนใจดี เหนื่อย แต่ก็ได้ออกกำลังกาย
ด้านใครที่ขี้เกียจจะนอนฟังเสียงคลื่น ร่ำสุรา เฮฮากับเพื่อนๆ หรือจะนั่งร้องเพลงที่บ้านโฮมสเตย์ ช่วยชาวบ้านทำกับข้าวกับปลา ยังมีวัฒนธรรม “ส่งแกง” คือเมื่อกับข้าวมาก็จะแบ่งใส่จาน ชาม ไปแจกจ่ายเพื่อนบ้าน เป็นวิถีของการแบ่งบัน เอื้อเฟื้อ ที่ปัจจุบันลดหายไปมากจากสังคมไทย
นี่คือเสน่ห์อันชวนสัมผัสบนเกาะพิทักษ์ ที่ยังไงๆ ก็ขอให้ชาวเกาะพิทักษ์เข้มแข็งกับวิถีที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ อย่าสร้างสิ่งที่เป็นทัศนะอุจาดให้ดูประดักประเดิด เพราะเท่าที่เห็นเริ่มมีบางบ้าน บางร้านตกแต่งด้วยสีสันฉูดฉาดเพื่อพยายามตอบโจทย์รสนิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ดูไม่ค่อยเข้ากับสภาพพื้นที่เท่าไหร่ และก็ไม่ต้องพยายามนำหลักกิโลเมตรมาตั้งเหมือนกับแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งในบ้านเราที่ไม่รู้เป็นอะไร ฮิตหลักกิโลกันจัง
ส่วนที่สำคัญก็คืออย่าให้วิถีเงินมาสร้างความหน้ามืดตามัว จนชาวบ้านละทิ้งวิถีเดิมหันมามุ่งแต่กอบโกย ทำชุมชนแตกแยก
เพราะที่ผ่านมาบ้านเรามีบทเรียนจากชุมชนที่เสียศูนย์จากการท่องเที่ยวมามากพอแล้ว
*****************************************
เกาะพิทักษ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 14 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ตั้งอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 1 กม. ปัจจุบันมีโฮมสเตย์บริการให้เลือกพัก ได้แก่ -ค่าที่พัก รวมค่าอาหาร 3 มื้อ พัก 1 คืน พร้อมเรือรับส่ง 1,000 บาท/คน (อาหาร 2 มื้อ 800 บาท)
สำหรับอาหารที่ทางโฮมสเตย์จัดเตรียมไว้จะเป็นอาหารพื้นบ้าน เน้นอาหารทะเลสดใหม่ อร่อย มีเมนูหลักๆ คือ แกงส้มปลากระบอก ไข่เจียวหอยนางรม ปูม้าต้มหรือนึ่ง หมึกต้มขี้ตำ ซึ่งสามารถสั่งอาหารเพิ่มเติมให้ชาวบ้านจัดเตรียมไว้เป็นพิเศษได้
ทั้งนี้ผู้สนใจเที่ยวเกาะพิทักษ์ พักค้างแบบโฮมสเตย์ หรือมาแวะรับประทานอาหาร สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ นายอำพล ธานีครุฑ (ผู้ใหญ่หรั่ง) 08-1093-1443, 08-9018-0644 หรือที่ Line ID 06-2242-5378 และ Facebook: facebook.com/jeab4224
แม้ทะเลแหวกเกาะพิทักษ์ จ.ชุมพร น้ำทะเลอาจจะไม่สวยใส หาดทรายไม่ได้ละเอียดขาวเนียน เท่าทะเลแหวกที่เกาะสามเส้า จ.กระบี่
แต่ทะเลแหวกเกาะพิทักษ์ก็มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์กับ ประเพณี “วิ่งแหวกทะเล” หนึ่งเดียวในเมืองไทย ซึ่งปีนี้ (2565) มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 26 มิ.ย.
พูดถึงเกาะพิทักษ์แล้ว ที่นี่ถือเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและโฮมสเตย์อันโดดเด่นในอันดับต้นๆ ของเมืองไทย
1…
เกาะพิทักษ์ ตั้งอยู่ที่ ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร เป็นเกาะที่มีคำขวัญเท่ๆว่า “ถนนน้ำข้ามสมุทร น้ำจืดผุดกลางเกาะ หอยเจาะทะเลขาด หาดสองน้ำ”
ที่มาของชื่อเกาะพิทักษ์ มี 2 ข้อสันนิษฐาน หนึ่งนั้นเชื่อว่าน่าจะมาจากคำว่าเกาะ“ผีทัก” ซึ่งชาวบ้านเขามีตำนานของปู่เดชกับเสียงผีทัก ส่วนอีกหนึ่งสันนิษฐานว่ามาจากเกาะ “ที่พัก” เพราะสมัยก่อนในช่วงมรสุม เกาะแห่งนี้เป็นที่หลบพักของเรือบรรทุกสินค้า เรือประมง เพื่อรอให้คลื่นลมสงบ ก่อนออกเดินทางต่อไป
ปัจจุบันบนเกาะพิทักษ์มีชุมชนเล็กๆ ตั้งอยู่ มีบ้านเรือน 40 กว่าหลังคาเรือน บนเกาะไม่มีโรงเรียน ไม่มีวัด แต่เพิ่งสร้างพระพุทธรูปมางมารวิชัย (ปางชนะมาร) เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเกาะ ประดิษฐานอยู่บริเวณชายหาดหนึ่งเดียวของเกาะ (ทางขึ้นเขาจุดชมวิว)
ชาวเกาะพิทักษ์ใช้ชีวิตอยู่กันอย่างเรียบง่าย พอเพียง อยู่กันแบบเครือญาติ พี่น้อง ชาวบ้านมีอาชีพหลักคือประมง (ส่วนใหญ่) กับทำสวนมะพร้าว ขณะที่อาชีพรองนั้นคือการทำด้านท่องเที่ยวชุมชน โฮมสเตย์ ซึ่งผู้ที่บุกเบิกทำท่องเที่ยวโฮมสเตย์บนเกาะ คือผู้ใหญ่บ้าน“อำพล ธานีครุฑ” หรือ “ผู้ใหญ่หรั่ง” ที่ต้องต่อสู้ฟันฝ่ากับอุปสรรคมากหลาย กว่าจะสร้างชื่อให้กับเกาะพิทักษ์มาจนถึงวันนี้
ผู้ใหญ่หรั่งเปิดเผยว่า หลังเรียนจบที่กรุงเทพฯ ทำงานที่กรุงเทพฯ ได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วกลับมาอยู่บ้าน พบว่าชุมชนที่นี่ประสบกับปัญหามากมาย โดยเฉพาะกับเรื่องทรัพยากรสัตว์น้ำทะเลพวกกุ้งหอยปูปลาที่เป็นทั้งอาหาร สร้างงาน สร้างเงินลดน้อยลง กอปรกับถูกเรืออวนลากอวนรุนเข้ามาแย่งพื้นที่ทำกินใกล้ชายฝั่ง ทำการประมงแบบทำลายล้าง ขณะที่ชาวบ้านก็มีทะเลาะแตกแยก ไม่ช่วยกันรักษาอู่ข้าวอู่น้ำของตัวเอง
นั่นจึงทำให้อำพลหลังได้รับการเลือกเป็นให้เป็นผู้ใหญ่บ้านเกาะพิทักษ์ เขาได้เดินหน้าฟื้นฟูเพาะ ฟื้นฟูชุมชน ฟื้นฟูชายฝั่งอู่ข้าวอู่น้ำ โดยชักชวนชาวบ้านมาร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ทะเล เพาะพันธุ์ปลา ทำกระชังให้ปู และอื่นๆ จนชุมชนได้รับการคัดเลือกให้เป็น “หมู่บ้านอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลดีเด่น” ปี พ.ศ. 2545
ขณะเดียวกันผู้ใหญ่หรั่งก็ได้ดึงศักยภาพมนต์เสน่ห์ของเกาะพิทักษ์มาทำกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โฮมสเตย์ ที่บริหารจัดการโดยชาวบ้าน โดยเน้นการทำเป็นรายได้เสริมจากอาชีพหลัก เพราะช่วงมรสุมชาวบ้านไม่ค่อยได้ออกเรือหาปลา
ทั้งนี้ ปฐมบทของโฮมสเตย์บนเกาะพิทักษ์เริ่มขึ้นเมื่อราวปี 2538 หลังจากมีนักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่งขึ้นมาเที่ยวบนเกาะ แล้วต้องการพาที่พักหลับนอนบนเกาะ ผู้ใหญ่หรั่งจึงร่วมมือกับชาวบ้านคิดทำโฮมสเตย์ขึ้นมา
พี่พร ธานีครุฑ เมียของผู้ใหญ่หรั่งที่ร่วมต่อสู้ฟันฝ่ากันมาเล่าให้ผมฟังว่า ช่วงแรกๆ กิจกรรมย่อมลุ่มๆ ดอนๆ เป็นธรรมดา ยิ่งชาวบ้านลงมือทำกันเอง ไม่มีประสบการณ์ก็ต้องลองผิดลองถูกกันพอสมควร แต่ด้วยความที่ผู้ใหญ่ไม่ท้อ กิจกรรมก็เติบโตพัฒนา ทำให้หมู่บ้านเกาะพิทักษ์ได้รับรางวัลต่างๆ มาไม่น้อย
อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ชาวบ้านต่อสู้ ล้มลุกคลุกคลาน เท่าที่ผมสอบถามจากชาวบ้านปรากฏว่าภาครัฐนั้นหาได้ใส่ใจไม่ จนเมื่อเกาะพิทักษ์มีชื่อนั่นแหละ หลายหน่วยงานของภาครัฐจึงเข้ามา
นับเป็นการเกาะกระแสดังที่ภาครัฐบ้านเราถนัดนัก
2...
เกาะพิทักษ์ มีการทำโฮมสเตย์ไม่ใช่ใครอยากทำก็ทำได้ แต่ต้องผ่านกฎกติกาของชุมชน บ้านเรือนต้องสะอาดสะด้าน มีที่พักพร้อม ชาวบ้านต้องเข้าใจ ร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน และเน้นเรื่องการทำเป็นอาชีพเสริม อย่ามามุ่งหวังกอบโกยจากการทำโฮมสเตย์เป็นหลัก
นอกจากนี้ชาวบ้านที่ที่นี่เขายังรณรงค์เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม มีการทำน้ำยาล้างจานแบบไม่ใช้สารเคมี มีการทำลูกบอล EM บำบัดน้ำเสีย ซึ่งจะปล่อยลูกบอลบำบัดกันทุกสัปดาห์ในทุกๆ วันอาทิตย์ ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญและชาวบ้านรณรงค์กันอย่างแข็งขันก็คือ การรณรงค์ไม่ขายที่ เพราะวันนี่ชื่อเสียงของเกาะพิทักษ์ถือว่าดังพอตัว ถ้าเกิดมีนายทุนมาซื้อที่ไปทำที่พัก ร้านอาหาร บางทีอะไรที่ดีในวันนี้บนเกาะพิทักษ์อาจเปลี่ยนไป
โฮมสเตย์ที่นี่จัดทำเป็นระบบกลุ่ม มีการบริหารจัดการที่ดีเป็นระบบ ให้แต่ละบ้านหมุนเวียนรับแขกกันไปตามคิว ซึ่งมีผู้ใหญ่เป็นศูนย์กลางในการรับจอง แต่ถ้าบ้านไหนมีลูกค้าประจำ (คนที่เคยมาพักแล้วประทับใจ กลับมาพักอีก) ก็ให้แจ้งความจำนงต่อผู้ใหญ่ว่าจะขอเข้าพักที่บ้านนั้นก็สามารถทำได้ โดยบ้านที่ทำโฮมสเตย์เมื่อมีคนมาพักต้องหัก 5% เข้ากองกลาง เพื่อเป็นค่าบริหารและจัดกิจกรรมในชุมชน
สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเข้าพักกว่า 90% เป็นคนไทย ขอให้เคารพในกฎกติกาที่ชุมชนตั้งไว้ โดยเฉพาะกับเรื่องการร้องเพลงส่งเสียงดัง ซึ่งทางชุมชนให้ร้องเพลงคาราโอเกะกันได้ไม่เกิน 3 ทุ่ม ส่วนหลังจากนั้นใครจะนั่งดื่มแบบเงียบๆ จนถึงถึงเช้าหรือดื่มไปจนตายก็สามารถทำได้ตามความสามารถ แต่อย่าไปส่งเสียงดังรบกวนคนอื่นเขา เนื่องจากบางวันมีนักท่องเที่ยวเข้ามาพักหลายหลัง ขณะที่ชาวบ้านเขาก็ต้องการพักผ่อนหลับนอน เพราะถึงอย่างไรแล้วที่นี่เป็นที่พักแบบโฮมสเตย์ ไม่ใช่ร้านเหล้า ร้านคาราโอเกะ
และด้วยกฎนี้ ทำให้คนไทยเราปรับตัวด้วยการเริ่มดื่มกันตั้งแต่บ่าย และแหกปากร้องเพลงกันแต่หัววัน ทำให้ในวันที่ผมไปเที่ยวเกาะพิทักษ์หนล่าสุด ช่วงเวลาประมาณบ่ายโมงกว่าๆ ก็ได้ยินเสียงคาราโอเกะครวญเพลงลอยมาตามลมแล้ว ซึ่งนี่ถือเป็นวิถีพักผ่อนแบบไทยๆ ที่ไม่ว่ากัน
3...
เกาะพิทักษ์ แม้เป็นเกาะเล็กๆ แต่ว่าก็มีเสน่ห์และมีกิจกรรมให้ทำกันไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการเดินชิลชิลเที่ยวเกาะชมบ้านเรือน ชมธรรมชาติ ที่มีวงรอบเล็ก 800 เมตร กับวงรอบใหญ่ 1.4 กม.ให้เลือกเดิน หรือจะร่วมทำกิจกรรมปลูกป่า ปั้นจุลินทรีย์ EM บอล ซึ่งตอนน้ำท่วมใหญ่ปี 54 ชาวบ้านที่นี่ได้ส่ง EM บอลขึ้นช่วยชาวกรุงเป็นจำนวนมาก
ร่วมทำกิจกรรมของชุมชน อย่าง ทำของที่ระลึกจากเปลือกหอย ซึ่งชาวบ้านที่นี่เขาเน้นย้ำว่าเป็นการนำซากเปลือกหอยทั่วไปที่พบได้บริเวณชายหาดมาประดิษฐ์ทำผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน ไม่ได้เป็นการนำเปลือกหอยหายากมาทำแต่อย่างใด
ใครที่อยากสัมผัสวิถีชาวบ้านไปเดินพูดคุยกับชาวบ้านที่ส่วนใหญ่เขาน่ารัก ยิ้มแย้มแจ่มใส ไปชมการเก็บมะพร้าว เผามะพร้าว ทำน้ำมันมะพร้าว (ตามจังหวะที่ชาวบ้านทำ) ดูการทำเครื่องจับสัตว์น้ำ หรือใครจะไปลองขอเขาทำก็ได้ ร่วมทำผ้าบาติก ทำปลาอินทรีฝังทรายหรือปลาเค็มฝังทรายที่เป็นโอทอปขึ้นชื่อ หรือจะไปชมและร่วมเก็บหอยนางรมหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “หอยเจาะ” ก็น่าสนใจ
ส่วนใครจะเช่าเรือไปตกปลา ไดหมึก ชมทะเลทิวทัศน์เกาะใกล้เคียง ที่หากโชคดีอาจได้เจอโลมาเผือกหรือโลมาสีชมพู ไปดำน้ำดูปะการัง สัมผัสกับทะเลแหวกยามน้ำลง หรือใครที่อยากเล่นน้ำทะเล บนเกาะมีหาดทรายหนึ่งเดียวทางทิศตะวันออกให้เล่นน้ำ หน้าหาดยาวประมาณ 450 เมตร น้ำใส นอกจากนี้หากเดินไปทางองค์พระขึ้นไปชมวิวสูงประมาณ 200 เมตรก็น่าสนใจดี เหนื่อย แต่ก็ได้ออกกำลังกาย
ด้านใครที่ขี้เกียจจะนอนฟังเสียงคลื่น ร่ำสุรา เฮฮากับเพื่อนๆ หรือจะนั่งร้องเพลงที่บ้านโฮมสเตย์ ช่วยชาวบ้านทำกับข้าวกับปลา ยังมีวัฒนธรรม “ส่งแกง” คือเมื่อกับข้าวมาก็จะแบ่งใส่จาน ชาม ไปแจกจ่ายเพื่อนบ้าน เป็นวิถีของการแบ่งบัน เอื้อเฟื้อ ที่ปัจจุบันลดหายไปมากจากสังคมไทย
นี่คือเสน่ห์อันชวนสัมผัสบนเกาะพิทักษ์ ที่ยังไงๆ ก็ขอให้ชาวเกาะพิทักษ์เข้มแข็งกับวิถีที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ อย่าสร้างสิ่งที่เป็นทัศนะอุจาดให้ดูประดักประเดิด เพราะเท่าที่เห็นเริ่มมีบางบ้าน บางร้านตกแต่งด้วยสีสันฉูดฉาดเพื่อพยายามตอบโจทย์รสนิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ดูไม่ค่อยเข้ากับสภาพพื้นที่เท่าไหร่ และก็ไม่ต้องพยายามนำหลักกิโลเมตรมาตั้งเหมือนกับแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งในบ้านเราที่ไม่รู้เป็นอะไร ฮิตหลักกิโลกันจัง
ส่วนที่สำคัญก็คืออย่าให้วิถีเงินมาสร้างความหน้ามืดตามัว จนชาวบ้านละทิ้งวิถีเดิมหันมามุ่งแต่กอบโกย ทำชุมชนแตกแยก
เพราะที่ผ่านมาบ้านเรามีบทเรียนจากชุมชนที่เสียศูนย์จากการท่องเที่ยวมามากพอแล้ว
*****************************************
เกาะพิทักษ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 14 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ตั้งอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 1 กม. ปัจจุบันมีโฮมสเตย์บริการให้เลือกพัก ได้แก่ -ค่าที่พัก รวมค่าอาหาร 3 มื้อ พัก 1 คืน พร้อมเรือรับส่ง 1,000 บาท/คน (อาหาร 2 มื้อ 800 บาท)
สำหรับอาหารที่ทางโฮมสเตย์จัดเตรียมไว้จะเป็นอาหารพื้นบ้าน เน้นอาหารทะเลสดใหม่ อร่อย มีเมนูหลักๆ คือ แกงส้มปลากระบอก ไข่เจียวหอยนางรม ปูม้าต้มหรือนึ่ง หมึกต้มขี้ตำ ซึ่งสามารถสั่งอาหารเพิ่มเติมให้ชาวบ้านจัดเตรียมไว้เป็นพิเศษได้
ทั้งนี้ผู้สนใจเที่ยวเกาะพิทักษ์ พักค้างแบบโฮมสเตย์ หรือมาแวะรับประทานอาหาร สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ นายอำพล ธานีครุฑ (ผู้ใหญ่หรั่ง) 08-1093-1443, 08-9018-0644 หรือที่ Line ID 06-2242-5378 และ Facebook: facebook.com/jeab4224